ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    To be DENTIST หมอฟันที่ฉันใฝ่ฝัน

    ลำดับตอนที่ #23 : ทันตกรรมวินิจฉัย : คุณหมอคะ หนูปวดฟันจนนอนไม่หลับ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 469
      1
      20 ก.ย. 54

    คนไข้  "คุณหมอคะ  หนูเสียวฟันกรามน้อยมาหลายวัน  เมื่อคืนปวดฟันมาก  ทนไม่ไหวก็เลยรีบมาหาคุณหมอ"
    คุณหมอ  "เอ่อ  คนไข้ครับ  ที่นี่วุฒิศักดิ์ คลินิก"


    ว่าด้วยศาสตร์และศิลป์แห่งการวินิจฉัยโรค  ซึ่งเราเรียกกันว่า
    Diagnosis  หรือ  ไดแอก  กันนั่นแหละค่ะ


    น้องๆบางคนอาจมีประสบการณ์  ได้ยินคุณหมอหรือพี่แพทย์พูดว่า  "ไดแอกเป็นอะไร?"

    คำๆนี้  หมายถึง  การที่แพทย์หรือทันตแพทย์ได้รับข้อมูลจากคนไข้  นำมาประมวลผลถึงสาเหตุ  ที่มา  การดำเนินโรค  และแล้ว...คุณหมอก็จะสรุปมาว่า

    "คนไข้เป็นโรคอะไร"


    วิชานี้มีความสำคัญอย่างไร
    สำคัญมากที่สุด  เพราะการที่เราสามารถบอกได้ว่าคนไข้เป็นโรคอะไร  จะทำให้คุณหมอสามารถวางแผนการรักษา(Treatment plan)  ที่เหมาะสมกับอาการของคนไข้
    มีผลสำคัญมากต่อการบรรเทาอาการ  โรคร้าย  และสามารถป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังหรือโรคแทรกซ้อน  เป็นลำดับๆไป

    จากตัวอย่างข้างบน
    จะเห็นว่าคนไข้เข้าคลินิกผิดแล้วล่ะ - -"  โรคอยู่ในปาก  อยู่กับฟัน  ดังนั้นไปหาคุณหมอรักษาผิวพรรณคงหายปวดฟันยากแน่ๆ
    คุณหมอต้องแนะนำคนไข้ไปคลินิกหมอฟันใกล้ๆ   อ้าปากให้คุณหมอฟันตรวจฟันที่หนูปวดอย่างละเอียด
    นอกจากนั้น  คุณหมอฟันจะซักประวัติ  เช่น  อายุ  เพศ  โรคประจำตัว  และคำถามแรกๆที่หนูมักจะถูกถามบ่อยๆ

    "หนูปวดฟัน  เสียวฟันมากี่วันแล้ว"
    "เสียวฟันตอนไหนคะ  ตอนกินน้ำร้อนน้ำเย็น  หรืออยู่ดีๆก็เสียวได้"
    "หนูปวดแบบไหนคะ  ปวดจี๊ด  ปวดตุบๆ  หรือยังไง"
    "หนูปวดจนต้องกินยาแก้ปวดเลยรึเปล่าคะ  หรือหนูทนไหว"

    เป็นต้น


    คำถามเหล่านี้  ที่ถูกซักประจำล้วนมีผลต่อการดำเนินโรค  สาเหตุของโรค  และอาการต่างๆที่เกิดกับคนไข้

    วิชานี้จะว่าไปก็เหมือนเล่นเป็นโคนัน  นักสืบดีๆนั่นเอง




    การเรียนเป็นอย่างไร
    วิชานี้มี 2 ส่วนหลักๆค่ะ   คือ
    1  การวินิจฉัยจากภาพรังสี
    2  การวินิจฉัยจากรอยโรคที่พบในช่องปาก

    ซึ่งสิ่งที่เราพบโดยตรงเขาเรียกว่า  "อาการทางคลินิก"   และลักษณะความผิดปกติที่เราพบในร่างกายเขาเรียกว่า  "รอยโรค หรือ Lesion"
    เจ้ารอยโรคนี่แหละที่ทำให้คนไข้หรือคุณหมอรู้ว่า  คนไข้กำลังมีความผิดปกติ  แต่ๆๆๆ  เจ้ารอยโรคนั้นอาจไม่ร้ายแรงหรือร้ายแรงจนได้ชื่อว่าเป็นโรคก็ได้

    การเรียนวิชานี้  พี่ขอเม้าท์ว่าเนื้อหามากมายก่ายกอง  เพราะเป็นวิชาที่เป็นด่านแรกของงานการแพทย์เลย เสมือนจุดคัดแยกโรค (Differential diagnosis)  ที่จะส่งคนไข้ไปรักษาเฉพาะด้านอีกที

    และแต่ละอาการ  ใช่ว่าจะจำเพาะต่อชื่อโรคซะเมื่อไหร่
    เช่น   คนไข้ปวดฟัน  ..เชื่อไหมว่าแค่อาการเดียว  ผลลัพภ์หลังจากวินิจฉัยโรคแล้ว  อาจนำไปสู่การรักษาที่ยากกว่าการอุดฟันหรือถอนฟันก็ได้
    (แล้วน้องจะได้รู้จักประเภทของงานต่อไปค่ะ)

    หรือ  คนไข้บางคนเป็นไข้  ปวดแก้ม  ปรากฎว่าไปหาคุณหมอทั่วไป   จู่ๆคนไข้ท่านนั้นอาจจะถูกส่งมารักษาทางทันตกรรมก็ได้




    ความยากของวิชานี้
    นอกจากตำราเรียนมากมายที่ต้องท่องจำและรำลึกอาการที่สัมพันธ์กับโรคต่างๆให้ได้
    ต้องมี "ประสบการณ์"  ค่ะ   และชั้นเชิงการพูด  อัธยาศัยไมตรีต่อคนไข้  ที่จะทำความคุ้นเคยให้คนไข้วางใจหมอ เล่าอาการต่างๆ  ซึ่งบางครั้งอาจเล่าเรื่องส่วนตัว  ซึ่งมีผลกับการรักษาให้ดีขึ้นก็ได้

    เอ๋...  เรื่องส่วนตัวของคนไข้  เชียวเหรอคะ

    น้องเคยได้ยินไหมคะว่า

    "สร้างจิตสดใส  ร่างกายแข็งแรง"

    สภาพสังคม  หรืออุปนิสัยบางอย่างของคนไข้มีผลกับการใช้ชีวิต  และการเกิดโรคบ้างค่ะ
    โรคหลายโรคที่พี่ได้เรียน   มี "ความเครียด"  เป็นสาเหตุร่วมด้วย   รอยโรคบางชนิดที่น้องบางคนอาจสังเกตว่า

    เอ...  เวลาเรามีประจำเดือน  หรือช่วงใกล้สอบ   ...ทำไมแสบๆในช่องปากนะ  หรือเป็นแผลร้อนในนะ?



    ดังนั้น  หัวใจของการดูแลสุขภาพคนไข้   ก็คือได้รับข้อมูลที่เพียงพอต่อการวางแผนการรักษาต่อไป
    และติดตามอาการคนไข้  ตรวจอาการคนไข้  ด้วยเทคนิคต่างๆ  ซึ่งจะได้เรียนในวิชานี้ค่ะ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×