คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #20 : อารยธรรมกรีก /// ลักษณะการปกครอง
ลักษณะการปกครอง และความเป็นอยู่
นครรัฐกรีกโบราณมีรูปแบบการเมืองการปกครองเป็นนครรัฐไม่ได้รวมเป็นอาณาจักรที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเช่นอียิปต์ นครรัฐกรีกเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ แต่ละหน่วยคือ รัฐอิสระที่ดำเนินนโยบายและตัดสินเรื่องต่างๆ ด้วยตัวเอง กรีกเรียกหน่วยเหล่านี้ว่า โปลิส กรีกประกอบด้วยโปลิสจำนวนมากมาย แต่โปลิสที่สำคัญและมีบทบาทมากในอารยธรรมยุคโบราณ ได้แก่ เอเธนส์และสปาร์ตา สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้กรีกแบ่งแยกอำนาจจากกันมากมาย ภูเขาเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการติดต่อระหว่างคนที่อาศัยอยู่ตามที่ราบหุบเขา ดังกล่าว ดังนั้นหมู่บ้านตามหุบเขาเหล่านี้จึงปกครองตนเองเป็นอิสระ คนในแต่ละท้องที่จะจงรักภักดีแต่เฉพาะในเขตของตน
เนื่องจากนครรัฐนี้ การปกครองได้มีประชาชนเข้าร่วมด้วยอย่างใกล้ชิด ยังมุ่งจัดการศึกษาเพื่ออบรมจิตใจ สติปัญญา ให้เฉลียวฉลาดทุกด้าน นอกจากนี้ก็มีการอบรมเกี่ยวกับทหาร เด็กผู้ชายชาวเอเธนส์เมื่ออายุ 7 ปี จะต้องไปเข้าโรงเรียน เวลาไปโรงเรียน มีพี่เลี้ยงคอยดูแล พี่เลี้ยงโดยมากเป็นทาส พวกทาสที่เป็นพี่เลี้ยงพาเด็กไปโรงเรียน เรียกว่า เพดาก๊อจ (pedagoge) นอกจากนี้ พ่อแม่ยังมอบอำนาจให้ควบคุมดูแลความประพฤติของเด็กและลงโทษเด็กได้ด้วย คำว่า เพดาก๊อจ ต่อมากลายเป็นคำศัพท์ว่า เพดากอดี้ (pedagogy) ซึ่งแปลว่าวิชาครู ปัจจุบันใช้ว่า education
นครรัฐของกรีกกำเนิดขึ้นเพราะความจำเป็นต้องร่วมกันในการป้องกันภัยจากศัตรู การค้าขยายตัวและประการสุดท้ายธรรมชาติมนุษย์ที่นิยมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ใหญ่ ในขั้นต้นมนุษย์อยู่รวมกันเป็นหมู่เล็กๆ เป็นหมู่ของครอบครัวที่สืบมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน เรียกว่าโคตร ตระกูล เมื่อหลายโคตรตระกูลมารวมกันเข้ากลายเป็นหมู่ใหญ่เรียกว่า วงศ์วาน และเมื่อมีหลายวงศ์วานเข้าก็รวมกันเป็นเผ่าพันธุ์ และเผ่าพันธุ์เหล่านี้เข้ามารวมกันอยู่ในนครรัฐ ส่วนการปกครองภายในนครรัฐนั้น ในขั้นต้นราษฎรเลือกหัวหน้าหมู่ขึ้นปกครองดำรงตำแหน่งกษัตริย์ และมีคณะขุนนางอันได้แก่ ราษฎรชั้นสูงเป็นที่ปรึกษา ภายหลังพวกขุนนางก็ชิงอำนาจการปกครองมาไว้ในคณะของตน ครั้นนานวันเข้าเมื่อราษฎรไม่พอใจในการปกครองของขุนนาง ก็ได้ชิงอำนาจปกครองมาอยู่ที่ตนเอง มีลักษณะเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ราษฎรทุกคนมีส่วนในการปกครองนั้น บางนครรัฐก็มิได้วิวัฒนาการการปกครองในรูปประชาธิปไตย แต่มีการปกครองในรูปอื่น เช่น การปกครองแบบคณาธิปไตยหรือโดยชนหมู่น้อย (Oligarchy) การปกครองโดยชนชั้นสูงผู้ดีหรืออภิชน (Aristocracy) และปกครองโดยอำนาจปกครองอยู่ในมือคนคนเดียวคือปกครองแบบทรราชย์ (Tyranny)
สภาวะทางการเมืองและสังคมแบบนครรัฐไม่ส่งเสริมความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ชาวกรีกทั้งมวลพัฒนาการที่จะนำไปสู่ความเป็นอาณาจักรเดียวกันจึงเป็นได้ยาก อีกทั้งไม่เกื้อกูลในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในกรณีที่มีการคุกคามจากภายนอก นครรัฐกรีกทั้งปวงแตกต่างกันในการพัฒนาความก้าวหน้า บางนครรัฐอาจเจริญก้าวไปไกลกว่านครรัฐอื่นๆ นครรัฐที่มีขนาดใหญ่และแข็งแกร่งที่สุด คือนครรัฐสปาร์ตา แต่นครรัฐที่เจริญที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดต่อโลกสมัยต่อมาคือ นครรัฐเอเธนส์
อารยธรรมกรีกในสมัยต่างๆ
1. อารยธรรมมิโนส (Minos)
2. อารยธรรมไมเซเนียน (Micaenean)
3. อารยธรรมโฮเมอร์ (Homer)
นครรัฐที่มีผลต่ออารยธรรมกรีก
1. นครรัฐสปาร์ตา
2. นครรัฐเอเธนส์
ความคิดเห็น