ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : 36 กลยุทธ์
แบ่งเป็น 6 หมวดกลยุทธ์
กลยุทธ์ชนะศึก
“ยามเมื่อเราเป็นฝ่ายเหนือกว่า ก่อนอื่นจะต้องสยบข้าศึกลงไป ใช้การรุกรบอย่างเป็นฝ่ายกระทำ ทำสงครามด้วยรูปการที่เป็นผลดีที่สุด’
.....กลยุทธ์ที่ 1 ปิดฟ้าข้ามทะเล
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า สิ่งที่ตนคิดว่าได้ตระเตรียมไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว ก็มักจะมึนชาและประมาทศัตรูได้ง่าย สิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอในยามปรกติก็ไม่เกิดความสงสัยอีกต่อไป
.....กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเว่ยช่วยเจ้า
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกรวมศูนย์กำลังพลไว้ ควรจะใช้กลอุบายดึงแยกข้าศึกออกไป ทำให้กำลังพลกระจัดกระจาย ห่วงหน้าพะวงหลัง ครั้นแล้วจึงเข้าโจมตี นี้ก็คือ “ศัตรูรวมมิสู้ศัตรูแยก” และตำราพิชัยสงครามในสมัยโบราณ ขนานนามยุทธศาสตร์การส่งทหารเข้าบุกข้าศึกก่อนเป็น “ศัตรูแจ้ง” ส่วนยุทธศาสตร์กำราบข้าศึกทีหลังเป็น “ศัตรูมืด”
.....กลยุทธ์ที่ 3 ยืมดาบฆ่าคน
กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า เมื่อศัตรูปรากฏแน่ชัด แต่มิตรยังลังเล สิ่งที่พึงกระทำก็คือล่อให้พันธมิตรออกไปปะทะศัตรู นี้เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งใช้ความขัดแย้ง ยืมกำลังของคนอื่นไปทำลายศัตรู เพื่อรักษากำลังตนเองไว้ แต่การยืมเช่นนี้จะต้องให้แนบเนียน มิฉะนั้นแล้วก็ไม่อาจทำลายศัตรูได้ กลับอาจถูกศัตรูย้อนรอย
.....กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสงค์จักทำให้ข้าศึกตกอยู่ในภาวะลำบาก ไม่แน่ว่าจะต้องใช้วิธีรบแต่ฝ่ายเดียว อาจจะใช้วิธี "แกร่งเสียอ่อนได้” ตามที่กล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง สูญเสีย เมื่อให้ได้รับชัยชนะก็ได้”
“ยามเมื่อเราเป็นฝ่ายเหนือกว่า ก่อนอื่นจะต้องสยบข้าศึกลงไป ใช้การรุกรบอย่างเป็นฝ่ายกระทำ ทำสงครามด้วยรูปการที่เป็นผลดีที่สุด’
.....กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตายไฟ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ ควรฉวยโอกาสรุกรบโจมตี เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือให้ผู้เข้มแข็งออกโรงเข้าแทรกแซงให้ผู้อ่อนกว่ายอมสยบด้วย นี้ก็คือที่เรียกว่า “ใช้ความแกร่งพิชิตความอ่อน”
.....กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียงบุรพาฝ่าตีประจิม
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ตามคำอธิบายของ “คัมภีร์อี้จิง ปั่นป่วน” คำว่า “ดุจจมในปลัก” ก็คือตกอยู่ในภาวะที่รวมตัวอยู่ในที่เดียวกัน แต่ขยับตัวหรือกระจายแนวออกต่อตีมิได้ มีอันตรายที่จะพังพินาศได้ทุกเวลา ประดุจฝูงสัตว์ที่ขาดหัวหน้า มิมีการบัญชาที่ถูกต้อง ก็จักต้องพ่ายแพ้ไม่ช้าก็เร็ว
กลยุทธ์เผชิญศึก
“ยามเมื่อเผชิญศึก เท็จลวงกับจริงแท้ พึงใช้สอดแทรกซึ่งกันและกันอย่างสลับซับซ้อน ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ”
.....กลยุทธ์ที่ 7 มีในไม่มี
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ให้ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก แต่มิใช้จะล่อลวงจนถึงที่สุด หากแต่เพื่อแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง ทำให้ข้าศึกเกิดความหลงผิด ที่ว่า “ลวง” ก็คือ “หลอกลวง” ที่ว่า “มืด” ก็คือ “เท็จ” จากมืดน้อยไปถึงมืดมาก จากมืดมากแปรเปลี่ยนเป็นสว่างแจ้ง ก็คือใช้ภาพลวงปกปิดภาพจริง ผันจากเท็จลวงให้กลายเป็นแท้จริงแท้ นี้เป็นเรื่องในการศึกเท็จลวงและแท้จริงแท้สลับกันเป็นฟันปลา ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง
.....กลยุทธ์ที่ 8 ลอบตีเฉินชัง
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ในการศึก ใช้โอกาสที่ฝ่ายข้าศึกตัดสินใจจะรักษาพื้นที่ แสร้งทำเป็นจะโจมตีด้านหน้า แต่เข้าจู่โจมในพื้นที่ที่ข้าศึกไม่สนใจอย่างมิได้คาดคิด ใน “คัมภีร์อี้จิง ประโยชน์” เรียกว่า “เข้าจู่โจมดุจพายุ” ซึ่งก็คือกลวิธีวกวนลอบเข้าจู่โจมอย่างเป็นฝ่ายกระทำ เข้าตีข้าศึกโดยมิได้ระวังตัว เอาชนะอย่างมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง
.....กลยุทธ์ที่ 9 ดูไฟชายฝั่ง
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสบกับภาวะที่ข้าศึกแตกแยกวุ่นวายปั่นป่วนอย่างหนัก พึงรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ หากข้าศึกใช้ความป่าเถื่อนแก่กัน ต่างพิพากเข่นฆ่ากัน แนวโน้มก็จักพาไปสู่ความวินาศเอง ในเวลาเยี่ยงนี้จำต้องปฏิบัติให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพข้าศึก ตระเตรียมไว้ก่อนล่งหน้า เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ชิงมาซึ่งชัยชนะโดยใช้การเปลี่ยน แปลงอย่างฉับพลันของทางฝ่ายข้าศึกให้เป็นประโยชน์
.....กลยุทธ์ที่ 10 ซ่อนดาบบนรอยยิ้ม
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องทำให้ข้าศึกเชื่อว่าเรามิได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จึงสงบไม่เคลื่อนเช่นกัน ทั้งเกิดความคิดมึนชาขึ้น แต่เรากลับดำเนินการตระเตรียมเป็นการลับ รอคอยโอกาส เพื่อที่จะออกปฏิบัติการ โดยฉับพลันทันที แต่ต้องระวังมิให้ข้าศึกล่วงรู้ก่อน อันจะทำให้สภาพการณ์เกิดเปลี่ยนแปลงไป
.....กลยุทธ์ที่ 11 หลี่ตายแทนถาว
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อการพัฒนาของสถานการณ์มิเป็นผลดีแก่ตน จักต้องเกิดความเสียหายอย่างหลียกเลี่ยงไม่พัน เพื่อที่จะแปรความเสียเปรียบเป็นความได้เปรียบ ก็จะต้องยอมเสีย “มืด” เพื่อประโยชน์แก่ “สว่าง” ซึ่งก็หมายความว่าจำต้องเสียสละส่วนหนึ่ง เสียค่าตอบแทนน้อย เพื่อแลกกับชัยชนะทั่วทุกด้าน
.....กลยุทธ์ที่ 12 จูงแพะติดมือ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า แม้จะเป็นความเลินเล่อของข้าศึกเพียงเล็กน้อย เราก็พึงฉกฉวยเอาประโยชน์ แม้จะเป็นชัยชนะเพียงเล็กน้อย ก็จะต้องชิงเอามาให้ได้
กลยุทธ์เพื่อการเข้าตี
“เมื่อสองฝ่ายเริ่มรบด้วยกลศึก พึงใช้ทุกมาตรการถือเพทุบายเป็นวิถี เอาชนะด้วยเล่ห์กล”
.....กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น(ปัจจุบันกลายเป็นแหวกหญ้าให้งูตื่น)
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อมีสิ่งใดพึงสงสัย ควรจังส่งคนสอดแนมให้รู้ชัด กุมสภาพข้าศึกได้แล้ว จึงเคลื่อน นี้เรียกว่า “สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน”
.....ใน “คัมภีร์อี้จิง ซ้ำ” ได้อธิบายไว้ว่า “ใช้มรรควิธีเดิมกลับไปมา 7 วัน เมื่อละเอียดแล้ว จึงเข้าใจสิ่งนั้นได้” ความหมายของคำนี้ก็คือ ต่อสิ่งใดก็ตามจังต้องสังเกตซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงจะสามารถจำแนกแยกแยะมันได้ถูก
.....กลยุทธ์ที่ 14 ยืมซากคืนชีพ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ผู้ที่มีความสามารถและมีบทบาทนั้น จะใช้อย่างผลีผลามมิได้ ส่วนผู้ที่ไร้ความสามารถ ก็มักจะมาของความช่วยเหลือจากเรา การใช้ผู้ที่ไร้ความสามารถ มิใช้เพราะว่าเราต้องการจะใช้เขา หากแต่เพราะเขาต้องการพึ่งเรา คำว่า “เด็กไร้เดียงสา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ไร้เดียงสา”
.....กลยุทธ์ที่ 15 ล่อเสือออกจากถ้ำ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอันเป็นเงือนไขตามธรรมชาติ เช่น หนาว ร้อน ฝน แจ้ง เป็นต้น ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างและเพิ่มความยากลำบากให้กับข้าศึก ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ภาพลวงที่เราจงใจสร้างขึ้น ล่อให้ข้าศึกออกจากแนวป้องกัน หลังจากนั้นก็โจมตีหรือทำลายเสีย
.....กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ
กลยุทธ์นี้หมายความว่า ถ้าบีบคั้นจนเกินไปนัก สุนัขก็จักสู้อย่างจนตรอก ปล่ายข้าศึกหนี ก็จักทำลายความเหิมเกริมของข้าศึกได้ ทว่าต้องไล่ตามอย่าละ เพื่อบั่นทอนกำลังของข้าศึกให้กระปลกกะเปลี้ย ครั้นเมื่อสิ้นเรี่ยวแรงใจก็มิคิดต่อสู้ด้วยแล้ว จึงจับ อันเป็นการรบที่ไม่เสียเลือดเนื้อ อีกทั้งทำให้ข้าศึกแตกสลายไปเอง
.....กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้สิ่งที่คล้ายคลึงกันไปล่อข้าศึก ให้ข้าศึกต้องอุบายพ่ายแพ้ไป
การใช้กลยุทธ์นี้ กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของข้าศึก ในตำราพิชัยสงครามชื่อ "ร้อยยุทธการพิสดาร การรบที่ได้ประโยชน์” กล่าวไว้ว่า “เมื่อประมือกับข้าศึก ขุนพลฝ่ายตราข้ามโง่เง่ามิรู้พลิกแพลง จักล่อด้วยประโยชน์ เขาละโมบในประโยชน์ มิรู้ผลร้าย ก็ซุ่มทหารลอบตีได้ ข้าศึกจักพ่ายนี้คือ “ล่อด้วยประโยชน์”
.....กลยุทธ์ที่ 18 จับโจรเอาหัวโจก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จักต้องตีข้าศึกในจุดที่เป็นหัวโจของกองทัพ เพื่อสลายพลังของข้าศึก “มังกรสู้บนปฐพี ก็อับจนหมดหนทาง” เปรียบประดุจมังกรในทะเล ขึ้นมาสู้กับศัตรูบนพื้นแผ่นดิน ก็จักปราชัยแก่ข้าศึกโดยง่าย คำนี้เดิมพบใน “คัมภีร์อี้จิง ดิน” ซึ่งแฝงความนัยว่า “จับโจรให้เอาตัวหัวโจก” อันเป็นกลอุบายใช้วิธี “ตีงูให้ตีหัว” เพื่อสยบข้าศึกอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์ติดพัน
“เมื่อเกิดศึกชุลมุน พึงตีหัวใจเป็นสำคัญ ลวงข้าศึกให้หย่อนการป้องกัน สยบข้าศึกด้อยอ่อนพิชิตแข็ง”
.....กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อเปรียบเทียบกำลังกันแล้ว มิเหนือกว่าข้าศึก พิงหาทางบันทอนความฮึกเหิมลงเสีย
“ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ” ตามคำอธิบายของ “คัมภีร์ 64 ทิศ ปฏิบัติ” “น้ำ” หมายถึงความแกร่ง “ฟ้า” หมายถึงความอ่อน รวมแล้วหมายความว่า เอาอ่อนชนะแข็ง ซึ่งก็คือพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยโอกาสทำลายกำลังส่วนหนึ่งของข้าศึกไปเสีย ให้พ่ายไปสิ้นในภายหลัง
.....กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนในกองทัพของตน เราจักต้องฉวยโอกาสความวุ่นวาย มิรู้ที่จะทำประการใดของข้าศึกนี้ แย่งยึดเอาผลประโยชน์มา หรืออีกนัยหนึ่ง “เอาชัยจากคงวามปั่นป่วน” ดุจดังพายุฝนกระหน่ำยามค่ำคืน ที่ต่ำก็จักขังน้ำ ผู้คนจักเข้าสู่นิทรารมณ์ อันเป็นปกติวิสัยของธรรมชาติมนุษย
.....กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ
กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า รักษาไว้ซึ่งแนวรบเยี่ยงเดิม ให้ดูน่าเกรงขามเหมือนเก่า ฝ่ายมิตรก็มิสงสัย ฝ่ายข้าศึกมิกล้าผลีผลาม ครั้นแล้ว จึงถอนตัวอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังหลักให้หลบเลี่ยงไป
“เลี่ยงเพื่อสลาย ลวง” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ลวง” “เลี่ยง” ก็คือหลบหลีก “ลวง” ก็คือทำให้งงงวย
นี้นับเป็นกลยุทธ์ถอยทัพอย่างไม่กระโตกกระตาก เพื่อเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือหลีกเลี่ยงความสูญเสียอย่างหนึ่ง
.....กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อข้าศึกอ่อนแอจำนวนน้อย พึงโอบล้อมแล้ว ทำลายเสียให้สิ้น เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เราในภายหลัง
“ปล่อย มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” มาจาก “คัมภีร์อีกจิง ปล่อย” “ปล่อย” ในที่นี้หมายถึงการแตกกระจายออกเป็นกองเล็กกองน้อยของข้าศึก กำลังก็อ่อนเปลี้ยจนไร้สมรรถนะที่จะสู้รบแล้ว “ติดพัน” หมายถึงการไล่ติดตามไม่ลดละทั้งใกล้และไกล “มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” ก็คือ ต่อข้าศึกกองเล็กกองน้อย ปล่อยให้หนีไปได้ แม้จะเล็ก แต่ก็สามารถย้อยกลับมาสร้างความยุ่งยากแก่เรา จนเราต้องไล่ติดตามเพื่อทำลายเสีย เช่นนี้มิเป็นประโยชน์แก่เรา
.....กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้
กลยุทธ์นี้หมายความว่า เมื่อถูกจำกัดโดยสภาพแวดล้อม ควรตีเอาข้าศึกที่อยู่ใกล้ตัว จึงจะเป็นประโยชน์แก่ตน โจมตีข้าศึกที่อยู่ไกล จักเป็นผลร้ายแก่ตน
“เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง” หมายความว่า การผูกมิตรนั้น แม้ความคิดเห็นจะไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะร่วมมือกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ต่าง” ความว่า “เปลงไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก”
ดังนั้น ต่อข้าศึกใกล้และไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน นี้เป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับรัฐไกล เพื่อเอาชัยต่อรัฐใกล้อย่างหนึ่ง
.....กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ประเทศเล็กที่อยู่ในระหว่าง 2 ประเทศใหญ่เมื่อถูกข้าศึกบังคับให้สยบอยู่ใต้อำนาจ เราพึงให้ความช่วยเหลือโดยพลัน เพื่อให้ประเทศที่ถูกข่มเหงเชื่อถือ ต่อประเทศที่ตกอยู่ในความยากลำบาก การช่วยเหลือแต่เพียงทางวาจา มิได้มีการกระทำที่เป็นจริง ย่อมจะได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่รอดความช่วยเหลือ
กลยุทธ์ร่วมรบ
“เมื่อร่วมรบด้วยพันธมิตร พึงให้ได้อำนาจบัญชาการ ทั้งฝ่ายเราและศัตรู”
.....กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อกำลังที่ร่วมรบด้วยข้าศึกกับเราหรือต่อข้าศึกจักต้องหาทางเปลี่ยนแปลงแนว รบฝ่ายนั้นอยู่เสมอ ถอดถอนเคลื่อย้ายกำลังสำคัญของฝ่ายนั้นไป รอให้ฝ่ายนั้นอ่อนแอต้องประสบกับความพ่ายแพ้จึงฉวยโอกาสแปรกำลังฝ่ายนั้น ให้กลายมาเป็นของเรา แล้วควบคุมกำลังของฝ่ายนั้นไว้ใต้การบัญชา
.....กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อผู้ที่เข้มแข็งกว่าหรือรัฐใหญ่รังแกผู้ที่อ่อนแอหรือรัฐเล็กแล้ว ก็ควรจะใช้วิธีการตักเตือนให้เกรงกลัว ถ้าแม้นเราแสดงความเข้มแข็งให้ประจักษ์ ก็จักได้รับการสนับสนุนจากผู้อ่อนแอ ถ้าเรากล้าใช้ความรุนแรง ก็จักเป็นที่ยอมรับนับถือแก่ผู้อ่อนแอ
“แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ” เดิมาจาก “คัมภีร์อี้จิง แม้ทัพ” ความเต็มว่า "แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ นี้คือหนทางปกครองแผ่นดินราษฎรจึงขึ้นต่อ”
.....กลยุทธ์ที่ 27 แสร้าทำบอแต่ไม่บ้า
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ยอมแสร้งทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหว อย่าทำเป็นสู่รู้ทำบู่มบ่าม
คำว่า “ดุจดั่งอสนีบาตหยุดฟาดฟัน” เก็บความมาจาก “คัมภีร์อี้จิง หยุด” ความว่า “อสนีบาตฤดูหนาวแฝงกายอยู่ใต้พื้นพสุธา จักแผดร้องก้องนภาคราฤดูใบไม้ผลิ” ซึ่งความหมายว่า ผู้ที่มีสติปัญญามิพึงแสดงตัว แต่พึงเตรียมการทั้งปวงอย่างลับๆ ประหนึ่งคมดาบอยู่ในฝัก มิปรากฏให้เห็น ครั้งเมื่อถึงกาลอันควร ก็จักคำรนคำรามเหมือนสายฟ้า ที่จะกระหน่ำพสุธาให้แตกสลายไปฉะนั้น
.....กลยุทธ์ที่ 28 ขึ้นบ้านชักบันได
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จงใจเปิดจุดอ่อนให้ข้าศึกเห็น สร้างเงื่อนไขและล่อหลอกให้ข้าศึกเข้าตี ครั้นแล้วตัดขาดส่วนหน้าที่คอยสมทบ และส่วนหลังที่เป็นกำลังหนุน บีบให้ข้าศึกเข้าไปในปากถุงที่เปิดอ้าไว้รับหรือในวงล้อมหลุมพรางที่วางดัก ไว้
“เจอพิษ มิควรที่” มีใน “คัมภีร์อี้จิง ขบ” เปรียบประดุจเคี้ยวกระดูกหรือเนื้อเหนี่ยว รังแต่จะทำให้ฟันชำรุดเสียหาย หรือเหมือนดั่งมักได้ในสิ่งที่มิควรได้ ย่อมจักนำมาซึ่งความวิบัติฉะนั้น
.....กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้แนวรบของมิตรมาสร้างแนวรบที่เป็นประโยชน์แต่เราขึ้น แม้กำลังจะน้อย แต่ก็สามารถทำให้ดูเหมือนใหญ่โต ดุจเดียวกับนกอินทรีที่ผกผินอยู่ในอากาศ ปีกขนกางเหยียดมีท่วงท่าน่าเกรงขาม
.....กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดช่องให้สอดแทรก ควรแทรก กุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายไว้
“ค่อยผันสู่ชัยชนะ” พบได้ใน “คัมภีร์อี้จิง รุก” ซึ่งมีความเต็มว่า “สรรพสิงในใต้หล้า เคลื่อนอย่างใจร้อนจักเสีย สงบแต่คล้อยตามจักได้ ค่อยๆผันไปช้าๆ จักเป็นคุณ เคลื่อนดังนี้จึงจะมีผล” อันหมายความว่า การตอกลิ้มเข้าไปในฝ่ายตรงข้าม เพื่อยึดอำนาจการบัญชาการนั้น จัดต้องค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้จึงจะบรรลุซึ่งชัยชนะได้
กลยุทธ์ยามพ่าย
“เมื่อกำลังเราอ่อนแอ แต่ศัตรูกล้าแข็งฮึกห้าว พึงรีบถอยโดยเร็ว ที่ถอยใช้แพ้ แต่เตรียมตีโต้กลับเมื่อพร้อม.....กลยุทธ์ที่ 31 กลสาวงาม
กลยุทธ์นี้หมายความว่า สำรับข้าศึกที่มีกำลังเข้มแข็ง พึงสยบแม่ทัพเสียก่อน ต่อแม่ทัพที่เฉลียวฉลาด ก็โจมตีจุดอ่อนทางใจ ให้มีอุปสรรค ส่วนแม่ทัพที่ย่อนย่อท้อแท้ ไพร่พลที่กำลังถดถอย ก็จักเสื่อมโทรมแพ้พ่ายไปเอง
.....กลยุทธ์ที่ 32 กลปิดเมือง
กลยุทธ์นี้หมายความว่า กำลังเราอ่อนยิ่งจงใจแสดงให้เห็นว่า มิได้มีการป้องกันเลย ทำให้ข้าศึกฉงนสนเท่ห์ ในสภาวะที่ข้าศึกมีกำลังมาก เรามีน้อย การใช้กลยุทธ์เช่นนี้ ก็มีความพิสดารพันลึกเป็นทวีคูณ
“ท่ามกลางแข็งกับอ่อน” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แก้” ใช้ควบกับคำว่า “พิสดาร ซ่อนพิสดาร” ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ข้าศึกแข็งแรงเราอ่อน ให้จัดกำลังโดยใช้กลยุทธ์ “กลวงยิ่งทำกลวง” แสดงให้เห็นถึงความพิสดารในกลศึกที่ข้าศึกคาดคิดไม่ถึง
.....กลยุทธ์ที่ 33 กลไส้ศึก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกสร้างอุบายเพื่อให้ฝ่ายเราเกิดแตกแยก เราก็พึงซ้อนกลสร้างแผนลวงให้ข้าศึกเกิดร้าวฉาน ให้ข้าศึกระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน ที่เราสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้
“มีผู้แฝงอยู่ภายใน ไม่เสียหายแก่เรา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ช่วย” หมายความว่า เนื่องจากมีการช่วยเหลือมาจากภายในของข้าศึก จึงเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเรา เราจึงมีความมั่นใจที่จะตีข้าศึกให้ย่อยยับไป
.....กลยุทธ์ที่ 34 กลทุกข์กาย
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า โดยสามัญสำนึก คนเราทุกคนไม่ทำร้ายตัวเองหากบาดเจ็บ ก็เชื่อว่าคงถูกทำร้าย ถ้าแม้นสามารถทำเท็จให้เป็นจริง ให้ศัตรูเชื่อไม่สงสัย กลอุบายก็จะสัมฤทธิ์ผล ทว่าการทำให้ศัตรูเชื่อ ก็พึงเข้าใจในจุดอ่อนของศัตรู ทำเท็จให้จริงจัง ให้เชื่อจริงแท้
“อาศัยจุดอ่อนแห่งจิต ลู่ตามจึงพิชิต” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ปิด” หมายความว่า อาศัยความไร้เดียงสาของทารก ล่อหลอกโดยโอนอ่อนผ่อนตามไปก็จังลวงให้บรรลุประสงค์ได้
.....กลยุทธ์ที่ 35 กลลูกโซ่
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อกำลังศัตรูเข้มแข็งกว่าหลายเท่า จักปะทะด้วยมิได้เป็นอันขาด พึงใช้กลอุบายนานา ให้ศัตรูต่างถ่วงรั้งซึ่งกันและกันทำลายความแกร่งของศัตรู หรือร่วมมือกับพลังต่างๆทั้งมวล ร่วมกันโจมตี เพื่อขจัดความฮักเหิมของศัตรูไป
“แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” อันความหมายว่า แม่ทัพผู้ปรีชา ย่อมสามารถจะบัญชาการศึกได้อย่างคล่องแคล่วดุจดั่งคล้อยตาม “ความประสงค์ของฟ้า” จักต้องได้รับชัยชนะเป็นมั่นคง
.....กลยุทธ์ที่ 36 หนีคือยอดกลยุทธ์
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อรบกับข้าศึก หากข้าศึดแข็งเราอ่อน อาจจะถอยร่นอย่างรวดเร็ว เพื่อหลบเลี่ยงการปะทะเสียก่อน ดังที่มีคำกล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” ว่า “ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม” ซึ่งชี้ชัดว่า การถอยหนี่ในการทำสงครามนั้น มิใช้ความผิดพลาด หากแต่เป็นเรืองธรรมดาเสียสามัญในการบที่มักจะพบเห็นเสมอ การถอนเช่นนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายในยามที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเพื่อชิงโอกาสตอบโตภายหลังมิใช่ถอยหนีอย่างพ่ายแพ้หมดรูป ตีโต้กลับมิได้อีก
ในตำราพิชั้ยสงครามชือ “ไหวหนานจื่อ ฝึกการยุทธทหาร” เคยกล่าวไว้ว่า “แข็งจึงสู้ อ่อนก็หนี” ในตำราพิชัยสงครามอีกเล่มหนึ่งชื่อ “ปิงฝ่าหยวนจีได้” ก็กล่าวไว้ว่า “แม้นหลบแล้วรักษาไว้ได้ ก็พึงหลบ” ใน “ซุนจื่อ บทกลยุทธ์” ก็กล่าวไว้เช่นกันว่า “แข็งพึงเลี่ยงเสีย”
สรุป 36 กลยุทธ์ หนีประเสริฐสุด
กลยุทธ์ชนะศึก
“ยามเมื่อเราเป็นฝ่ายเหนือกว่า ก่อนอื่นจะต้องสยบข้าศึกลงไป ใช้การรุกรบอย่างเป็นฝ่ายกระทำ ทำสงครามด้วยรูปการที่เป็นผลดีที่สุด’
.....กลยุทธ์ที่ 1 ปิดฟ้าข้ามทะเล
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า สิ่งที่ตนคิดว่าได้ตระเตรียมไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว ก็มักจะมึนชาและประมาทศัตรูได้ง่าย สิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอในยามปรกติก็ไม่เกิดความสงสัยอีกต่อไป
.....กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเว่ยช่วยเจ้า
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกรวมศูนย์กำลังพลไว้ ควรจะใช้กลอุบายดึงแยกข้าศึกออกไป ทำให้กำลังพลกระจัดกระจาย ห่วงหน้าพะวงหลัง ครั้นแล้วจึงเข้าโจมตี นี้ก็คือ “ศัตรูรวมมิสู้ศัตรูแยก” และตำราพิชัยสงครามในสมัยโบราณ ขนานนามยุทธศาสตร์การส่งทหารเข้าบุกข้าศึกก่อนเป็น “ศัตรูแจ้ง” ส่วนยุทธศาสตร์กำราบข้าศึกทีหลังเป็น “ศัตรูมืด”
.....กลยุทธ์ที่ 3 ยืมดาบฆ่าคน
กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า เมื่อศัตรูปรากฏแน่ชัด แต่มิตรยังลังเล สิ่งที่พึงกระทำก็คือล่อให้พันธมิตรออกไปปะทะศัตรู นี้เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งใช้ความขัดแย้ง ยืมกำลังของคนอื่นไปทำลายศัตรู เพื่อรักษากำลังตนเองไว้ แต่การยืมเช่นนี้จะต้องให้แนบเนียน มิฉะนั้นแล้วก็ไม่อาจทำลายศัตรูได้ กลับอาจถูกศัตรูย้อนรอย
.....กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสงค์จักทำให้ข้าศึกตกอยู่ในภาวะลำบาก ไม่แน่ว่าจะต้องใช้วิธีรบแต่ฝ่ายเดียว อาจจะใช้วิธี "แกร่งเสียอ่อนได้” ตามที่กล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง สูญเสีย เมื่อให้ได้รับชัยชนะก็ได้”
“ยามเมื่อเราเป็นฝ่ายเหนือกว่า ก่อนอื่นจะต้องสยบข้าศึกลงไป ใช้การรุกรบอย่างเป็นฝ่ายกระทำ ทำสงครามด้วยรูปการที่เป็นผลดีที่สุด’
.....กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตายไฟ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ ควรฉวยโอกาสรุกรบโจมตี เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือให้ผู้เข้มแข็งออกโรงเข้าแทรกแซงให้ผู้อ่อนกว่ายอมสยบด้วย นี้ก็คือที่เรียกว่า “ใช้ความแกร่งพิชิตความอ่อน”
.....กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียงบุรพาฝ่าตีประจิม
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ตามคำอธิบายของ “คัมภีร์อี้จิง ปั่นป่วน” คำว่า “ดุจจมในปลัก” ก็คือตกอยู่ในภาวะที่รวมตัวอยู่ในที่เดียวกัน แต่ขยับตัวหรือกระจายแนวออกต่อตีมิได้ มีอันตรายที่จะพังพินาศได้ทุกเวลา ประดุจฝูงสัตว์ที่ขาดหัวหน้า มิมีการบัญชาที่ถูกต้อง ก็จักต้องพ่ายแพ้ไม่ช้าก็เร็ว
กลยุทธ์เผชิญศึก
“ยามเมื่อเผชิญศึก เท็จลวงกับจริงแท้ พึงใช้สอดแทรกซึ่งกันและกันอย่างสลับซับซ้อน ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ”
.....กลยุทธ์ที่ 7 มีในไม่มี
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ให้ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก แต่มิใช้จะล่อลวงจนถึงที่สุด หากแต่เพื่อแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง ทำให้ข้าศึกเกิดความหลงผิด ที่ว่า “ลวง” ก็คือ “หลอกลวง” ที่ว่า “มืด” ก็คือ “เท็จ” จากมืดน้อยไปถึงมืดมาก จากมืดมากแปรเปลี่ยนเป็นสว่างแจ้ง ก็คือใช้ภาพลวงปกปิดภาพจริง ผันจากเท็จลวงให้กลายเป็นแท้จริงแท้ นี้เป็นเรื่องในการศึกเท็จลวงและแท้จริงแท้สลับกันเป็นฟันปลา ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง
.....กลยุทธ์ที่ 8 ลอบตีเฉินชัง
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ในการศึก ใช้โอกาสที่ฝ่ายข้าศึกตัดสินใจจะรักษาพื้นที่ แสร้งทำเป็นจะโจมตีด้านหน้า แต่เข้าจู่โจมในพื้นที่ที่ข้าศึกไม่สนใจอย่างมิได้คาดคิด ใน “คัมภีร์อี้จิง ประโยชน์” เรียกว่า “เข้าจู่โจมดุจพายุ” ซึ่งก็คือกลวิธีวกวนลอบเข้าจู่โจมอย่างเป็นฝ่ายกระทำ เข้าตีข้าศึกโดยมิได้ระวังตัว เอาชนะอย่างมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง
.....กลยุทธ์ที่ 9 ดูไฟชายฝั่ง
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสบกับภาวะที่ข้าศึกแตกแยกวุ่นวายปั่นป่วนอย่างหนัก พึงรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ หากข้าศึกใช้ความป่าเถื่อนแก่กัน ต่างพิพากเข่นฆ่ากัน แนวโน้มก็จักพาไปสู่ความวินาศเอง ในเวลาเยี่ยงนี้จำต้องปฏิบัติให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพข้าศึก ตระเตรียมไว้ก่อนล่งหน้า เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ชิงมาซึ่งชัยชนะโดยใช้การเปลี่ยน แปลงอย่างฉับพลันของทางฝ่ายข้าศึกให้เป็นประโยชน์
.....กลยุทธ์ที่ 10 ซ่อนดาบบนรอยยิ้ม
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องทำให้ข้าศึกเชื่อว่าเรามิได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จึงสงบไม่เคลื่อนเช่นกัน ทั้งเกิดความคิดมึนชาขึ้น แต่เรากลับดำเนินการตระเตรียมเป็นการลับ รอคอยโอกาส เพื่อที่จะออกปฏิบัติการ โดยฉับพลันทันที แต่ต้องระวังมิให้ข้าศึกล่วงรู้ก่อน อันจะทำให้สภาพการณ์เกิดเปลี่ยนแปลงไป
.....กลยุทธ์ที่ 11 หลี่ตายแทนถาว
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อการพัฒนาของสถานการณ์มิเป็นผลดีแก่ตน จักต้องเกิดความเสียหายอย่างหลียกเลี่ยงไม่พัน เพื่อที่จะแปรความเสียเปรียบเป็นความได้เปรียบ ก็จะต้องยอมเสีย “มืด” เพื่อประโยชน์แก่ “สว่าง” ซึ่งก็หมายความว่าจำต้องเสียสละส่วนหนึ่ง เสียค่าตอบแทนน้อย เพื่อแลกกับชัยชนะทั่วทุกด้าน
.....กลยุทธ์ที่ 12 จูงแพะติดมือ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า แม้จะเป็นความเลินเล่อของข้าศึกเพียงเล็กน้อย เราก็พึงฉกฉวยเอาประโยชน์ แม้จะเป็นชัยชนะเพียงเล็กน้อย ก็จะต้องชิงเอามาให้ได้
กลยุทธ์เพื่อการเข้าตี
“เมื่อสองฝ่ายเริ่มรบด้วยกลศึก พึงใช้ทุกมาตรการถือเพทุบายเป็นวิถี เอาชนะด้วยเล่ห์กล”
.....กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น(ปัจจุบันกลายเป็นแหวกหญ้าให้งูตื่น)
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อมีสิ่งใดพึงสงสัย ควรจังส่งคนสอดแนมให้รู้ชัด กุมสภาพข้าศึกได้แล้ว จึงเคลื่อน นี้เรียกว่า “สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน”
.....ใน “คัมภีร์อี้จิง ซ้ำ” ได้อธิบายไว้ว่า “ใช้มรรควิธีเดิมกลับไปมา 7 วัน เมื่อละเอียดแล้ว จึงเข้าใจสิ่งนั้นได้” ความหมายของคำนี้ก็คือ ต่อสิ่งใดก็ตามจังต้องสังเกตซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงจะสามารถจำแนกแยกแยะมันได้ถูก
.....กลยุทธ์ที่ 14 ยืมซากคืนชีพ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ผู้ที่มีความสามารถและมีบทบาทนั้น จะใช้อย่างผลีผลามมิได้ ส่วนผู้ที่ไร้ความสามารถ ก็มักจะมาของความช่วยเหลือจากเรา การใช้ผู้ที่ไร้ความสามารถ มิใช้เพราะว่าเราต้องการจะใช้เขา หากแต่เพราะเขาต้องการพึ่งเรา คำว่า “เด็กไร้เดียงสา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ไร้เดียงสา”
.....กลยุทธ์ที่ 15 ล่อเสือออกจากถ้ำ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอันเป็นเงือนไขตามธรรมชาติ เช่น หนาว ร้อน ฝน แจ้ง เป็นต้น ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างและเพิ่มความยากลำบากให้กับข้าศึก ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ภาพลวงที่เราจงใจสร้างขึ้น ล่อให้ข้าศึกออกจากแนวป้องกัน หลังจากนั้นก็โจมตีหรือทำลายเสีย
.....กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ
กลยุทธ์นี้หมายความว่า ถ้าบีบคั้นจนเกินไปนัก สุนัขก็จักสู้อย่างจนตรอก ปล่ายข้าศึกหนี ก็จักทำลายความเหิมเกริมของข้าศึกได้ ทว่าต้องไล่ตามอย่าละ เพื่อบั่นทอนกำลังของข้าศึกให้กระปลกกะเปลี้ย ครั้นเมื่อสิ้นเรี่ยวแรงใจก็มิคิดต่อสู้ด้วยแล้ว จึงจับ อันเป็นการรบที่ไม่เสียเลือดเนื้อ อีกทั้งทำให้ข้าศึกแตกสลายไปเอง
.....กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้สิ่งที่คล้ายคลึงกันไปล่อข้าศึก ให้ข้าศึกต้องอุบายพ่ายแพ้ไป
การใช้กลยุทธ์นี้ กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของข้าศึก ในตำราพิชัยสงครามชื่อ "ร้อยยุทธการพิสดาร การรบที่ได้ประโยชน์” กล่าวไว้ว่า “เมื่อประมือกับข้าศึก ขุนพลฝ่ายตราข้ามโง่เง่ามิรู้พลิกแพลง จักล่อด้วยประโยชน์ เขาละโมบในประโยชน์ มิรู้ผลร้าย ก็ซุ่มทหารลอบตีได้ ข้าศึกจักพ่ายนี้คือ “ล่อด้วยประโยชน์”
.....กลยุทธ์ที่ 18 จับโจรเอาหัวโจก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จักต้องตีข้าศึกในจุดที่เป็นหัวโจของกองทัพ เพื่อสลายพลังของข้าศึก “มังกรสู้บนปฐพี ก็อับจนหมดหนทาง” เปรียบประดุจมังกรในทะเล ขึ้นมาสู้กับศัตรูบนพื้นแผ่นดิน ก็จักปราชัยแก่ข้าศึกโดยง่าย คำนี้เดิมพบใน “คัมภีร์อี้จิง ดิน” ซึ่งแฝงความนัยว่า “จับโจรให้เอาตัวหัวโจก” อันเป็นกลอุบายใช้วิธี “ตีงูให้ตีหัว” เพื่อสยบข้าศึกอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์ติดพัน
“เมื่อเกิดศึกชุลมุน พึงตีหัวใจเป็นสำคัญ ลวงข้าศึกให้หย่อนการป้องกัน สยบข้าศึกด้อยอ่อนพิชิตแข็ง”
.....กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อเปรียบเทียบกำลังกันแล้ว มิเหนือกว่าข้าศึก พิงหาทางบันทอนความฮึกเหิมลงเสีย
“ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ” ตามคำอธิบายของ “คัมภีร์ 64 ทิศ ปฏิบัติ” “น้ำ” หมายถึงความแกร่ง “ฟ้า” หมายถึงความอ่อน รวมแล้วหมายความว่า เอาอ่อนชนะแข็ง ซึ่งก็คือพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยโอกาสทำลายกำลังส่วนหนึ่งของข้าศึกไปเสีย ให้พ่ายไปสิ้นในภายหลัง
.....กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนในกองทัพของตน เราจักต้องฉวยโอกาสความวุ่นวาย มิรู้ที่จะทำประการใดของข้าศึกนี้ แย่งยึดเอาผลประโยชน์มา หรืออีกนัยหนึ่ง “เอาชัยจากคงวามปั่นป่วน” ดุจดังพายุฝนกระหน่ำยามค่ำคืน ที่ต่ำก็จักขังน้ำ ผู้คนจักเข้าสู่นิทรารมณ์ อันเป็นปกติวิสัยของธรรมชาติมนุษย
.....กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ
กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า รักษาไว้ซึ่งแนวรบเยี่ยงเดิม ให้ดูน่าเกรงขามเหมือนเก่า ฝ่ายมิตรก็มิสงสัย ฝ่ายข้าศึกมิกล้าผลีผลาม ครั้นแล้ว จึงถอนตัวอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังหลักให้หลบเลี่ยงไป
“เลี่ยงเพื่อสลาย ลวง” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ลวง” “เลี่ยง” ก็คือหลบหลีก “ลวง” ก็คือทำให้งงงวย
นี้นับเป็นกลยุทธ์ถอยทัพอย่างไม่กระโตกกระตาก เพื่อเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือหลีกเลี่ยงความสูญเสียอย่างหนึ่ง
.....กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อข้าศึกอ่อนแอจำนวนน้อย พึงโอบล้อมแล้ว ทำลายเสียให้สิ้น เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เราในภายหลัง
“ปล่อย มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” มาจาก “คัมภีร์อีกจิง ปล่อย” “ปล่อย” ในที่นี้หมายถึงการแตกกระจายออกเป็นกองเล็กกองน้อยของข้าศึก กำลังก็อ่อนเปลี้ยจนไร้สมรรถนะที่จะสู้รบแล้ว “ติดพัน” หมายถึงการไล่ติดตามไม่ลดละทั้งใกล้และไกล “มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” ก็คือ ต่อข้าศึกกองเล็กกองน้อย ปล่อยให้หนีไปได้ แม้จะเล็ก แต่ก็สามารถย้อยกลับมาสร้างความยุ่งยากแก่เรา จนเราต้องไล่ติดตามเพื่อทำลายเสีย เช่นนี้มิเป็นประโยชน์แก่เรา
.....กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้
กลยุทธ์นี้หมายความว่า เมื่อถูกจำกัดโดยสภาพแวดล้อม ควรตีเอาข้าศึกที่อยู่ใกล้ตัว จึงจะเป็นประโยชน์แก่ตน โจมตีข้าศึกที่อยู่ไกล จักเป็นผลร้ายแก่ตน
“เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง” หมายความว่า การผูกมิตรนั้น แม้ความคิดเห็นจะไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะร่วมมือกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ต่าง” ความว่า “เปลงไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก”
ดังนั้น ต่อข้าศึกใกล้และไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน นี้เป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับรัฐไกล เพื่อเอาชัยต่อรัฐใกล้อย่างหนึ่ง
.....กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ประเทศเล็กที่อยู่ในระหว่าง 2 ประเทศใหญ่เมื่อถูกข้าศึกบังคับให้สยบอยู่ใต้อำนาจ เราพึงให้ความช่วยเหลือโดยพลัน เพื่อให้ประเทศที่ถูกข่มเหงเชื่อถือ ต่อประเทศที่ตกอยู่ในความยากลำบาก การช่วยเหลือแต่เพียงทางวาจา มิได้มีการกระทำที่เป็นจริง ย่อมจะได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่รอดความช่วยเหลือ
กลยุทธ์ร่วมรบ
“เมื่อร่วมรบด้วยพันธมิตร พึงให้ได้อำนาจบัญชาการ ทั้งฝ่ายเราและศัตรู”
.....กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อกำลังที่ร่วมรบด้วยข้าศึกกับเราหรือต่อข้าศึกจักต้องหาทางเปลี่ยนแปลงแนว รบฝ่ายนั้นอยู่เสมอ ถอดถอนเคลื่อย้ายกำลังสำคัญของฝ่ายนั้นไป รอให้ฝ่ายนั้นอ่อนแอต้องประสบกับความพ่ายแพ้จึงฉวยโอกาสแปรกำลังฝ่ายนั้น ให้กลายมาเป็นของเรา แล้วควบคุมกำลังของฝ่ายนั้นไว้ใต้การบัญชา
.....กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อผู้ที่เข้มแข็งกว่าหรือรัฐใหญ่รังแกผู้ที่อ่อนแอหรือรัฐเล็กแล้ว ก็ควรจะใช้วิธีการตักเตือนให้เกรงกลัว ถ้าแม้นเราแสดงความเข้มแข็งให้ประจักษ์ ก็จักได้รับการสนับสนุนจากผู้อ่อนแอ ถ้าเรากล้าใช้ความรุนแรง ก็จักเป็นที่ยอมรับนับถือแก่ผู้อ่อนแอ
“แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ” เดิมาจาก “คัมภีร์อี้จิง แม้ทัพ” ความเต็มว่า "แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ นี้คือหนทางปกครองแผ่นดินราษฎรจึงขึ้นต่อ”
.....กลยุทธ์ที่ 27 แสร้าทำบอแต่ไม่บ้า
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ยอมแสร้งทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหว อย่าทำเป็นสู่รู้ทำบู่มบ่าม
คำว่า “ดุจดั่งอสนีบาตหยุดฟาดฟัน” เก็บความมาจาก “คัมภีร์อี้จิง หยุด” ความว่า “อสนีบาตฤดูหนาวแฝงกายอยู่ใต้พื้นพสุธา จักแผดร้องก้องนภาคราฤดูใบไม้ผลิ” ซึ่งความหมายว่า ผู้ที่มีสติปัญญามิพึงแสดงตัว แต่พึงเตรียมการทั้งปวงอย่างลับๆ ประหนึ่งคมดาบอยู่ในฝัก มิปรากฏให้เห็น ครั้งเมื่อถึงกาลอันควร ก็จักคำรนคำรามเหมือนสายฟ้า ที่จะกระหน่ำพสุธาให้แตกสลายไปฉะนั้น
.....กลยุทธ์ที่ 28 ขึ้นบ้านชักบันได
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จงใจเปิดจุดอ่อนให้ข้าศึกเห็น สร้างเงื่อนไขและล่อหลอกให้ข้าศึกเข้าตี ครั้นแล้วตัดขาดส่วนหน้าที่คอยสมทบ และส่วนหลังที่เป็นกำลังหนุน บีบให้ข้าศึกเข้าไปในปากถุงที่เปิดอ้าไว้รับหรือในวงล้อมหลุมพรางที่วางดัก ไว้
“เจอพิษ มิควรที่” มีใน “คัมภีร์อี้จิง ขบ” เปรียบประดุจเคี้ยวกระดูกหรือเนื้อเหนี่ยว รังแต่จะทำให้ฟันชำรุดเสียหาย หรือเหมือนดั่งมักได้ในสิ่งที่มิควรได้ ย่อมจักนำมาซึ่งความวิบัติฉะนั้น
.....กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้แนวรบของมิตรมาสร้างแนวรบที่เป็นประโยชน์แต่เราขึ้น แม้กำลังจะน้อย แต่ก็สามารถทำให้ดูเหมือนใหญ่โต ดุจเดียวกับนกอินทรีที่ผกผินอยู่ในอากาศ ปีกขนกางเหยียดมีท่วงท่าน่าเกรงขาม
.....กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดช่องให้สอดแทรก ควรแทรก กุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายไว้
“ค่อยผันสู่ชัยชนะ” พบได้ใน “คัมภีร์อี้จิง รุก” ซึ่งมีความเต็มว่า “สรรพสิงในใต้หล้า เคลื่อนอย่างใจร้อนจักเสีย สงบแต่คล้อยตามจักได้ ค่อยๆผันไปช้าๆ จักเป็นคุณ เคลื่อนดังนี้จึงจะมีผล” อันหมายความว่า การตอกลิ้มเข้าไปในฝ่ายตรงข้าม เพื่อยึดอำนาจการบัญชาการนั้น จัดต้องค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้จึงจะบรรลุซึ่งชัยชนะได้
กลยุทธ์ยามพ่าย
“เมื่อกำลังเราอ่อนแอ แต่ศัตรูกล้าแข็งฮึกห้าว พึงรีบถอยโดยเร็ว ที่ถอยใช้แพ้ แต่เตรียมตีโต้กลับเมื่อพร้อม.....กลยุทธ์ที่ 31 กลสาวงาม
กลยุทธ์นี้หมายความว่า สำรับข้าศึกที่มีกำลังเข้มแข็ง พึงสยบแม่ทัพเสียก่อน ต่อแม่ทัพที่เฉลียวฉลาด ก็โจมตีจุดอ่อนทางใจ ให้มีอุปสรรค ส่วนแม่ทัพที่ย่อนย่อท้อแท้ ไพร่พลที่กำลังถดถอย ก็จักเสื่อมโทรมแพ้พ่ายไปเอง
.....กลยุทธ์ที่ 32 กลปิดเมือง
กลยุทธ์นี้หมายความว่า กำลังเราอ่อนยิ่งจงใจแสดงให้เห็นว่า มิได้มีการป้องกันเลย ทำให้ข้าศึกฉงนสนเท่ห์ ในสภาวะที่ข้าศึกมีกำลังมาก เรามีน้อย การใช้กลยุทธ์เช่นนี้ ก็มีความพิสดารพันลึกเป็นทวีคูณ
“ท่ามกลางแข็งกับอ่อน” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แก้” ใช้ควบกับคำว่า “พิสดาร ซ่อนพิสดาร” ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ข้าศึกแข็งแรงเราอ่อน ให้จัดกำลังโดยใช้กลยุทธ์ “กลวงยิ่งทำกลวง” แสดงให้เห็นถึงความพิสดารในกลศึกที่ข้าศึกคาดคิดไม่ถึง
.....กลยุทธ์ที่ 33 กลไส้ศึก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกสร้างอุบายเพื่อให้ฝ่ายเราเกิดแตกแยก เราก็พึงซ้อนกลสร้างแผนลวงให้ข้าศึกเกิดร้าวฉาน ให้ข้าศึกระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน ที่เราสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้
“มีผู้แฝงอยู่ภายใน ไม่เสียหายแก่เรา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ช่วย” หมายความว่า เนื่องจากมีการช่วยเหลือมาจากภายในของข้าศึก จึงเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเรา เราจึงมีความมั่นใจที่จะตีข้าศึกให้ย่อยยับไป
.....กลยุทธ์ที่ 34 กลทุกข์กาย
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า โดยสามัญสำนึก คนเราทุกคนไม่ทำร้ายตัวเองหากบาดเจ็บ ก็เชื่อว่าคงถูกทำร้าย ถ้าแม้นสามารถทำเท็จให้เป็นจริง ให้ศัตรูเชื่อไม่สงสัย กลอุบายก็จะสัมฤทธิ์ผล ทว่าการทำให้ศัตรูเชื่อ ก็พึงเข้าใจในจุดอ่อนของศัตรู ทำเท็จให้จริงจัง ให้เชื่อจริงแท้
“อาศัยจุดอ่อนแห่งจิต ลู่ตามจึงพิชิต” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ปิด” หมายความว่า อาศัยความไร้เดียงสาของทารก ล่อหลอกโดยโอนอ่อนผ่อนตามไปก็จังลวงให้บรรลุประสงค์ได้
.....กลยุทธ์ที่ 35 กลลูกโซ่
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อกำลังศัตรูเข้มแข็งกว่าหลายเท่า จักปะทะด้วยมิได้เป็นอันขาด พึงใช้กลอุบายนานา ให้ศัตรูต่างถ่วงรั้งซึ่งกันและกันทำลายความแกร่งของศัตรู หรือร่วมมือกับพลังต่างๆทั้งมวล ร่วมกันโจมตี เพื่อขจัดความฮักเหิมของศัตรูไป
“แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” อันความหมายว่า แม่ทัพผู้ปรีชา ย่อมสามารถจะบัญชาการศึกได้อย่างคล่องแคล่วดุจดั่งคล้อยตาม “ความประสงค์ของฟ้า” จักต้องได้รับชัยชนะเป็นมั่นคง
.....กลยุทธ์ที่ 36 หนีคือยอดกลยุทธ์
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อรบกับข้าศึก หากข้าศึดแข็งเราอ่อน อาจจะถอยร่นอย่างรวดเร็ว เพื่อหลบเลี่ยงการปะทะเสียก่อน ดังที่มีคำกล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” ว่า “ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม” ซึ่งชี้ชัดว่า การถอยหนี่ในการทำสงครามนั้น มิใช้ความผิดพลาด หากแต่เป็นเรืองธรรมดาเสียสามัญในการบที่มักจะพบเห็นเสมอ การถอนเช่นนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายในยามที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเพื่อชิงโอกาสตอบโตภายหลังมิใช่ถอยหนีอย่างพ่ายแพ้หมดรูป ตีโต้กลับมิได้อีก
ในตำราพิชั้ยสงครามชือ “ไหวหนานจื่อ ฝึกการยุทธทหาร” เคยกล่าวไว้ว่า “แข็งจึงสู้ อ่อนก็หนี” ในตำราพิชัยสงครามอีกเล่มหนึ่งชื่อ “ปิงฝ่าหยวนจีได้” ก็กล่าวไว้ว่า “แม้นหลบแล้วรักษาไว้ได้ ก็พึงหลบ” ใน “ซุนจื่อ บทกลยุทธ์” ก็กล่าวไว้เช่นกันว่า “แข็งพึงเลี่ยงเสีย”
สรุป 36 กลยุทธ์ หนีประเสริฐสุด
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น