ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #87 : ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ

    • อัปเดตล่าสุด 11 ต.ค. 52


    ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ

    ผมเพิ่งค้นพบบทความชิ้นนี้ในเวปไซด์ของ BBC ได้เมื่อสองวันก่อน เขียนโดยนาย Paul Reynolds ชื่อว่า Hiroshima argument rage 60 years on แปลว่า “ข้อถกเถียงเกี่ยวกับฮิโรชิมายังคงดุเดือดมาจนถึงหกสิบนี้” และพบว่าบทความชิ้นนี้ได้เปลี่ยนความคิดของผมซึ่งก็เหมือนกับความคิดของคนทั่วไปที่ว่า การทิ้งระเบิดปรมาณูของสหรัฐฯ สองลูกทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ ความจริงแล้ว ความเชื่ออย่างนี้ยังมีปัญหาในการตีความทางประวัติศาสตร์อยู่มาก ก็เลยแปลมาให้ท่านอ่าน ในวงเล็บนั่นคือ การขยายความของผมเอง

    http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/4724793.stm


    ในวาระครบรอบ หกสิบปีของการทิ้งระเบิด ปรมาณู ที่ฮิโรชิมา เกิดคำถามใหม่ขึ้นว่าจริงๆ แล้วจำเป็นหรือไม่ที่ต้องทิ้งอาวุธมหาประลัยนี้ ? และ การทิ้งระเบิดได้ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้จริงหรือไม่ ?

    จะมีคนสูญเสียชีวิตไปมากกว่านี้หรือไม่ถ้าสหรัฐฯ ไม่ทิ้งระเบิด ? ไม่เคยมีนักประวัติศาสตร์ตอบคำถามเหล่านี้ได้ตรงกันจริงๆ เลย

    และพวกเด็กๆ (ชาวอเมริกัน) ซึ่งพ่อของพวกเขาอาจจะถูกเคยถูกส่งไปบุกญี่ปุ่นในปี 1945 มักจะประหลาดใจว่า พวกเขาควรจะขอบคุณระเบิดปรมาณู ที่ถูกทิ้งลงในฮิโรชิมาในวันที่ 6 เดือนสิงหาคม และอีกครั้งที่ฮิโรชิมา (ในวันที่ 9) หรือไม่

    Churchill เปรียบเทียบการระเบิดเหล่านั้นว่า “การมาอีกครั้งหนึ่งของความโกรธกริ้ว” (น่าจะหมายถึงการที่พระเจ้ามาล้างโลกอีกครั้งตามในพระคัมภีร์หลังจากที่ปล่อยไฟมาทำลายเมืองโซดอมมาแล้ว)

    ประธานาธิบดีของสหรัฐ ฯ คือ Harry Truman ก็ตระหนักถึงความสำคัญของพวกมัน

    เมื่อเขาได้ทราบเรื่องว่า การทดลองระเบิดปรมาณูประสบความสำเร็จ ก็ตัดสินใจจะใช้มันโดยปราศจากการเตือนล่วงหน้า ดังที่เขาได้เขียนลงในบันทึกประจำวัน “เราได้ค้นพบอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มันอาจจะเป็นการทำลายล้างครั้งแรกที่ถูกพยากรณ์ใน ยุคของ Euphrates Valley ภายหลังของโนอาห์และ เรือ

    ทัศนคติของมนุษยชาติ จากนั้นก็แตกแยกกันต่อไปต่อคำถามที่ว่าทำไมถึงมีการตัดสินใจ (ในการทิ้งระเบิด)

    (ภาพของการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา)





    มุมมองของคนส่วนใหญ่เห็นว่า ทรูแมนทิ้งระเบิดปรมาณูเพราะว่าเป็นทางเลือกเพียงหนทางเดียวของการบุกญี่ปุ่น การทิ้งระเบิดเพลิงอย่างต่อเนื่องจะไม่นำไปสู่การยอมแพ้ของญี่ปุ่นเพราะกองทัพญี่ปุ่นพร้อมที่จะสู้จนหยดสุดท้าย แต่ สิ่งแรกที่อยู่ในความคิดของทรูแมนคือ เรื่องชีวิตของคนอเมริกัน

    ทรูแมนเขียนในบันทึกส่วนตัวว่า “ผมได้ถามนายพลมาร์เชลล์ว่าทหารอเมริกันจะต้องสูญเสียชีวิตเท่าไร ถ้าต้องยกพลขึ้นบก ณ พื้นที่ราบและตรงจุดอื่นๆ ของญี่ปุ่น เขาก็เสนอความคิดว่า การบุกเช่นนั้นจะทำให้ทหารๆ ล้มตายกันอย่างน้อยสุดก็ประมาณสองแสนห้าหมื่นคน”

    David McCullough ได้เขียนลงไปในหนังสือเขาเกี่ยวกับชีวประวัติของ ทรูแมนว่า แผนสำหรับการบุกญี่ปุ่นมีอยู่จริง

    “ น่าสังเกตอย่างมากว่า ไม่มีสิ่งบ่งชี้ถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการบุก จากทั้งสองฝ่าย (น่าจะหมายถึงทั้งฝ่ายทรูแมนและมาร์เชลล์ ) ประเด็นนี้ถูกมองข้ามมาเป็นเวลาหลายปีหลังจากนั้น”

    ทรูแมนก่อนหน้านี้ได้อนุมัติให้เสนาธิการทหาร เคลื่อนย้ายกำลังพลจำนวนกว่าหนึ่งล้านนายเพื่อเตรียมบุกญี่ปุ่นเป็น ครั้งสุดท้าย ในขณะที่ญี่ปุ่นมีทหารประจำการอยู่ในประเทศตนอยู่กว่า 2.5 ล้านนาย

    แต่ว่ามีการเจรจาเพื่อให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ เพียงพอแล้วหรือ ?
    จุดยืนของฝ่าย สัมพันธมิตรคือต้องการให้ญี่ปุ่นยอมแพ้อย่างไร้เงื่อนไข เหมือนกับที่เยอรมันเพิ่งโดนมา

    อดีต เอก อัคราชทูตของสหรัฐ ประจำกรุงโตเกียวคือ นาย Joseph Grew แนะนำว่า ควรจะอธิบายพวกญี่ปุ่นให้เข้าใจอย่างชัดเจนว่าพวกเขาสามารถมีจักรพรรดิต่อไปได้ เขารู้สึกว่า สิ่งนี้จะทำให้การเจรจา ดำเนินต่อไปจนสำเร็จลุล่วง

    แต่ที่พวกสัมพันธมิตรทำได้อย่างมาก สุดคือการเสนอให้ประชาชนญี่ปุ่นมีสิทธิ์ในการตั้งรัฐบาลของตัวเอง ดังคำประกาศใน Potsdam ซึ่งเป็นการบอกโดยนัยว่าองค์พระจักรพรรดิยังคงอยู่ได้ แต่ภาษาไม่ได้ระบุถึงประเด็นนี้อย่างชัดเจน เพียงแต่พูดว่า ญี่ปุ่นต้องมีรัฐบาลที่รับผิดชอบและฝักใฝ่ไปทางสันติภาพ

    คำประกาศนี้ยังถูกเพิกเฉยโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งก็เกิดการแตกแยกกันขึ้นมาภายในเหมือนกัน แม้แต่ผู้สนับสนุนการเจรจา ยังไม่เห็นด้วยกับหลายๆ คำในประกาศ และพวกหัวรุนแรงยังเพิ่มเงื่อนไขที่ต้องการมากขึ้นไปอีก

    การเจรจาที่ไม่สมบูรณ์

    “การแข่งขันกับศัตรู” (Racing the Enemy) คือหนังสือเล่มใหม่ที่มีการตีความใหม่แบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินของเหตุการณ์ครั้งนั้น นายซึโยชิ ฮาซะกาวา ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษา สงครามเย็นของมหาวิทยาลัย California Santa Barbara คนเขียน กล่าวโทษทั้งสตาลินและทรูแมนที่ไม่พยายามทำอะไรไปมากกว่านี้เพื่อเจรจาเพื่อให้ญี่ปุ่นยอมแพ้

    เขายังอ้างด้วยว่า เพราะการที่โซเวียตเข้ามาทำสงครามกับญี่ปุ่นแค่ภายหลังการระเบิดที่ฮิโรชิมา ทำให้ญี่ปุ่นวิตกกังวลอย่างแท้จริง และทำให้พวกเขายอมแพ้ในที่สุด นาย เฮซะกาว่ายังกล่าวอีกด้วยว่า สตาลินปฏิเสธ การหยั่งเชิงเพื่อยุติสงครามโดยญี่ปุ่น เพราะเขามุ่งมั่นที่จะเอาผลประโยชน์จากการเข้าร่วมสงคราม และ สหรัฐฯ ก็ปฏิเสธการหยั่งเชิงแบบนี้จากการตีความรหัสลับของญี่ปุ่น เพราะว่าไม่ ชอบมัน

    ทรูแมนปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงความต้องการ“การยอมแพ้อย่างไร้เงื่อนไข” เพราะเขาต้องการล้างแค้นการที่ญี่ปุ่นมาโจมตี Pearl Harbor เพื่อเรียกร้องคะแนนความนิยมจากประชาชนอเมริกันและต้องการแสดงอำนาจ


    ดังนั้น นาย เฮซะกาว่า เห็นว่า โอกาสที่จะให้ยุติสงครามอย่างไม่นองเลือดจึงได้หมดไป ความเข้าใจที่ว่า การทิ้งระเบิดปรมาณู เท่านั้นจะทำให้สงครามสิ้นสุดลง ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบรรเทาความรู้สึกผิดบาปที่มีอยู่ใน สำนึกของ ประธานาธิบดี ทรูแมนและชาว อเมริกันทั้งปวง



    นาย เฮซะกาว่า ยังอ้างว่าบรรดาผู้นำหัวรุนแรงของญี่ปุ่นไม่ได้วิตกกังวลมากจนเกินไปเกี่ยวกับความพินาศที่เกิดจากระเบิดปรมาณู เพราะการทิ้งระเบิดตามปกติของอเมริกาก็ทำให้เสียหายพอๆ กันหรืออาจจะเลวร้ายกว่าด้วยซ้ำ

    นาย โกเระชิกะ อนามิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยอมรับความพ่ายแพ้อย่างใจเย็นและเปรียบเทียบการทำลายล้างญี่ปุ่นเหมือนกับการร่วงโรยของดอกไม้

    ตามทฤษฎีของนายเฮซะกาวา สิ่งที่ทำให้คนญี่ปุ่นตื่นตระหนก คือกองทัพแดง ญี่ปุ่นยอมแพ้เพราะรับไม่ได้ที่กองทัพของโซเวียตเข้ามาร่วมบุกและเข้ายึดครองในบางส่วนของประเทศตน ดังประวัติศาสตร์แห่งความขัดแย้งกับรัสเซียในอดีต

    การตีความครั้งนี้ขัดแย้งกับ ทฤษฎีของนักประวัติศาสตร์อเมริกันคือ Richard B Frank เจ้าของ หนังสือ “Downfall” ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1999

    นายแฟรงค์สรุปว่า เป็นเรื่องเพ้อฝัน ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ที่จะเชื่อว่า การใช้ระเบิดปรมาณูจะช่วยให้สงครามสิ้นสุดลง เขาศึกษา ความพยายามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น คือนาย ชิเกะโนริ โตโกที่จะเปิดการเจรจากับทางมอสโคว์ ซึ่งเขาได้ชี้ให้เห็นว่า การเจรจาไร้ประสิทธิภาพและไม่มีความแน่นอนชนิดที่ว่า เอกอัครราชทูต ของญี่ปุ่นประจำกรุงมอสโคว์คือ นายนาโอตากะ ซาโตะยังดูถูกดูแคลนการเจรจาครั้งนี้

    ซาโตะได้ส่งโทรเลขหลายๆ ฉบับเป็นเชิงตำหนิไปยังเจ้านายของเขา โดยเน้นให้เห็นถึง ความไร้ประโยชน์ของสิ่งที่ญี่ปุ่นยื่นเสนอให้ทางรัสเซีย ซึ่งทางฝ่ายอเมริกันก็รู้เรื่องดีจากการอ่านการโต้ตอบระหว่างโตโกกับซาโตะ

    นาย แฟรงค์เห็นว่า เพื่อทำให้ข้อเสนอที่จะคงจักรพรรดิไว้ส่งผลที่แน่นอน นายโตโกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เองได้บอกซาโตว่า การตีความคำว่า “ยอมแพ้”ที่มีคำยืนยันอย่างนั้นด้วย ยังไม่เพียงพอ ตามความจริงแล้ว รัฐมนตรีเช่น อนามิยังเพิ่มเงื่อนไขหลายอย่างเข้าไปในตอนท้ายรวมไปถึง คำปฏิเสธไม่ให้ญี่ปุ่นถูกยึดครองแม้แต่น้อย

    มุมมองของนาย เฮซะกาว่า ที่ว่า พวกรัสเซียคือสาเหตุของการยอมแพ้ของญี่ปุ่นไม่ใช่ระเบิด ดูจะไม่เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์หัวเก่า

    นี่เป็นเพราะ ถึงแม้จะจริงที่ว่า ระเบิดปรมาณูไม่ได้ทำให้อนามิและลูกน้องยุติการเรียกร้องให้ต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร มันก็ได้นำไปสู่การแทรกแซงอย่างจริงจัง จากจักรพรรดิ์ ฮิโรฮีโต้

    สมเด็จพระจักรพรรดิทรงออกมามีกระแสพระราชดำรัสอย่างเด็ดขาดต่อหน้าคณะรัฐมนตรี (เพื่อต้องการยุติสงคราม ซึ่งก่อนหน้านี้ในวันที่ 22 มิถุนายน พระองค์ก็ได้ตรัสเกี่ยวกับแผนสันติภาพ)เกี่ยวกับระเบิดปรมาณู ซึ่งได้ส่งผลต่อพระองค์ (ในการประกาศยอมแพ้วันที่ 15 สิงหาคม) และกระแสพระราชดำรัสนี้ได้ดึงตัวอนามิเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ถึงแม้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคิดจะทำรัฐประหารและปลิดชีพตัวเองหลังจากนั้นไม่นานนัก (ด้วยวิธีฮาราคีรีตัวเอง)

    การถกเถียงยังคงมีอยู่ต่อไป ที่การประชุมจัดโดยองค์การ Greenpeace ที่ลอนดอนเพื่อฉลองครบรอบหกสิบปีของการสิ้นสุดสงคราม ศาสตราจารย์ Mark Selden แห่งมหาวิทยาลัย Binghamton แห่งนิวยอร์ก ได้อ้างว่า การตัดสินใจของทรูแมนเกิดจาการครุ่นคิดทางกลยุทธ โดยกล่าวว่า

    “ ความเชื่อที่ว่า การทิ้งระเบิดสามารถทำให้สงครามสิ้นสุดเร็วขึ้น จะทำให้อำนาจของสหรัฐมั่นคงขึ้นอย่างมหาศาลในเอเชีย”

    แท้จริงแล้ว มันเกิดจากการแข่งขันกับพวกรัสเซีย ระเบิดปรมาณู คือการประกาศให้โลกรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของสหรัฐ ฯ และยังเป็นการหยุดยั้งไม่ให้พวกรัสเซียคืบหน้าไปยังญี่ปุ่น และการทิ้งระเบิดยังทำให้สหรัฐ เข้ามามีอำนาจในการยึดครองญี่ปุ่น ดังที่เป็นมาในประวัติศาสตร์


    David McCullough ได้ยกการตีความแรงจูงใจของ ทรูแมน อย่างไม่ซับซ้อนเท่าว่า

    "ประธานาธิบดีหรือคนอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจครั้งนี้จะสามารถตอบคนอเมริกันได้อย่างไรถ้า ภายหลังการนองเลือดจากการบุกญี่ปุ่น แล้วมารู้กันว่าอาวุธที่มีอำนาจร้ายแรงพอพอจะยุติสงครามถูกสร้างเสร็จในช่วงกลางฤดูร้อน แต่ ไม่ยอมใช้”

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×