ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    **อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ**

    ลำดับตอนที่ #7 : อารยธรรมเมโสโปเตเมีย /// ชาวแคลเดียน

    • อัปเดตล่าสุด 10 ธ.ค. 54


    ชาวแคลเดียน
     

     

    ประมาณปี 612 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวแคลเดียน เดิมมีถิ่นฐานอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรติส ต่อมามีผู้นำที่สำคัญ คือ กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ซึ่งเคยเป็นข้าราชการรับใช้จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิอัสซีเรียในตำแหน่งผู้ว่าการมณฑล พวกคาลเดียนสามารถยกกองทัพไปพิชิตเมืองเยรูซาเลม และกวาดต้อนเชลยชาวยิวมายังกรุงบาบิโลน เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้ทำการกบฏล้มอำนาจและสถาปนาจักรวรรดิแคลเดียชนชาติแคลเดียเป็นเผ่าเซไมท์พวกสุดท้ายที่มีอำนาจครอบครองดินแดนบาบิโลเนีย ชาวแคลเดียนได้ปรับปรุงนครบาบิโลนให้รุ่งเรืองอีกครั้ง จนกลายเป็นนครที่งดงามอย่างยิ่ง หรือเรียกอีกอย่างว่า New Babylonia

    กษัตริย์ที่สำคัญของบาบิโลเนีย คือ เนบูคัดเนสซาร์ ซึ่งเป็นผู้ฟื้นฟูนครบาบิโลนขึ้นใหม่ รวมถึงพยายามรื้อฟื้นวัฒนธรรมของกษัตริย์ฮัมมูราบีขึ้นอีกครั้ง พระองค์ทรงโปรดให้สร้างนครบาบิโลนเป็นเมืองหลวง และตกแต่งระเบียงราชวังด้วยการปลูกต้นไม้ขึ้นเพื่อให้คลุมหลังคาพระราชวังอย่างแน่นหนา หลังคาที่ปลูกต้นไม้นี้เรียกว่า สวนลอยแห่งนครบาบิโลเนีย (Hanging Gardens of Babylon) ซึ่งชาวกรีกนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกในยุคโบราณที่ใช้การชลประทานทำให้สวนเขียวขจีตลอด

     

    กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์

    อาณาจักรแคลเดียนสิ้นสุดลงเมื่อถูกเปอร์เซียเข้ายึดครองพวกอินโดยูโรเปียน (Indo-European) อยู่ทางตอนเหนือ เข้ามามีอำนาจใน เมโสโปเตเมีย ตั้งแต่ 550 B.C.  โดย ปราบพวกที่มีอำนาจอยู่ก่อนได้สำเร็จจึงสร้างอาณาจักรเปอร์เซียขึ้นขยายอำนาจ ปกครองในดินแดนเมโสโปเตเมียทั้งหมดรวมทั้งอียิปต์และหัวเมืองกรีกในเอเซียไมเนอร์ เมื่อทำสงครามกับกรีก ก็ตกอยู่ ใต้การปกครองของกรีกในปี 332 B.C.

    วัฒนธรรมของชาวแคลเดีย

    อาณาจักรแคลเดียรับวัฒนธรรมจากดินแดนเมโสโปเตเมียเพียงอย่างเดียว คือ วัฒนธรรมด้านภาษา นอกจากนั้นเป็นวัฒนธรรมของชาวแคลเดียนเองทั้งสิ้น

    1.                    สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมเจริญขีดสุดในสมัยกษัตริย์เนบูคัดซาร์ ผลงานคือ

    1.1      สวนลอยแห่งบาบิโลน (The Hanging Garden of Babylon) ตำนานกล่าวไว้ว่า สวนลอยแห่งบาบิโลนสร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล โดยคำ บัญชาของกษัตริย์"เนบูคัสเนซซาร์"เพื่อเป็นของขวัญแก่นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์

     

    สวนแห่งนี้สร้างขึ้นในเขตพระราชฐาน มีลักษณะคล้ายปิรามิด โดยสร้างซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ นักประวัติศาสตร์จากซิซิลีที่ชื่อ   "ดิโอโดโรส" กล่าวว่า ชาวบาบิโลนใช้อิฐและน้ำมันดินเป็นส่วน ประกอบสำคัญในการก่อสร้างและเพื่อให้กันน้ำได้ดีนั้น ชาวเมืองจะใช้หญ้าประเภทอ้อหรือกกผสม น้ำมันดินปูพื้นชั้นแรก แล้วปูทับด้วยอิฐเผาที่ตริงไว้ด้วยปูน ก่อนจะวางตะกั่วทับลงไปบนชั้นบนสุด หลังจากนั้นจึงลงดินที่มีปริมาณมากพอที่จะปลูกต้นไม้ทุกประเภท นับแต่ไม้พุ่มไปจนถึงไม้ยืนต้น น้ำที่ใช้เลี้ยงต้นไม้ในสวนลอยสูบขึ้นมาจากแม่น้ำยูเฟรติสเบื้องล่างมาตาม ท่อที่ฝังซ่อนไว้อย่าง มิดชิดในแต่ละส่วนของระเบียง ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่เขียวชอุ่ม ให้ดอกและผลได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วง ที่แล้งที่สุดกลางฤดูร้อนในทะเลทราย 

    1.2      กำแพงอิซต้า  (The Ishtar Gate) เป็นแผ่นกำแพงสวยงาม ทำจากกระเบื้องหลากสี และแกะสลักเป็นภาพสัตว์ประหลาดเรียกกริฟฟินคือมีใบหน้าและลำตัวเป็นสิงห์โต แต่มีปีกเป็นนกอินทรีย์ (Griffin) กำแพงนี้เชื่อกันว่าเป็น ช่องทางนำไปสู่เทพเจ้ามาร์ดุ๊กซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดแห่งกรุงบาบิโลน ปัจจุบันกำแพงอิซต้าถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน

     

    2.                    ดาราศาสตร์ ชาวแคลเดียนสามารถหาเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก เวลาเกิดสุริยคลาสและจันทรคลาส และคำนวณหาความยาวของปีทั้งหมดได้อย่างแม่นยำ แคลเดียนรับทอดงานดาราศาสตร์จากสุเมเรียนโดยแท้จริง นาบูริแมนนู (Naburiannu)  เป็นนักดาราศาสตร์ชาวแคลเดียนผู้ได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ดาริอุสที่ หนึ่ง แห่งเปอร์เซีย ในการดำเนินการศึกษาค้นคว้า ผลงานที่ปรากฎคือสามารถค้นคว้านับเวลาในรอบหนึ่งได้ใกล้เคียงกับการนับเวลา ในปัจจุบันมาก คือ 1 ปีมี 365 วัน 6 ชั่วโมง 15 นาที 41 วินาที

     

    3.                    โหราศาสตร์    โหราศาสตร์เป็นงานเด่น อีกแขนงหนึ่งของแคลเดียน ที่รับมาจากสุเมเรียน พระสามารถกำหนดดวงดาวสำคัญ เจ็ด ดวง ได้คือดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ดาวทั้ง 7 ดวงนี้ก็จะเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ 7 องค์ นอกจากจะกำหนดให้ดวงดาวเหล่านี้เป็นชื่อของวันต่างๆ ในหนึ่งสัปดาห์แล้วพระยังให้ความสำคัญแก่ดวงดาวเพื่อใช้ในการพยากรณ์ชะตา ชีวิตมนุษย์อีกด้วย อันเป็นการวางหลักทางด้านโหราศาสตร์ให้มั่นคงกว่าในอดีต

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×