ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ไวยากรณ์ ภาษาอังกฤษ

    ลำดับตอนที่ #16 : คำคุณศัพท์: กล่าวทั่วไป

    • อัปเดตล่าสุด 11 ต.ค. 51


    />

    ๕.  คำคุณศัพท์ (Adjective)   หมายถึง คำที่ไปทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามเพื่อบอกลักษณะ ปริมาณ จำนวน ฯลฯ ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น   โดยมีตำแหน่งการวางหลักๆ ๒ แห่ง คือ

          ๑.)    วางไว้หน้าคำนาม

    เช่น          She is a handsome woman.

                   เธอเป็นสาวเท่ห์คนหนึ่ง

                   Ordinary-looking persons cannot often choose the one whom they really love.

                   คนที่ดูธรรมดาๆมักจะไม่สามารถเลือกคนที่เขารักจริงๆได้

                   (ขออภัย ไม่รู้จะยกตัวอย่างอะไรดี)

    ๒.)         วางไว้หลังคำกริยา to be หรือหลังคำกริยาเชื่อม (Linking Verbs)

    เช่น          She is handsome.

                   เธอเป็นคนเท่ห์

                   She looks happy today.

                   เธอดูมีความสุขนะวันนี้

     

          ต้องขออภัยจริงๆ ตอนแรกจะทำแบบคำสรรพนาม คือ แต่งประโยตตัวอย่างแล้วระบายสีให้ แต่คิดยังไงก็คิดไม่ออกจริงๆ เอาเป็นว่าเราจะมาดูเรื่องชนิดกันเลยแล้วกัน

          ในที่นี้ แบ่งคำคุณศัพท์ออกเป็น ๑๐ ชนิด (แต่จะกล่าวถึงในช่วงที่ ๑ นี้หลักๆเพียง ๕ ชนิด   ส่วนบางชนิดที่ค่อนข้างมั่นใจว่าจะไม่กล่าวถึงอีกเลยก็จะกล่าวไปเลยในหน้านี้)   ได้แก่

    ๑.     คำคุณศัพท์บอกลักษณะ (Descriptive Adjective)

    ๒.     คำคุณศัพท์บ่งปริมาณ (Quantitative Adjective)   ในส่วนนี้ได้กล่าวถึงไปบ้างแล้วตอนอธิบายเรื่องคำอนิยมสรรพนาม อย่างไรก็ดีจะขอทวนสักเล็กน้อย เพราะจะไม่พูดถึงเรื่องนี้อย่างละเอียดในช่วงนี้ (แต่อาจจะพูดในช่วงอื่น)

    คำคุณศัพท์บ่งปริมาณ ก็ได้แก่ some, any, all, much, many เป็นต้น

    หากเป็นคุณศัพท์ คำเหล่านี้ต้องไปขยายคำนาม (ไม่ใช่ไปแทนคำนาม; ถ้าไปแทนคำนามแสดงว่าเป็นคำสรรพนาม)

    เช่น       Some students are cleaning up their room.

                เช่นนี้ คำว่า some จะไปขยายคำนาม students แล้วจะแปลว่า นักเรียนบางคน (เป็นการทำให้คำนาม students ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยบ่งปริมาณว่ามีนักเรียนบางคนทำความสะอาด; ถ้าเขียนมาลอยๆว่า students ก็จะไม่รู้ว่าไอ้นักเรียนหลายคนนี่หมายถึงนักเรียนทุกคน หรือนักเรียนแค่บางคนกันแน่)

     

                แต่ถ้าเติมประโยคต่อไป

                Some students are cleaning up their room. Some are sweeping; some are mopping

                  ในส่วนประโยคสีชมพูนี้จะเห็นได้ว่า คำว่า some ไม่ได้ไปขยายอะไร (ไม่ได้วางไว้หน้าคำนามใดๆ) แต่เป็นการใช้แทนคำนามที่ว่า some students (นักเรียนบางคน) จึงจัดเป็นคำสรรพนามนั่นเอง

    ๓.     คุณศัพท์บอกจำนวน (Numeral Adjective)

    ๔.     คุณศัพท์ชี้เฉพาะ (Demonstrative Adjective)

    ๕.     คุณศัพท์แบ่งพวก (Distributive Adjective)

    ๖.     คุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Adjective) เช่น my, your, his, its เป็นต้น

    ๗.     คุณศัพท์คำถาม (Interrogative Adjective) เช่น what…, which…, whose… เป็นต้น

    ๘.     คุณศัพท์เน้นความ (Emphasizing Adjective) หมายถึง คุณศัพท์ที่ใช้เน้นความหมายให้หนักแน่น ได้แก่ very, own, complete, utter, absolute

    เช่น      She is an absolute teacher.

                เธอช่างเป็นครูอย่างแท้จริง (เน้นว่าอย่างแท้จริง)

                She has not her own computer.

                เธอไม่มีเครื่องคณิตกรเป็นของของเธอเอง (เน้นว่าของเธอ)

    ๙.     คุณศัพท์บอกอุทาน (Exclamatory Adjective)

    เช่น       What a splendid the idea it is!

                ช่างเป็นความคิดที่ดีได้โล่อะไรเช่นนี้

    ๑๐.    
    คุณศัพท์สัมพันธ์ (Relative Adjective)

    เช่น      You are not allowed to know whatever you ought not to know.

                คุณห้ามรู้ในเรื่องอะไรก็ตามที่คุณไม่ควรรู้

                I always want whichever you do not want.

                         ฉันต้องการในสิ่งใดก็ตามที่คุณไม่ต้องการเสมอๆ

    .

                     
    ในช่วงที่ ๑ นี้ จะกล่าวถึงเพียง คุณศัพท์บอกลักษณะ, คุณศัพท์บอกจำนวน, คุณศัพท์ชี้เฉพาะ, คุณศัพท์แบ่งพวก และคุณศัพท์คำถาม เท่านั้น


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×