ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #9 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ซ)

    • อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 54


    หมวด ซ

    ซิวชัก (น.) ตะคริว (อาการที่กล้ามเนื้อหดตัว และค้างอยู่ ทำให้เจ็บ)

    ซี่กัน  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น เส้ กัน)(น.) โรคขาดอาหารของเด็ก จนตาฝ้า
           ฟางมองไม่เห็นโดยเฉพาะในตอนกลางคืน  เรียกว่า ตาบอดไก่  ก็ได้
             
         คนปักษ์ใต้สมัยก่อนจะรักษาโรคนี้ โดยให้เด็กที่เป็น
    " ซี่กัน "ทานอาหารจำพวก
         เนื้อตะกวด(แลน) แย้ หรือกิ้งก่าทอดกระเทียมพริกไทย 
    ( คนปักษ์ใต้ทั่วไป จะ
         ไม่รับประทานเนื้อกิ้งก่าแต่จะใช้เป็นอาหารเสริมเฉพาะเด็กที่เป็นซี่กัน เท่านั้น )

    ซอ   1. (น.) เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ; ซอ    2. (ว.) ลักษณะของทำงานที่ช่วยเหลือ
            กัน แบบถ้อยที่ถ้อยอาศัย หรือผลัดกันทำงาน
            
    " เก็บข้าวซอ " หมายถึง การผลัดเปลี่ยนกัน เก็บข้าว  ในลักษณะถ้อยที่ถ้อย
            อาศัยโดยไม่มีค่าจ้าง
           
     " ทิ่มข้าวซอ " 
    หมายถึง การช่วยกันตำข้าวเปลือก สลับกันในครกเดียวโดยมี
            คนตำ
    2 หรือ 3 คน  ( 2 สาก หรือ 3 สาก )

    ซั้ง   (น.) แนวพนังกั้นทางน้ำเพื่อบังคับให้น้ำไหลไปตามช่อง ใช้สำหรับดักไซ ดัก
           โพงพาง
             
    " เขี่ยหมาให้พ้นซั้ง, ถีบหมาให้พ้นซั้ง "  สำนวนถิ่นใต้ใช้ในความหมาย ปัด
           สวะ หรือ ผลักพาระให้ผู้อื่น ( เปรียบเหมือนหมาเน่าลอยมาติด "ซั้ง" แทนที่จะ
           ช่วยดึงขึ้นมากลบฝัง ก็เขี่ย ให้ลอยไปติดหน้าบ้านผู้อื่น )
              "ส่งหมาให้พ้นซั้ง " สำนวนนี้
    ่อนข้างจะเบากว่า สำนวนแรก มักใช้ในความ
            หมาย การ
    ทำงานที่ฉาบฉวย  หรือ ทำให้เสร็จๆ แบบขอไปที

    ซัดท่า (ก.) ตั้งท่าร่ายรำ (รำโนรา)

    ซ้าว้า  (น.) ละมุด   ภาษาสงขลาจะเรียก ละมุด ว่า "ลูกซ้าว้า"  ขณะที่ทางนครศรี
          ธรรมราช จะเรียกว่า
    ลูกมุดหรัง (ละมุดฝรั่ง) ทางแถบอันดามันจะเรียกว่า มะตีกู
            (
    ซ้าว้า คำนี้มาจาก  buah sawa ในภาษามลายู)

    ซาบ   (ก.) แอบ          " ซาบแล " - แอบมอง

    ซาม  (ส.) มันน่าจะ  
           
    "ขับรถไม่แลไหรพันนี้ ซามตาย" - ขับรถไม่มองอะไรอย่างนี้มันน่าจะตาย
            (ไม่น่ารอดมาได้)

    เซ  คำนี้มี 2 ความหมาย คือ  1. (ว.)  เอียง, ไม่ตั้งฉาก     2. (ก.) กริยาการใช้
             สากตำสิ่งของเบาๆและสากที่ตำจะต้องเอียงๆ  เช่น  เซหยวกกล้วยให้แหลก
             เพื่อใช้เป็นอาหารหมู หรือ  เซเคย (ตำกะปิ)ให้แหลกเรียกว่า เซ   ถ้าใช้สาก
             ตำลงในครกตรงๆ  ปักษ์ใต้จะเรียกว่า   ทิ่ม   เช่น  ทิ่มเม่า (ตำข้าวเม่า), ทิ่ม
             ข้าว(ตำข้าว),  ทิ่มน้ำชุบ (ตำน้ำพริก)

    เซ่  (น.)  ซี่,   ลักษณะนามที่ใช้เรียกของเล็กๆ ยาวๆ ที่เรียงกันเป็นแถว เป็นแนว
         
     ( ในภาษาสงขลา เสียง อี จะแปลงเป็นเสียงเอ   ซี่ ของคนกรุงเทพ จึงเป็น เซ่
           ของคนสงขลา )

    เซิง   (น.ชั้น ,  ที่เก็บของอยู่ใต้หลังคา

    โซ้     (ก.) รองน้ำ,รับน้ำ
             
    " เอาถุ้งไปโซ้หน่าม "  -  ถังไปรองน้ำ

    โซ้ย   (ว.)  ซวย (ดวงไม่ดี)
             
    " กะแล้วแต่ โซ้ยคล่อง "  ประโยคนี้ความหมายคือ  ก็แล้วแต่ดวง
              ( โซ้ย
    = ซวย     คล่อง=ไม่มีอะไรติดขัด, ดวงดี )

    โซะ    (ว.)  สุกงอม   
             
    "โหลก ซ้าว้า โซะหมดแล้ว " -  ผลละมุดสุกงอมหมดแล้ว
             ( โหลก
    = ลูก , ซ้าว้า = ละมุด )

    ไซ่ (ออกเสียงเป็น ไส่ )    (ว.)  ทำไม
              
    " แล้วไส่ "    -  แล้วจะทำไม
              
    " มึ้ง อิ ไส่ "  มึงจะทำไม ( อิ,  จิ  ก็คือ  จะ ในภาษาไทยมาตรฐาน )
              
    " มึ้ง อิ ไส่ กู นิ " มึงจะทำอะไรกู

         คนไทยในเขต3จังหวัดชายแดน(ไทยเจ๊ะเห) จะใช้คำว่า จิได๋  คนสงขลา-
    คลอง
         หอยโข่งดั้งเดิมจะใช้คำว่า 
    ได่  ในบางท้องถิ่นของปักษ์ใต้  คำนี้จะออกเสียงเป็น
        ไตร่  หรือ ส่อ  แต่โดยภาพรวมเมื่อพูดเป็นประโยค คนใต้ทั่วไปจะเข้าใจกัน
         เช่น
      ประโยคคำถามว่า   แล้วมาทำไม ?   คนสงขลาจะพูดว่า  
    แล่ว มาไส่ ?
         คนฉวาง/พิปูน นครศรีฯ จะพูดว่า    แล่วมาส่อ ?

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×