ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สถานีต่อไป...มหาวิทยาลัยในฝัน

    ลำดับตอนที่ #11 : คณะในฝัน ♥ สาธารณสุขศาสตร์ / อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

    • อัปเดตล่าสุด 12 มิ.ย. 53






    แต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะตั้งชื่อไม่เหมือนกัน บางที่จะเป็น สาธารณสุขศาสตร์ บางที่ก็จะเป็นวิทยาศาสตร์นะครับ แต่เราก็มาดูกันว่า สาขานี้มันคืออะไร เรียนอะไร ทำงานอะไรได้บ้าง และที่ไหนเปิดสอนบ้าง



    ความเป็นมาของภาควิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

    เนื่องจากการพัฒนางานทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในประเทศไทยนั้น มี การพัฒนาอย่างรวดเร็ว ได้มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย มีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น จึงทำให้เกิดปัญหามลพิษจาก สิ่งแวดล้อมในการทำงาน เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน กลิ่น ก๊าซพิษ ความร้อน เสียงดัง และเชื้อโรคต่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นผลทำให้เกิดโรคจากการทำงานเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิต เป็นต้น

     ปี พ.ศ. 2472 ได้มีการพัฒนางานทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเป็น ทางการ โดยการผลักดันของนักวิชาการ องค์กรเอกชนและจากแรงงาน เพื่อให้รัฐบาล ดูแลเอาใจใส่สภาพการทำงานให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยมีการนำพระราชบัญญัติของ กระทรวงอุตสาหกรรม มาใช้ถือว่าเป็นกฎหมายด้านอุตสาหกรรมฉบับแรกที่ให้ความ คุ้มครองความปลอดภัย แก่คนงานที่ทำงานในสถานประกอบการต่าง ๆ

     ต่อมาปี พ.ศ. 2477 กระทรวงสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะก่อให้ เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ของประชาชน จึงได้มีพระราชบัญญัติ สาธารณสุข พ.ศ. 2477 ขึ้น และได้มีการปรับปรุงใหม่ โดยบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2484 กำหนดให้มีการคุ้มครองสุขภาพและอนามัยของลูกจ้างในสถานประกอบการ แต่การ ดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยในกระทรวงสาธารณสุขในยุคนั้น ยังไม่เน้นการดูแล สุขภาพอนามัยของผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการเท่าที่ควร ผู้บริหารกระทรวง สาธารณสุขได้เล็งเห็นความสำคัญของงานด้านนี้ จึงได้จัดส่งบุคลากรไปศึกษาดูงาน ณ ต่างประเทศ และกลับมาเริ่มงานใหม่โดยจัดตั้งโครงการ “อาชีวอนามัย” ขึ้นใน ปี พ.ศ. 2510 ในระยะแรกเริ่มสังกัดกองช่างสุขาภิบาล ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “กองอาชีวอนามัย” สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปัจจุบัน

    อาชีว อนามัยและความปลอดภัย เราต้องเรียนอะไรบ้าง

    สาขานี้จะเน้นไปที่วิทยาศาสตร์ เป็นหลัก โดยปีแรกจะเกี่ยวกับ วิชาทั่วไป  เน้นเคมี ชีวะ  สำหรับฟิสิกส์จะเป็นฟิสิกส์สุขภาพ และอาจจะต้องเรียนแคลคูลัสด้วยเหอะๆ  พอเข้าปี 2 จะได้เรียน Basic Anatomy เกี่ยวกับร่างกายคน ( ไม่แน่ใจนะครับว่าจะต้องเจออาจารย์ใหญ่หรือป่าว !! ) และเราจะได้เรียนพื้นฐานของอาชีวะอนามัยแล้วด้วย  พอขึ้นปี 3 และ 4 หลักสูตรจะเข้มข้นขึ้น จะได้เรียน Diseases หรือพวกโรคภัยไข้เจ็บ ต่างที่ต้องพบเจอในอุตสาหกรรม การจัดารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้งอากาศ น้ำ การป้องกันไฟ การกำจัดของเสีย เป็นต้น และก็ต้องไปฝึกงานตามโรงงานต่างๆด้วย

    อาชีว อนามัยและความปลอดภัย เรียนจบแล้วทำงานอะไร

    เมื่อจบแล้ว จะแปลงร่างกลายเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ระดับวิชาชีพ (Safety Officer)โดยอัตโนมัติทำหน้าที่อะไร คร่าวๆ เข้าใจง่ายที่สุด คือ ดูแลความปลอดภัย สุขภาพอนามัยของผู้ทำงาน พนักงาน แรงงาน คนทำงานในสถานประกอบการต่างๆ รวมถึงดูแลสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานสูงที่สุด ขณะเดียวกัน ต้องไม่ทำร้าย ทำลายสุขภาพทั้งทางกายและทางใจของผู้ทำงานนักอาชีวอนามัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จป. จะเป็นคำเรียก สำหรับผู้ที่จบหลักสูตรอาชีวอนามัย

    ปล ความสำคัญของอาชีพนี้คือ ทุกโรงงานจำเป็นต้องมีคนของสาขานี้ ไม่งั้นโรงงานจะไม่ผ่านมาตราฐาน โอกาสได้งานทำ ถ้าเศรษฐกิจดียังไงก็ต้องรับเราเข้าทำงานแน่นอน 555 ถ้าโรงงานปิดเยอะก็คงได้รับกระทบบ้าง ตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ถึงยังไงโอกาศตกงานก็มีไม่มากเพราะสาขานี้เป็นวิทยาศาสตร์ ยังถือว่าขาดแคลนอยู่ดี

    สถาบันอุดมศึกษา ที่เปิดสอนสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า

    สถาบัน

    หลักสูตร  

    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    มหาวิทยาลัย มหิดล

    มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    มหาวิทยาลัยบูรพา



    มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี

    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

    มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ       

    สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ

    มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมธิราช

    มหาวิทยาลัยทักษิณ

    มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลย อลงกรณ์

    มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์


    มหาวิทยาลัยราชภัฏราช นครินทร์

    สถาบันราชภัฏจันทรเกษม

    วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

    วิทยาศาสตร บัณฑิต สาขาอาชีวอนามัย

    วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

    วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
    สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต(ต่อ เนื่อง) สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547

    วิทยา ศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

    วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

    วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

    วิทยาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย

    สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ต่อเนื่อง 2 ปี)

    วิทยาศาสตร บัณฑิต สาขาวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย

    วิทยาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย

    วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย
    (ภาคปกติและภาคสมทบ)

    วิทยา ศาสตร์บัณฑิต โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย พ.ศ. 2543
    วิทยาศาสตร์ บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ความปลอดัย หลักสูตรปรับปรุง
    พ.ศ. 2547

     โปรแกรมวิทยาศาสตร์ความ ปลอดภัย   

     

    แถมท้ายด้วย  Cartoon สำหรับคนอยากเรียนสายงาน น่าจะเข้าใจได้เลยว่าเราต้องทำงานประมาณนี้ =__=

    a

    การป้องกันอัคคีภัย





    ขอบคุณ : http://www.unigang.com/Article/931
    อ้างอิงข้อมูลวันที่ : 12-06-53
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×