ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    **อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ**

    ลำดับตอนที่ #15 : อารยธรรมในกลุ่มเอเชียไมเนอร์ /// ชาวฟินีเชียน

    • อัปเดตล่าสุด 10 ธ.ค. 54



    ชาวฟินีเชียน

    ชาวฟินีเชียนเป็นชนเผ่าเซเมติกเผ่าหนึ่ง มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า พวกแคนาไนต์ (Canaanites) อาศัยอยู่ในบริเวณดินแดนแคนาน (Cannaan) บริเวณแถบซีเรีย ปาเลสไตน์ โดยรับอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์ ในระหว่าง 1,3001,000 ปีก่อนคริสตกาล ได้ถูกพวกอิสราเอลไลต์ (Israelites) และฟิลิสตินส์ (Philistines) เข้ารุกรานต้องสูญเสียดินแดนเกือบทั้งหมดยกเว้านบริเวณแถบชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่เรียกว่าฟินีเซียนเท่านั้น หลังจากนั้นเป็นตันมาพวกแคนาไนต์ก็มีชื่อเรียกใหม่ว่า ฟีนีเชียน

    พวกฟินิเชียนได้ชื่อว่าเป็นชนชาติที่ชำนาญการเดินเรือมากที่สุดพวกหนึ่งในยุคโบราณ พวกเขากุมเส้นทางการค้าตามชายฝั่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  และมีเมืองท่าขนาดใหญ่ เช่นเมืองไทร์ (Tyre) เมืองไซดอน (Sidon)  เมืองบีบลอส (Byblos) ชาวฟีนีเชียนรับสินค้าอินเดียและตะวันออกไกลจากเมโสโปเตเมียไปขายยังอียิปต์ เอเชียไมเนอร์เอฟริกาเหนือและชายฝั่งตะวันตกของทวีปยุโรป เดินทางผ่านช่องแคบจิบรอลตาร์ (Gibraltar) เข้าสู่มหาสมุทรแอตแลนติก เป็นพวกแรก พ่อค้าฟีนีเชียนยังนำเรือสินค้าไปค้าขายกับเกาะอังกฤษ สร้างสถานีการค้าและมีอาณานิคมของพวกตนจนถึงแถวสเปนเพื่อแสวงหาแร่เงินและ ดีบุก และได้นำเอาอารยธรรมตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปเผยแพร่ทางตะวันตก จัดตั้งอาณาจักรบนเกาชิชิลี และชายฝั่งทางตอนเหนือของแอฟริกา ได้แก่ เมืองคาร์เทจ (Carthage) อีกด้วย

     

    อักษรฟินิเชีย

                อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู ตัวอักษรมีลักษณะเป็นอักษรอัลฟาเบต (Alphabet) ซึ่งสะดวกในการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ บัญชีการค้า อักษรอัลฟาเบตของฟีนีเซียนเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไป และชาติต่าง ๆ ได้นำไปดัดแปลงเป็นตัวหนังสือของตน เช่น ในภาษากรีก และละติน

      

    ภาษาฟินิเชีย

    ภาษาฟินิเชีย เป็นภาษาที่มีจุดกำเนิดในชายฝั่งที่เรียก "Pūt" ในภาษาอียิปต์โบราณ "คานาอัน" ในภาษาฟินิเชีย ภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก และเรียก "ฟินิเชีย"ในภาษากรีกและภาษาละติน เป็นภาษากลุ่มเซมิติกสาขาคานาอัน ใกล้เคียงกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก บริเวณดังกล่าวปัจจุบันอยู่ในเลบานอนและซีเรีย และอิสราเอลทางตอนเหนือ เป็นที่รู้จักจากจารึกต่างๆใน ไบบลอสและหนังสือที่เขียนด้วยภาษาต่างๆ

    จารึกภาษาฟินิเชียเก่าสุดพบในไบบลอส อายุราว 457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งพบทั้งใน เลบานอน ซีเรีย อิสราเอล ไซปรัส เกาะซิซิลี ตูนีเซีย โมร็อกโก แอลจีเรีย มอลตา และที่อื่นๆในคาบสมุทรไอบีเรีย การถอดความภาษาฟินิเชียใช้ความรู้ภาษาฮีบรูเป็นพื้นฐาน

    การจำแนกสำเนียงต่างๆของภาษาฟินิเชียทำได้ยากเพราะการเขียนไม่แสดง เครื่องหมายสระ เครื่องหมายสระเริ่มปรากฏในยุคท้ายๆ ก่อนจะเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรที่มีพื้นฐานคล้ายอักษรกรีกหรืออักษรละติน ความคล้ายคลึงระหว่างภาษาฟินิเชียกับภาษาใกล้เคียงคือมีการยกเสียงสระสูง ขึ้น เช่น ā เป็น ū (และภาษาฮีบรู ō) , เช่น rūs "หัว" (ภาษาฮีบรู ראש rôš) การยกเสียงสระนี้พบในภาษาอียิปต์โบราณด้วย โดยมีหลักฐานจากภาษาคอปติก

    ในด้านไวยากรณ์ ภาษาฟินิเชียยังมีการลงท้ายการก คำศัพท์บางคำต่างไปเช่นมีคำกริยา KN "เป็น อยู่ คือ" (เช่นเดียวกับภาษาอาหรับ) และ P‘L "ทำและใช้ bal "ไม่" (ภาษาอราเมอิก/ฮีบรู lō < *lā‘)

                    ภาษาฟินิเชีย เคยใช้พูดใน เลบานอน, ตูนีเซีย, ทางใต้ของ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คาบสมุทรไอบีเรีย, มอลตา, ทางใต้ของ ฝรั่งเศส, ไซปรัส, เกาะซิซิลี, และตามแนวชายฝั่งและเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันได้สูยหายไปเพราะถูกพัฒนาไปเป็นภาษาปูนิก เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12

     

    ศาสนาของชาวฟินิเชียน

    ศาสนาของชนเผ่าฟินิเชียนมีส่วนสำคัญในชีวิตของเขามาก ศาสนานี้นับถือเทพเจ้ามาก แต่ละองค์มีนามทั่วไปว่า บาอัล (Baal) เหมือนกันหมด พิธีกรรมของศาสนานี้มีการฆ่ามนุษย์บูชายัญและการสังเวยเทพเจ้าด้วยกาม ความจริงพิธีกรรมแบบหลังนี้มิใช่มีแต่ของชาวฟินิเชียนเท่านั้น แม้ในศาสนาที่ตายแล้วอื่นๆ เช่น ของอียิปต์ ของกรีก และแม้ศาสนาฮินดูบางสาขา ซึ่งเป็นศาสนาที่มีผู้นับถืออยู่ในปัจจุบันก็มีพิธีกรรมทำนองนี้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×