คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : สค. 50: บทความในขวดแก้ว
บทความในขวดแก้ว
ยินดีต้อนรับผู้อ่านทุกคน ไวท์ยินดีที่จะพาเพื่อนๆไปยังบทความในขวดแก้ว วันก่อนไวท์เพิ่งไปเจอบทความมาเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว เพื่อนๆมาลองอ่านกันเลยดีกว่า ไวท์ชักอยากรู้แล้วสิว่าพ่อ แม่ และครูของทุกๆคนจะทำแบบนี้รึเปล่า
จากการสำรวจพบว่า เด็กและวัยรุ่นไม่จำเป็นที่จะต้องให้คำจำกัดความคำว่า ชนะ เหมือนผู้ใหญ่ (นั่นคือ การชนะไม่เหมือนความสำเร็จ เช่นเดียวกันกับคำว่า แพ้ ไม่เหมือนความล้มเหลวของชีวิต) อย่างไรก็ตามถ้าครูและผู้ปกครองมีปฏิกิริยาต่อการชนะหรือความพ่ายแพ้ เกมหรือกิจกรรมต่างๆ เด็กค่อนข้างจะรับรู้ได้ ถ้าผลลัพธ์ที่เป็นบวก (เช่น ความสนุกและตื่นเต้น)จะตามมาเฉพาะการชนะ และผลลัพธ์ที่เป็นลบ (เช่นความอับอายและความผิดหวัง)ตามมาเฉพาะ ความพ่ายแพ้ เด็กๆอาจได้รับความกลัวต่อความพ่ายแพ้หรือต่อการประเมินผลทางลบความกลัวบางอย่างอาจมีผลกระทบที่อันตรายต่อแรงบันดาลใจและผลงานในอนาคตของเด็ก
เด็กๆส่วนใหญ่ให้คำจำกัดความ ความประสบความสำเร็จ ในแง่ของการพยายามถึงที่สุด ซึ่งจะดูจากการปรับปรุงของผลงานครั้งก่อน และความสนุกกับกิจกรรมที่ทำ เด็กจะให้ความสำคัญกับกระบวนการที่เอาชนะและการแสดงทักษะมากกว่าผลของความพยายาม ดังนั้นครูและผู้ปกครองควรที่จะให้ความสำคัญในเรื่องของความพยายามและการพัฒนาของเด็กมากกว่าคะแนนหรือสถานะที่เด็กได้มา ควรที่จะเน้นที่การพัฒนาทางกายภาพ สังคม และจิตวิทยาให้สูงที่สุด
เมื่อเราเรียนรู้ทักษะใหม่ๆก็เป็นธรรมดาที่เราจะพลาด เพื่อที่จะทำให้เด็กประสบความสำเร็จและมีแรงบันดาลใจต่อไป เด็กๆต้องการการให้กำลังใจ และถูกให้ข้อมูลหรืคำชมที่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น แทนที่จะบอกว่าเก่งมากอย่างเดียวก็ให้ชมว่าการเขียนแบบนี้ถูกต้องแล้ว เป็นต้น ดังนั้นจึงเกิดวิธีการแบบแซนด์วิชขึ้น โดยพูดชมการกระทำที่เขาทำถูกก่อน เช่น เธอทรงตัวได้เยี่ยมมาก จากนั้นจึงบอกวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดของเขา แล้วจบลงด้วยการพูดให้กำลังใจ หรือการมองโลกในแง่ดี เช่น พยายามฝึกต่อ อีกไม่นานคุณก็จะว่ายน้ำเร็วขึ้น
แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ใหญ่มักจะมีปฏิกิริยาในแง่ลบต่อความผิดพลาดของเด็ก ทำให้เด็กมีความสนใจในกิจกรรมนั้นๆน้อยลง
เป็นยังไงกันบ้างคะ มีใครทำวิธีแบบนี้บ้างรึเปล่า ไวท์ลองเอาวินี้ไปใช้ดู ได้ผลดีทีเดียว หวังว่าเพื่อนๆจะชอบกันนะคะ
witywhite
ความคิดเห็น