ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #84 : 10 สุดยอดชนิดพันธุ์ที่ค้นพบใหม่ในโลก ปี 2552

    • อัปเดตล่าสุด 11 ต.ค. 52


    นับ เป็นปีที่ ๒ แล้ว ถ้าหากนับว่าปีที่แล้วเป็นปีแรกในการประกาศชื่อ ๑๐ สุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ของโลก โดยสถาบันนานาชาติเพื่อการค้นพบสิ่งมีชีวิต

    ใน ปีนี้ได้มี การประกาศผลไปเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา โดยอาจถือได้ว่าการประกาศผลนี้เป็นการร่วมฉลองวันคล้ ายวันเกิดของ คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) นักวิทยาศาสตร์ผู้เป็นต้นคิดในการจัดระบบการจำแนก และตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามอนุกรมวิธานสมัยใหม่

    โดย อาจนับ ให้ปี 2550 เป็นปีที่ครบรอบวันคล้ายวันเกิดครบ 300 ปีของเขา และเป็นปีที่ 250 ในการที่มีการจัดทำระบบการตั้งชื่อสัตว์ มีการประมาณการกันว่าตั้งแต่มีการอธิบายถึงการตั้งชื ่อพืชและสัตว์ในระบบ ใหม่นี้ มีการตั้งชื่อให้กับสิ่งมีชีวิตไปแล้วกว่า 1.8 ล้านชนิด นักวิทยาศาสตร์ยังประมาณการอีกว่าในโลกนี้มีสิ่งมีชี วิตตั้งแต่ 2 -100 ล้านชนิด และสามารถค้นพบใหม่ได้ถึง 10 ล้านชนิด

    (ถ้า หากเราจะนับว่า การคัดเลือกของสถาบันในปี 2550 และประกาศผลครั้งแรกในปี 2551 ดังนั้นในปีนี้จึงเป็นการประกาศผลการคัดเลือกเป็นครั ้งที่ 2)

    โดย ในปีที่ผ่านมามีการรายงานสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ถึง 18,516 ชนิด โดยคณะกรรมการมีความเป็นอิสระในการพิจารณาที่จะคัดเล ือกจากคุณสมบัติที่มี เอกลักษณ์เฉพาะ (unique attributes) หรือความจริงที่สร้างความประหลาดใจของชนิดพันธุ์ (surprising facts) รวมไปถึงชื่อที่แปลกประหลาด ( peculiar name)

    ใน การประกาศผลรายชื่อ ๑๐ ชนิดพันธุ์นี้ในเวบไซต์ species.asu.edu ไม่ได้กำหนดลำดับหน้าหนัง ว่าชนิดใดเป็นอันดับแรกหรืออันดับท้าย (ในความเห็นของผู้แปล ๑๐ ชนิดนี้มีความสำคัญเท่ากันหมด เพียงแต่เรามักชอบการจัดอันดับมากกว่า เพราะเท่าที่อ่านในเวบไซต์นั้นก็ไม่พบว่ามีการเรียงอ ันดับแต่อย่างใด แม้กระทั่งในการประกาศผล ก็เริ่มต้นที่ม้าน้ำแคระก่อน แล้วกระโดดไปยังต้น”ลาน” เลยทันที)

    ดังนั้น ถ้าแบ่งเป็นกลุ่มๆ อาจจะแบ่งได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับ โดยเริ่มจากสัตว์อย่าง


    Click the image to open in full size.


    ม้าน้ำขนาดแคระขนาดเท่ากับเมล็ดถั่่ว (Pea-size Pony)
    ม้าน้ำตัวนี้มีชื่อสามัญว่า Satomi's Pygmy Seahorse ชื่อวิทยาศาสตร์ Hippocampus satomiae มีขนาดความยาวลำตัวเพียง 13.8 มิลลิเมตร (0.54น้ิว) และยาวเพียง 11.5 มิลลิเมตร (0.45 นิ้ว) ชื่อของมันตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับ ซาโตมิ โอนิชิ ไกด์ดำน้ำที่เก็บตัวอย่างของม้าน้ำตัวนี้ได้ ในทะเลใกล้เกาะเดราวัณ ในรัฐกาลิมันตัน บนเกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย
    จากนั้ั้นจึงเป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช

    ปาล์มที่ออกดอกแล้วฆ่าตัวตาย (A Palm that Flowers Itself to Death)
    ปาล์มชนิดนี้ เป็นสกุล(Genus) และชนิด (species) ใหม่ของโลก ค้นพบในบริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะมาดากัสการ ์ ชื่อสามัญคือ Tahina Palm ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Tahina spectablilis

    Click the image to open in full size.

    ปาล์มสกุลใหม่นี้้แตกต่างจากปาล์มทุกชนิดในมาดากัสกา ร์มาก โดยนักพฤกษศาสตร์กล่าวว่ามันคล้ายคลึงกับปาล์มสามสกุ ลในอัฟกานิสถาน ภาคใต้ของประเทศไทย เวียดนาม และภาคใต้ของจีน โดยปกติแล้วต้นปาล์มเมื่อออกดอกผลจะสามารถดำรงชีวิตต ่อไปได้ แต่ปาล์มชนิดนี้เมื่อออกดอก ติดผลแล้ว ต้นจะตายลง(ว่าไปแล้วปาล์มชนิดนี้ก็เป็นญาติกับ “ต้นลาน” ของไทยเรา ที่่สมัยก่อนพบขึ้นอยู่ทั่วไปในภาคกลางของไทย โดยเฉพาะที่ อุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งเมื่อลานออกดอก ติดผลแล้ว ก็จะตายไปเหมือนกัน)
    สำหรับชื่อ Tahina ในภาษามาลากาซี แปลว่า “อวยพร ” หรือ “ให้ความคุ้มครอง” ('blessed' or 'to be protected') รวมถึงเป็นชื่อของ Anne-Tahina Metz ลูกสาวของผู้ค้นพบปาล์มชนิดนี้ ส่วนคำว่า spectabilis มาจากภาษาละติน มีความหมายว่าน่าสนใจ โดดเด่น
    เมล็ดกาแฟปลอดคาเฟอีน
    (เมล็ดนี้ไม่ต้องโดดก็ได้
    –No Jump in these beans ขำๆ นะครับ ก็เพราะมันไม่มีคาเฟอีน ก็เลยไม่กระตุ้นให้ต้องออกแรงกระโดด)

    Click the image to open in full size.

    กาแฟชนิดใหม่นี้มีชื่อสามัญว่า กาแฟชาริเยอร์ : Charrier coffee เป็นต้นกาแฟที่ปลอดสารคาเฟอีนชนิดแรกในโลก ที่ค้นพบในประเทศคาเมรูน อเมริกากลาง อันเป็นพื้นที่ที่ถือเป็นศูนย์กลางความหลากหลายของพื ชในสกุลกาแฟ (Genus Coffea) ซึ่งมันมีความสำคัญมากในการที่สามารถนำมาผสมพันธุ์กั บกาแฟชนิดอื่นๆ เพื่อให้เกิดกาแฟที่ปลอดคาแฟอีนมากขึ้นในอนาคต
    มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Coffea charrieriana โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับ ศาสตราจารย์ A Charrier ซึ่งเป็นนักปรับปรุง สะสม และพัฒนาพันธุ์กาแฟ และนักวิจัยเกี่ยวกับกาแฟมายาวนานกว่า 30 ปี
    จากนั้นจึงเป็นชนิดที่น่าสนใจที่สุด ซึ่งเป็นหมวดหมู่ใหม่ที่เข้ามาในปีนี้คือกลุ่มแบคทีเรีย Spray-on New Species
    Click the image to open in full size.

    แบคทีเรียชนิดนี้ค้นพบในสเปรย์ฉีดผมโดยนักวิทยาศาสตร ์ชาวญี่ปุ่น ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Microbacterium hatanonis นั้น ตั้งเพื่อเป็นเกียรติให้กับ ดร. คาซูโนริ ฮาตาโนะ (Dr. Kazunori Hatano) สำหรับการที่เขาเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดความเข้าใจในก ารเรียนรู้ในสกุล “ไมโครแบคทีเรียม” (Genus Microbacterium)
    ที่น่าตื่นใจก็คือมันเป็นแบคทีเรียจำพวก extremophile bacteria – สำหรับเอกซ์ตรีมโมไฟล์สนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถ ปรับตัวอยู่ในอุณหภูมิ แรงกด หรือเคมี ที่มีค่าความเป็นกรดสูงหรือในสภาพแวดล้อมที่เค็มข้น (An organism adapted to living in conditions of extreme temperature, pressure, or chemical concentration, as in highly acidic or salty environments) ยกตัวอย่างบางชนิดจะอยู่ในน้ำพุร้อนปากปล่องภูเขาไฟเ ป็นต้น (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Extremophile
    ต่อไปนั้นเป็นแมลง
    Phantastic Phasmatid : แมลงที่แสน Fantastic (อันนี้ผมว่าเป็นการเล่นคำแหละครับ คนที่เก่งอังกฤษมากๆ ช่วยกันหน่อย ผมค้นแล้วก็หาคำแปลเหมาะๆ ไม่ได้เลย)

    Click the image to open in full size.

    แมลงชนิดนี้เข้ามาอยู่ในทำเนียบสิบอันดับได้ ก็เพราะมมันมีความยาวของลำตัวถึง 35.6 ซม. (14 นิ้ว) แต่ถ้านับรวมความยาวของขาไปด้วยจะยาวถึง 56.7 ซม. (22.3 นิ้ว) ทำให้มันเป็นแมลงที่มีความยาวมากที่สุดในโลกที่ยังมี ชีวิตอยู่ในโลก เจ้าแมลงที่มีรูปร่างเหมือนไม้เท้า (หรือจะว่าไปแล้วมันเหมือนตั๊กแตนกิ่งไม้ที่เคยพบบ่อ ยๆ ในบ้านเราแถบนี้) พบที่อูลู มอยอก เมืองเปนัมปัง รัฐซาบาห์ บอร์เนียว มาเลเซีย
    ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันคือPhobaeticus chani ชื่อนี้ตั้งขึ้นเป็นเกียรติให้กับ C. L. Chan (โกตา คินาบาลู ,ซาบาห์) – (ในเวบไม่ได้บอกเสียด้วยสิว่าแกเป็นใคร)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×