คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : กล้องจุลทรรศน์ (2)
ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
(ชนิด Bright field Microscope)
1. ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของกล้องจุลทรรศน์ มีรูปร่างสี่เหลี่ยม หรือวงกลม ที่ฐานจะมีปุ่มสำหรับปิดเปิดไฟฟ้า
2. แขน (Arm) เป็นส่วนเชื่อมตัวลำกล้องกับฐาน ใช้เป็นที่จับเวลาเคลื่อนย้ายกล้องจุลทรรศน์
3. ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่ปลายด้านบนมีเลนส์ตา ส่วนปลายด้านล่างติดกับเลนส์วัตถุ ซึ่งติดกับแผ่นหมุนได้ เพื่อเปลี่ยนเลนส์ขนาดต่าง ๆ ติดอยู่กับจานหมุนที่เรียกว่า Revolving Nosepiece
4. ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน ปุ่มนี้มีขนาดใหญ่ อยู่ด้านข้างของกล้อง
5. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น โดยปุ่มปรับภาพละเอียดจะมีขนาดเล็ก อยู่ถัดจากปุ่มปรับภาพหยาบออกมา
6. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมีประมาณ 3-4 อัน แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ ( Primary Real Image) โดยเลนส์ใกล้วัตถุจะมีกำลังขยายต่าง ๆ กัน ได้แก่
- เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำ ( Lower Power) กำลังขยาย 4X, 10X
- เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายสูง ( High Power ) 40X
- เลนส์ใกล้วัตถุแบบ Oil Immersion ขนาด 100X
7. เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุด สวมติดอยู่กับลำกล้อง โดยทั่วไปมีกำลังขยาย 5x, 10x หรือ 15x
กล้องที่ใช้ในปฏิบัติการจุลชีววิทยาทั่วไปนั้น มีกำลังขยายของเลนส์ตาที่ 10X รุ่นที่มีเลนส์ใกล้ตาเลนส์เดียว เรียก Monocular Microscope ชนิดที่มีเลนส์ใกล้ตาสองเลนส์ เรียก Binocular Microscope
ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
8. เลนส์รวมแสง (Condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
9. กระจกเงา (Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุโดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
10. ไดอะแฟรม (Diaphragm) หรือ ไอริส ไดอะแฟรม ( IRIS DIAPHARM ) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่เหมือนม่าน ใช้ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
11. แท่นวางวัตถุ (Speciment stage) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
12. ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกยิ่งขึ้น
13. แท่นวางวัตถุ (Stage) เป็นแท่นสำหรับวางสไลด์ตัวอย่างที่ต้องการศึกษา มีลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม หรือวงกลมตรงกลางมีรูให้แสงจากหลอดไฟส่องผ่าน
วัตถุแท่นนี้สามารถเลื่อนขึ้นลงได้ด้านในของแท่นวางวัตถุจะมีคลิปสำหรับยึดสไลด์และมีอุปกรณ์ช่วยในการเลื่อนสไลด์ เรียกว่า Mechanical Stage นอกจากนี้ยังมีสเกลบอกตำแหน่งของสไลด์บนแทนวางวัตถุ ทำให้สามารถบอกตำแหน่งของภาพบนสไลด์ได้
การใช้กล้องจุลทรรศน์
_______________________________________________
1. ก่อนใช้กล้องจุลทรรศน์ มือจะต้องสะอาดและแห้ง สไลด์ทุกชนิดที่นำมาส่องต้องสะอาดและแห้ง
2. การเคลื่อนย้ายกล้อง ใช้มือที่ถนัดจับที่ arm ส่วนอีกมือรองรับกล้องส่วนฐาน (base) ให้ตัวกล้องตั้งในแนวดิ่ง หรือฐานกล้องขนานกับพื้น ระวังไม่ให้กล้องเอียง
3. วางกล้องให้ตรง ห้ามเอียงกล้อง และวางบนพื้นโต๊ะที่มั่นคงแข็งแรง
4. จับส่วน revolving nospiece หมุน objective อันที่มีกำลังขยายต่ำสุดให้เข้าที่ ให้สังเกตเสียงดังคลิก แสดงว่าหมุนเข้าที่แล้ว
5.ปรับปุ่ม thumb wheel ให้ ocular tubes ทั้งสอง มีช่วงห่างพอดีกับระยะห่างขงตาผู้มช้กล้อง โดยที่ใช้อยู่ประจำระยะห่างจะพอดีอยู่แล้ว ไม่ควรเลื่อนบ่อยๆ
6. จัดแสงให้เข้ากล้อง โดยเปิด diaphragm กว้างที่สุด เพื่อให้แสงผ่าน condensor และ objective lens กรณีแสงผ่าน specimen มากเกินไป ทำให้เห็นภาพไม่ชัดเจน จะต้องปรับแสงให้พอดี โดยการหรี่ไฟ ปรับ condensor และ/หรือปรับ diapragm ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของกล้องและสายตาของผู้ใช้กล้อง ฉะนั้นควรศึกษาและหัดปรับดูความแตกต่างเอาเองจนชินและเข้าใจส่วนประกอบต่างๆ การใช้กล้องที่มีแสงมากหรือน้อยจนเกินไปจะทำให้เคืองตาได้
7. วางสไลด์ที่ต้องการดูลงบน stage ยึดให้แน่นด้วย spring clip และ mechanical stage ให้ specimen ที่จะส่องอยู่ตรงกลางช่องที่แสงจะผ่าน
8. การหาระยะโฟกัส ตามองที่ปลาง objective หมุน coarse adjustment เพื่อให้ objective และ stage เคลื่อเข้าใกล้กันมากที่สุด แล้วจึงมองที่ ocular พร้อมกับหมุน coarse adjustment ให้ objective กับ stage ห่างกันช้าๆ แล้วใช้ fine adjustment ปรับให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
9. เมื่อใช้กำลังขยาย objective 40x แล้วต้องการเปลี่ยนดูด้วย 100x (Oil Immersion objective) ให้หมุนหัว objective 4x (หรือหัวที่มีกำลังขยายต่ำสุดของกล้องจุลทรรศน์นั้น) เข้าแทนที่ แล้วหยด mineral oil หนึ่งหยดตรงบริเวณ specimen ที่จะส่อง จากนั้นเปลี่ยน objective 100x ผ่านหยดน้ำมัน ทำเช่นนี้เพื่อป้องกันเลนส์ 40x เปื้อนจนใช้การไม่ได้
หมายเหตุ การทำความสะอาดเลนส์ที่เปื้อนน้ำมันต้องเชดด้วยกระดาษเช็ดเลนส์จนสะอาด หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เลนส์มัว
10. เมื่อเลิกใช้ oil immersion objective ต้องเลื่อน low power objective มาแทนที่ก่อนจะเลื่อนสไลด์ออกจาก stage ไม่เช่นนั้นอาจทำให้สไลด์ขูดกับ oil immersion objective เสียหายได้
11. ถ้าเลนส์ objective หรือ eye pieces อันใดอันหนึ่งเห็นไม่ชัด แจ้งให้อาจารย์ผู้คุมทราบ อย่าถอดออกมาเช็ดเองโดยไม่ได้รับอนุญาต
12. ขณะมองกล้องให้มองทั้งสองตา การหลับตามองข้างเดียว ไม่ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น และการใช้สายตานานๆ อาจทำให้ปวดตาได้
กล้องที่ใช้แสงแบบสเตอริโอ
เป็นกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ที่ทำให้เกิดภาพแบบ 3 มิติใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่แต่ตาเปล่าไม่สามารถแยกรายละเอียดได้จึงต้องใช้กล้องชนิดนี้ช่วยขยาย กล้องชนิดนี้มีข้อแตกต่างจากกล้องทั่วๆไป คือ
1. ภาพที่เห็นเป็นภาพเสมือนมีความชัดลึกและเป็นภาพสามมิติ
2. เลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยายต่ำ คือ น้อยกว่า 1 เท่า
3. ใช้ศึกษาได้ทั้งวัตถุโปร่งแสงและวัตถุทึบแสง
4. ระยะห่างจากเลนส์ใกล้วัตถุกับวัตถุที่ศึกษาอยู่ในช่วง 63-
วิธีใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ
1. ตั้งระยะห่างของเลนส์ใกล้ตาให้พอเหมาะกับนัยน์ตาของผู้ใช้กล้องทั้งสองข้าง จะทำให้จอภาพที่เห็นอยู่ในวงเดียวกัน
2. ปรับโฟกัสเลนส์ใกล้ตาทีละข้างจนชัดเจน ถ้าหากต้องการศึกษาจุดใดจุดหนึ่งของตัวอย่างให้ปรับโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงก่อน เพราะจะทำให้เห็นภาพวัตถุได้ชัดเจนทั้งกำลังขยายสูงและกำลังขยายต่ำ
การบำรุงรักษากล้อง
1. ควรดูแลรักษากล้องให้สะอาดอยู่เสมอ และเมื่อไม่ได้ใช้กล้องควรใช้ถุงคลุมกล้องไว้เสมอ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกเข้าไปสัมผัสกับเลนส์ของกล้อง
2. ในการทำความสะอาดหรือการประกอบกล้อง ควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ชิ้นส่วนถูกกระแทกหรือหลุดตกหล่น กรณีที่กล้องหรือส่วนประกอบใดๆของกล้องตกหรือกระแทก จะมีผลให้เมื่อประกอบกล้องแล้วภาพที่เห็นไม่คมชัด เป็นเพราะระบบภายใน (ปริซึม) อาจเกิดการคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งกรณีนี้ ควรส่งให้กับบริษัทซ่อม เพราะการตั้งศูนย์ของปริซึมและระบบเลนส์ภายในนั้นต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนและความชำนาญของช่าง
3. ห้ามใช้มือหรือส่วนใดๆของร่างกาย สัมผัสถูกส่วนที่เป็นเลนส์ และหลีกเลี่ยงการนำเลนส์ออกจากตัวกล้อง
4. ในกรณีที่ถอดเลนส์ออกจากตัวกล้อง ควรใช้ฝาครอบด้วยทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าไปข้างใน ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่ชัดของการมองภาพ
5 สำหรับเลนส์ใกล้วัตถุ 100x ที่ใช้กับ Oil immersion หลังจากใช้แล้ว ควรทำความสะอาดทุกครั้ง โดยการเช็ดด้วยกระดาษเช็ดเลนส์ cotton bud หรือผ้าขาวบางที่สะอาด และนุ่ม ชุบด้วยน้ำยาไซลีน หรือส่วนผสมของแอลกอฮอล์และอีเทอร์ ในอัตราส่วน 40:60 ตามลำดับ
6 ควรหมุนปรับปุ่มปรับความฝืดเบาให้พอดี ไม่หลวมเกินไป ซึ่งจะทำให้แท่นวางสไลด์เลื่อนหมุดลงมาได้ง่าย หรือฝืดจนเกินไปทำให้การทำงานช้าลง
7 ปุ่มปรับภาพหยาบนั้น ควรหมุนในลักษณะทวนเข็มนาฬิกาอย่างช้าๆ จนกว่าจะได้ภาพ ห้ามปรับปุ่มปรับภาพทั้งซ้ายและขวาของตัวกล้องในลักษณะสวนทางกัน เพราะนอกจากจะไม่ได้ภาพตามต้องการแล้ว ยังจะทำให้เกิดการขัดข้องของฟันเฟือง
8 ในกรณีต้องการใช้แสงมากๆควรใช้การปรับไดอะแฟรม แทนการปรับเร่งไฟไปตำแหน่งที่กำลังแสงสว่างสุด (กรณีหลอดไฟ) จะทำให้หลอดไฟมีอายุยาวขึ้น
9 ก่อนปิดสวิตช์ไฟทุกครั้งควรหรี่ไฟก่อนเพื่อยืดอายุการใช้งาน และเมื่อเลิกใช้ก็ควรปิดสวิตช์ทุกครั้ง
10 การเสียบปลั๊กไฟของตัวกล้องไม่ควรใช้รวมกันกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น เพราะจะทำให้หลอดไฟขาดง่าย
11 หลังจากเช็ดส่วนใดๆของกล้องก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจว่าแห้งหรือปราศจากความชื้นแล้ว ควรเป่าลมให้แห้ง โดยใช้พัดลม หรือ ลูกยางเป่าลม (ห้ามเป่าด้วยปากเพราะจะมีความชื้น)
12 เมื่อแน่ใจว่าแห้งและสะอาดแล้ว จึงคลุมด้วยถุงพลาสติก
13 เก็บกล้องไว้ในที่ที่ค่อนข้างแห้งและไม่มีความชื้น
การทำความสะอาดเลนส์
..
1. เป่าหรือปัดเศษผงหรือวัสดุอื่นๆที่อาจจะก่อให้เกิดรอยขูดขีดบนพื้นผิวเลนส์ โดยใช้ลูกยางบีบ หรือปัดด้วยแปรงขนอ่อนๆ แต่ถ้ายังไม่สามารถเอาออกได้ให้ใช้ผ้าขาวบางที่สะอาดและนุ่มชุบด้วยน้ำเช็ดเบาๆ
2. เตรียมน้ำยาเช็ดเลนส์ (อีเทอร์:แอลกอฮอล์ = 60:40)
3. ทำความสะอาดทั้งเลนส์ใกล้ตา และเลนส์ใกล้วัตถุ ใช้ cotton bud หรือ กระดาษเช็ดเลนส์พันรอบปลายคีบ แล้วชุบด้วยน้ำยาเช็ดเลนส์เพียงเล็กน้อย แล้วจึงเริ่มเช็ดเลนส์จากจุดศูนย์กลางของเลนส์แล้วหมุนทำรัศมีกว้างขึ้นเรื่อยๆไปสู่ขอบเลนส์อย่างช้าๆ
4. ในการใช้น้ำยาเช็ดเลนส์ต้องระวังด้วยว่าน้ำยานั้นสามารถละลายสีของกล้องและละลายกาวของเลนส์ได้
5. ในการผสมน้ำยาเช็ดเลนส์อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามอุณหภูมิและความชื้น หากอีเทอร์มากเกินไปอาจทำให้มีรอยการเช็ดอยู่บนเลนส์ได้ แต่ถ้าแอลกอฮอล์มากเกินไปจะมีรอยเป็นคราบอยู่บนเลนส์เช่นกัน
อ้างอิงจาก
http://dek-d.com/board/view.php?id=1386877
http://www1.stkc.go.th/stportalDocument/stportal_1170654028.doc
http://adulsman-tcu.blogspot.com/2009_06_01_archive.html
http://www.itokin2000.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538775262
ความคิดเห็น