ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    = Biology :: ชีววิทยา =

    ลำดับตอนที่ #6 : * ดอก (flower)

    • อัปเดตล่าสุด 30 ก.ย. 52


    * ก (flower)

     

    ดอก หมายถึง ส่วนของพืชที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์

     

    โดยกิ่งที่เปลี่ยนสภาพมาเป็นดอกจะมีลักษณะแตกต่างจากกิ่งธรรมดาทั่วไป คือ มีปล้องสั้นมาก และส่วนต่างๆ บริเวณข้อของกิ่งนี้จะไม่มีตา และมีขีดจำกัดในการเจริญเติบโต คือ สิ้นสุดที่ส่วนประกอบของดอกเท่านั้น ในขณะที่กิ่งปกติจะสามารถแตกใบออกไปได้เรื่อยๆ ไม่มีการสิ้นสุด

     

    จะเห็นว่าดอกมีแกนกลางคล้ายกับลำต้น และมีกลีบต่างๆ คล้ายกับใบ ดังรูป

              
               http://www.sparknotes.com/biology/plants/plantstructures/answers/solution_23.html


     

              ดอกมีรยางค์ (Appendage) *** อยู่รอบๆ แกนกลางที่คล้ายลำต้น ตรงบริเวณที่เรียกว่า ฐานรองดอก (receptacle) และดอกจะมีก้านดอก (peduncle หรือ pedicel) เป็นส่วนที่เหมือนกับกิ่งหรือก้านใบ (เพราะมีเนื้อเยื่อภายในเหมือนกัน) ดอกที่ไม่มีก้านดอกเรียกว่า Sessile flower 
    _______________________________________________________________

              *** [หลายคนอาจจะสงสัยคำศัพท์นี้ แท้จริงแล้ว "รยางค์" คือ ส่วนที่ยื่นออกมาจากส่วนหลักของสิ่งมีชีวิตนั่นเองจ้ะ อย่างเช่น หนวดของแมลง หรือครีบของปลา เป็นต้น ^^]

     

               ไล่เข้ามาจะมีกลีบเลี้ยง (sepal) เป็นรยางค์ที่เกิดก่อนคนอื่นเค้าเลย โดยเจ้านี่จะเจริญมาจากใบ ทำหน้าที่ห่อหุ้มดอกตูม เพื่อปกป้องกลีบดอกในขณะที่ยังอ่อนอยู่

     

              โดยส่วนใหญ่จะมีสีเขียว แต่หากมีสีอื่นเรียก Petaloid (เพทัลลอยด์) ทำหน้าที่ล่อแมลงเพื่อมาผสมเกสรเช่นเดียวกับกลีบดอก 
              กลีบเลี้ยง อาจเป็นใบเรียบๆ หรือเป็นหนามก็ได้
     

              - กลีบเลี้ยงที่ติดกันเรียก synsepalous flower หรือ gamosepalous flower เช่น ดอกชบา บานบุรี ดอกแค เฟื่องฟ้า 

          
         http://botany.csdl.tamu.edu/FLORA/Wilson/tfp/car/nycpage2.htm
         Bougainvillea sp.    หรือที่รู้จักกันในนาม "เฟื่องฟ้า" -_- (ทำไมต้องเอาชื่อเรียกยากๆ มาด้วยเล่า =O=llll) เจ้าเฟื่องฟ้านี้มีใบด้านนอก สีชมพู เป็นใบประดับ (bract) และมีกลีบเลี้ยงด้านใน (สีขาว) เป็นแบบ synsepalous flower หรือกลีบเลี้ยงแบบติดกัน โดยที่ไม่มีกลีบดอกค่ะ =[]=!

              - กลีบเลี้ยงที่แยกออกจากกันเรียก polysepalous flower หรือ aposepalous เช่น ดอกบัวสาย ดอกพุทธรักษา เป็นต้น 

            
             http://www.oknation.net/blog/print.php?id=251803
             ภาพด้านบนเป็นภาพดอกบัวสายค่ะ

             + ดอกบางชนิดอาจมีกลีบสีเขียวเป็นเส้นอยู่ใต้ชั้นของกลีบเลี้ยงอีกทีหนึ่ง เรียก " ริ้วประดับ " (Epicalyx) เช่น ดอกชบา พู่ระหง

            
              http://www.dnp.go.th/botany/BFC/flwer.html         


              ชั้นที่กลับเลี้ยงเรียบกันเป็นวง เรียกว่า
    Calyx หรือ วงกลีบเลี้ยง

     .................................................................................................................................

               ถัดเข้ามาเป็นกลีบดอก (petal) สังเกตว่ามันจะมีสีสันสวยงาม และมีกลิ่นหอม ตรงโตนกลีบดอกมักมีต่อมน้ำต้อยหรือต่อมน้ำหวานด้วย เอาไว้ล่อแมลงให้มาช่วยผสมเกสร J แต่กลีบดอกก็เป็นส่วนที่อ่อนไหว -..- และบอบช้ำง่าย ทำให้ร่วงโรยเร็วกว่าส่วนอื่นๆ (เหมือนผู้หญิงเรานี่แหละ โฮะๆ)   

              หมายเหตุ การที่กลีบดอกมีสีต่าง ๆ เนื่องจากมีสารสีจำพวกแอนโทไซยานิน (anthocyanin) และแอนโทแซนทิน (anthoxanthin) ละลายอยู่ในน้ำเลี้ยงหรือเซลล์แซปของแวคิวโอล ทำให้กลีบดอกมีสีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน หรืออาจมีแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ในพลาสติดชนิด โครโมพลาสต์ทำให้กลีบดอกเป็นสีเหลืองหรือสีแสด 

             ส่วนดอกสีขาวหรือไม่มีสีเกิดเนื่องจากไม่มีสารสีอยู่ภายในเซลล์ของกลีบดอก นอกจากนี้กลีบดอกของพืชบางชนิดสามารถเปลี่ยนสีได้ เช่น ดอกพุดตาน ไฮเดรนเยีย ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นกรดและด่างภายในเซลล์ของกลีบดอก
               
                      นำภาพดอกไม้สีสวยๆ มาให้ดูกันค่ะ :)))) (เครดิตอยู่ด้านล่างนะคะ)

                 ต่อมาเป็นเกสรตัวผู้ (stamen) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้ามาข้างใน ทำหน้าที่สร้างละอองเรณูและเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ จึงจัดเป็นส่วนสำคัญของดอก (Essential organ) เกสรตัวผู้จะเรียงเป็นชั้นหรือวงเรียกว่า Androecium

             เกสรตัวผู้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน  คือ ก้านเกสรตัวผู้ (Filament) และอับละอองเรณู (anther) ซึ่งภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ ยาวๆ 4 ถุง เรียกว่า ถุงอับละอองเรณู (pollen sac) ซึ่งบรรจุละอองเรณู (pollen หรือ pollen grain) ไว้มากมาย 

             จำนวนเกสรตัวผู้ขึ้นอยู่กับชนิดของดอก โดยทั่วไปดอกไม้ที่โบราณ (Primitive) ที่สุดมักมีจำนวนเกสรตัวผู้มากมาย ส่วนดอกไม้ที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้น จำนวนเกสรตัวผู้จะลดน้อยลงไป โดยทั่วไปของพืชใบเลี้ยงคู่จะมี 4-5 อัน หรือทวีคูณชอง 4 หรือ 5 เช่นเดียวกับกลีบเลี้ยง และกลีบดอก ส่วนของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ซึ่งมีวิวัฒนาการสูงกว่าจะมี 3 อัน หรือทวีคูณของ 3 เช่นเดียวกัลป์กลีบเลี้ยงและกลีบดอก 

             เกสรตัวผู้ของดอกบางชนิดอาจเป็นหมันเนื่องจากอับละอองเรณู เรียก staminode และอาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปคล้ายกลีบดอก ซึ่งเรียกว่า petaloid staminode เช่น ดอกพุทธรักษา 

                ดอกพุทธรักษา

               

     


     

                 ส่วนที่อยู่ในสุด -_-'' ก็คือ เกสรตัวเมีย (pistil) โดยอาจมีอันเดียวหรือหลายอันก็ได้ (โดยตรงนี้จะไปส่งผลกระทบต่อผล (fruit) ที่ออกมา) โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยรังไข่ (ovary) ภายในบรรจุ ovule ไว้ อยู่ล่างสุดบริเวณฐานรองดอก ต่อขึ้นไป จะเป็นก้านเกสรตัวเมีย (style) ที่ด้านบนมี ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) มีน้ำเหนียวๆ ตั้งแต่ในก้านเกสรตัวเมียต่อไปจนถึงบนยอดเกสรตัวเมีย เพื่อนำให้สเปิร์มของเกสรตัวผู้มาผสมกับไข่ของเกสรตัวเมีย ในรังไข่

     



               โดยน้ำเหนียวๆ บนยอดเกสรตัวเมียยังช่วยยึดเกาะละอองเรณูไม่ให้พัดปลิวไปได้โดยง่ายอีกด้วยนะ 
    ^^

    ชนิดของรังไข่ (
    Ovary Position) 
    รังไข่บนฐานรองดอก (superior ovary) 
    รังไข่ใต้ฐานรองดอก (inferior ovary) 
    และรังไข่กึ่งฐานรองดอก (half-superior ovary)


    ...

    เมื่อมันลึกลงไป (...-_-;)

     

                 คาร์เพล เป็นใบสร้างอับเมกะสปอร์ ที่มีวิวัฒนาการมานานเช่นกัน เราจึงเห็นเป็นโครงสร้างคล้ายใบ ที่เรารู้จักในชื่อเกสรเพศเมีย (pistil) โครงสร้างนี้ม้วนตัวตามยาวห่อหุ้มออวุล (ovule) เพียงหนึ่งออวุลหรือมากกว่าไว้ภายใน

         

     

                ในแต่ละคาร์เพลอาจจะมีเกสรเพศเมียเพียงหนึ่งชุดหรือมากกว่าก็ได้ ดังนั้น คาร์เพลจึงเป็นหน่วยพื้นฐานของวงเกสรเพศเมีย (gynoecium) หรืออีกนัยหนึ่ง คาร์เพลทั้งหมดในดอกเดียวกันรวมเรียกว่าวงเกสรเพศเมีย ซึ่งวงนี้อยู่ด้านในสุด ดอกไม้แต่ละดอกอาจจะมีเพียงหนึ่งคาร์เพลหรือมากกว่าแล้วแต่ชนิดของดอกไม้ หากมีหลายคาร์เพล แต่ละคาร์เพลอาจจะแยกกัน หรือเชื่อมกันบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้

     

             โปรดสังเกต คำว่าเกสรเพศเมียมีความหมายเพียงส่วนที่ผลิตเมล็ด ประกอบด้วยยอดเกสรเพศเมีย (stigma) ก้านเกสรเพศเมีย (style) และรังไข่ (ovary) ส่วนคำว่าคาร์เพลมีความหมายกว้างกว่า เป็นการมองในแง่โครงสร้างสืบพันธุ์เพศเมียและมองในแง่วิวัฒนาการด้วย นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความหมายคำว่า angiosperm (พืชดอก) ที่มาจากภาษากรีก angeion หมายถึงภาชนะสำหรับบรรจุ ส่วน sperma หมายถึงเมล็ด เราจึงอาจนึกถึงโครงสร้างส่วนที่ชัดเจนที่สุดของดอกไม้ในพืชดอกก็คือคาร์เพล ในแง่ที่เป็นภาชนะบรรจุออวุลนี่เอง

     

              ในดอกไม้ส่วนมาก ส่วนล่างของแต่ละคาร์เพลหรือกลุ่มคาร์เพลที่มาเชื่อมกันจะเปลี่ยนสภาพเป็นรังไข่ และส่วนบนเป็นยอดเกสรเพศเมีย ในกรณีที่โครงสร้างนี้ยืดตัวยาวขึ้น ก็จะมีก้านเกสรเพศเมียเชื่อมต่อส่วนทั้งสองไว้ หากคาร์เพลเชื่อมกันก็อาจมียอดและก้านเกสรเพศเมียร่วมกัน หรือแต่ละคาร์เพลยังอาจจะมียอดและก้านเกสรเพศเมียแยกกันก็ได้

     

              โดยทั่วไป รังไข่ร่วมของคาร์เพลที่เชื่อมกันนี้มักจะแบ่งช่อง (locule) หรือห้อง (chamber) ออกเป็นสองหรือมากกว่า นี่คือช่องรังไข่ที่มีออวุลอยู่ภายในนั่นเอง จำนวนช่องนี้มักจะสัมพันธ์กับจำนวนคาร์เพลในวงเกสรเพศเมียนั่นเอง

     

              ส่วนของรังไข่บริเวณที่มีออวุลเกิดขึ้นมาและยังคงติดกันอยู่จนถึงระยะเจริญเต็มที่เรียกว่า พลาเซนตา (placenta) การเรียงพลาเซนตาและออวุลมีความแตกต่างกันตามกลุ่มพืชดอกต่างๆ

         การจำแนกวงเกสรเพศเมีย ตามจำนวนคาร์เพลและการเรียงพลาเซนตาได้ดังนี้

     

          1. วงเกสรเพศเมียที่มีหนึ่งคาร์เพล (unicarpellate หรือ simple carpel) มี พลาเซนตา เรียงตัวอยู่ตามขอบของคาร์เพล หรือบริเวณที่ขอบทั้งสองของคาร์เพลมาเชื่อมต่อกัน เนื่องจากมีเพียงคาร์เพลเดียว จึงทำให้มีเพียงช่องเดียวด้วย ดังนั้น จึงเรียกดอกชนิดนี้ว่า เกสรเพศเมียเดี่ยว (simple pistil)

     

    พืชดอกจำนวนมากจัดอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น ถั่วเมล็ดกลม (pea) และถั่วเมล็ดแบน (bean)

     

     

           ในภาพด้านบน พลาเซนตา (placenta) หมายถึง จุดกำเนิดออวุลบนผนังรังไข่ หรือบริเวณที่ออวุลเชื่อมต่อกับผิวของคาร์เพล อาจจะมีจำนวนออวุลเพียงหนึ่งหรือมากมายก็ได้ แล้วแต่ชนิดพืช เนื่องจากคาร์เพลพับตัวและส่วนริมมาพบกันที่บริเวณนี้ และนอกจากนี้ออวุลก็มาเชื่อมติดอยู่ที่จุดนี้ด้วย จึงเรียกลักษณะนี้ว่าเป็นการเรียงพลาเซนตาแนวเดียว (marginal placentation)


                   ช่องหรือห้องที่เกิดขึ้นโดยมีผนังรังไข่ (ovary wall) หรือผิวของคาร์เพลห่อหุ้มออวุลที่กำลังจะพัฒนาเป็นเมล็ดในอนาคต ลักษณะเช่นนี้จึงเป็นที่มาของคำว่า angiosperm หรือเรียกในภาษาไทยว่า
    "พืชดอก" ซึ่งหมายถึงเมล็ดที่มีสิ่งห่อหุ้มหรือเมล็ดที่อยู่ในห้อง (chambered seed) นั่นเอง ส่วนเมล็ด (seed) ที่พัฒนาเต็มที่ อาจจะหรืออาจจะไม่เจริญเติบโตจนเต็มที่ว่างทั้งหมดในช่องนี้ก็ได้

     

       




     ที่มา

    -          รูปคาร์เพลของถั่ว http://www.life.illinois.edu/ib/335/Origins/Origins.html

    -          รูปการเกิดคาร์เพล http://www.plantbiology.siu.edu/PLB304/Lecture09OriginAng/OriginAngios.html

    -          รูปคาร์เพลอาร์ตๆ http://www.flickr.com/photos/8116560@N02/1056916654/

    -          ดอกทานตะวัน http://www.flickr.com/photos/8116560@N02/1172023550/

    -          ดอกไม้สีเหลือง http://www.flickr.com/photos/wgt_sanjeewa/1343733334/

    -          ดอกไม้สีชมพู http://bighugelabs.com/onblack.php?id=1002634808&bg=white

    -          กบ http://bighugelabs.com/onblack.php?id=1032023671

    -          ดอกไม้สีชมพูอีกดอก http://bighugelabs.com/onblack.php?id=1076735769

    -          ดอกไม้สีแดง http://bighugelabs.com/onblack.php?id=890465744

    ข้อมูล
    -  http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-886.html
    -
    http://www.agri.ubu.ac.th/~kitti/part1/flower.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×