ลำดับตอนที่ #8
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #8 : ทรงประกาศอิสรภาพ
ทรงประกาศอิสรภาพ ..... ปีพศ.๒๑๒๖ พระเจ้าอังวะคิดแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงได้ สั่งให้ประเทศราช (เมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ลาว และกรุงศรีฯ)ยกทัพไปปราบ สมเด็จพระนเรศวรทรงรอโอกาศที่จะแข็งเมืองอยู่เช่นกัน จึงทรงเดินทัพช้าๆเพื่อรอ ฟังผลการรบ ถ้าทางหงสาวดีชนะก็จะทรงกวาดต้อนคนไทยกลับกรุงศรีอยุธยา แต่ถ้าทางหงสาวดีแพ้ก็จะทรงยกทัพไปตีซ้ำ แต่ว่าทางหงสาวดีก็ไม่ไว้ใจสมเด็จพระนเรศวรอยู่แล้วจึงคิดจะกำจัด โดยสั่งให้พระยาเกียรติและพระยารามซึ่งเป็นมอญไปรับเสด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง รอตีขนาบหลังจากที่ทัพพระมหาอุปราชเข้าโจมตี ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรทำให้พระยาเกียรติและพระยารามนำความ เข้ามาปรึกษามหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์ พระมหาเถรคันฉ่องจึงนำเรื่องกราบทูล สมเด็จพระนเรศวรและเล่าความจริงทั้งหมดที่ทางหงสาวดีคิดไม่ซื่อ สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียกประชุมแม่ทัพนายกอง นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยพระยาทั้งสองเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน แล้วทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดไม่ซื่อจะหลอกฆ่าพระองค์ เวลาในการประกาศอิสรภาพได้มาถึงแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร(น้ำเต้าทอง) ทรงประกาศแก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า " ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรต่อกันดังแต่ก่อนสืบไป " พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๑๒๗ ณ.เมืองแครง จากนั้นพระองค์ ทรงมีดำรัสถามชาวมอญที่อยู่ในเมืองแครงว่าจะอยู่ข้างไทยหรือพม่า ส่วนมากจะอยู่ข้างไทยแล้วทรงรับสั่งให้จัดทัพเพื่อไปตีเมืองหงสาวดี
สมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง จวนจะถึงหงสาวดีก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้าอังวะ และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาให้เดินทาง กลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำ สะโตงไปจนหมด แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย(แสดงถึงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก) ขณะนั้นพระมหาอุปราช(มังสามเกียด)ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ ๔๐๐ เมตร ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำทรงประทับพระแสงปืนยาว ๙ คืบหรือ ๒ เมตร ๒๕ เซ็นติเมตร (แล้วทรงอธิฐานถ้าการ กู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก) ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป พระแสงปืนต้นนี้มีนามว่า “ พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ” หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา พร้อมด้วยพระมหาเถรคันฉ่องและพระยาเกียรติ พระยาราม และชาวมอญ โดยเดินทัพผ่านหัวเมืองมอญแล้วเข้าด่านเจดีย์สามองค์มาจนถึงกรุงศรีอยุธยา ทรงปูนบำเน็จให้กับพระยามอญทั้งสอง และทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชอีกด้วย
สมเด็จพระนเรศวรทรงราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พศ.๒๐๙๘ เป็นราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรี ทรงมีพระพี่ นางสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ
สมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง จวนจะถึงหงสาวดีก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้าอังวะ และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาให้เดินทาง กลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำ สะโตงไปจนหมด แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย(แสดงถึงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก) ขณะนั้นพระมหาอุปราช(มังสามเกียด)ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ ๔๐๐ เมตร ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำทรงประทับพระแสงปืนยาว ๙ คืบหรือ ๒ เมตร ๒๕ เซ็นติเมตร (แล้วทรงอธิฐานถ้าการ กู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก) ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป พระแสงปืนต้นนี้มีนามว่า “ พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ” หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา พร้อมด้วยพระมหาเถรคันฉ่องและพระยาเกียรติ พระยาราม และชาวมอญ โดยเดินทัพผ่านหัวเมืองมอญแล้วเข้าด่านเจดีย์สามองค์มาจนถึงกรุงศรีอยุธยา ทรงปูนบำเน็จให้กับพระยามอญทั้งสอง และทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชอีกด้วย
สมเด็จพระนเรศวรทรงราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พศ.๒๐๙๘ เป็นราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรี ทรงมีพระพี่ นางสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น