ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องเล่า...ผี-ผี สุดเฮี้ยน

    ลำดับตอนที่ #10 : คนตายแล้วไปเกิดได้อย่างไร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.88K
      3
      10 มิ.ย. 52

           กรรมที่กระทำในชาตินี้ไปแสดงผลในชาติหน้าได้อย่างไร มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตหรือศาสดาหลายท่าน ได้พยายามคิดค้น
    ว่าคนตาย       กรรมที่กระทำในชาตินี้ไปแสดงผลในชาติหน้าได้อย่างไร มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตหรือศาสดาหลายท่าน ได้พยายามคิดค้น
    ว่าคนตายสูญไปเลย หรือคนตายแล้วไปเกิดได้อีก ถ้าไปเกิดได้อีกจะไปเกิดเป็นอะไร อย่างไร
        
    สำหรับคำสอนของพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า คนตายแล้วไปเกิดอีกได้ และจะไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเป็น
    สัตว์อีกก็ได้ โดยจิตหรือวิญญาณนั้นมิได้เป็นอมตะไม่มีวันตาย หากแต่เกิดดับสืบต่อไปไม่ขาดสาย จิตนั้นเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์
    รู้จักนึกคิดจดจำ จิตนั้นเป็นธรรมชาติที่มีความเกิดดับสืบต่อกันมา มิได้หยุดนิ่ง และจิตนั้นเป็นนามธรรมที่ไม่สามารถมองเห็นหรือจับ
    ต้องได้ แต่มีอำนาจสั่งการ เก็บอารมณ์ต่างๆไว้ในจิตแล้วค่อยแสดงออกมาใน 2 ลักษณะ คือ

    1. การงานที่จิตกระทำ ได้แก่ การที่จิตรับอารมณ์ความรู้สึกจากสัมผัสทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเช่น
    การเห็น ได้ยิน คิด เป็นต้น
    2. จิตเป็นภวังค์ ได้แก่ จิตไม่ได้รับอารมณ์ความรู้สึกจากสัมผัสทั้ง 6 แต่จิตก็ทำงานอยู่ตลอดเวลา คือ เกิด ดับ


    การเกิดใหม่และการกลับชาติมาเกิด
          การเกิดใหม่และการกลับชาติมาเกิด รวมถึง การระลึกอดีตได้ เป็นเรื่องที่อยู่คู่กันมากับความคิดของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
    เช่นจากการขุดพบโครงกระดูก พร้อมด้วยข้าวของเครื่องใช้ที่อยู่ภายในหลุมศพด้วย แสดงถึงความเชื่อที่ว่า เมื่อตายไปจะได้นำไปใช้ หรือ
    จะได้นำไปใช้ในภพหน้า


    ภวังค์ หมายถึง องค์แห่งภพ คือจิตตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงจุติคือตาย ขณะใดที่จิตเป็นภวังค์ที่เห็นง่ายๆคือ คนกำลังหลับสนิท
    เพราะขณะหลับสนิทจะไม่รู้สึกตัวเลย แต่ขณะใดจิตมีความ รู้สึก จิตก็พ้นจากภวังค์ ความจริงขณะที่เราเห็นหรือได้ยินหรือคิด นั้น จิตก็มี
    อารมณ์ความ รู้สึก แล้วก็มีภวังคจิตขึ้นสลับอยู่ตลอดไป ทั้งนี้เป็นไปโดยรวดเร็วมาก เราจึงไม่รู้สึก

    ตามพุทธภาษิต พระพุทธเจ้าทรงแบ่งความตายออกเป็นส่วนใหญ่ๆ ไว้เป็น 2 ประการ คือ
    กาลมรณะ คือ ถึงเวลาที่จะต้องตาย
    อกาลมรณะ คือ ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องตาย

    เป็นการแสดงให้เห็นว่า ความตายเมื่อถึงเวลาตายก็มี ยังไม่ถึงเวลาแล้วตายก็มี อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยนำสัตว์ทั้งหลายให้ต้อง
    เวียนเกิดเวียนตาย หรือต้องไปเกิดในภพใหม่ไม่ได้หยุดหย่อน ตายแล้วก็ต้องไปเกิด เพราะมีจิตปรารถนาที่จะไปเกิดใหม่อีก ความปรารถนา
    นั้นเป็นพลังมหาศาลที่ไม่อาจสัมผัสได้ กำลังของความปรารถนาแต่อดีตนั้น สามารถส่งผลให้จนถึงปัจจุบันและอนาคตได้ ซึ่งความปรารถนา
    นี้ก็คือ โลภะ ตัณหา
        
    ดังนั้น จิตเป็นธรรมชาติที่รับอารมณ์ มีอารมณ์อยู่เสมอ และอารมณ์ที่เกิดขึ้นก็ด้วยเหตุต่างๆกัน แต่สำหรับคนที่ใกล้จะตาย อารมณ์
    ในขณะใกล้จะตาย เรียกว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์

    1. ผู้ใดกระทำกรรมอะไรไว้ ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว เมื่อทำไว้มากๆ กรรมเหล่านั้นจะกระทำกับจิตเกิดเป็นอารมณ์ ทำให้จิต
    สร้างเป็นมโนภาพ ไปต่างๆนานา เช่น ฆ่าสัตว์ไว้มากๆ ก็มักจะเห็นการฆ่าสัตว์ อารมณ์นี้เป็นกรรมอารมณ์
    2. ผู้ที่ใกล้จะตายเห็นนิมิตต่างๆ เช่น เห็นอุปกรณ์การกุศลที่เคยทำมา ขบวนแห่บวชนาค ทอดกฐิน อารมณ์นี้เป็นกรรม
    นิมิตอารมณ์
    3. ผู้ใกล้ตายเกิดนิมิตเห็นถ้ำ เหว ปล่อง การทรมานสัตว์ ปราสาทราชวัง บางทีไม่มีในเมืองมนุษย์ อารมณ์นี้เป็นคตินิมิต
    อารมณ์

         สัตว์ทั้งหลายขณะใกล้จะจุต คือตาย จะต้องเกิดกรรมหรือกรรมนิมิตหรือคตินิมิตขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะอารมณ์กรรมเหล่านี้
    เป็นกำลังงานที่สำคัญจะผลักดันให้ไปเกิดใหม่ ทำให้มีภพชาติสืบต่อไป
    แน่นอนอารมณ์ครั้งสุดท้ายเป็นที่หมายว่าจะต้องไปเกิดตามที่ตนได้เห็น เหมือนเราทำแบบแปลนแผนผังไว้แล้วปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
    ตามแบบแปลนนั้นๆ เช่น ผู้ที่จะไปเกิดเป็นมนุษย์ย่อมเห็นครรภ์ของมารดา ผู้ที่จะไปเกิดยังเทวภูมิย่อมเห็นเทพยดา นางฟ้าหรือวิมาน ผู้ที่จะไปเกิด
    ในนรกย่อมเห็นการเผาผลาญสัตว์ เห็นเปลวไฟ ผู้ที่จะไปเกิดเป็นเปรตก็เห็นปล่อง เห็นหุบเขาที่มืดมิด ผู้ที่เกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานก็เห็นสัตว์
    เห็นเชิงเขา ชายน้ำ เป็นต้น
     
    สูญไปเลย หรือคนตายแล้วไปเกิดได้อีก ถ้าไปเกิดได้อีกจะไปเกิดเป็นอะไร อย่างไร
        
    สำหรับคำสอนของพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า คนตายแล้วไปเกิดอีกได้ และจะไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเป็น
    สัตว์อีกก็ได้ โดยจิตหรือวิญญาณนั้นมิได้เป็นอมตะไม่มีวันตาย หากแต่เกิดดับสืบต่อไปไม่ขาดสาย จิตนั้นเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์
    รู้จักนึกคิดจดจำ จิตนั้นเป็นธรรมชาติที่มีความเกิดดับสืบต่อกันมา มิได้หยุดนิ่ง และจิตนั้นเป็นนามธรรมที่ไม่สามารถมองเห็นหรือจับ
    ต้องได้ แต่มีอำนาจสั่งการ เก็บอารมณ์ต่างๆไว้ในจิตแล้วค่อยแสดงออกมาใน 2 ลักษณะ คือ

    1. การงานที่จิตกระทำ ได้แก่ การที่จิตรับอารมณ์ความรู้สึกจากสัมผัสทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเช่น
    การเห็น ได้ยิน คิด เป็นต้น
    2. จิตเป็นภวังค์ ได้แก่ จิตไม่ได้รับอารมณ์ความรู้สึกจากสัมผัสทั้ง 6 แต่จิตก็ทำงานอยู่ตลอดเวลา คือ เกิด ดับ


    การเกิดใหม่และการกลับชาติมาเกิด
          การเกิดใหม่และการกลับชาติมาเกิด รวมถึง การระลึกอดีตได้ เป็นเรื่องที่อยู่คู่กันมากับความคิดของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
    เช่นจากการขุดพบโครงกระดูก พร้อมด้วยข้าวของเครื่องใช้ที่อยู่ภายในหลุมศพด้วย แสดงถึงความเชื่อที่ว่า เมื่อตายไปจะได้นำไปใช้ หรือ
    จะได้นำไปใช้ในภพหน้า


    ภวังค์ หมายถึง องค์แห่งภพ คือจิตตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงจุติคือตาย ขณะใดที่จิตเป็นภวังค์ที่เห็นง่ายๆคือ คนกำลังหลับสนิท
    เพราะขณะหลับสนิทจะไม่รู้สึกตัวเลย แต่ขณะใดจิตมีความ รู้สึก จิตก็พ้นจากภวังค์ ความจริงขณะที่เราเห็นหรือได้ยินหรือคิด นั้น จิตก็มี
    อารมณ์ความ รู้สึก แล้วก็มีภวังคจิตขึ้นสลับอยู่ตลอดไป ทั้งนี้เป็นไปโดยรวดเร็วมาก เราจึงไม่รู้สึก

    ตามพุทธภาษิต พระพุทธเจ้าทรงแบ่งความตายออกเป็นส่วนใหญ่ๆ ไว้เป็น 2 ประการ คือ
    กาลมรณะ คือ ถึงเวลาที่จะต้องตาย 
      
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×