ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มาเรียนภาษาอีสานกันเถอะ

    ลำดับตอนที่ #1 : ภาคอีสานและภาษาอีสาน

    • อัปเดตล่าสุด 23 ก.พ. 57


    1.ภาคอีสาน
    ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเขตหรือภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง

    ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง ภูพานและภูกระดึงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำชี ลำตะคอง ลำน้ำพอง แม่น้ำเลย ลำน้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม

    ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสานซึ่งเป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ส่วนภาษาไทยกลางนิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในตัวเมืองและตัวอำเภอใหญ่ๆ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ แถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น

    2.ภาษาอีสาน
    ภาษาอีสาน หรือภาษาลาวในประเทศไทย จัดอยู่ในตระกูลภาษาไต-กะไดสาขาเดียวกับภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาไทใหญ่ ภาษาไตลื้อ ภาษาไทดำ

    ภาษาอีสานใช้พูดเป็นภาษาแม่ของประชากรส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ภาษาอีสานแบ่งออกเป็นหลายสำเนียง เช่น สำเนียงอุบลราชธานี สำเนียงขอนแก่น สำเนียงนครพนม สำเนียงเมืองเลย เป็นต้น 

    ในอดีตภาษาอีสานเคยมีอักษรเขียนเป็นของตนเอง คือ อักษรไทน้อยและอักษรธรรมอีสาน (สปป.ลาวเรียกว่าอักษรลาวเดิมและอักษรธรรมล้านช้าง)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×