> บรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษ" />
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลเรื่องเรียน/ข้อมูลนิยาย สารพัด -"- ส่วนมากมันไร้สาระ

    ลำดับตอนที่ #2 : N >> บรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษ

    • อัปเดตล่าสุด 9 ก.ย. 52




    บรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษ



                บรรดาศักดิ์ของขุนนางอังกฤษนั้น แบ่งออกเป็น 5 ลำดับขั้น ได้แก่

    1.      ดยุค (Duke พหุพจน์ว่า Dukes) สตรีหรือภรรยาของดยุค เรียก ดัชเชส(Duchess พหุพจน์ว่า Duchesses)

    2.      มาควิส (Marquess พหุพจน์ว่า Marquesses) สตรีหรือภรรยาของมาควิส เรียก มาร์เควียเนส(Marchioness พหุพจน์ว่า Marchionesses)

    3.      เอิร์ล หรือ เค้านต์ (Earl หรือ Count พหุพจน์ว่า Earls และ Counts) สตรีหรือภรรยาของเอิร์ล เรียก เค้าเตส(Countess พหุพจน์ว่า Countesses)

    4.      ไวส์เคานต์ (Viscount พหุพจน์ว่า Viscounts)

    5.      บารอน (Baron พหุพจน์ว่า Barons) สตรีหรือภรรยาของบารอน เรียก บารอเนส(Baroness พหุพจน์ว่า Baronesses)


                ลอร์ด

     

                คำว่า ลอร์ด (Lord) เป็นบรรดาศักดิ์ของผู้ชายที่มีกำลังและอำนาจ ใช้แตกต่างกันไปตามบริบทต่างๆ ซึ่งถ้าหากจะพูดในแง่ของตำแหน่งหรือบรรดาศักดิ์ในระบบขุนนางแล้ว ลอร์ด เป็นบรรดาศักดิ์ของชนชั้นสูงที่มีศักดินาถือครองที่ดินรวมถึงผลผลิตและแรงงานของทาสที่อาศัยอยู่ และ ยังจะใช้เป็นคำสุภาพของบุตรของขุนนางเหล่านั้นได้อีกด้วย เช่น บุตรชายคนเล็กของดยุค และมาควิสก็สามารถเรียกว่า ลอร์ด (ตามด้วย ชื่อ หรือ นามสกุล)ได้

                ในบรรดาศักดิ์ของประเทศอังกฤษนั้น ไวส์เคานต์ และ บารอน นิยมใช้คำนำหน้าชื่อว่า ลอร์ด (Lord) และกับ ฝ่ายหญิง หรือภรรยาของ ไวส์เคานต์ และ บารอน ใช้คำนำหน้าชื่อว่า เลดี้ (Lady)

                ส่วนขุนนางเพศชายทั้งหมดยกเว้น ดยุค มักจะใช้บรรดาศักดิ์แบบย่อๆว่า ลอร์ด แล้วตามด้วยชื่อสถานที่หรือนามสกุล เช่น อัลเฟรด เทนนีซัน บารอนที่ 1 แห่ง เทนนีซัน ก็จะเรียกกันทั่วๆไปว่า ลอร์ด เทนนีซัน เป็นต้น

                ทั้งนี้ คำว่า 'ลอร์ด' สามารถใช้เรียกผู้ครอบครองหรือมีอำนาจเหนือสิ่งต่างๆเช่น แลนด์ลอร์ด หรือเศรษฐีที่ดิน

                ในวัฒนธรรมยุโรป ลอร์ด อาจหมายถึงคำนำหน้าชื่อเทียบเท่ากับคำว่า มิสเตอร์ (Mr.) ในภาษาอังกฤษ (ซินญอร์ ในภาษาอิตาลี หรือ แฮร์ ในภาษาเยอรมัน) หรืออาจจะเป็นคำสุภาพในภาษาอังกฤษที่หมายถึง คุณ เป็นต้น

                ขณะที่สภาขุนนาง (House of Lords) ของอังกฤษหรือเรียกสั้นๆว่า the Lords เป็นสภาสูงของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบไปด้วย อาร์กบิชอป 2 องค์, บิชอป 24 องค์ และ สมาชิกขุนนาง 692 ท่าน สมาชิกของสภาขุนนางเรียกว่า Lords of Parliament ในอดีต ทายาทของบรรดาขุนนางอังกฤษจะได้เป็นสมาชิกของสภาขุนนางโดยอัตโนมัติ เรียกว่า เพิ่งจะเปลี่ยนในปี 1999

                นอกจากนี้ ลอร์ด ยังใช้เรียกเชิงยกย่องว่าเป็นนาย บางครั้ง ลูกศิษย์ก็อาจเรียกอาจารย์ที่ตนนับถือว่า ลอร์ด เช่น ในพระคริสตธรรมใหม่ ( ไบเบิ้ล ) ผู้คนและลูกศิษย์บางคน เรียกพระเยซูว่า 'Lord' หรือในนิทานจะพบว่า คนรับใช้หรือทาสจะเรียกผู้เป็นนาย หรือคนที่ตนยกย่องเป็นเจ้านายว่า ลอร์ด เช่น "Please save me , My Lord" ( ช่วยข้าด้วยเถิด เจ้านาย )

                หากจะเปรียบตำแหน่งลอร์ดของยุโรปกับตำแหน่งขุนนางในบ้านเราแล้ว บรรดาศักดิ์ของข้าราชการไทยระดับที่เรียกว่า ขุนนาง ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 นั้นมีอยู่ 5 ขั้น ได้แก่

    • สมเด็จเจ้าพระยา
    • เจ้าพระยา
    • พระยา
    • พระ
    • หลวง
    • (ขุน หมื่น พัน ทนาย ผู้น้อย ศักดินาน้อยกว่า 400 ไร่นั้น ไม่ เรียกขุนนาง แต่อาจเรียกว่า ขุนนางระดับล่าง)

    The Rank บ ร ร ด า ศั ก ดิ์ ข อ ง อั ง ก ฤ ษ

                โดยย่อ : เป็นตำแหน่งขุนนางตามระบบศักดินาของอังกฤษ (คล้ายเจ้าพระยา พระยา ขุน ฯลฯ ของไทยเรา)
    เรียงลำดับตั้งแต่ ดยุค มาร์ควิส เอิร์ล ไวส์เคานท์ บารอน

    ขยายความ :
                ตำแหน่งขุนนางตามศักดินาของอังกฤษ บรรดาศักดิ์นี้ได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ เป็นรางวัลเมื่อสร้าง ความดีความชอบครั้งใหญ่ๆ มีการสืบต่อทางสายเลือด จากพ่อ ถึง ลูกชาย หลานชาย ลงมาตามลำดับเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มีผู้สืบสกุล ฐานะคล้ายกับเชื้อพระวงศ์ของไทยเรา (หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์) ตรงที่จะมีการใช้ คำลงท้ายตามลำดับความสำคัญ แต่ผู้สืบสกุลที่จะได้รับโอนบรรดาศักดิ์ต่อมีเพียงลูกชายคนโตหรือญาติสนิทเท่านั้น และจะได้รับก็ต่อเมื่อเจ้าของบรรดาศักดิ์คนเก่าเสียชีวิตลง
                ขุนนางคนหนึ่งๆอาจมีบรรดาศักดิ์ได้หลายตำแหน่ง ภรรยาของขุนนางจะได้รับตำแหน่งในราชสำนักด้วย เช่นกัน เช่น ถ้าสามีเป็นดยุค ภรรยาจะได้รับตำแหน่ง ดัชเชส กรณีที่ขุนนางเสียชีวิต และไม่มีลูกชาย ลูกสาวคนโต จะรักษาตำแหน่งแทน จนกว่าจะมีผู้สืบทอดที่เหมาะสม

                บรรดาศักดิ์ของอังกฤษเรียงตามลำดับความสูงต่ำได้ดังนี้

                -
    Duke ดยุค (เทียบได้กับหม่อมเจ้า หรือเจ้าพระยาของไทย) เป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดในสภาขุนนาง ตำแหน่งทางฝ่ายหญิง คือ Duchess ดัชเชส

                -
    Marquis มาร์ควิส ตำแหน่งฝ่ายหญิงคือ Marchioness มาร์ชั่นเนส

                -
    Earl เอิร์ล (หรือ Count เคานท์ สำหรับประเทศทางยุโรป เทียบได้กับตำแหน่ง พระยา) ฝ่ายหญิง คือ Countess เคาน์เตส

                -
    Viscount ไวส์เคานท์ (อลิสแตร์ สก็อตต์ พระเอกของเรา ถือบรรดาศักดิ์ ไวส์เคานท์ ลีนดอน) ฝ่ายหญิง คือ Viscountess ไวส์เคาน์เตส

                -
    Baron บารอน (พี่ชายของแคโรลีน นางเอกของเรา ถือบรรดาศักดิ์ บารอน บรินด์ลีย์) ฝ่ายหญิง คือ Baroness บารอนเนส เป็นตำแหน่งต่ำสุดในสภาขุนนาง

                นอกจากนี้ยังมี ตำแหน่ง เซอร์ สไควร์ ซึ่งไม่มีสิทธิเข้าร่วมในสภาขุนนาง แต่มีศักดินาถือครองที่ดิน เช่นเดียวกับ ขุนนางอื่นๆ (จำนวนที่นาที่ถือครองเป็นสัดส่วนตามความสูงต่ำของตำแหน่ง)

                บรรดาศักดิ์แต่ละอันมีชื่อประจำตำแหน่งแตกต่างกัน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับนามสกุลของขุนนางผู้ถือบรรดา ศักดิ์ เช่น พระเอกของเรา อลิสแตร์ สก็อตต์ บรรดาศักดิ์ ไวส์เคานท์ ลีนดอน ไม่ใช่ ไวส์เคานท์สก็อตต์ ไวส์เคานท์อลิสแตร์ ก็ไม่เรียก

                นอกจากนี้ยังสามารถเรียกบรรดาศักดิ์ขุนนางตั้งแต่บารอนขึ้นไปอย่างย่อๆ โดยใช้คำว่า ลอร์ด เช่น ลอร์ดลีนดอน ลอร์ดบรินด์ลีย์ สำหรับผู้หญิงใช้ เลดี้ และใช้เฉพาะชื่อบรรดาศักดิ์เท่านั้น ไม่มีการใช้ชื่อตัว หรือนามสกุล

                เมื่อบุคคลที่ต่ำกว่าพูดกับดยุคหรือดัชเชส จะต้องลงท้ายประโยคว่า
    Your grace (เทียบได้กับ เพคะ ของไทยเรา) สำหรับขุนนางระดับมาร์ควิสถึงไวส์เคานท์ บุคคลที่ต่ำกว่าจะต้องลงท้ายประโยคว่า My lord ในขณะที่สนทนาด้วย ส่วนบารอนและตำแหน่งที่ต่ำกว่าไม่มีคำลงท้าย 


                ขุนนางชั้น
    peer
                            ชาย - หญิง
                            ดยุค
    ดัชเชส
                            มาร์ควิส - มาชิเนส
                            เอิร์ล - เคาน์เตส
                            ไวส์เคานท์ - ไวส์เคานเตส
                            บารอน - บารอนเนส

                ภรรยาของขุนนางชั้น
    peer ก็จะได้ตำแหน่งตามสามี แต่ตำแหน่งที่ได้มาเพราะการแต่งงานไม่มีสิทธิ์เข้าไปนั่งใน House of Lords ค่ะ ต้องเป็นดัชเชสที่สืบทอดทางสายเลือดถึงจะมีสิทธิ์

                ส่วน ลอร์ด กับ เลดี้ ไม่ใช่ตำแหน่งทางการ แต่เป็นคำเรียกค่ะ สมมุติว่าตำแหน่งจริงเป็นเอิร์ลแห่งแลงฟอร์ด แต่เวลาคุยกันก็เรียกว่า ลอร์ดแลงฟอร์ด อย่างนี้ได้ค่ะ ลูกๆ ของขุนนางก็เรียกว่าลอร์ดหรือเลดี้ได้เหมือนกัน
     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×