คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #12 : คณะในฝัน ♥ แพทย์ศาสตร์ สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
คณะแพทย์ศาสตร์
สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ประกอบด้วย 3 สาขา หรือที่เราเรียกกันว่า 3 โรงเรียนน่ะค่ะ ก็จะประกอบด้วย แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย ซึ่งทุกโรงเรียนจะขึ้นตรงกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยจะมีสโมสรนักศึกษารามาธิบดีเป็นส่วนกลางนะคะ ในสโมสรฯก็จะประกอบด้วยนักศึกษาทุกโรงเรียนมาช่วยกันทำงานของคณะค่ะ
มารู้จักสาขาความผิด ปกติของการสื่อความหมายให้ละเอียดสุด
จริงๆสาขาเราไม่ ใช่สาขาใหม่ในประเทศไทยหรอกนะคะ แต่เมื่อก่อนมีเฉพาะหลักสูตรปริญญาโทเท่านั้น และในแต่ละปีค่อนข้างจะผลิตบุคคลากรออกมาได้น้อยมากไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ ป่วยที่มีมาขึ้นเรื่อย เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีจึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการผลิต บุคคลากรให้มากขึ้น จึงมีการจัดตั้งสาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย หลักสูตรปริญญาตรีขึ้นมาค่ะ นอกจากนี้คณะของเรายังเป็นคณะเดียวในเอเชียอาคเนย์อีกนะคะ คือไม่มีเปิดที่ไหนอีกไม่ว่าจะในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านค่ะ ทำไมจำนวนบุคลากรถึงขาดแคลนหลายคนคงสงสัยใช่มั้ยเอ่ย
สาขาของเราทำงานเกี่ยวกับอะไร พี่จะขอพูดเฉพาะขอบเขตของหลักสูตรปริญญาตรีก่อนน้า เพราะพี่ก็ยังไม่ได้เรียนโทอ่ะ ไว้รู้แล้วจะมาอัพเดตอีกที สำหรับสาขาของเรานั้นจะแยกเป็นสองเอกค่ะ ก็คือ 1. เอกแก้ไขการพูด ซึ่งเราจะทำงานเกี่ยวกับผู้ป่วยเด็กเป็นส่วนมาก ซึ่งผู้ป่วยจะถูกส่งตัวมากจากกุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็ก แพทย์หู คอ จมูก และอีกหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพูดสื่อสารค่ะ ซึ่งกลุ่มอาการของเด็กก็จะประกอบด้วย เด็กที่มีภาษาล่าช้ากว่าวัย เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ อาทิเช่น Autism, Down’s Syndrom เด็กพูดช้าทั่วไป เด็กที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม เป็นต้นค่ะ และเด็กที่พูดไม่ชัด ซึ่งก็มีสาเหตุหลายประการเช่นเดียวกัน เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ เด็กพูดไม่ชัดปกติ เป็นต้น2. เอกแก้ไขการได้ยิน (อันนี้พี่อาจให้รายละเอียดลึกไม่ได้นะคะ ไม่ได้เรียนเอกนี้แต่เอาเท่าที่พี่เคยเรียนมาแล้วกันเนอะ) เราจะทำงานกับแพทย์หู คอ จมูก เป็นส่วนใหญ่ค่ะ ผู้ป่วยที่ส่งมาจะมีตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ค่ะ จัวอย่างเช่นถ้าเป็นเด็กก็จะถูกส่งมาตรวจหูตั้งแต่แรกเกิด (new born) หรือเด็กที่มีปัญหาในเรื่องของการได้ยินมาตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดจากสาเหตุ อื่นๆเช่น หูน้ำหนวก เป็นต้นค่ะ ส่วนผู้ป่วยผู้ใหญ่ก็จะมีปัญหาในเรื่องของการได้ยินเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเส้นประสาทหูเสื่อมทำให้การได้ยินลดลงต้องมาใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งก็เป้นหน้าที่ของนักแก้ไขการได้ยินเช่นเดียวกันค่ะ
แต่ละภาคเรียนในแต่ละปี มีความยากน้อยแค่ไหน
ถามว่าแต่ละปีที่เรียนตั้งแต่ปี หนึ่งถึงปีสี่เรียนยากต่างกันมั้ย พี่ว่ามันก็ยากง่ายต่างกันไปแหละค่ะขึ้นอยู่กับน้องชอบเรียนวิชาไหนมากกว่า กัน ปีหนึ่งก็อย่างที่พี่บอกเราจะเรียน basic science ค่ะในเทอมแรกแต่ไม่รู้ว่ารุ่นหลังๆเค้าเปลี่ยนหลักสูตรอีกหรือเปล่านะ ส่วนเทอมสองน้องก็จะได้เรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ค่ะ หรือเรียนกับอาจารย์ใหญ่นั่นแหละ แต่ว่าอย่าพึ่งตกใจนะว่าจะมีเลือดหรือเปล่า ขอบอกว่าไม่มีค่ะ เราไม่ต้องเรียนลึกขนาดหมอที่จะต้องไปผ่าเองเหมือนในหนังหรอก น้องจะเรียนอาจารย์ใหญ่ที่ท่านถูกแช่ฟอร์มาลีนมาหลายปีแล้ว ซึ่งผิวหนังหรืออวัยยะของท่านทั้งหมดจะมีแต่สีน้ำตาลค่ะ พี่ว่าวิชานี้เป็นเหมือน special subject ของเราเลยนะ เพราะมันสนุกมากกว่าที่จะน่ากลัวอ่ะ น้องจะได้เห้นว่ามนุษญ์เรามีอะไรเยอะแยะเต็มไปหมดเลย
ต่อมาปีสองน้องก็ยังต้องมีเรียนที่ศาลายาค่ะ แต่จะเป็นเทอมแรกซะส่วนใหญ่ แต่พอเทอมสองจะเริ่มเข้ามาเรียนที่ภาคแล้ว ซึ่งอยู่ในโรงพยาบาลรามาธิบดีค่ะ อยู่ใกล้ๆกับวิทยาเขตพญาไทนั่นแหละ แล้วน้องก็จะได้เรียนวิชาเกี่ยวกับคณะมากขึ้นค่ะ พอขึ้นปีสาม น้องจะได้เริ่มลงปฏิบัติการณ์ทางคลินิกจริงๆแล้วพร้อมกับเรียนควบคู่ไปกับ วิชาเลกเชอร์ค่ะ เป็นการเรียนการสอนที่สุกนะพี่ว่า น้องจะรู้เลยแหละว่าวิชาที่เราเรียนไปในปีที่ผ่านๆมารวมทั้งปีปัจจุบันไม่ ใช่สูญเปล่าแต่ได้เอามาใช้จริงๆตอนลงคลินิก ซึ่งคนไข้ก็เป็นคนไข้จริงๆนะไม่ใช่พวกเราเป็นคนไข้กันเอง และพอใกล้จะจบเทอมน้องก็จะต้องเลือกเอกค่ะ ว่าอยากเรียนเอกไหนระหว่าง 1. เอกแก้ไขการพูด 2. เอกแก้ไขการได้ยิน ปีสี่ปีสุดท้ายปีนี้น้องจะเรียนตามเอกที่ตัวเองเลือกแล้ว จะมีได้เรียนด้วยกันอยู่บางรายวิชาค่ะ แล้วก็จะมีทำรายงานชิ้นใหญ่ให้สมกับน้องจะจบแล้วอ่ะนะ ถามว่ายากมั้ยขึ้นอยู่กับหัวข้อที่น้องเลือกจ้า ส่วนการลงคลินิกก็ยังต้องลงอยู่นะเพราะน้องจะมีคนไข้เป้นของตัวเอง คือน้องจะเป้นคนนัดคนไข้ ต้องเขียนรายงานสรุปเคสคนไข้ให้อาจารย์ดูน่ะค่ะ
ความมั่นคงด้านการงาน ของคนที่เรียนคณะ
ความมั่นคงด้านการงานเหรอคะ พี่สามารถพูดได้ว่าน้องจบไปน้องจะได้งานทำแน่นอน 100% ถ้าน้องไม่เลือกเยอะจนเกินไปนะ อย่างที่บอกเราเป็นสาขาคลาดแคลนมีโรงพยาบาลรัฐและเอกชนยังต้องการบุคคลากร ด้านนี้มากๆ ที่พี่กล้าพูดว่าน้องได้งานทำแน่นอนเพราะบุคคลากรในประเทศไทยนั้นขาดแคลน อย่างมาก พี่ขออ้างถึงการประกาศของ นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า
ปัญหาหูหนวก หูตึง และปัญหาด้านการพูด จัดเป็นความพิการที่บั่นทอนการใช้ชีวิตประจำวันมาก สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจในปี 2544 พบว่า ในจำนวนผู้พิการทั้งหมด ร้อยละ 21-22 มีความพิการด้านการสื่อความหมาย ได้แก่ หูตึง หูหนวก เป็นใบ้ พูดไม่ชัด พูดติดอ่าง และเป็นออทิสติก สูงเป็นอันดับ 2 รองจากความพิการด้านการเคลื่อนไหว ซึ่งมีร้อยละ 40 โดยขณะนี้เด็กเกิดใหม่ทุก 1,000 คน จะมีเด็กพิการทางหู 2 คน หรือปีละ 1,600 คน และมีเด็กออทิสติก 300,000 คนทั่วประเทศ รวมทั้งมีผู้ปัญหาทางการสื่อความหมายอื่นๆ อีกจำนวนไม่น้อย เช่น มีสติปัญญาต่ำกว่าอายุ ผู้ป่วยตัดกล่องเสียง ผู้ที่มีเสียงแหบ ฯลฯ นพ.ปราชญ์กล่าวต่อว่า นักแก้ไขการพูดและนักแก้ไขการได้ยิน ที่เดิมเรียกว่านักโสตสัมผัสวิทยา ขาดแคลนกำลังคนอย่างหนัก
ในโรงพยาบาลรัฐ-เอกชนทั่วประเทศมีเพียง 110 คน เป็นนักแก้ไขการพูด 64 คน ที่เหลือเป็นนักแก้ไขการได้ยิน ในอัตราส่วนบุคลากร 1 คนต่อประชากร 250,000 คน ขณะที่ต้องการประมาณ 450-500 คน กระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อขอเพิ่มตำแหน่งในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป 98 แห่ง ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณา
ขอบคุณ : http://www.unigang.com/Article/1822
อ้างอิงข้อมูลวันที่ : 12-06-53
ความคิดเห็น