ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    **อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ**

    ลำดับตอนที่ #3 : อารยธรรมเมโสโปเตเมีย /// ชาวสุเมเรียน

    • อัปเดตล่าสุด 10 ธ.ค. 54


    ชาวสุเมเรียน

     

    เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชชาวสุเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) ปากแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ซึ่งเรียกกัน ในเวลาต่อมาว่าดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนชาวสุเมเรียนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่ หมู่บ้านเหล่านี้ได้ขยายตัวขึ้นเป็นชุมชนวัด และในเวลาต่อมา ชุมชนวัดแต่ละแห่งได้พัฒนาขึ้นเป็นเมือง ที่สำคัญ ได้แก่เมืองเออร์(Ur) เมืองอิเรค (Ereck) เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่านครรัฐ (City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน 

    ในขณะที่ชาวสุเมเรียน สถาปนานครรัฐขึ้นทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำไทกรีส - ยูเฟรตีส หลายนครรัฐชนกลุ่มอื่นๆ ก็ได้สถาปนานครรัฐของตน ในบริเวณตอนเหนือขึ้นไปอีกหลายแห่งแต่มีความเจริญทางอารยธรรมด้อยกว่านครรัฐ ของชาวสุเมเรียนในดินแดนซูเมอร์ก็ตามแต่ภาษาที่ใช้สืบมาจากรากเดียวกันคือ ภาษาอินโด-ยูโรเปียน อันเป็นต้นกำเนิดจากภาษาลาติน กรีก เปอร์เซีย สันสกฤต รวมทั้งภาษาเยอรมันและภาษาโรมานซ์ในปัจจุบัน มองจากแง่ของภาษาอนารยชนกลุ่มใหม่เหล่านี้ก็คือบรรพบุรุษของเรานั่นเอง การบุกรุกทางใต้ของชนเหล่านี้มีผลทำให้ชนเผ่าอื่นถูกแย่งที่ไปอย่างรุนแรงใน ช่วงประมาณปี 1750 ถึง 1550 ก่อนคริสตกาล พวกอนารยชนดังกล่าวตลอดจนพวกอื่นๆ ที่ดำเนินรอยตามได้ทำลายความต่อเนื่องทางการเมืองและวัฒนธรรมของดินแดนตะวัน ออกใกล้สมัยโบราณ ประมาณปี 1595 ผู้รุกรานเผ่าอินโด-ยูโรเปียน ก็ทำให้ราชวงศ์ของพระเจ้าฮัมบูราบีในนครบาบิโลนต้องสิ้นสุดลงซึ่งฉุดให้เมโสโปเตเมียเข้าสู่ช่วงเวลาอันยาวนานของความเสื่อมของทางวัฒนธรรมและความไม่สงบ ทางการเมือง

    คนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนสร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร วรรณกรรม ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียนได้ดำรงอยู่และมี อิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ

     

    การปกครอง

    พระหรือนักบวชมีอำนาจมาก พระมีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและเป็นประมุขสูงสุดเรียกว่า Patesi ทำการปกครองในนามของพระเจ้าดูแลควบคุมกิจการภายในนครรัฐ

    เศรษฐกิจและสังคม

    อาชีพหลักคือเกษตรกรรม มีความชำนาญ มีการใช้ระบบชลประทาน ขุดคลองระบายน้ำ ทำการเพาะปลูกโดยเป็นไร่ขนาดใหญ่ ปลูกผลไม้ ประดิษฐ์คันไถ เครื่องหยอดเมล็ด มีการเลี้ยงสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา มีมาตราชั่งตวงวัด การทอผ้าและย้อมผ้า

    มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมเป็น 3 กลุ่มคือ

    ชนชั้นสูง ได้แก่ กษัตริย์ พระราชวงศ์ พระชั้นผู้ใหญ่ ขุนนาง

    ชนชั้นสามัญ เป็นเสรีชน ลูกจ้างของขุนนาง

    ทาส

    ชาวต่างประเทศและเชลยสงคราม หรืออาชญากรที่ถูกลงโทษ

    การเขียนหนังสือ

    ชาวสุเมเรียนเป็นชนชนาติแรกในเมโสโปเตเมียที่รู้จักการเขียนหนังสือตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล โดยการประดิษฐ์อักษรรูปลิ่ม หรือที่เรียกว่า คูนิฟอร์ม (Cuneiform) ภายหลังได้ดัดแปลงแก้ไข มีการคิดเครื่องหมายต่างๆ เพื่อใช้แทนภาพ

     

    ศาสนา

    มีส่วนสำคัญมากในชีวิตของชาวสุเมเรียน พระดำรงตำแหน่งในการปกครองและตำแหน่งสำคัญอื่นๆ นับถือพระเจ้าหลายองค์พร้อมๆกัน มีการสร้างหอวิหารใหญ่โตเรียกว่า ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นวัดที่มีรูปร่างคล้ายปิรามิด ทำเป็นชั้นๆสร้างขึ้นด้วยอิฐ เพื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้า

    สถาปัตยกรรม

     

    ส่วนใหญ่ก่อสร้างด้วยอิฐ เนื่องจากมีดินเหนียวบริเวณนี้มาก มีสองประเภทคือ อิฐตากแห้ง (Sun dried brick) และอิฐเผาไฟ (baked brick) ซึ่งป้องกันความชื้นได้ดี ใช้สร้างยกพื้น กำแพงและส่วนก่อสร้างที่ต้องการความมั่นคงถาวร

    ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมสุเมเรียน (Sumerians) ในบริเวณเมโสโปเตเมีย มีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันไดแต่ไม่ก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลม ด้านบนของซิกกูแรตซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างจะสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมาซิกกูแรตนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังกษัตริย์ เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur)

    ซิกกูแรตสร้างขึ้นด้วยวัสดุจำพวกอิฐและไม้ ความแข็งแรงคงทนจึงสู้งานสถาปัตยกรรมยุคต่อมา เช่น พีระมิดอียิปต์ไม่ได้ เพราะงานของอียิปต์สร้างด้วยวัสดุจำพวกหิน ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีชื่อว่า “The White Temple” พบที่เมืองอูรุค (Uruk) หรือวาร์กา (Warka) บริเวณพื้นที่ประเทศอิรักในปัจจุบัน มีอายุประมาณ 3,500 – 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี

    ปฏิทิน

    เป็นแบบจันทรคติ เดือนหนึ่งมีประมาณ 29.5 วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีหนึ่งมี 354 วัน เดือนหนึ่งแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ๆ ละ 7-8 วัน วันหนึ่งแบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง กลางคืน 6 ชั่วโมง (1 ช.ม. = 2 ช.ม. ในปัจจุบัน)

    วรรณกรรม

    มีนิยาย กาพย์ กลอน ซึ่งท่องจำต่อๆกันมา งานส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา เช่น บทสวด คำโคลงสดุดีเทพเจ้า ฯลฯ ที่เด่นที่สุดคือ มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh) ปรากฏในจารึก 12 แท่งด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องราวของวีรบุรุษกิลกาเมซซึ่งเป็นกษัตริย์ชาวอูรุก สุเมเรียนมีอำนาจปกครองบริเวณซูเมอร์เกือบพันปี ต่อมาพวกชนเผ่าเซเมติค

    แทรกซึมทางตะวันตก ผู้นำชนเผ่าคือ พระเจ้าซาร์กอนแห่งแอคคัดได้ยกกำลังกองทัพลงมาในเขตซูเมอร์ ทำให้นครรัฐสุเมเรียนยอมแพ้ มหากาพย์เรื่องนี้จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล

    มังกรในตำนานของชาวสุเมเรียน

    มังกรในตำนานของชนสุเม-เรียนแห่งนครบาบิโลน ซึ่งก่อตั้งขึ้นราว 2,000 ปีก่อน ค.ศ. โดยตำนานเล่าว่า หลังกำเนิดของพิภพ มีมังกรเพศเมียนามว่า ติอาแม็ท (TIAMAT) เป็นเทพีแห่งทะเลนํ้าเค็ม เมื่อนํ้าเค็มของติอาแม็ทผสมผสานกับนํ้าจืดของเทพ อัพสุ (APSU) ก็เกิดการปฏิสนธิของเทพองค์อื่นๆ อีกมากมาย

    ต่อมาอัพสุต้องการชิงอำนาจจากจอมเทพ อีอา (EA) จึงเกิดเทวสงครามขึ้น แรกๆ ทัพของอัพสุกับติอาแม็ททำท่าว่าจะมีชัย แต่แล้วก็เกิดมีวีรเทพซึ่งเป็นโอรสของอีอาพระนามว่า มาร์ดุค (MARDUK) เข้ามาขัดขวางติอาแม็ทอ้าโอษฐ์ เพื่อกลืนกินมาร์ดุค แต่วีรเทพได้สาดมหาพายุเข้าไปในโอษฐ์ของเธอจนหุบไม่ลง แล้วมาร์ดุคก็ใช้แหจับติอาแม็ทไว้ได้ เอาศรเสียบร่างแล้วเอาดาบ ผ่ากายของเธอออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งบังเกิดเป็นหลังคาสวรรค์ อีกซีก หนึ่งเป็นท้องมหาสมุทร นอกจากนี้ มาร์ดุค ยังเอาดาบเสียบลูกตาของติอาแม็ท โลหิตที่หลั่งไหลออกมากลายเป็นแม่นํ้าสองสาย คือ ไทกริส กับ ยูเฟรติส แห่งดินแดนเมโสโปเตเมีย

    ข้อควรสังเกต

    1.             บริเวณเมโสโปเตเมียเป็นบริเวณที่มีอากาศรุนแรง ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ฝนตกน้อย (ปีหนึ่งไม่เกิน 3 นิ้ว) ความรุนแรงของภูมิอากาศทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ขาดความกระตือ รือร้น เมื่อถูกศัตรูที่แข็งแกร่งรุกรานก็หลีกทางให้ เมโสโปเตเมียจึงเป็นบริเวณที่มีชนหลายชาติหลายภาษาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามายึด ครองตลอดเวลา

    2.             เมโสโปเตเมียตั้งอยู่ในที่โล่ง ปราศจากกำแพงธรรมชาติที่จะป้องกันการบุกรุกจากศัตรูภายนอกชนพวกแรกที่เข้ามา ตั้งถิ่นฐานบริเวณเมโสโปเตเมียคือ พวกสุเมเรียน (Sumerian) ชนพวกนี้จะสืบเชื้อสายมากจากชาติใดไม่อาจทราบชัดทราบแต่เพียงว่า เดิมเป็นชนเผ่าพเนจร อพยพมาจากภูเขาทางทิศตะวันออก เข้าไปตั้งถิ่นฐานแถบบริเวณปากแม่น้ำทั้งสองก่อนเมื่อประมาณ 2900-2800 ปีก่อนคริสตกาลแล้วขยายสู่คาบสมุทรชินาร์ (Shinar)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×