ลำดับตอนที่ #11
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #11 : นิทานเรื่องที่ ๑๑
พระราชาตริวิกรมเสนเสด็จไปสู่ต้นอโศก ทรงดึงตัวเวตาลลงมาเหวี่ยงขึ้นพระอังสา แล้วเสด็จกลับมาทางเดิม มาได้หน่อยหนึ่ง เวตาลก็กล่าวขึ้นว่า "โอราชะ ข้ามีนิทานสนุกอยู่เรื่องหนึ่ง อยากจะเล่าถวาย โปรดทรงสดับเถิด"
ในอดีตกาลมีพระราชาครองกรุงอุชชยินี ทรงนามว่า พระเจ้าธรรมธวัช พระองค์มีชายาสามองค์ ล้วนแต่เป็นพระธิดาของกษัตริย์ทั้งสิ้น พระนางทั้งสามล้วนเป็นชายาคนโปรดของพระราชาผู้สวามีอย่างยิ่ง ชายาองค์ที่หนึ่งชื่ออินทุเลขา องค์ที่สองช่ือดาราวลี และองค์ที่สามมีนามว่ามฤคางกวดี นางทั้งสามล้วนมีเสน่ห์น่ารักเหมือนกันหมด พระราชาแห่งอุชชยินีเป็นกษัตริย์ผู้กล้าหาญ ทรงมีชัยชำนะเหนืออริราชศัตรูทั้งมวลหาใครเสมอมิได้ เสวยราชย์ด้วยความสุขสำราญพร้อมด้วยพระชายาทั้งสามเรื่อยมา
ครั้งหนึ่ง เมื่อถึงฤดูวสันต์อันเป็นฤดูแห่งความชื่นบาน พระราชาปรารถนาจะพักผ่อนให้สำราญพระทัย จึงพาพระชายาทั้งสามไปสู่สวนขวัญประทับอยู่ด้วยความรื่นรมย์ ณ อุทยานนั้น โอกาสหนึ่งทรงทอดพระเนตรเห็นลดาวัลย์ไม้เลื้อยต้นหนึี่ง เกี่ยวเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่มีดอกบานสะพรั่งห้อยระย้าแว่งไกวตามกระแสลม และเครือเถาวัลย์นั้นมีความอ่อนช้อยงดงามราวกับคันศรของพระกามเทพ และฝูงแมลงภู่ซึ่งเกาะและไต่ตอมกลีบดอกไม้นั้นเล่า ก็ดูราวกับสายธนูของพระมันมถะ(ผู้ก่อกวนใจ หมายถึง พระกามเทพ) เช่นเดียวกัน พระราชาผู้องอาจปานพระวัชรปาณี(ผู้มีมือถือวัชระ เป็นสมญานามของพระอินทร์ ทรงเพลินอยู่กับกระแสเสียงของนกโกกิลาอันเจื้อยแจ้วมาตามลม ราวกับเสียงของพระมกรเกตุ(ผู้มีธงรูปปลามังกร หมายถึงกามเทพ) ผู้เป็นเทพแห่งความรัก กำลังพาอัปสรทั้งหลายมาเริงเล่นสำราญด้วยความมึนเมาแห่งสุรามฤตที่เสพกันอยู่ทุกหมู่เหล่าโดยทั่วกัน ขณะนั้นพระชายาอินทุเลขากำลังสรวลเสกับการดึงพระเกศาของพระราชาเล่น ปรากฏว่าดอกบัวอินทีวร (บัวสายสีน้ำเงิน) ที่นางทัดหูเป็นเครื่องประดับเศียรเกล้า ได้ร่วงหล่นลงมาบนตักของนางผู้เอวบาง ทำให้นางตกใจ เปล่งเสียง "ต๊าย ตาย" ออกมาแล้วเป็นลมหมดสติ ในทันทีนั้นก็เกิดรอยแผลขึ้นที่ต้นขาของนาง ทำให้พระราชาและบริพารตื่นตกใจกันมาก และรู้สึกเป็นทุกข์ในอุบัติเหตุของนาง ต่างก็เอาน้ำหอมมาให้นางกำนัลลูบไล้ตามร่างของพระนาง ให้นางกำนัลตกแต่งแผลให้นางและดูแลตามคำสั่งของหมอหลวงอย่างเคร่งครัด
ในเวลาราตรี พระราชาเสด็จมาดูอาการของนาง เห็นว่าค่อยยังชั่วขึ้นบ้างแล้ว ก็พานางดาราวดีพระชายาคนที่สองเสด็จไปสู่งห้องบรรทมชั้นดาดฟ้าซึ่งงามวิจิตรอยู่ในแสงนวลใยของพระจันทร์ ณ ที่นั้นแสงของดวงศศีส่องมาอาบร่างของนางผู้ซึ่งนอนหลับเคียงข้างพระราชาอยู่ สายลมเย็นยามดึกรำเพยพัดมาที่ร่างของนาง ทำให้ภูษาภรณ์ของนางเคลื่อนคล้อยไปจากองค์ ทันใดนั้นนางก็รู้สึกตัวตื่นขึ้นมามีอาการตระหนก เปล่งเสียงร้องออกมาว่า "ช่วงด้วยเถิด ข้าถูกไฟเผา" แล้วลุกจากเตียง เอามือนวดตามแขนขาเป็นพัลวัน เสียงของนางทำให้พระราชาตื่นจากบรรทมด้วยความตกพระทัย และเห็นแผลพุพองขึ้นตามร่างกายของพระเทวี จึงซักถามด้วยความพิศวงว่า "นี่มันเรื่องอะไรกัน" พระนางดาราวดีทูลตอบว่า "รัศมีจันทร์ที่ส่องมากระทบร่างของหม่อมฉัน เป็นเหตุให้หม่อมฉันต้องทนทุกข์เพราะแผลพุพองเหล่านี้" ทูลจบนางก็ฟูมฟายด้วยความโศก ร้องไห้สะอึกสะอื้นมิหยุดหย่อน พระราชาเห็นดังนั้นก็สงสารนัก รับสั่งเรียกนางข้าหลวงบริวารให้เข้ามาช่วยโดยด่วน จัดทำเตียงปูลาดด้วยใบบัวให้นางนอน ประพรมร่างของนางด้วยสุคนธรส โปรยปรายเฟื่องฟุ้งดังฝอยฝน และเอาน้ำมันจันทน์หอมทาตามแผลเจ็บปวดของนาง
ในระหว่างเวลาที่ชุลมุนวุ่นวายกันนี้ นางมฤคางกวดีชายาองค์ที่สาม ได้ยินเสียงอื้ออึงก็ออกจากตำหนักของนางเพื่อมาดูเหตุการณ์ และเมื่อเดินพ้นออกมาสู่ที่แจ้งนั้นเอง นางก็หยุดนิ่ง ได้ยินเสียงหนึ่งดังลอยลมมาแต่ไกลในความเงียบสงัดของราตรี นางหยุดกึกลงด้วยความสนใจและเงี่ยหูฟังในที่สุดก็เข้าใจว่า เป็นเสียงครกตำข้าวดังมาแต่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไป ในขณะที่เงี่ยหูฟังเสียงนั้น นางผู้มีเนตรงามดังตากวางก็เปล่งเสียงออกมาด้วยความตกใจว่า "ช่วยด้วย กำลังถูกฆ่า" สิ้นเสียงนางก็ทรุดฮวบลงนั่งกับพื้น ยกมือทั้งสองข้างอันสั่นระริกขึ้นชูไปเบื้องหน้า แสดงอาการเจ็บปวดแสนสาหัส นางข้าหลวงผู้เป็นบริวารเห็นดังนั้นก็รีบเข้าไปประคอง พานางกลับไปตำหนักของนางทันที พอถึงห้องนางมฤคางกวดีก็ล้มลงนอนบนเตียงอย่างหมดเรี่ยวแรง และส่งเสียงครวญครางไม่ขาดระยะ เมื่อนางบริวารช่วยกันตรวจหาสาเหตุแห่งความเจ็บปวดของนางก็แลเห็นมือของนางเต็มไปด้วยรอยฟกช้ำ เหมือนกับดอกบัวที่ถูกฝูงผึ้งไต่อยู่คลาคล่ำ นางกำลังจึงรีบไปทูลพระราชา พระเจ้าธรรมธวัชได้ฟังก็ตกพระทัยมาก รีบเสด็จมาดูอาการของพระชายาคู่พระทัย และทรงฉงนพระทัยว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นางยื่นหัตถ์ให้ดู และกล่าวว่า "หม่อมฉันได้ยินเสียงครกกระเดื่องดังมาจากที่ไกล เสียงของมันทำให้มือของหม่อมฉันต้องฟกช้ำเป็นจ้ำ ๆ อย่างนี้แหละเพคะ" พระราชาทรงเดือดร้อนพระทัยยิ่งนัก รีบสั่งให้นางพนักงานไปนำเอาสีผึ้ง ผงจันทน์หอมและโอสถชนิดต่าง ๆ มาให้นาง เพื่อใช้บรรเทาความเจ็บปวด
พระราชารำพึงในพระทัยว่า "เรื่องนี้ช่างประหลาดยิ่งนัก เมียคนหนึ่งของเราได้รับบาดแผลเพราะดอกบัวตกถูกหน้าขา เมียคนที่สองก็ถูกรังสีพระจันทร์ไหม้ผิวหนัง โธ่เอ๋ย ยังคนที่สามอีกเล่า เพียงแต่ได้ยินเสียงตำข้าวเท่านั้นก็เกิดรอยฟกช้ำที่มือทั้งสองข้าง นี่ต้องเป็นเรื่องของชะตากรรมแน่เทียว จึงบันดาลให้เกิดอาเพศถึงเพียงนี้" รำพึงฉะนี้แล้วพระราชาก็เสด็จออกจากตำหนักใน เดินคิดหาเหตุผลต่าง ๆ ก็ยังคิดไม่ตก เวลาล่วงไปหลายชั่วโมงพระราชาก็ไม่รู้สึกพระองค์ คงดำเนินเรื่อยอยู่ ถึงตอนเช้าแพทย์หลวงจึงพากันมาเฝ้าดูอาการของพระชายาทั้งสาม และช่วยกันพยาบาลจึงอาการดีขึ้น
เมื่อเวตาลผู้เกาะอยู่บนบ่าของพระราชาเล่าเรื่องจบลง ก็กล่าวแก่พระราชาตริวิกรมเสนว่า "ไหนทรงเฉลยให้ข้าเข้าใจซิว่า พระองค์มีความเห็นว่าในเรื่องนี้พระชายาองค์ใดเป็นผู้แบบบางต่อการกระทบมากที่สุด แต่ขอให้ทรงตระหนักไว้ว่า ข้าได้เตือนพระองค์มาก่อนแล้วว่า ถ้าพระองค์รู้คำตอบของปัญหานี้แล้วยังไม่ตอบ ศีรษะของพระองค์จะแยกเป็นเสี่ยง ๆ ตามคำสาปของข้า"
เมื่อพระเจ้าตริวิกรมเสนได้ฟังดังนั้น ก็ตอบว่า "ข้าไม่เห็นจะยากตรงไหนเลย นางเทวีองค์ที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดก็คือคนที่เพียงแต่ได้ยินเสียงครกตำข้าวแว่วมาแต่ไกล นางก็เกิดอาการฟกช้ำดำเขียวที่หัตถ์ของนางน่ะซิ สองคนแรกอ่อนไหวเพราะมีสิ่งแตะต้องวรกายของนาง คือดอกบัวและแสงจันทร์ แต่คนที่สามนั้นไม่มีอะไรมาแตะต้องกายของนาง เพียงแต่แว่วเสียงมาตามลมแต่ที่ไกล แม้จะมองไม่เห็นมัน นางก็ได้รับบาดแผลอันเกิดจากความอ่อนไหวของนาง เป็นดังนี้ข้าจึงเชื่อว่านางผู้นี้แหละคือ คำตอบที่เจ้าต้องการจะรู้ จริงหรือไม่"
"จริงสิ พระเจ้าข้า" เวตาลกล่าวด้วยสำเนียงเยาะหยัน ประชดประชัน แล้วก็ละจากพระอังสาของพระราชา ลอยละลิ่วกลับไปสู่ต้นอโศกอันเป็นที่อยู่ของตนทันที ทำให้พระราชาต้องย้อนกลับไปลากตัวมันมาอีก
ในอดีตกาลมีพระราชาครองกรุงอุชชยินี ทรงนามว่า พระเจ้าธรรมธวัช พระองค์มีชายาสามองค์ ล้วนแต่เป็นพระธิดาของกษัตริย์ทั้งสิ้น พระนางทั้งสามล้วนเป็นชายาคนโปรดของพระราชาผู้สวามีอย่างยิ่ง ชายาองค์ที่หนึ่งชื่ออินทุเลขา องค์ที่สองช่ือดาราวลี และองค์ที่สามมีนามว่ามฤคางกวดี นางทั้งสามล้วนมีเสน่ห์น่ารักเหมือนกันหมด พระราชาแห่งอุชชยินีเป็นกษัตริย์ผู้กล้าหาญ ทรงมีชัยชำนะเหนืออริราชศัตรูทั้งมวลหาใครเสมอมิได้ เสวยราชย์ด้วยความสุขสำราญพร้อมด้วยพระชายาทั้งสามเรื่อยมา
ครั้งหนึ่ง เมื่อถึงฤดูวสันต์อันเป็นฤดูแห่งความชื่นบาน พระราชาปรารถนาจะพักผ่อนให้สำราญพระทัย จึงพาพระชายาทั้งสามไปสู่สวนขวัญประทับอยู่ด้วยความรื่นรมย์ ณ อุทยานนั้น โอกาสหนึ่งทรงทอดพระเนตรเห็นลดาวัลย์ไม้เลื้อยต้นหนึี่ง เกี่ยวเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่มีดอกบานสะพรั่งห้อยระย้าแว่งไกวตามกระแสลม และเครือเถาวัลย์นั้นมีความอ่อนช้อยงดงามราวกับคันศรของพระกามเทพ และฝูงแมลงภู่ซึ่งเกาะและไต่ตอมกลีบดอกไม้นั้นเล่า ก็ดูราวกับสายธนูของพระมันมถะ(ผู้ก่อกวนใจ หมายถึง พระกามเทพ) เช่นเดียวกัน พระราชาผู้องอาจปานพระวัชรปาณี(ผู้มีมือถือวัชระ เป็นสมญานามของพระอินทร์ ทรงเพลินอยู่กับกระแสเสียงของนกโกกิลาอันเจื้อยแจ้วมาตามลม ราวกับเสียงของพระมกรเกตุ(ผู้มีธงรูปปลามังกร หมายถึงกามเทพ) ผู้เป็นเทพแห่งความรัก กำลังพาอัปสรทั้งหลายมาเริงเล่นสำราญด้วยความมึนเมาแห่งสุรามฤตที่เสพกันอยู่ทุกหมู่เหล่าโดยทั่วกัน ขณะนั้นพระชายาอินทุเลขากำลังสรวลเสกับการดึงพระเกศาของพระราชาเล่น ปรากฏว่าดอกบัวอินทีวร (บัวสายสีน้ำเงิน) ที่นางทัดหูเป็นเครื่องประดับเศียรเกล้า ได้ร่วงหล่นลงมาบนตักของนางผู้เอวบาง ทำให้นางตกใจ เปล่งเสียง "ต๊าย ตาย" ออกมาแล้วเป็นลมหมดสติ ในทันทีนั้นก็เกิดรอยแผลขึ้นที่ต้นขาของนาง ทำให้พระราชาและบริพารตื่นตกใจกันมาก และรู้สึกเป็นทุกข์ในอุบัติเหตุของนาง ต่างก็เอาน้ำหอมมาให้นางกำนัลลูบไล้ตามร่างของพระนาง ให้นางกำนัลตกแต่งแผลให้นางและดูแลตามคำสั่งของหมอหลวงอย่างเคร่งครัด
ในเวลาราตรี พระราชาเสด็จมาดูอาการของนาง เห็นว่าค่อยยังชั่วขึ้นบ้างแล้ว ก็พานางดาราวดีพระชายาคนที่สองเสด็จไปสู่งห้องบรรทมชั้นดาดฟ้าซึ่งงามวิจิตรอยู่ในแสงนวลใยของพระจันทร์ ณ ที่นั้นแสงของดวงศศีส่องมาอาบร่างของนางผู้ซึ่งนอนหลับเคียงข้างพระราชาอยู่ สายลมเย็นยามดึกรำเพยพัดมาที่ร่างของนาง ทำให้ภูษาภรณ์ของนางเคลื่อนคล้อยไปจากองค์ ทันใดนั้นนางก็รู้สึกตัวตื่นขึ้นมามีอาการตระหนก เปล่งเสียงร้องออกมาว่า "ช่วงด้วยเถิด ข้าถูกไฟเผา" แล้วลุกจากเตียง เอามือนวดตามแขนขาเป็นพัลวัน เสียงของนางทำให้พระราชาตื่นจากบรรทมด้วยความตกพระทัย และเห็นแผลพุพองขึ้นตามร่างกายของพระเทวี จึงซักถามด้วยความพิศวงว่า "นี่มันเรื่องอะไรกัน" พระนางดาราวดีทูลตอบว่า "รัศมีจันทร์ที่ส่องมากระทบร่างของหม่อมฉัน เป็นเหตุให้หม่อมฉันต้องทนทุกข์เพราะแผลพุพองเหล่านี้" ทูลจบนางก็ฟูมฟายด้วยความโศก ร้องไห้สะอึกสะอื้นมิหยุดหย่อน พระราชาเห็นดังนั้นก็สงสารนัก รับสั่งเรียกนางข้าหลวงบริวารให้เข้ามาช่วยโดยด่วน จัดทำเตียงปูลาดด้วยใบบัวให้นางนอน ประพรมร่างของนางด้วยสุคนธรส โปรยปรายเฟื่องฟุ้งดังฝอยฝน และเอาน้ำมันจันทน์หอมทาตามแผลเจ็บปวดของนาง
ในระหว่างเวลาที่ชุลมุนวุ่นวายกันนี้ นางมฤคางกวดีชายาองค์ที่สาม ได้ยินเสียงอื้ออึงก็ออกจากตำหนักของนางเพื่อมาดูเหตุการณ์ และเมื่อเดินพ้นออกมาสู่ที่แจ้งนั้นเอง นางก็หยุดนิ่ง ได้ยินเสียงหนึ่งดังลอยลมมาแต่ไกลในความเงียบสงัดของราตรี นางหยุดกึกลงด้วยความสนใจและเงี่ยหูฟังในที่สุดก็เข้าใจว่า เป็นเสียงครกตำข้าวดังมาแต่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไป ในขณะที่เงี่ยหูฟังเสียงนั้น นางผู้มีเนตรงามดังตากวางก็เปล่งเสียงออกมาด้วยความตกใจว่า "ช่วยด้วย กำลังถูกฆ่า" สิ้นเสียงนางก็ทรุดฮวบลงนั่งกับพื้น ยกมือทั้งสองข้างอันสั่นระริกขึ้นชูไปเบื้องหน้า แสดงอาการเจ็บปวดแสนสาหัส นางข้าหลวงผู้เป็นบริวารเห็นดังนั้นก็รีบเข้าไปประคอง พานางกลับไปตำหนักของนางทันที พอถึงห้องนางมฤคางกวดีก็ล้มลงนอนบนเตียงอย่างหมดเรี่ยวแรง และส่งเสียงครวญครางไม่ขาดระยะ เมื่อนางบริวารช่วยกันตรวจหาสาเหตุแห่งความเจ็บปวดของนางก็แลเห็นมือของนางเต็มไปด้วยรอยฟกช้ำ เหมือนกับดอกบัวที่ถูกฝูงผึ้งไต่อยู่คลาคล่ำ นางกำลังจึงรีบไปทูลพระราชา พระเจ้าธรรมธวัชได้ฟังก็ตกพระทัยมาก รีบเสด็จมาดูอาการของพระชายาคู่พระทัย และทรงฉงนพระทัยว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นางยื่นหัตถ์ให้ดู และกล่าวว่า "หม่อมฉันได้ยินเสียงครกกระเดื่องดังมาจากที่ไกล เสียงของมันทำให้มือของหม่อมฉันต้องฟกช้ำเป็นจ้ำ ๆ อย่างนี้แหละเพคะ" พระราชาทรงเดือดร้อนพระทัยยิ่งนัก รีบสั่งให้นางพนักงานไปนำเอาสีผึ้ง ผงจันทน์หอมและโอสถชนิดต่าง ๆ มาให้นาง เพื่อใช้บรรเทาความเจ็บปวด
พระราชารำพึงในพระทัยว่า "เรื่องนี้ช่างประหลาดยิ่งนัก เมียคนหนึ่งของเราได้รับบาดแผลเพราะดอกบัวตกถูกหน้าขา เมียคนที่สองก็ถูกรังสีพระจันทร์ไหม้ผิวหนัง โธ่เอ๋ย ยังคนที่สามอีกเล่า เพียงแต่ได้ยินเสียงตำข้าวเท่านั้นก็เกิดรอยฟกช้ำที่มือทั้งสองข้าง นี่ต้องเป็นเรื่องของชะตากรรมแน่เทียว จึงบันดาลให้เกิดอาเพศถึงเพียงนี้" รำพึงฉะนี้แล้วพระราชาก็เสด็จออกจากตำหนักใน เดินคิดหาเหตุผลต่าง ๆ ก็ยังคิดไม่ตก เวลาล่วงไปหลายชั่วโมงพระราชาก็ไม่รู้สึกพระองค์ คงดำเนินเรื่อยอยู่ ถึงตอนเช้าแพทย์หลวงจึงพากันมาเฝ้าดูอาการของพระชายาทั้งสาม และช่วยกันพยาบาลจึงอาการดีขึ้น
เมื่อเวตาลผู้เกาะอยู่บนบ่าของพระราชาเล่าเรื่องจบลง ก็กล่าวแก่พระราชาตริวิกรมเสนว่า "ไหนทรงเฉลยให้ข้าเข้าใจซิว่า พระองค์มีความเห็นว่าในเรื่องนี้พระชายาองค์ใดเป็นผู้แบบบางต่อการกระทบมากที่สุด แต่ขอให้ทรงตระหนักไว้ว่า ข้าได้เตือนพระองค์มาก่อนแล้วว่า ถ้าพระองค์รู้คำตอบของปัญหานี้แล้วยังไม่ตอบ ศีรษะของพระองค์จะแยกเป็นเสี่ยง ๆ ตามคำสาปของข้า"
เมื่อพระเจ้าตริวิกรมเสนได้ฟังดังนั้น ก็ตอบว่า "ข้าไม่เห็นจะยากตรงไหนเลย นางเทวีองค์ที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดก็คือคนที่เพียงแต่ได้ยินเสียงครกตำข้าวแว่วมาแต่ไกล นางก็เกิดอาการฟกช้ำดำเขียวที่หัตถ์ของนางน่ะซิ สองคนแรกอ่อนไหวเพราะมีสิ่งแตะต้องวรกายของนาง คือดอกบัวและแสงจันทร์ แต่คนที่สามนั้นไม่มีอะไรมาแตะต้องกายของนาง เพียงแต่แว่วเสียงมาตามลมแต่ที่ไกล แม้จะมองไม่เห็นมัน นางก็ได้รับบาดแผลอันเกิดจากความอ่อนไหวของนาง เป็นดังนี้ข้าจึงเชื่อว่านางผู้นี้แหละคือ คำตอบที่เจ้าต้องการจะรู้ จริงหรือไม่"
"จริงสิ พระเจ้าข้า" เวตาลกล่าวด้วยสำเนียงเยาะหยัน ประชดประชัน แล้วก็ละจากพระอังสาของพระราชา ลอยละลิ่วกลับไปสู่ต้นอโศกอันเป็นที่อยู่ของตนทันที ทำให้พระราชาต้องย้อนกลับไปลากตัวมันมาอีก
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น