คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #19 : อารยธรรมกรีก /// ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศกรีกในสมัยโบราณอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของยุโรปภาคใต้ประกอบ ด้วยดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลเอเจียน หรือฝั่งตะวันตกของเอเชียไมเนอร์ ซึ่งนิยมเรียกว่านครรัฐ ไอโอเนียน (Ionian Cities)รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5 หมื่นตารางไมล์ ในจำนวนนี้ดินแดนส่วนใหญ่ คือ ประมาณ 4 ใน 5 คือ ดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ในทวีปยุโรปดินแดนตอนนี้แบ่งออกเป็นภาคใหญ่ๆ ได้ 3 ภาค คือ
1. กรีกภาคเหนือ อันได้แก่ แคว้นมาซีโดเนีย เทสซาลี เอไพรัส รวมอาณาบริเวณประมาณครึ่งของดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ ในสมัยคลาสสิค ไม่นิยมรวมมาซีโดเนียเป็นส่วนหนึ่งของกรีก
2. กรีกภาคกลาง ได้แก่ บริเวณซึ่งเป็นเนินเขาสูง ระหว่างกรีกภาคกลาง และอ่าวคอรินธ์ ตรงปลายสุดด้านตะวันออกของบริเวณนี้คือแคว้นอันติก อันมีเมืองหลวงคือนครรัฐเอเธนส์ ที่กำเนิดของศิลปวิทยาการ ปรัชญาและระบอบการปกครองอันมีชื่อเสียง
3. เพลอปปอนเนซุส ได้แก่ บริเวณคาบสมุทร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ อ่าวคอรินธ์ ชื่อมติดกับภาคกลาง และภาคเหนือด้วยคอคอดคอรินธ์ ใต้คอคอดนี้ลงมาคือที่ตั้งของเมืองอาร์กอลิส เป็นศูนย์กลางของอารยธรรม กรีกที่เจริญขึ้นเป็นครั้งแรก ใจกลางคาบสมุทรแห่งนี้เป็นที่ตั้งของนครรัฐสปาร์ตา ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการรบ เมืองโอลิมเปีย ที่สิงสถิตของบรรดาเทพเจ้ากรีกอยู่ชิดกับฝั่งทะเลไอโอเนีย ด้านตะวันตกของคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุส
4. ภูเขากรีกเต็มไปด้วยภูเขา ภูเขาเหล่านี้แบ่งกรีกออกเป็นที่ราบในหุบเขาเล็ก แยกออกจากกัน ภูเขาเป็นอุปสรรคสำคัญในการติดต่อคมนาคม หมู่บ้านตามหุบเขาเหล่านี้จึงมักปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน
5. สภาพพื้นดิน ขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงและเนินเขา ทำให้กรีกขาดดินที่จะเก็บเกี่ยว หว่าน ไถ ถึงแม้จะพอทำการเพาะปลูกได้ ต้องอาศัยแรงงานอย่างมากมาย กรีกมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นทุ่งหญ้าที่เหมาะแก่การเลี้ยงแพะและแกะเท่านั้น บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของกรีก ได้แก่ที่ราบระหว่างหุบเขา แม่น้ำในกรีกเป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลเชี่ยว ด้วยสภาพพื้นดินดังกล่าว เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น พลเมืองเพิ่มขึ้น อาหารไม่พอเพียงกับจำนวนพลเมือง ระดับการครองชีพในกรีก จึงค่อนข้างต่ำ
6. ทะเลกรีก จัดเป็นประเทศที่มีความสะดวกสบายในทางออกทะเล ส่วนใหญ่ของแผ่นดินมีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไปในทะเล และส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินไม่ไกลจากทะเลมากนัก ชาวกรีกมีโอกาสมองเห็นทะเลได้จากเกือบทุกๆ ส่วนของประเทศ ประกอบกับพื้นดินแห้งแล้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ ชาวกรีกจึงหันเหความสนใจไปสู่ทะเล ชายฝั่งทะเลกรีกก็มักเว้าๆ แหว่งๆ ใช้เป็นอ่าวธรรมชาติสำหรับจอดเรือกำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี และบรรดาเกาะเล็กเกาะน้อยในทะเลเอเจียนก็เป็นเครื่องส่งเสริมให้ชาวกรีกแล่น เรือออกไปไกลๆ ไปสู่เอเซียไมเนอร์และดินแดนตะวันออก
ความคิดเห็น