ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #118 : อียิปต์เตรียมส่งหุ่นยนต์สำรวจมหาพีระมิดคูฟู

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 836
      1
      23 มี.ค. 50

    อียิปต์เตรียมส่งหุ่นยนต์สำรวจมหาพีระมิดคูฟู ไขปริศนา 4,500 ปี

     ดิ อินดีเพนด์เดนท์ - ทางการอียิปต์เตรียมส่งหุ่นยนต์มุ่งหน้าไขปริศนา 4,500 ปี “มหาพีระมิด” เมืองกีซา ผ่านช่องทางเดินแคบๆ 2 ช่อง หวังพิสูจน์ว่าเป็นกรุพระศพของฟาโรห์คีออปส์กษัตริย์แห่งอียิปต์โบราณจริงหรือไม่
           

           ดร.ซาไฮ ฮาวาสส์ (Zahi Hawass) ผู้อำนวยการสภาโบราณสถานแห่งอียิปต์ (Egypt's Supreme Council of Antiquities) หนึ่งในเจ้าหน้าที่ที่ลุ้นการถ่ายทอดสดการสำรวจพีระมิดในเดือน ก.ย. ปี 2002 อยู่หน้าจอทีวีแบบลืมหายใจ เมื่อครั้งทีมงานนักอียิปต์วิทยาระดับโลกได้ส่งหุ่นยนต์ที่ออกแบบโดยชาวอเมริกันเข้าไปเจาะกลุ่มหินเพื่อเข้าไปสู่ช่องทางแคบๆ ที่จะนำเข้าไปในพีระมิด ซึ่งรถตีนตะขาบขนาด 200 ฟุต ได้เผยให้เห็นว่าไม่มีอะไรเลย นอกจากประตูลงกลอนอีกบานหนึ่ง ณ ก้นห้องเล็กๆ และว่างเปล่า กล่าวว่า เขาจะทำการตรวจสอบหุ่นยนต์สำรวจตัวใหม่ภายในสัปดาห์นี้
           
           สำหรับหุ่นยนต์ดังกล่าว ได้รับการออกแบบโดยทีมงานจากประเทศสิงคโปร์ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์หลักคือ การเจาะผ่านประตูบานที่ 2 และหินที่ตกลงมาขวางหน้าช่องทางเดินเส้นที่ 2 ไปให้ได้
           

           “มันเป็นเรื่องสำคัญมากในการไขปริศนาของพีระมิด วิทยาศาสตร์ในด้านโบราณคดีก็ยิ่งสำคัญ คนทั่วโลกกำลังคอยการไขความลับนี้” ดร.ฮาวาสส์ กล่าวและว่า ภายหลังประตูบานที่ 2 จะต้องมีอะไรซ่อนอยู่แน่ๆ และมันจะพิสูจน์ว่า กรุพระศพของฟาโรห์คีออปส์ (CHEOPS) หรือ คูฟู (Khufu) อยู่ภายในพีระมิดนี้
           

           ทั้งนี้ พีระมิดซึ่งสร้างโดยกษัตริย์ คีออปส์ ซึ่งรู้จักกันดีในนาม คูฟู ผู้มีพระชนม์ชีพเมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล เคยถูกหัวขโมยเข้ามาปล้นทรัพย์สินภายในเมื่อหลายพันกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากการสำรวจล่าสุดสามารถค้นพบกรุพระศพจริง ก็จะส่งผลในหมายความว่า การสำรวจพีระมิดที่ผ่านมาทั้งหมดยังไม่มีการขุดพบกรุพระศพของฟาโรห์แต่อย่างใด
           
           ทั้งนี้ กรุพระศพของฟาโรห์จะนำไปสู่ห้องอีกห้องหนึ่งที่อยู่ตรงกลางของพีระมิดซึ่งจะนำไปสู่หีบพระศพที่ทำจากหินแกรนิตแดงอีกต่อหนึ่ง และภายในกรุพระศพของราชินีแห่งอียิปต์จะมีรูปปั้นของฟาโรห์คีออปส์ประดิษฐานอยู่ กระนั้นก็ไม่เคยถูกใช้งานเลยสักครั้ง เพราะพระศพของพระนางถูกฝังอยู่ในพีระมิดขนาดเล็กกว่าซึ่งตั้งอยู่ข้างๆ ซึ่งที่มหาพีระมิดนี้จะมีช่องทางแคบๆ เชื่อมต่อภายใน อยู่ 2 ช่องด้วยกันโดยการสำรวจพีระมิดมีขึ้นครั้งแรกโดยนักสำรวจชาวเยอรมนี ในปี 1993 แต่ต้องมีอันพับไปเมื่อหุ่นยนต์ไม่สามารถจัดการกับหินปูนได้
           
           รูดอลฟ์ กันเท็นบริงค์ (Rudolf Gantenbrink) หัวหน้าทีมวิจัยเยอรมันครั้งนั้น เผยบนหน้าเว็บไซต์ของเขาว่า เมื่อเบื้องหลังกองหินถล่มหน้าประตูบานที่ 2 เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปแล้ว เราก็จะทราบทันทีว่า ทำไมช่องทางเข้าที่อยู่ในระดับต่ำทั้ง 2 ช่องจึงถูกสร้างไว้อย่างพิเศษเพื่อให้มองไม่เห็น และในที่สุด เราจะพบกุญแจดอกสำคัญซึ่งหากันมาเนิ่นนานที่จะไขความลับทั้งหมดของพีระมิดคีออปส์
           
           เมื่อกล่าวถึงช่องทางเดินแคบๆ ทั้ง 2 ช่อง ที่โผล่ออกมาจากกรุขนาด 8 นิ้วคุณ 8 นิ้ว ซึ่งยังสร้างไม่เสร็จ ยังคงเป็นปริศนาแก่นักโบราณคดีสืบมาตั้งแต่ได้มีการขุดพบพีระมิดในปี 1872 พวกเขาถึงกับตกตะลึงในความแปลกประหลาดของมหาพีระมิดคีออปส์ ในตอนแรก บรรดานักโบราณคดีต่างคิดว่า มันเป็นช่องลมระบายอากาศ อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า มันน่าจะเป็นช่องทางผ่านของดวงวิญญาณของกษัตริย์ฟาโรห์ไปสู่ชีวิตหลังความตายตามความเชื่อโบราณมากกว่า
           
           อย่างไรก็ดี หมู่พีระมิดแห่งเมืองกิซานี้ได้รับยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมศพของพระเจ้าคีออปส์ซึ่งพระองค์เป็นผู้สร้างขึ้นเองเมื่อก่อนคริสตกาลประมาณ 3,500 ปีนับอายุจนถึง ปัจจุบันก็กว่า 5,000 ปีล่วงมาแล้ว อยู่ที่กลางทะเลทรายห่างจากกรุง ไคโรเมืองหลวงแห่งอียิปต์ปัจจุบันประมาณ 4 ไมล์ พีระมิดแห่งนี้เดิมสูง 481.4 ฟุต แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 450 ฟุต ฐานกว้าง 768 ฟุต
           
           เชื่อกันว่าพีระมิดองค์นี้จะ ทนแดดทนฝนอยู่ได้อีกนานกว่า 5,000 ปี และเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของยุคโบราณสิ่งเดียวเท่านั้นที่มีอายุยืนยาว มาจนถึงปัจจุบัน มีนักท่องเที่ยวมาจากทุกมุมโลกเดินทางไปอียิปต์เพื่อมาชมพีระมิดแห่งนี้เป็นจำนวนมากทุกปี

    ที่มา  http://mgr.manager.co.th/asp-bin/PrintNews.aspx?NewsID=9480000141224
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×