ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติตัวละครเรื่อง"สามก๊ก"

    ลำดับตอนที่ #31 : ซุนฮว่า

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 501
      1
      20 ม.ค. 50

    ซุนฮว่า (ซุงเหว็ก..พ.ศ. 706 - พ.ศ. 755) จื้อ (ชื่อรอง) เหวินเยี่ย (บุ่งเยียก) ชาวเมือง อิ้นชวนอิ้นอิน (เอ้งชวงเอ้งอิม) ปัจจุบันบันอยู่ทางด้านใต้ของเมือง สวี่ชาน (สื่อเชียง..ฮูโต๋)

    ซุนฮก เกิดในตระกูลใหญ่ผู้ดีเก่า บิดา และ ปู่ ล้วนแต่เป็นขุนนาง นักบัณฑิต มีชื่อ

    ซุนฮก เมื่อวัยเด็ก ได้รับการอบรมมีการศึกษาอย่างดี เมื่อเริ่มหนุ่มฉลาดกว่าเด็กวัยรุ่นรุ่นคราเดียวกัน

    บัณฑิต เหอยง (ห่อเอว้ง) เคยกล่าวชมว่า “มีพรสวรรค์ดั่งมือของเจ้า”

    ศักราช หย่งฮั่น (ย่งฮั่ง) ปีที่ 1 พ.ศ. 732 ซุนฮก ผ่านการสอบคัดเลือกอย่างโปร่งใส ได้รับตำแหน่งผู้ดูแลพระราชสำนัก

    ต่อมา ตั๋งโต๊ะ บุกเข้านครหลวง ซุนฮก วิเคราะห์ออกว่า ใต้หล้ากำลังเกิดวิกฤตจลาจล จึ่งขอย้ายตัวเองไปรับราชการภายนอกพระราชสำนัก ถูกโยกย้ายไปรักษาการเป็นนายอำเภอ ณ ขั้นฟู่เสี้ยน (ขั่งเป๋กุ่ย) แต่เขามิติดใจรับราชการ กลับไปใช้ชีวิต ณ บ้านเกิด

    เขาได้กล่าวกับเหล่าเพื่อนบ้านว่า เมือง อิ้นชวนเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ หากมีสงครามเกิดขึ้น เมือง อิ้นขวน มิพ้นจากการบุกโจมตีทั่งสี่ทิศ

    บัดนี้ใต้เหล้ากำลังจะเกิดการจลาจล ที่นี่จักมีภัยจากกองทัพ สมควรรีบย้ายออกจากพื้นที่ มิสมควรอยู่เฝ้าต่ออาศัย เหล่าชาวเมืองต่างพากันสองจิตสองใจลังเล

    ขณะนั้น ฮันฮก ได้ส่งคนมาเชิญไปเป็นที่ปรึกษาในค่ายทหาร

    ซุนฮก จัดการโยกย้ายคนในครอบครัวตามไปอยู่ ก่อนออกเดินทาง ยังได้ชักชวนชาวเมืองทั้งหลายย้ายตามอพยพ แต่ชาวเมืองยังคงลังเล ด้วยรักถิ่นอาศัยที่เคยอยู่จนเคยชิน

    มินานนัก สงครามก็เกิด ชาวเมืองทั้งหลายต่างได้รับบาดเจ็บล้มตายจากความวุ่นวายจลาจล ต่างจึ่งได้คิดถึงคำพูดของ ซุนฮก ที่เคยคาดคะเนไว้

    เมื่อ ซุนฮก ย้ายมาถึง เอ๊กจิ๋ว แม่ทัพ อ้วนเสี้ยว ได้โยกย้าย ฮันฮก ออกจากเมือง เอ๊กจิ๋ว

    อ้วนเสี้ยว ได้ต้อนรับ ซุนฮก ด้วยธรรมเนียมพิธีการของกองทัพ

    อ้วนเสี้ยว ยังได้แต่งตั้ง ซุนชาน (ซุงคำ) มีตำแหน่งเป็นขุนนาง

    แต่ ซุนฮก ได้ดูใจ อ้วนเสี้ยว ได้มินาน ก็มองออกว่า คนอย่าง อ้วนเสี้ยว มิสามารถทำการใหญ่ต่อไปในภายหน้าได้สำเร็จ

    ด้วยว่า อ้วนเสี้ยว มีความทะเยอทะยานอยากเป็น ฮ่องเต้ เป็นการขัดกับพระราชสำนักอย่างร้ายแรง ซุนฮก ได้พยายามปลอบโยน อ้วนเสี้ย ล้มความคิดนี้

    แม้นว่าขณะนั้น โจโฉ คงอยู่ใต้บัญชาการของ อ้วนเสี้ยว โดยมีตำแหน่งผู้รักษาการเมือง ตังกุ๋น แต่เขาได้ศึกษามองดูพฤติกรรมของ โจโฉ แล้ว เห็นว่าเป็นความหวัง

    จึ่งเริ่มเอาใจออกห่าง อ้วน มาร่วมด้วย โจ

    ภายหลังที่ โจโฉ และ ซุนฮก ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน โจโฉ กล่าวขึ้นอย่างดีใจว่า

    “จื่อฝาน (จื่อปั้ง..เป็นนามรองของ เตียวเหลียน กุนซือคู่พระทัยของพระเจ้า เล่าปัง) ของข้านั้น ที่แท้ก็คือเจ้า”

    ดังนั้น โจโฉ ก็รีบแต่งตั้งเขาในตำแหน่งหัวหน้ากอง

    ปีต่อมาคือศักราช ชูผิน ปีที่ 3 พ.ศ. 735 โจโฉ ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง กุนจิ๋วมู่

    ซุนฮก เป็นผู้ที่ โจโฉ ไว้วางใจที่สุด ช่วยเขาในการจัดการทัพ จัดการค่ายมิห่าง

    ศักราช ซิ่นผิน ปีที่ 1 พ.ศ. 737 โจโฉ ได้ยกทัพไปตีเมือง ชีจิ๋ว ปล่อยเมือง กุนจิ๋ว ให้ ซุนฮก เฝ้ารักษาการณ์

    และภายหลัง เตียวเมา และ ตันก๋ง แปรพักตร์ ชักนำ ลิโป้ มาตีเมือง กุนจิ๋ว อย่างเงียบ ๆ กิตติศัพท์ของ ลิโป้ เป็นที่หวั่นเกรงแก่ชาวเมือง กุนจิ๋ว

    ซุนฮก ได้เพ่งพิจารณากองกำลังของ เตียว, ตัน, และ ลิ จึ่งได้ปรึกษาวางแผนการต้านศึกกับ เทียหยก รีบส่งคนไปขอกองทัพของ แฮหัวตุ้น ณ เมือง พูเอี๋ยง มาช่วยยามค่ำคืน ได้ฆ่ากองทัพของพวกกบฏจำนวนมาก

    และเพื่อเป็นการรักษาเมือง อิวเฉิน ที่ยังเหลือ ซุนฮก และพวก ได้เสี่ยงชีพไปเกลี้ยกล่อมพวกกบฏของ กั๊วก่ง ชักจูงว่า กั๊วก่ง ร่วมมือกับพวกกบฏนั้นอันตรายยิ่ง

    กั๊วก่ง จึ่งยอมยกทัพกลับ

    เทียหยก ก็ไปเกลี้ยกล่อมที่เมือง ฮวมกุ่ย, ตังอา, ให้ร่วมมือกันต่อต้านข้าศึก ผลที่สุดจึ่งสามารถรักษาเมืองทั้งสามได้

    และภายหลัง โจโฉ สามารกลับมายึดเมือง กุนจิ๋ว คืน รบชนะ ลิโป้ ทำลายกองกำลังของข้าศึก

    ต่อมา ซุนฮก ได้มองการณ์ไกลอันตรายของการก่อการเป็นกบฏ ได้ตัดเตือน โจโฉ อย่าโลภในโลกีย์วิสัยเป็นเหตุให้พลาดการ

    ศักราช ซิ่นผิน ปีที่ 2 โจโฉ เตรียมการไปโจมตีเมือง ชีจิ๋ว อีกเมื่อเจ้าเมือง โตเกี๋ยม ถึงแก่กรรม

    ซุนฮก ได้วิเคราะห์ว่า เมื่อโจมตีเมือง ชีจิ๋ว ครั้งที่แล้ว โจโฉ ได้เข่นฆ่าชาวเมือง ขีจิ๋ว ไปจำนวนมาก ชาวเมือง ชีจิ๋ว ยังคงเกรงกลัวและแค้นเคือง โจโฉ จักพากันพร้อมใจกันต่อต้าน โจโฉ

    มิสู้จัดแจงปลูกข้าวสะสมเป็นเสบียงอาหารให้พร้อมเพียงเสียก่อน แล้วรีบไปจัดการปราบปราม ลิโป้ เสียก่อน

    ศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 1 พ.ศ. 739 นคร ฉานอาน เกิดการจลาจล พระเจ้า เหี้ยนเต้ ทรงหลบหนีออกจากเมืองมาทางทิศตะวันออก พร้อมด้วยผู้ติดตามจำนวนมาก

    อ้วนเสี้ยว และที่ปรึกษาเกิดความขัดแย้งภายในต่อปัญหาการรับพระเจ้า เหี้ยนเต้ มาอยู่ในการอารักษ์ขา

    โจโฉ ขณะนั้นแม้นยังมีกำลังมิเข้มเข็งพอ ที่ปรึกษาของ โจโฉ ต่างลงความเห็นว่า หันเซียม และ เอียวหอง กำลังนำเสด็จพระเจ้า เหี้ยนเต้ มา ณ นคร ลั่วหยาน เป็นโอกาสให้รีบรับเสด็จพระเจ้า เหี้ยนเต้ มาอยู่ในความอารักษ์ขา

    ซุนฮก ก็มีความเป็นห่วงในความปลอดภัยและสถานภาพของพระเจ้า เหี้ยนเต้ เขาคิดว่าพระเจ้า เหี้ยนเต้ ควรมีนายทัพที่เข้มเข็งมีสติปัญญามาปกป้อง นายทัพนี้มิมีใครอื่นนอกจาก โจโฉ

    ขณะเดียวกันนั้น กองกำลังของ โจโฉ ยังมิเข้มเข็งพอ จึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยยี่ห้อ ฮ่องเต้ ของพระเจ้า เหี้ยนเต้ มาเป็นยันต์ปกป้อง ให้กองทัพของ โจโฉ อยู่ภายใต้ธงอาญาสิทธ์ชักธงของ พระเจ้า เหี้ยนเต้ เพื่อเป็นความหวังก่อการใหญ่ต่อไปในภายหน้า

    เขาได้วิเคราะห์ให้ โจโฉ ฟังว่า เมื่อครั้งโบราณ เจ้า จิ้นบุนก๋ง ก็ได้เคยอาศัยธงยี่ห้อของพระเจ้า จิวเซียงอ๋อง มาควบคุมเหล่าบรรดาเจ้าเมืองรัฐทั้งหลาย

    และวิเคราะห์อีกว่า เมื่อครั้งพระเจ้า ฮั่นเกาจู่ เล่าปัง ก็ได้อาศัยการจัดงานศพของโอรสสวรรค์มาซื้อใจประชาชน

    โจโฉ จึ่งรีบจัดทัพรับเสด็จพระเจ้า เหี้ยนเต้ มาทรงประทับที่ ฮูโต๋ และเป็นที่ยอมรับกันทั้งประเทศในภายหลัง

    นี่เป็นแผนการนโยบายของนักปกครองที่มีความสามารถระดับต้น ๆ ดั่งนั้น โจโฉ จึ่งใชระบบปราบปรามและปกครองประเทศด้วยการใช้ยี่ห้อของพระราชสำนักเป็นเครดิกต์

    เมื่อพระเจ้า เหี้ยนเต้ ทรงย้ายมาประทับที่ ฮูโต๋ พระองค์ทรงแต่งตั้ง โจโฉ เป็นแม่ทัพใหญ่ มีอำนาจสิทธิ์ขาดว่าการทหารทั่วประเทศ

    โจโฉ ก็อ้างพระราชโองการของพระเจ้า เหี้ยนเต้ แต่งตั้ง ซุนฮก เป็นสมุหนายก ควบคุมอำนาจฝ่ายใน

    ต่อมา ซุนฮก ก็ทำหน้าที่รับหน้าแทน โจโฉ ให้พระราชสำนักปฏิบัติตามความต้องการของ โจโฉ

    โจโฉ แม้นกระทำหน้าที่ปราบปรามเหล่าขุนนางที่เข็งข้อต่อพระราชสำนักทางฝ่ายนอก แต่ยามเมื่อมีเรื่องสำคัญ ๆ โจโฉ มักต้องปรึกษากับ ซุนฮก เสมอ ๆ แต่เมื่อยาม โจโฉ ตั้งค่ายปราบปรามเหล่าขุนนางกบฏทางภายนอก โจโฉ ถาม ซุนฮก ว่า

    “เมื่อข้าปฏิบัติหน้าที่อยู่ด้านนอก ใครจักมาเป็น กุนซือ ให้ข้าแทนท่าน”

    ซุนฮก จึ่งได้เสนอ ซุนฮิว และ เจ็งเอี๋ยว แก่ โจโฉ

    ต่อมา ซุนฮก ก็ได้แนะนำ กุยแก แก่ โจโฉ อีก

    โจโฉ จึ่งยิ่งนับถือความเป็นปราชญ์ นักดูคนและเลือกใช้คนของ ซุนฮก

    ศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 2 โจโฉ ลงใต้ตีเมือง อวงเสีย พ่ายแพ้แก่ เตียวสิ้ว อ้วนเสี้ยวได้มีหนังสือมาข่มขู่ โจโฉ โกรธยิ่ง ดั่งนั้น ซุนฮก จึ่งได้ปลอบใจ โจโฉ

    โดยยกตัวอย่างเมื่อครั้ง เล่าปัง ขับเขี้ยวกับ เสี้ยนยวิ่ จากกองกำลังน้อยมาสู่กองกำลังมาก วิจารณ์ว่า โจโฉ พร้อมสรรพด้วย ความสามารถ, แผน, วิทยายุทธ, และคุณธรรม ยิ่งกว่า อ้วนเสี้ยว คะเนว่ามินาน โจโฉ ต้องมีชัยต่อ อ้วนเสี้ยว

    และแนะนำ โจโฉ ให้พิชิต ลิโป้ ก่อน

    ส่ง จงอิ้ว ไปจัดการ ณ ดินแดน กวนตง โจโฉ จึ่งได้สติ จัดการกับสถานการณ์วิกฤติตามที่ ซุนฮก แนะนำ

    ฤดูร้อน ศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 4 พ.ศ. 742 อ้วนเสี้ยวยกกองทัพใหญ่มาบุกโจมตี โจโฉ เหล่าแม่ทัพนายกองของ ฮูโต๋ ต่างเกรงกลัวกองกำลังอันยิ่งใหญ่ของ อ้วนเสี้ยว

    ขงหยง ได้ปรารภกับ ซุนฮก ว่า กองทัพของ โจโฉ ยากที่จักได้ชัยชนะ แต่ ซุนฮก ปลอบใจว่า ให้รอดูสถานการณ์ก่อน บอก โจโฉ ให้เตรียมใจต้านศึกเต็มที่

    ศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 5 กองทัพของ โจโฉ และ อ้วนเสี้ยว ปักหลักตั้งค่ายคุมเชิงกันอยู่ ณ สมรภูมิ กัวต๋อ เป็นเวลานานครึ่งปี

    และด้วยเสบียงอาหารใกล้หมด โจโฉ ได้มีหนังสือบอกกล่าวกับ ซุนฮก ว่า จำเป็นต้องถอนกองทัพกลับ แต่ ซุนฮก ตอบหนังสือกลับมาว่า

    “แม้กองทัพขาดเสบียงอาหาร แต่ก็มิลำบากเทียบกับเมื่อครั้งกองทัพ ฉุ่ ฮั่น ต่างแก่งแย่งกัน ณ ยงหยาน, เฉินกวอ ทั้งสองฝ่าย ทัพ เล่า และ ทัพ เสี้ยน ต่างก็มิยอมถอยให้แก่กัน เพราะเหตุว่า ผู้ใดถอนทัพก่อน กำลังใจของทหารในกองทัพย่อมสูญสิ้น ดั่งนั้น จึ่งให้เข้มเข็งไว้ ยึดมั่นรักษาพื้นที่อย่าให้กองทัพ อ้วน เอะใจ กองทัพ อ้วน เห็นว่าจุดยุทธศาสตร์นี้ยังมิสามารถตีผ่านทะลุ กองกำลังใจของทหารก็จัดหมดสิ้นไปเอง เพราะว่าได้ตั้งมั่นมานานถึงครึ่งปีแล้ว มิก้าวหน้าก็จักเบื่อหน่าย กองทัพ อ้วน นับวันก็จักยิ่งอ่อนแอลง จึ่งใกล้จักถึงเวลาพลิกสถานการณ์แล้ว ขณะนี้ เรากำลังทำศึกด้วยแผนทางจิตวิทยา อย่าประมาทให้พลาดเป็นเด็ดขาด”

    โจโฉ จึ่งรับฟังด้วยความยินดี ผลที่สุดก็สามารถใช้กองทัพม้าบุกทะลวงมีชัยต่อกองทัพของ อ้วนเสี้ยว

    ด้วยเหตุที่ว่า ขณะที่กองทัพของทั้งสองฝ่ายกำลังคุมเชิงกันอยู่นั้น กุนซือ ของ อ้วนเสี้ยว มองเห็นจุดอ่อนขาดเสบียงทัพของ โจโฉ แต่ต่างมีความเห็นแตกแยกกันเอง ตามการคาดหมายของ ซุนฮก

    ดั่ง เคาฮิว โกรธที่ อ้วนเสี้ยว มิยอมรับฟังแผนการศึกตามที่แนะทำ เถียนฟง พูดจาสอดแทรกถูก อ้วนเสี้ยว ฆ่าตาย ฯ ล ฯ

    รู้เขารู้เรา ซุนฮก จึ่งนับได้ว่าเป็น กุนซือ ที่มองเห็นการณ์ไกลที่สุด ของ โจโฉ

    ศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 6 โจโฉ ก็มีความเบื่อหน่ายต่อการเผชิญหน้ากับกองทัพของ อ้วนเสี้ยว อีกทั้งเสบียงอาหารก็ขาดแคลน ตั้งใจถอนทัพกลับไปบุกโจมตี เล่าเปียว ซุนฮก ได้มีหนังสือมาว่ากล่าวตักเตือนว่า

    “บัดนี้ อ้วนเสี้ยว กำลังแพ้ภัยตัวเอง นายทัพบริวารต่างวุ่นวายคิดเอาใจออกห่าง หากท่านมิถือวิกฤติเป็นโอกาสในครั้งนี้ บดขยี้กองทัพของ อ้วนเสี้ยวให้สิ้นซาก แต่กลับยกทัพไปบุก กังตั๋ง กลับปล่อยโอกาสให้ อ้วนเสี้ยว สามารถตั้งตัวรวบรวมเป็นกองทัพใหญ่ยิ่งกว่ากว่า เป็นเสี้ยนหนามของการศึกยิ่งใหญ่กว่าในภายภาคหน้า คำแนะนำของข้า และความตั้งใจการพิชิตศึกด้วยจิดใจและเลือดเนื้อของท่านเป็นเวลานานหลายปี ก็จัดเป็นอันมลายสูญสิ้น”

    ดังนั้น โจโฉ จึงอดทนตั้งมั่นรับศึกต่อ ผลที่สุดก็สามารถพิชิตศึก อ้วนเสี้ยว ได้สำเร็จ ยึดได้ดินแดนทางภาคเหนือเป็นจำนวนมาก

    เมื่อภายหลัง โจโฉ ดำรงตำแหน่งเป็น กิจิ๋วมู่ มีผู้แนะนำ โจโฉ ว่า หากจักรวบรวมดินแดนเก่าทั้งเก้า ให้ดำเนินการตั้งเมือง กิจิ๋ว เป็นจุดศูนย์กลาง

    โจโฉ ใคร่จักดำเนินการตาม แต่ ซุน ฮก กลับวิจารณ์ว่า

    “หากท่านจักทำตามดั่งนี้ กิจิ๋ว นั้นดินแดนกว้างขวางยิ่ง อีกทั้งพลเมืองกลับแตกแยกกระจัดกระจาย รวบรวมดินแดนได้ แต่คงมิอาจรวมรวมจิตใจผู้คนได้ เป็นอันตรายยิ่ง เวลานี้ดินแดนที่คับขันก็คือดินแดน เหอเป่ย ควรจักควบคุม เหอเป่ย ก่อน แล้วจึ่งรวบรวมดินแดนทางใต้ เกงจิ๋ว ต่อมาค่อยควบคุมดินแดนทาง กิจิ๋ว ก็ยังมิสาย”

    ดั่งนั้น โจโฉ จึ่งปล่อยวางดินแดน กิจิ๋ว ดำเนินตามแผนของ ซุนฮก

    ศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 13 พ.ศ. 751 โจโฉ ตระเตรียมการบุโจมตี เกงจิ๋ว ได้ปรึกษาวิธีการเดินทัพกับ ซุนฮก

    ซุนฮก ได้แนะนำให้รวบรวมพลกันที่ อวง แล้วจึ่งสืบเส้นทางแต่ละสายให้ละเอียด โดยเข้าโจมตี เล่าเปียว มิให้รู้ตัว โจโฉ ได้ดำเนินตามแผนของ ซุนฮก โจโฉ จึ่งได้เมือง เกงจิ๋ว มาอย่างง่ายดาย

    ในเหล่าบรรดา กุนซือ ทั้งหลายของ โจโฉ ซุนฮก นับได้ว่าเป็น กุนซือ ที่มีคุณธรรมที่สุด เขาได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็น โหว มีศักดินา 2,000 ครัวเรือน

    บุตรชายคนโตของเขา ได้แต่งงานกับบุตรีของ โจโฉ ครอบครัวฐานะมั่งมียิ่ง

    แต่ทว่า นอกจากปัจจัยของการดำรงชีพ เขามิมากมาในทรัพย์สมบัติ เขามักแบ่งสมบัตินอกกายที่ได้มาให้กับเหล่าญาติและเพื่อนฝูงที่จนกว่า

    เขาและญาติครอบครัวของเขาทั้งหลายต่างดำรงชีพตามอัตภาพสมควรแก่ฐานะ มิสุรุ่ยสุร่ายใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

    เขาได้แนะนำผู้คนให้ โจโฉ จำนวนมาก แต่มิเคยได้รับของขวัญของตอบแทนจากผู้ใด ทั้ง ๆ ที่มีผู้คนจำนวนมากได้รับความดีความชอบมีตำแหน่งใหญ่โต

    แต่เขาเพียงสำนึกตนว่าเป็นเพียง กุนซือ ที่ปรึกษาเท่านั้น

    ต่อมาภายหลัง โจโฉ มักมีเรื่องขัดพระทัยกับพระเจ้า เหี้ยนเต้ เขามิเคยเข้าด้วย โจโฉ ด้วยจิตสำนึกว่าเป็นข้าในพระเจ้า เหี้ยนเต้

    ซุนฮก จึ่งเริ่มดูใจ โจโฉ อีกเห็นว่า โจโฉ เริ่มมีความทะเยอทะยาน จึ่งได้เริ่มเหินห่างจาก โจโฉ

    ศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 21 พ.ศ. 759 ต่งเจ้า และพวกได้ถวายฎีกาพระเจ้า เหี้ยนเต้ ทรงแต่งตั้ง โจโฉ เป็นเจ้า วุยก๋ง ตามความปรารถนาของ โจโฉ ซุนฮก เห็นว่าเป็นการผิดแผกธรรมเนียมของพระราชสำนัก จึ่งได้ถวายฎีกาคัดค้าน เป็นที่ขัดใจของ โจโฉ

    โจโฉ จึ่งได้ย้าย ซุนฮก ไปสู่แนวหน้า ซุนฮก กลุ้มใจหมดกำลังใจสิ้นชีพ ขณะเมื่อมีอายุได้ 50 ปี

    เกี่ยวกับความตายของ ซุนฮก นั้น ยังเป็นที่สงสัยทางประวัติศาสตร์ เพราะมีตำนานกล่าวกันเป็น 2 นัยว่า

    1 . เมื่อพระนาง ฮกเฮา ฮองเฮา ทรงมีหนังสือลับออกไป โจโฉ ได้เรียก ซุนฮก ไปประหารปลงพระชนม์พระนาง ฮกเฮา แต่ ซุนฮก มิยอมปฏิบัติ ฆ่าตัวตาย

    2 . โจโฉ ได้ส่งกล่องขนมให้ ซุนฮก 1 กล่อง ซุนฮก เปิดดูแล้วข้างในว่างเปล่า จึ่งรู้ว่า โจโฉ ต้องการให้ตนตาย ซุนฮก จึ่งได้ฆ่าตัวตาย

    สรุปแล้ว การตายของ ซุนฮก มิใช่ธรรมดา

    เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับซุนฮก โดย ผู้ึคลั่งสามก๊กและวรรณกรรมจีน

    กล่าวกันว่า เมื่อโจโฉรับพระเจ้าเหี้ยนเต้มาไว้ ณ ฮูโต๋นั้น ซุนฮก วางแผนการให้กับโจโฉมากมาย ซึ่งทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ต่อมาโจโฉจะทูลขอบำเหน็จให้กับซุนฮกเรื่องที่เขายืนยันให้ยืนหยัดรบกับอ้วนเสี้ยวที่ศึกกัวต๋อ(ซึ่งมีผลสำคัญให้โจโฉเอาชนะอ้วนเสี้ยวได้ในภายหลัง) และเรื่องที่เขาสนับสนุนให้ยกทัพขึ้นเหนือตีสกุลอ้วนที่ยังเหลืออยู่ก่อนแล้วค่อยยกทัพลงใต้ปราบเล่าเปียวและซุนกวน เบื้องแรกซุนฮกปฏิเสธ โจโฉจึงกล่าวว่า "แผนการที่ท่านวางเอาไว้นั้นมิได้มีเพียงสองเรื่องนี้เท่านั้น เท่าที่ข้าเห็นก็มีนับร้อยเรื่อง" แสดงว่าซุนฮกวางแผนการไว้มากมาย และแรกๆน่าจะมีการบันทึกไว้ เพราะสามก๊กจี่ของตันซิ่ว(เฉินโซ่ว)กล่าวว่า "ซุนฮกเผาแผนการทั้งหมดของเขาทิ้งไปก่อนที่จะตาย จึงไม่มีใครรู้แผนการทั้งหมด" ดังนั้นแผนการลับของเขาทั้งหมดจึงมิได้ตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง

    ข้อมูลจาก กลยุทธ์กุนซือ ฉบับเจ็ดยอดกุนซือในสามก๊ก ของอดุลย์ รัตนมั่นเกษม ซึ่งผู้เขียนกล่าวว่า ได้นำข้อมูลมาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และมีการอ้างอิงข้อความว่ามาจากฉบับใดด้วยครับ หลายๆตอนที่เป็นสถานการณ์เดียวกันก็แปลออกมาใกล้เคียงกับที่หลายๆท่านเคยแปลเอาไว้ จึงน่าเชื่อถือในระดับหนึ่งครับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×