ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    To be DENTIST หมอฟันที่ฉันใฝ่ฝัน

    ลำดับตอนที่ #6 : Lesson1 : Human Gross Anatomy

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.42K
      1
      12 พ.ค. 52

    Human Gross Anatomy
    มหกายวิภาคศาสตร์


    อธิบายศัพท์กันเล็กน้อย  Gross=หยาบๆค่ะ  Anatomy=การเรียนเกี่ยวกับโครงสร้างและส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต

    ดังนั้น  รวมๆกันวิชานี้เรียนรู้ส่วนประกอบต่างๆทั้งภายในและภายนอกของร่างกายที่ตาของพวกเราสามารถมองเห็นได้  เค้าถือว่าพวกที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นแบบหยาบหรือGrossนั่นเองค่ะ

    น้องๆหลายคนที่อยากเรียนหมอ  หรือหมอฟัน  อาจจะคุ้นเคยกับคำว่า "อาจารย์ใหญ่"  มาแล้วไม่มากก็น้อย  นี่แหละค่ะ  อาจารย์ใหญ่มีบทบาทในวิชานี้

    วิชานี้แบ่งเป็น 2 การเรียนให้เราเรียนไปพร้อมๆกัน  คือ1. ภาคบรรยาย(เรียนในห้องเรียน)  และ 2.ภาคปฏิบัติการ(เรียนLabนั่นแหละค่ะ  ต้องใช้ร่างอาจารย์ใหญ่



    เรียนอะไรบ้าง?

    ขอบอกว่า  ถ้าเป็นเพื่อนหมอ  เค้าจะต้องเรียนทุกๆส่วนทั้งร่างกายศีรษะจรดปลายเท้าเลย
    ส่วนเพื่อนทันตะจะไม่เรียนระยางค์ส่วนล่าง(Lower Limb)  ก็คือตั้งแต่ขาทั้ง 2 ข้างลงไปทั้งหมด  นอกนั้นก็เรียนเหมือนเพื่อนหมอเด๊ะๆ  แต่อันนี้แล้วแต่บางมหาลัยเท่านั้นนะคะ  แล้วแต่หลักสูตรของใครของมันซึ่งพี่จะบอกว่า  พวกพี่ทันตะ ม.นเรศวร  บังคับเรียนทั้งร่างเหมือนที่เพื่อนหมอเรียนกันเลยค่ะ!!!!!  - -" ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้ายนะ

    แต่ความเห็นส่วนตัวพี่  พี่ว่าโชคดีมากค่ะ  เพราะเราได้ศึกษาทุกๆส่วนอย่างเต็มที่  อุตส่ามาเรียนGross ได้ก็อยากเรียนให้รู้ทุกซอกทุกมุมของร่างกายคนเราไปเลย  โอกาสแบบนี้หายากนะคะน้องๆ


    เนื้อหามีอะไรบ้าง?

    เอาล่ะ  เนื้อหาก็คือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในร่างกายทั้งที่อยู่ตื้นๆ(Superficial surface)  จนลึกลงไปต่อให้จะกี่ชั้นก็เรียนหมดเลยค่ะน้อง  (ลึก=Deep)
    เอาตั้งแต่ชำแหละมา  เราจะเห็นชั้นพังผืดหรือไขมันนั่นแหละค่ะ (Fascia)  และก็เจอบรรดากล้ามเนื้อ  เส้นเลือดมากมายที่น้องควรจะจำว่ากล้ามเนื้อนี้ถูกเลี้ยงด้วยเส้นเลือดอะไร?  นี่แหละค่ะคือหัวใจของการเรียนหมอ........

    การท่องจำคือหัวใจของการเรียน

    ซึ่งแต่ะกล้ามเนื้อ  หรืออวัยวะทุกส่วนในและนอกร่างกายจะมีทั้งหลอดเลือด  หลอดน้ำเหลือง  และเส้นประสาทที่สำคัญและมาเลี้ยง(Supply)มัน  ที่เด่นมากก็ประมาณ 2 ชื่อ  หรือ1ชื่อเพื่อให้ท่องได้ง่าย  (ซึ่งจำแค่1ชื่อพี่ก็จะตายแล้วค่ะ T T)  น้องต้องจำ จำ จำ จำ และจำๆๆๆๆ  กว่าล้านแปดชื่อ (เว่อร์ไปค่ะ)  เยอะเลยค่ะน้อง

    นอกจากกล้ามเนื้อ  ก็เป็นกระดูกค่ะ  น้องต้องรู้จักกระดูก  กระดูกเรียนยังไง?

    เอ้า....มาต่อกัน  กระดูก 1 ชิ้นนะคะน้อง  ฟังนะ  มันไม่ใช่แท่งเรียบๆไว้เป็นแกนของร่างกายหรือให้ร่างกายคงรูปอย่างที่น้องรู้กันมานะคะ  แต่กว่ามันจะทำให้ร่างกายคงรูปได้  แน่นอนค่ะต้องทำให้กล้านเนื้อต่างๆมายึดติดกับมันให้มั่นคง  ดังนั้นเมื่อน้องได้สัมผัสกระดูกแล้ว (ลองไปดูกระดูกไก่KFCก็ได้)  น้องจะเห็นว่ามันขรุขระ  เป็นปุ่มนูนบาง แอ่งเว้าบ้าง.........
    นั่นแหละค่ะน้อง  มันมีชื่อทุกๆตำแหน่งค่ะ  และน้องก็ต้อง.........เอ่อ...จำ!!!!  จำให้หมด  รู้อีกต่างหากว่าตรงนี้ให้กล้ามเนื้ออะไรมาเกาะ  ไม่พอค่ะน้อง......นอกจากจะเกาะแล้วมันเป็นบริเวณจุดเกาะเริ่มต้น(Origin)  หรือจุดเกาะปลาย(Insertion)
    อีตาOrigin และInsertion  สำคัญมากๆค่ะน้อง  เวลาน้องเคลื่อนไหวร่างกาย  กล้ามเนื้อแต่ละมัดมีการเคลื่อนจากจุดOriginไปยังInsertion  ซึ่งมันจำเป็นนะคะที่น้องต้องจำให้ได้


    โอ้วพี่!!!!!
    มันยอดมากรึยังคะน้อง  กับวิชาแรกที่น้องได้อ่านมา......

    จะบอกว่ายังไม่จบ



    น้องยังไม่รู้เลยว่าที่เค้าเรียกกันว่า.......
    Labกริ๊ง  คืออะไร?????


    มันเป็นการสอบค่ะน้อง  การสอบภาคปฏิบัติจากที่น้องได้ผ่าร่างอาจารย์ใหญ่ที่ท่านอุทิศมาให้น้องเห็นของจริงจากที่ฟังบรรยายอันน่าเวียนหัวในห้อง >__<~
    การสอบนี้ถูกกำหนดเวลาเพียง 1 นาที  หรือไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ T T  โดยอาจารย์หรือพี่เจ้าหน้าที่การคุมสอบ

    น้องจะต้องเวียนกันดูข้อสอบที่ตั้งอยู่บนชิ้นเนื้อ  หรืออวัยวะต่างๆของแท้แน่นอน  ซึ่งใน 1 ข้อมักจะถามว่า  .....
    ก.   ระบุชื่ออวัยวะที่ชี้
    ข.   เส้นเลือด (หรืออะไรก็แล้วแต่)  ชื่ออะไรมาเลี้ยง?   หรือ  ทำหน้าที่อะไร?

    ประมาณนี้แหละค่ะ
    น้องต้องรื้อความจำที่น้องเรียนและท่องมาตอบให้ทันภายในเวลา 1 นาทีหรือน้อยกว่านั้น  Y Y  ซึ่งถ้าได้ยินเสียงกริ๊งงงงงงงสุดสยอง  นั่นคือน้องต้องเดินหน้าไปยังข้อถัดไปค่ะ  ไม่มีขอตามเวลาเพิ่มใดๆทั้งนั้น  หรือแม้แต่จะกลับมาดูอีกรอบก็ไม่ได้  จนกว่าจะครบทุกข้อ  ก็เป็นอันเสร็จพิธีกรรมสอบLabกริ๊งค่ะ


    โห  นี่เราพูดถึงLabกริ๊งก่อนเลยหรอเนี่ย!!!!  เร็วไปมั้ย

    มารู้จักภาคปฏิบัติการกันต่อเลยค่ะ

    ปกติแล้วร่าอาจารย์ 1 ร่าง  จะเรียนเป็นกลุ่มๆละประมาณ 8 คน  ซึ่งเราเรียกเป็นโต๊ะค่ะ  อย่างร่างอาจารย์ใหญ่ของพี่อยู่โต๊ะ31  อันนี้พี่ก็เป็นนิสิต 1 ใน 8ที่ต้องดูแลรักษาร่างอาจารย์ในการเรียนLabทุกๆครั้งค่ะ

    การเรียนอาจารย์ใหญ่  คือต้องเข้ามาทำLabหลังจากที่เรียนภาคบรรยายในห้องเรียนมาแล้ว  จึงมาชำแหละร่างดูตามสิ่งที่เรียนมาจากภาคบรรยาย  เช่นเรียนเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหลังมาในภาคบรรยาย  พอวันรุ่งขึ้นถึงคาบLab  พี่กับเพื่อนๆก็ต้องมาผ่าหลังอาจารย์และชำแหละตามส่วนต่างๆเพื่อค้นหากล้ามเนื้อและพวกเส้นเลือดเส้นประสาทที่มาเลี้ยง

    การชำแหละร่างนี้พี่ไม่ได้ทำมั่วๆนะคะ  ^^  พี่ทำตามDirection Lab  เป็นคู่มือการผ่าของมหาลัยพี่เอง  ทุกๆครั้งที่พี่เข้าทำLab  พี่ต้องมีหนังสือประกอบที่เป็นรูปวาดหรือรูปจริงๆในหนังสือของต่างประเทศ  ส่วนมากที่พี่ใช้กันคือ  Netter....Grand's  พี่เรียกชื่อหนังสือตามผู้แต่งผู้วาดค่ะ ^^  น้องๆบางคนคงเคยเห็นมาแล้ว  ที่เป็นหนังสือภาพสีทั้งเล่มขนาดมหึมา  แบกกันจนกล้ามขึ้นหมดแล้ว

    วิธีการเรียนLab Gross

    ก็คือ  คณาจารย์ที่ดูแลวิชานี้ประมาณ 6 คนค่ะ  จะเข้ามาเช๊คสิ่งที่เราหา  ซึ่งอาจารย์จะแจกโจทย์ที่เรียกว่า Check list ที่มีรายชื่อโครงสร้างต่างๆให้พี่ๆหากันแล้วพอหาเจอก็.....ดีใจค่ะน้องแล้วก็ให้อาจารย์มาเช๊กคะแนน...........

    แล้วถ้าหาไม่เจอ...........น้องก็ต้องหาให้เจอค่ะ - -"  หากันต่อไป  นี่พี่ไม่ได้พูดเล่นนะคะ  บางวันพี่กับเพื่อนๆหาจนทุ่ม 2 ทุ่มเลยก็มี  ใช้เวลากว่า 5 ชั่วโมงค่ะน้อง  เพื่อคะแนนที่สมบูรณ์เหนื่อยมากๆค่ะ  แต่พวกพี่ก็ถึกบึกบึนมาก  ไม่เป็นปัญหา 5555

    มีอะไรอีกมั้ย?
    ...........นึกๆๆๆ  เอาเป็นว่าน้องสงสัยอะไรเม้นท์มาถามละกันนะคะ  เกี่ยวกับเรื่องนี้^___^


    แล้ววันพรุ่งนี้พี่จะมาเล่าเรื่องร่างของอาจารย์ใหญ่ทุกกระบวนการค่ะ  และต่อด้วยวิชาต่อไปกัน  ติดตามชมนะคะ^_^

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×