ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ติวภาษาไทย

    ลำดับตอนที่ #1 : ตัวอย่างข้อสอบ O-NET

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.69K
      6
      1 มี.ค. 51

    ๑. ข้อใดไม่อาจอนุมานจากคำประพันธ์ต่อไปนี้
                 " ถึงปากคลองเขากองฟืนไว้เป็นแถว            ตลอดแนวมะพร้าวรายทั้งซ้ายขวา
              พวกชาวบ้านตัดจากบ้างตากปลา                   น้ำในนาตากให้แห้งเป็นแปลงไป"
             ๑. ชาวบ้านทำนาเกลือ                              ๒. ชาวบ้านทำน้ำตาล              ๓. ขนาดของชุมชน           ๔. ภูมิประเทศของชุมชน
    ๒. คำประพันธ์ต่อไปนี้มีวัตุถุประสงค์ตามข้อใดมากที่สุด
                 " จากใจเจ้าบริสุทธิ์งามผุดผ่อง                  ปากเขาที่ป่าวร้องไม่เสียหาย
                ดีหรือชั่วตนรู้ตนไปจนตาย                          ใช่จะคลายเสื่อมค่าราคาคน"
            ๑. สอนให้ทำจิตใจให้บริสุทธิ์                                       ๒. แนะนำให้ทำความดีต่อไป      
            ๓. เตือนไม่ให้โต้ตอบการนินทา                                  ๔. ให้กำลังใจให้มั่นคงในการทำความดีพั
    ๓. คำประพันธ์ต่อไปนี้มีน้ำเสียงตามข้อใด
                "หญิงร้อยเล่ห์เชี่ยวชาญมายา                บุราณว่ามิให้คบัประสบสรร
               เคยหลงเชื่อรู้ความตามมาทัน                   จะจำชั้นเชิงนางไว้ต่างครู"
           ๑. ตำหนิ                ๒. โกรธเคือง               ๓. เยาะหยัน                             ๔. ประชดประชัน
    ๔. คำประพันธ์ต่อไปนี้แสดงว่าผู้พูดไม่มีลักษณะตามข้อใด
              "ฝ่ายเราเล่าก็สามพารา                             เป็นใหญ่ในชวาแว่นแคว้น
            ถึงทัพจรกาล่าสำนั้น                                   พี่ไม่พรั่นให้มาสักสิบแสน
            จะหักโหมโจมตีให้แตกแตน                      พักเดียวก็จะแล่นเข้าป่าไป"
          ๑. มุ่งมั่นจะเผด็จศึกให้ได้โดยเร็ว                                 ๒. วางแผนการรบอย่างรอบคอบ
          ๓. หยิ่งทะนงในความยิ่งใหญ่ของตนเอง                      ๔. เชื่อมั่นในกำลังความสามารถของตน
    ๕.  คำประพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์ใด
                "  เรามีมือเท้าเท่า                                เทียมเขา   สิ้นพ่อ
               กิจซึ่งไม่เกินภูมิ                                     มนุษย์แล้ว
               แม้บากบั่นหมั่นเอา                               ใจใส่  ฝึกแฮ
              คงสิทธิ์สักครั้งแคล้ว                              คลาดไฉน"
          ๑. ให้รู้จักพึ่งตนเอง             ๒. ให้พัฒนาตนเอง                   ๓. ให้พยายามรักษาตนเอง      ๔. ให้เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
    ๖.  ข้อใดแสดงความรู้สึกของกวีต่างจากข้ออืน
           ๑. กระจาบจับนับหมื่นดูดื่นดาษ             เหมือนตลาดเหลือหูเพราะผู้หญิง
           ๒. เห็นขนเม่นพี่ยังหมายเสียดายนาง     เจ้าเคยสางสอยเส้นกระเด็นราย
           ๓. จักจั่นหวั่นแว่วแจ้วแจ้วเสียง            เหมือนสำเนียงวนิดาเจ้าปราศรัย
           ๔. หอมดอกไม้หลายพรรณให้รัญจวน  เหมือนกลิ่นนวลน้ำกุหลาบซาบซึ้งทรวง
    ๗.  ข้อใดไม่ใช่ ความหมายของคำประพันธ์ต่อไปนี้
                  " ลับหลังบังเบียดล้าง                    ลบคุณ
             ต่อพักตร์ยกยอบุญ                              ลึกซึ้ง
             คบมิตรปานจิตรบุญ                             เป็นดุจ  นี้นา
             กลดั่งเสพน้ำผึ้ง                                  คลุกเคล้ายาตาย"
          ๑. ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ             ๒. ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก             ๓. หวานลิ้นกินตาย                ๔. เพื่อนตายหายาก
    ๘.  ข้อใดไม่อาจอนุมานได้จากคำประพันธ์ต่อไปนี้
                  " เรไรระหริ่งร้อง                           จักจั่นสนั่นกลาง
              วนเวศประหนึ่งนาง                            ดุริยขับจำเรียงถวาย"
          ๑. กวีคิดถึงนาง                      ๒. ขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน                    ๓. นางร้องเพลงไพเราะมาก   ๔. กวีเดินทางไปทำสงคราม
    ๙.  ข้อใดไม่อาจอนุมานได้จากคำเจรจาโต้ตอบต่อไปนี้
               " คำชายหมายขีดน้ำ                      ลบเลือนกล้ำคำกลับกลาย
          ร่องรอยถอยถมหาย                            ลิ้นชายล่อส่อเสมอกัน"
              " ตัวพี่นี้กล่าวสาร                            เหมือนเหล็กจารลายแผ่นผา
         เส้นสายลายเลขา                                 เป็นปรากฎสดฤาหาย"
         ๑.ผู้หญิงไม่เชื่อผู้ชาย           ๒. ผู้หญิงตัดพ้อต่อว่าผู้ชาย              ๓. ผู้ชายตอบด้วยจดหมาย         ๔. ผู้ชายยืนยันว่าพูดจริง
    ๑๐.  คำประพันธ์ต่อไปนี้กล่าวถึงเรื่องใด
                    " แสยงขนยลเหยียบไม้            รำแพน
                หกหัวหอกตั้งแบน                        เสียดช้าง
                ช้างไล่ม้ารำแพน                          ผัดล่อ
               จีนกลเล่นอวดอ้าง                         ชักไส้กลางสนาม"
          ๑. พฤติกรรมของสัตว์          ๒. การแสดงกายกรรม                     ๓. การซ้อมรบของทหาร          ๔.การละเล่นในงานพิธี


    (เฉลย )   ๑.   ๓      ๒. ๔          ๓.  ๔          ๔. ๒          ๕.  ๔          ๖.  ๑         ๗. ๔     ๘. ๔      ๙.  ๑    ๑๐. ๔

    ๑๑. ข้อใดแสดงจิตสำนึกแสดงความเป็นชาติมากที่สุด
           ๑.  แผ่นดินทองของไทยยังใหญ่หลวง         ช่วยกันสร้างให้ดีก็มีค่า
           ๒.  ประชาชนคือชาติมิอาจซื้อ                      มิอาจขายป้ายชื่อเฉพาะใคร
           ๓.  ปวงประชาคือชาติญาติพี่น้อง                 รักชาติต้องรักประชาอย่าเฉไฉ
           ๔.  กว่าจะรอดมาเป็นไทยได้ทุกวัน              ร่วมฝ่าฟันด้วยเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
    ๑๒.  ข้อใดไม่แสดงความเชื่อ
           ๑.  อธรรมย่อมนำสู่           นิรยาบาลเป็นแม่นมั่น
           ๒.  ลาภฆ่าคนโลภได้       เสื่อมสิ้นเสียคน
           ๓.  กอปรแต่กรรมชอบไซร้     สบข้างทางดี
          ๔.  เดชะพระเจ้าคุ้ม         คชร้ายควายเสือ
    ๑๓.  ข้อใดสอนการปฏิบัติตนไม่สัมพันธ์กับผู้อื่น
           ๑.  แล้วเอื้อนอรรถตรัสความที่ดีก่อน            จะถาวรพูนเกิดประเสริฐศรี
           ๒.  ว่าเช้าตรู่สุริโยอโณทัย                           ตืนนอนให้ห้ามโมโหอย่าโกรธา
           ๓.  เมื่อสรงน้ำสำเร็จเสร็จธุระ                       คำนับพระคงคาเป็นอาจิณ
           ๔.  อนึ่งพบปะพระสงฆ์ทรงศีลา                   ไม่วันทาถอยหลังทั้งยศทรัพย์
    ๑๔.  ข้อใดไม่ปรากฎในคำประพันธ์ต่อไปนี้
                    " เสื้อเก่าเก่าผ้าปะปะติดปะต่อ          เห็นแล้วก่อสังเวชล้วนชวนสลด
                  งอร่างคู้คุดร่างค้มร่างคด                     กระเถิบกระถดยามลมหวีดกรีดผิวเนื้อ"
           ๑. ใช้คำซ้ำ                ๒.  การใช้คำพ้องเสียง            ๓. เล่นสัมผัส               ๔. ใช้ภาพพจน์
    ๑๕.  ข้อใดใช้อุปลักษณ์
             ๑.  เห็นแจ้ง  ณ  สื่องค์                     พระอริยสัจอัน
                   อาจนำมนุษย์ผัน                         ติระข้ามทะเลวน
             ๒.   ย่อมข้างชอบลักษณะการ           ใช่ช้างสามาญ
                   คืออัษฎมงคลศรี
             ๓.  ถืออาวุธศาสตราเป็นท่ารำ          ล้วนต่างต่างวางประจำอยู่เรียงราย
             ๔.  น้องฝันว่ได้เอื้อถึงอากาศ           ประหลาดเด็ดสุริยาลงมาล่าง
    ๑๖.  คำประพันธ์ต่อไปนี้ มีภาพพจน์ตามข้อใด
                        "วางรากศิลารัก     สลักด้วยดวงชีวิน     ขอเพียงเราอยู่คู่กัน
                    ผูกพันตราบสิ้นดินฟ้า"
            ๑.  อุปลักษณ์   อติพจน์                             ๒. บุคคลวัต    อติพจน์
            ๓.  อุปมา   อุปลักษณ์                               ๔.  อุปลักษณ์    บุคคลวัต
    ๑๗.  ข้อใดไม่มีเนื้อความแสดงการโต้แย้ง
             ๑.  เรามักพูดกันว่าผู้ดีมีเงิน   บางทีผู้ดีจริง ๆ ก็ไม่ได้มีเงินและคนที่มีเงินแต่ไม่ใช่ผู้ดีก็มีมาก
             ๒.  ฤดูร้อนกำลังจะจากไป   และฤดูใบไม้ร่วงกำลังเข้ามทแทนที่  ใบไม้ที่เขียวสดก็เปลี่ยนเป็นสีเหลือและสีน้ำตาล
             ๓.  บางคนคิดว่าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสำคัญกว่าตัวตน   เพราะคนทุกวันนี้มองกันที่รูปลักษณ์ภายนอกมากกว่าตัวตนที่แท้จริง
             ๔.  คำอวยพรที่มีคุณค่าต่อผู้รับมิใช่ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างเพราะพริ้งหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงที่อ้างถึง   น้ำใจและความจริงใจดูจะมีประโยชน์กว่า
    ๑๘.  ข้อใดมีคำทุกคำมีจำนวนพยางค์เท่ากับ  "กลไก"
             ๑.  ทุภิกขภัย    นิมิต   สังวร                     ๒. กิจกรรม   คุณภาพ   จักจั่น
             ๓.   เกียรติยศ   ฆาตกรรม    จัตุรัส           ๔. กรมหลวง   จิตแพทย์     ซอมซ่อ
    ๑๙.  ข้อใดมีจำนวนพยางค์มากที่สุด
             ๑.  คณะวิทยาศาสตร์      ๒.  คณะมนุษยศาสตร์      ๓.  คณะวิจิตรศิลป์     ๔.  คณะแพทยศาสตร์
    ๒๐.  ข้อใดมีคำสมาส
            ๑.  คุณค่า   ราชวัง    ผลไม้    ปรกติ                          ๒.  กาลเวลา    ดาษดื่น   รอมร่อ
            ๓. ภูมิลำเนา    มูลค่า  พลความ   วิตถาร                    ๔. นามสมญา   ศิลปกรรม   โลกาภิวัฒน์     สัปดาห์


    เฉลย   ๑๑.  ๔    ๑๒.   ๒   ๑๓.    ๓    ๑๔.  ๓    ๑๕.  ๓   ๑๖.   ๒   ๑๗.   ๒  ๑๘.  ๒  ๑๙.   ๒  ๒๐. ๔

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×