ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สถานีต่อไป...มหาวิทยาลัยในฝัน

    ลำดับตอนที่ #14 : คณะในฝัน ♥ วิศวกรรมศาสตร์

    • อัปเดตล่าสุด 12 มิ.ย. 53





    คณะวิศวกรรมศาสตร์







      พี่ดังใจเชื่อว่าถ้าพูดถึงคณะวิศวะแล้วน้องๆคงจะรู้จักกันดี แต่น้องรู้มั๊ยคะว่าคณะนี้ประกอบด้วยสาขาอะไรบ้าง วันนี้พี่มีข้อมูลดีๆมาฝาก เพื่อช่วยน้องตัดสินใจเลือกสาขาเรียนได้ง่ายขึ้นจ๊ะ

    วิศวกรรมโยธา

    วิศวกรออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างต่างๆ อาทิ อาคารสูง โรงงาน ท่าอากาศยาน ถนน สะพาน อุโมงค์ใต้ดิน เขื่อน ฝายกั้นน้ำ ซึ่งมีแหล่งงานเป็นจำนวนมากตามบริษัทต่างๆ ได้แก่ บ.อิตัลไทย บ.ชิโนไทย เป็นต้น 

    วิศวกรด้านการบริหารและการควบคุมการก่อสร้าง

    วิศวกรด้านสำรวจ การรังวัดและการจัดทำผังเมือง

    วิศวกรออกแบบและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียประจำโรงงานและอาคารต่างๆ

    วิศวกรสำรวจและบริหารงานด้านแหล่งน้ำและอุทกวิทยา

    วิศวกรออกแบบและดูแลระบบไฮเวย์

     

    วิศวกรรมเครื่องกล

    วิศวกรด้านนี้เป็นที่ต้องการอย่างมากในภาคอุตสาหกรรมหนักต่างๆ เช่น

    วิศวกรดูแลระบบในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ โรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซและผลิตปิโตรเลียม โรงงานผลิตเหล็กเส้น โรงงานสิ่งทอ

    วิศวกรการออกแบบ ติดตั้งและดูแลงานระบบปรับอากาศ และงานระบบท่อในโรงงานและอาคารต่างๆ

    วิศวกร ตรวจวัดในอุตสาหกรรมการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนวางแผน ออกแบบและติดตั้งการเดินท่อส่งก๊าซและน้ำมัน เช่น บ.ยูโนแคล บ.เชลล์ บ.ปตท สำรวจ เป็นต้น วิศวกรเหล่านี้จะได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนสูงมากเพราะนอกจากจะต้องใช้ ความสามารถสูงแล้ว ยังต้องมีความเข้มแข็งอดทน สามารถทำงานภายใต้ภาวะความกดดันและอันตรายได้

    วิศวกรสำหรับโรงงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนยานยนต์

     

    วิศวกรรมอุตสาหการ

    จัดเป็นวิศวกรที่จะเป็นต้องเรียนหรือมีความรู้ทางด้านบริหารมากกว่า วิศวกรสาขาอื่นๆ 

    วิศวกรประจำโรงงานเพื่อบริหารจัดการขบวนการของการผลิตให้มีประสิทธิภาพ สูงสุด ซึ่งเป็นที่ต้องการในทุกโรงงานอุตสาหกรรม

    วิศวกรบริหารการผลิตและเพิ่มผลผลิตในอุสาหกรรมต่างๆ

    วิศวกรออกแบบการจัดวางสายการผลิตภายในโรงงาน เครื่องจักร และการบริหารระบบห่วงโซ่อุปทานและคลังสินค้า โรงงานหนึ่งๆ อาจมีการผลิตสินค้าหลายประเภทหรือหลายรุ่น ดังนั้น วิศวกรอุตสาหการต้องวางผังการจัดการสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ให้สามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากๆ ต่อหน่วยเวลา และใช้พลังงานและทรัพยากรต่างๆ คุ้มค่าที่สุดในประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางอุตสาหกรรมการผลิตทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เช่นประเทศไทยในปัจจุบัน จะมีความต้องการวิศวกรอุตสาหการเป็นจำนวนมาก

     

    วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

    วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในตลาดแรงงาน วิศวกรสามารถเลือกงานได้สามลักษณะคือ  วิศวกรวางระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโครงข่ายให้แก่ภาคธุรกิจอื่นๆ เพื่อให้มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งงานคือบริษัทฯ ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเองซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรใหญ่และมีสำนักงานใหญ่ อยู่ในต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท AT&T บริษัท ไอบีเอ็ม บริษัท SUN Microsystem บริษัท LUCENT Technology บริษัท CISCO เป็นต้น วิศวกรที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติเหล่านี้มีรายได้เงินเดือนสูงมาก

    วิศวกรดูแลระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ วิศวกรพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามบริษัทต่างๆ ระบบโครงข่ายของธนาคารและห้างสรรพสินค้น

    วิศวกรพัฒนาโปรแกรมและระบบคอมพิวเตอร์อิสระ รับทำงานทั่วไปให้แก่กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นวิศวกรที่สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นเจ้าของกิจการเองได้

     

    วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง

    วิศวกรด้านนี้สามารถออกไปประกอบอาชีพด้านต่างๆ ได้แก่   วิศวกรประจำโรงงานทำหน้าที่ดูแลระบบไฟฟ้า ติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องจักรไฟฟ้าภายในโรงงานอุตสาหกรรม  วิศวกร ออกแบบ อนุมัติแบบ ควบคุมงานการติดตั้งระบบไฟฟ้า สำหรับอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องทำงานร่วมกันกับทีมงานวิศวกรสาขาอื่นๆ เพื่อให้การก่อสร้างอาคารและโรงงาน สำเร็จลุล่วง   วิศวกรควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้าในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าทั้งสามแห่ง โรงแยกก๊าซ ปตท การรถไฟฟ้ามหานคร

    วิศวกรปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและวิจัยผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า

    วิศวกรวางแผนการใช้พลังงานประจำโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่ ทุกโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีแผนการประหยัดพลังงาน

     

    วิศวกรรมโทรคมนาคม

    วิศวกรโทคคมนาคมเป็นที่ต้องการมากในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบ สื่อสารและระบบโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งในภาครัฐและเอกชน ได้แก่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท การสื่อสารโทรคมนาคม จำกัด บริษัท ไทยคม บริษัท AIS บริษัท DTAC บริษัท TelecomAsia บริษัท TT&T บริษัท Ericsson บริษัท Nokia บริษัท AT&T และบริษัท SIEMENS

    วิศวกรติดตั้งและดูแลระบบสื่อสารเคเบิลไยแก้ว ระบบไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม

    วิศวกร ออกแบบ ติดตั้งและดูแลระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีสถานีทวนสัญญาณอยู่ทั่วประเทศ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่างๆ

    วิศวกรดูแลระบบระบบสื่อสารสำหรับการบินพาณิชย์ เช่น บริษัท การบินไทย บริษัท วิทยุการบิน จำกัด

     

    วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

    สามารถทำงานได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่  อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำการออกแบบและผลิตแผ่นวงจรรวม อุปกรณ์หน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ ได้แก่ บริษัท FASL(Thailand) หรือเดิมคือ Advanced Micro Devices (AMD), Philips Semiconductor, Lucent, Seagate, Sony Semiconductor, Toshiba Semiconductor

     

    วิศวกรรมระบบควบคุม

    วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมทุกแขนง เช่น ปิโตรเคมี ยานยนต์ พลังงาน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

    วิศวกรติดตั้งและดูแลระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ อุตสาหกรรมเคมีและการแปรรูปเคมีภัณฑ์

    วิศวกรออกแบบ ติดตั้งและควบคุมระบบการเดินรถไฟฟ้า เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร

     

    วิศวกรรมเคมี

    วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการแปรรูปสารเคมีต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมผลิตสินค้าอุปโภค เช่น วิศวกรออกแบบระบบให้แก่โรงงานทางด้านการแปรรูปเคมี

     

    วิศวกรรมปิโตรเคมี

    วิศวกรด้านปิโตรเคมี  จำต้องมีความรู้ทั้งในด้านเคมี  ด้านเครื่องกล  สามารถทำงานในด้านการผลิตและสำรวจ  ขุดเจาะ น้ำมัน  รวมถึง  กระบวนการแปรรูปน้ำมันดิบไปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ  เม็ดเงินในอุตสาหกรรมนี้มีปริมาณมาก  ทำให้บุคลากรมีผลตอบแทนที่ดี

     

    วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

    เป็นวิศวกรที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ที่สำคัญทางวิศวกรรมไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ระบบควบคุมและเครื่องกล วิศวกรด้านนี้เป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมที่ต้องการระบบการผลิตที่ทันสมัย ความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน หรูหราและมีมูลค่าสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

    อุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรผลิตไอซีและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์และมอนิเตอร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอที่ใช้เครื่องจักรไฮเทค

     

    วิศวกรรมอาหาร

    เป็นสาขาที่เกี่ยวเนื่องการการผลิตและแปรรูปอาหาร  การประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเกษตร  เคมี และการจัดการวัสดุที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร รวมถึง ความรู้ด้านพันธุวิศวกรรมเกี่ยวกับพืชและสัตว์  โดยลักษณะงานเกี่ยวกับการออกแบบกระบวนการผลิตอาหาร,การถนอมอาหาร,ความ ปลอดภัยของการผลิตอาหาร รวมถึง กระบวนการควบคุมคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ของอาหาร  มักทำงานในอุตสาหกรรมอาหารเป็นหลัก

     
    ข้อมูลการสอบเพิ่มเติม

    • ข้อมูลการสอบ Admission ของส่วนกลาง ; สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา   http://www.mua.go.th/default1.html#
      328 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    • สถาบันทดสอบการศึกษาแห่ง ชาติ ;     http://www.niets.or.th/  เลขที่ 128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 35-36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400      โทรศัพท์ : 0-2219-2992-5 โทรสาร : 0-2219-2996
    • สอบตรงวิศวจุฬาฯ ภาคภาษาอังกฤษ ;                            http://ugrad.ise.eng.chula.ac.th/main/
    • สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิ รินธร (ธรรมศาสตร์) ;             http://www.siit.tu.ac.th/thai/undergrad.html
    • สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าฯ ลาดกะบัง ;                     http://www.reg.kmitl.ac.th/admission/
    • สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าฯ ธนบุรี(บางมด) ;              http://www2.kmutt.ac.th/thai/admis_ungrd/index.html
    • สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าฯ พระนครเหนือ  ;              http://www.admission.kmitnb.ac.th/
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ;                   http://www.eng.cmu.ac.th/web2007/
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ;                   http://www.en.kku.ac.th/th/
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ;           http://www.eng.psu.ac.th/enghome/

     



    คำแนะนำเพิ่มเติม
    • ควรเรียนเนื้อหาฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์แยกบทในระดับ ม. 4 – 6 ให้ จบให้หมดก่อนปิดเทอม ม.5 เทอม 2 
    • ถ้าต้องการสอบตรงภาคภาษาอังกฤษ  ควรให้น้ำหนักวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น (ซึ่งในชีวิตจริง ภาษาอังกฤษจำเป็นต่อวิชาชีพวิศวะมาก)
    • วิชาฟิสิกส์  และคณิตศาสตร์   ต้องเรียนให้ดี ให้เข้าใจ ถ้าอยากเรียนวิศวะ  เพราะเมื่อน้องเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย น้องต้องเจอวิชาฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์เป็นส่วนใหญ่
    • วิชาความถนัดทางวิศวกรรม เป็นวิชาที่สอบก่อนเพื่อน  และ ในปีที่ผ่าน ๆ มามักจะทำข้อสอบกันไม่ทัน เนื่องจากให้เวลาสอบเพียง 2 ชั่วโมง  (ข้อสอบตัวเลือก 41 ข้อ  , เติมคำตัวเลขอีก 6 ข้อ)  น้อง จึงต้องฝึกทำโจทย์แบบจับเวลาจริงด้วย
    • น้องที่อยากเข้าวิศวะคอมฯ นอกจากคะแนนจะค่อนข้างสูงแล้ว ขอให้คิดให้ดีว่าชอบ และถนัดทางสายนี้หรือไม่ เพราะถ้าน้องมีพื้นฐานคอมพิวเตอร์ไม่ดี เมื่อเข้าไปเรียนจะมีปัญหามาก
    • เวลาจะเลือกคณะวิศวะสาขาใดก็ตาม (เช่น เคมี ไฟฟ้า ฯลฯ) อย่ายึด ตามกระแสนิยม    ให้ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนว่าเมื่อเรียน และเมื่อจบไปทำงาน เป็นงานที่น้องชอบหรือไม่  เพราะการเลือกตามที่ตัวเราเองถนัด และชอบ มักจะทำให้เราทำงานได้ดีอยู่แล้ว   อย่ามองแค่กระแสที่บอกว่ารายได้ดีเมื่อเรียนจบเพียงอย่างเดียว
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าจะเข้าวิศวะสาขาไหนดี  ให้เลือกวิศวะแบบรวม เช่น วิศวะจุฬาฯ รวม  , วิศวะเกษตรบางกลุ่ม  แล้วค่อยไปเลือกภาควิชาอีกครั้งตอนขึ้นปี 2  จะมีโอกาสเลือกสาขาวิชาได้ตรงกับตัวเรามากกว่า




    ขอบคุณ : http://www.unigang.com/Article/639
    อ้างอิงข้อมูลวันที่ : 12-06-53
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×