ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #89 : เรื่องของจีนและทิเบต

    • อัปเดตล่าสุด 11 ต.ค. 52


    เรื่องของจีนและทิเบต

    บทความนี้แปลจาก "ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของจีนเกี่ยวกับอนาคตของทิเบต"
    โดย จิลล์ แม็คกีเวอริ่ง ผู้สื่อข่าวของบีบีซี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2008



    มันยังคงไม่ชัดเจนว่าวิกฤตการณ์ในทิเบตจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อโอกาสในการเจรจาระหว่างท่านทะไล ลามะและผู้นำของจีน

    แต่สิ่งที่ชัดเจนก็คือโอกาสเหล่านั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไป ชาวทิเบตหลายคนคับข้องใจเป็นยิ่งนัก หลังจากต้องรอเป็นเวลาหลายทศวรรษ พวกเขาเห็นว่าความก้าวหน้ามีเพียงน้อยนิด

    เทน ซิน แซมเพลเป็นผู้นำของชุมชนชาวทิเบตในอังกฤษผู้ซึ่งเกิดในอินเดียออกมาพูดแสดงความรู้สึกตัวเอง เขาบอกกับบีบีซีว่าเขาเห็นว่าเป้าหมายคือ "การเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์"

    หลายคนบอกว่ามันเป็นไปได้ยากที่ว่าทิเบตที่เป็นไทจะอยู่รอดได้เพราะต้องรับมือกับเรื่องทางเศษฐกิจ แต่เทน ซิน แซมเพลไม่เห็นด้วย

    "ในตอนนี้การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นผลประโยชน์ของชาวจีน" เขาบอก "ถ้าทิเบตเป็นอิสระ เราจะสามารถพัฒนามันด้วยตัวพวกเราเอง"

    ทิเบตที่เป็นเอกราชอาจจะเปราะบาง มันอาจต้องอยู่ระหว่างยักษ์ใหญ่ที่ทวีอำนาจสองตนคือจีนและอินเดียซึ่งมีปัญหาเรื่องพรมแดน





    ศาสตราจารย์ร็อบบี บาร์เนตต์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับทิเบตของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียแห่งมหานครนิวยอร์คเห็นว่าจะมีการท้าทายมากมายแต่เป็นไม่ใช่เรื่องที่จะเอาชนะไม่ได้

    การแก้ไขทางการเมืองนั้นจะได้ผลเพราะสติปัญญาและเจตจำนงทางการเมืองของคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง" เขาบอกกับบีบีซี

    "การเป็นเอกราชดูเหมือนจะเป็นการต่อสู้ที่ยากเย็นมหาศาล แต่มันขึ้นอยู่กับว่าการต่อสู้นี้ถูกวางแผนและจัดการอย่างไร นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้มีส่วนร่วม"

    ถึงแม้ว่าความต้องการเป็นเอกราชจะเพิ่มมากขึ้นในบรรดาชาวทิเบตที่ลี้ภัยในต่างแดน มันยังดูเหมือนเป็นความฝันอันห่างไกล ความต้องการเช่นนี้ทำให้ชาวทิเบตเผชิญหน้าโดยตรงกับกรุงปักกิ่ง

    มันเป็นไปไม่ได้อย่างยิ่งยวดที่จีนจะเห็นด้วยกับการเจรจาถ้าหากเงื่อนไขก่อนหน้านี้คือการขอเป็นเอกราชไม่ถูกตัดออกไป จีนไม่ต้องการให้เกิดตัวอย่างที่จะมีอิทธิพลต่อชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่น

    ทางเลือก

    ท่านทะไล ลามะไม่ได้เรียกร้องเอกราชแต่ขอให้ทิเบตมีอำนาจในการปกครองตัวเองมากขึ้น ยังมีแนวคิดอื่นอันหลากหลายซึ่งสามารถทำได้

    "รูปแบบหนึ่งประเทศ สองระบบ"เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ รูปแบบนั้นไปด้วยดีในฮ่องกง ถึงแม้ว่าฮ่องกงและทิเบตจะอยู่ในระดับขั้นของพัฒนาการที่แตกต่างกันมาก

    ศาสตราจารย์บาร์เนตต์เห็นว่ารูปแบบของฮ่องกงนั้น "เป็นไปได้อย่างมาก"

    เขายังแนะนำการประนีประนอมอื่นๆ นั้นคือสูตรของการปกครองตัวเองที่ตกลงกันสำหรับทิเบตในช่วงปี 1951 จนถึง 1959

    นี่จะทำให้ชาวทิเบตมีอำนาจเกี่ยวกับเรื่องตัวเองมากกว่าเดิมอย่างมหาศาล มันยังรวมไปถึงการมีอยู่และภาวะผู้นำของท่านทะไล ลามะ

    ถ้าแนวคิดเกี่ยวกับการเพิ่มอำนาจปกครองตนไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับกรุงปักกิ่ง มันก็จะเปลี่ยนเป็นมาตรการการเสริมสร้างความมั่นใจ

    เมื่อผู้นำจีนได้แก้ไขแผนใหม่สำหรับทิเบตอันเป็นผลพวงมาจากการประท้วงในช่วงปลายทศวรรษที่แปดสิบ พวกเขาคิดว่าโครงการการพัฒนาเศรษฐกิจที่รวดเร็วในทิเบตจะทำให้การประท้วงทางการเมืองลดน้อยลง

    แต่ถึงแม้พวกเขาจะอัดฉีดเงินนับล้านๆ หยวนลงในในภูมิภาคนี้และเพิ่มมาตรฐานการดำรงชีพของชาวทิเบตจำนวนมาก ก็ไม่สามารถทำให้ความแค้นเคืองลดน้อยลงได้

    หลายคนบอกว่าเพราะมาตรการนั้นไม่ได้เรื่อง

    พวกมันสร้างผลประโยชน์ให้กับชาวจีนที่มาตั้งรกรากมากกว่าชาวทิเบตและมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจในเมืองมากกว่าการช่วยเหลือทางสังคมและชนบท แต่มันสามารถถูกแก้ไขได้ในตอนนี้





    การปกป้องวัฒนธรรม

    ศาสตราจารย์ บาร์เนตต์ แนะนำมาตรการต่างๆ ในการปกป้องวัฒนธรรมของทิเบตซึ่งจะไม่กดดันให้จีนต้องลดการควบคุมทางการเมืองลง

    "นโยบายเหล่านั้นมุ่งเน้นไปที่การจำกัดการอพยพเข้าของชาวจีนในระยะยาว และยังมุ่งเน้นไปที่การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพมากกว่าการท่องเที่ยวที่เน้นจำนวนคน และยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับชาวทิเบตมากกว่าการเจริญเติบโตของจีดีพี" เขากล่าว


    คำอธิบายประกอบ

    จีนกล่าวว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของตน
    ทิเบตมีอำนาจในการปกครองตัวเองก่อนศตวรรษที่ยี่สิบ
    ปี 1950 จีนระดมกองทัพเข้าโจมตีชาวทิเบตที่ต่อต้านการปกครองอันนำไปสู่การประท้วงที่นองเลือดในปี 1959
    ผู้นำทางจิตวิญญาณคือท่านทะไล ลามะลี้ภัยเข้าไปในอินเดีย



    "นอกจากนี้ยังสามารถมุ่งเน้นไปที่นโยบายช่วยเหลือแก่ชาวทิเบตที่เคยเสียเปรียบในอดีตในวงการธุรกิจและสถาบันทั้งหลายและยังมุ่งเน้นระบบสองภาษาในระดับโรงเรียนเพื่อที่ว่าภาษาทิเบตจะเป็นสื่อในการสอน"

    การยุติการห้ามประกอบกิจทางศาสนาต่อพระ แม่ชี นักศึกษาและลูกจ้างรัฐบาลจะทำให้ความตึงเครียดลดลงไปได้มหาศาล

    "มาตรการเหล่านั้นจะไม่เป็นอันตรายต่อการควบคุมของรัฐบาลจีนแม้แต่น้อย"เขากล่าว

    แคท เซาน์เดอร์ส์แห่งองค์การนานาชาติเพื่อเอกราชของทิเบตเห็นพ้องด้วย

    "หากมีการป้องกันไม่ให้ชาวจีนอพยพเข้ามา การตื่นตระหนกว่ามีการอยู่ร่วมกันของคนเชื้อชาติต่างกันในหลายพื้นที่จะเปลี่ยนไปอย่างมาก และนั้นจะเป็นการแก้ไขปัญหา" เธอบอกกับบีบีซี

    "การลงทุนในเรื่องของสุขภาพและการศึกษามากว่าโครงสร้างพื้นฐานเช่นถนนและทางรถไฟจะช่วยให้ความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น" เธอเสริม

    ในเวลานี้ อัตราการไม่รู้หนังสือของชาวทิเบตที่สูงมากเป็นอุปสรรคสำหรับพวกเขาไม่ให้แข่งขันกับผู้อพยพชาวจีนฮั่น

    "ในที่สุดแล้ว ทางแก้ไขเพียงอย่างเดียวก็คือการทำให้การพัฒนาเป็นของชาวทิเบตนั้นคือยินยอมให้ชาวทิเบตมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจของพวกเขาเอง"แคท ซาน์เดอร์ส์กล่าว







    ป้ายในมือของหู จินเทา : ทะไล ลามะอยู่เบื้องหลังการจลาจล
    ท่านทะไล ลามะ : ขอบคุณที่อุตสาห์ยอมรับว่ามีการจลาจลในทิเบต

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×