ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ไวยากรณ์ ภาษาอังกฤษ

    ลำดับตอนที่ #4 : คำนาม: พจน์ของคำนาม

    • อัปเดตล่าสุด 6 ต.ค. 51


          ๒.๒   พจน์ของคำนาม          ในภาษาไทย คำนามจะไม่ผันตามพจน์ กล่าวคือ เมื่อเรากล่าวถึงคน ๑ คน เราก็จะพูดว่า “หนึ่งคน”   เมื่อเรากล่าวถึงคน ๒ คน เราก็จะพูดว่า “สองคน” สิ่งที่ต้องสังเกตก็คือว่า คำว่า “คน” นี้ยังใช้เป็นคำเดิม...แล้วจะพูดเพื่อ?
                   คำตอบก็คือ เพื่อที่จะบอกว่าคำนามในภาษาอังกฤษจะแปรผันตามพจน์ซึ่งต่างจากในภาษาไทย กล่าวคือ ถ้าเรากล่าวถึงคน ๑ คน เราต้องพูดว่า “One man” (or “a man”) แต่ถ้าเราจะกล่าวถึง คน ๒ คน เราต้องพูดว่า “Two men”
                   พจน์ของคำนามนั้นแบ่งออกได้เป็น นามเอกพจน์ (คือคำนามที่จะกล่าวถึงเพียงสิ่งเดียว อันเดียว) ซึ่งต้องตามหลังคำนำหน้านามเสมอ เช่น a man, a girl, a book เป็นต้น   และนามพหูพจน์ (คือนามที่จะกล่าวถึงมากกว่าหนึ่งสิ่ง) เช่น men, girls, books เป็นต้น
     
                   หลักทั่วไปในการผันคำนามเป็นรูปพหูพจน์ที่ควรรู้ (ย้ำนะว่า “แค่ที่ควรรู้” เพราะจริงๆแล้วรายละเอียดมันเยอะมากๆ) มีดังต่อไปนี้
    ๑. หลักทั่วไป เติม “s” ท้ายคำนามเอกพจน์
    เช่น                      man              men
                               girl                girls
                               book             books
    คำยกเว้น           child           children
     
    ๒.   คำที่ลงท้ายด้วย   –s, -sh, -ss, -ch, -x ให้เติม "es" ท้ายคำ
    เช่น                      bus               buses
                               bush             bushes
                               glass             glasses
                               watch            watches
                               box               boxes
    คำยกเว้น           ox              oxen
     
    ๓.   คำที่ลงท้ายด้วย –o ก็ให้เติม “es” ท้ายคำ แต่ถ้าหน้า –o เป็นสระ ให้เติม “s” ท้ายคำ
    เช่น                      tomato          tomatoes
                               potato           potatoes
                               mango          mangoes
    แต่                      kangaroo      kangaroos
                               zoo               zoos
                               radio             radios
                               stereo           stereos
    คำยกเว้น           dynamo       dynamos
                          photo                   photos
                          piano                   pianos
                          memento     mementos      (ไม่ได้มีแค่นี้)
     
    ๔.   คำที่ลงท้ายด้วย –y  ให้ (๑)เปลี่ยน y เป็น i  (๒)แล้วเติม "es"
          แต่  ถ้าหน้า  y เป็นสระ  จะเติม  s ได้เลย
    เช่น                      baby             babies
                               sixty              sixties
                               city                cities
    แต่                      toy                toys
                               boy               boys
     
    ๕.   คำที่ลงท้ายด้วย –f หรือ –fe ให้ (๑)เปลี่ยน f,fe เป็น v (๒)แล้วเติม "es"
    เช่น                      thief              thieve
                               wife               wives
                               wolf               wolves
                               life                 lives
    ยกเว้น              chief           chiefs
                          belief          beliefs
                          dwarf                   dwarfs
                          roof            roofs
                          proof          proofs
     
    ๖.  คำเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปสระภายในคำเมื่อเป็นพหูพจน์
    เช่น                      man              men
                               woman          women
                               foot               feet
                               tooth             teeth
                               goose           geese
                               mouse           mice
                               louse             lice
     
    ๗.   คำบางคำใช้เอกพจน์และพหูพจน์ในรูปเดียวกัน   เช่น fruit, fish, salmon, dear, sheep, swine, cod เป็นต้น   ( คำว่า “fruits” กับ “fishes” ก็มี แต่จะแปลว่า ผลไม้หลายพันธุ์ และปลาหลายพันธุ์ตามลำดับ)
     
    ยังมีรายละเอียดอีกมาก
    ทางที่ดีก็เปิด Dictionary ภาษาอังกฤษเพื่อตรวจสอบเสียก่อนนะครับ
    จะได้ไม่พลาดและได้เรียนรู้ไปด้วย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×