ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    >>เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเกาหลี<<

    ลำดับตอนที่ #7 : ชาชวนชิม...ในเกาหลีใต้

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.4K
      2
      10 มี.ค. 50

      ความหอมหวนและภูมิปัญญาแห่งชาเกาหลี
           ได้มีการกล่าวกันว่า ชาจะช่วยเพิ่มความน่าอภิรมย์แก่ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้รับแรงกระตุ้นจากเสียง อันยากที่จะหยั่งถึง ของกาน้ำชาที่กำลังเดือด น้ำที่เริ่มเป็นสีเขียวอ่อน ๆ ที่ซึมซาบออกจากใบชาในน้ำร้อน กลิ่นอันหอมหวน สัมผัสที่อบอุ่นกับทรวดทรงโค้งได้รูป ของถ้วยน้ำชา และรสชาติอันละเมียดลิ้น เพื่อให้เกิดกลิ่นอันหอมหวนที่สุดและคุณประโยชน์ที่ได้รับจากใบชา อย่างที่นักดื่มชายอมรับนั้นใบชาใบเดียวกัน ควรจะผ่านขั้นตอนการกลั่นกรองถึงสามขั้นเป็นอย่างน้อย  
      ประวัติศาสตร์ของชาในเกาหลี  
           ชาเกาหลีทั้งหมดทำจากใบ หรือก้านชาอ่อนของต้นชาในตระกูล คาเมลเลีย ซีเนนซิส  (Camellia sinensis) ต้นกำเนิดมา จากทางตะวันออกเฉียงใต้ ของจีน และเขตรัฐอัสสัมในอินเดีย ต้นชาของจีน ที่มีใบเล็กนั้นใช้สำหรับทำชาเขียว และชาอู่หลอง ในขณะที่ต้นชา ของเขตรัฐอัสสัมจากอินเดีย จะมีใบใหญ่เหมาะสำหรับเป็นชาดำ (ชาฝรั่ง) ต้นชาของจีน จะมีในเกาหลีมากกว่าต้นชาของอินเดีย ซึ่งเติบโตในความสูงเฉลี่ยที่ 60 ถึง 90 ซ.ม.
         ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ได้มีการนำชาเข้ามาสู่เกาหลีในปี ค.ศ. 828 เมื่อคิมแท-เรียม (Kim Dae-ryeom) ทูตซึ่งไปเจริญไมตรีกับจีน ในยุคการปกครองของกษัตริย์ ฮึง-ด๊อก (Heung-deok) แห่งอาณาจักรชิลลา (57 ปี ก่อนค.ศ. - ค.ศ. 918) ได้นำเมล็ดชามาจากจีน และทำการเพาะปลูกบนเขาชีริซาน (Mt. Jirisan) แต่ตำนาน และนิยายพื้นบ้านกล่าวว่า การกำเนิดของชาในเกาหลีนั้น ย้อนยุคไปก่อนช่วงเวลาตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์
         พิธีดื่มชาตามประเพณีโบราณเรียกว่า ดาโด (dado) นั้นได้มีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย ในหมู่ชนชั้นสูง ในยุคชิลลา ได้รับความนิยมกันมากขึ้นอย่างแท้จริง ในยุคราชวงศ์โคเรียว ที่สืบต่อมา (918-1392) กอร์เยวเป็นราชวงศ์ที่ถือพุทธ และพิธีดื่มชาแห่งสมาธิก็ได้กลายเป็นกิจวัตรประจำวัน ในหมู่ประชาชน และเป็นพิธีที่ขาดไม่ได้ ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวข้องกับประเทศ บรรพบุรุษ และทางพุทธศาสนา ดังนั้นภาชนะ และอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับชาอันวิจิตรจึงรังสรรค์ขึ้นในรูปร่าง และขนาดต่าง ๆ กันไป และภาชนะต่างๆที่ทำจากเครื่องปั้นดินเผายุคโคเรียว ก็ได้ถูกคิดค้นขึ้น ด้วยการเปลี่ยนยุคมาเป็นราชวงศ์โชซอน (1392-1910) ซึ่งเปลี่ยนศาสนาประจำชาติจากศาสนาพุทธมาเป็นลัทธิขงจื๊อ ทำให้การบริโภคชาค่อย ๆ น้อยลงไปเช่นเดียวกับพิธีการดื่มชา พิธีดื่มชา ซึ่งได้มีการปฏิบัติไว้จนถึงวันนี้นั้นถูกอนุรักษ์ไว้ โดยพระสงฆ์ แห่งนิกายเซน และนักปราชญ์วิชาขงจื๊อ ไม่นานมานี้เอง ที่พิธีได้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง

       
         
        ทุ่งชาป่าในฮวาแจ-เมียน, ฮาดอง, เคียงซางนัม-โด    
           ทุ่งชาป่าในฮวาแจ-เมียน, ฮาดอง, เคียงซางนัม-โด (Hwagae-myeon, Hadong, Gyeongsangnam-do) สภาพอากาศอันอ่อนละไมตั้งตามชื่อ ฮวาแจ (มีความหมายว่า "ดอกไม้บาน" ซึ่งอ้างถึงนิยายท้องถิ่น ซึ่งดอกไม้จะบานแม้แต่ในช่วงกลางฤดูหนาว) ประมาณปลายเดือนเมษายน หลังจากที่ดอกเชอรี่ ที่ได้เบ่งบาน แล้วกลับร่วงโรย บริเวณตามลำธารฮวาแจชอน ช่วงระหว่าง เขตฮวาแจ และวัดซางเกซานั้นต้นชาป่าก็เริ่มแตกกิ่งก้าน และให้กลิ่นหอมอันน่าอภิรมย์ บริเวณเขตฮวาแจ ซึ่งแม่น้ำซอมจินกังไหลคดเคี้ยว ไปตามตีนเขา ชีริซานนั้น พื้นดินจะอบอุ่นในช่วงกลางวัน แต่จะเย็นลง อย่างรวดเร็วใน ยามยันด้วยอากาศแบบภูเขา อันหนาวเย็น ทำให้เกิดการหันเหของอุณหภูมิ อย่างเด่นชัด
         ไอหมอกจากแม่น้ำในยามอรุณรุ่งที่ล่องลอยอยู่รอบๆหุบเขา และสายฝนกับสภาพผิวดินนั้นสมบูรณ์ เหมาะกับการปลูกชา อย่างที่สุด ภายในเขตนี้มีการปลูกชา ที่ได้รับการกำหนดมาเป็นพิเศษ ว่าจะถวายเป็น ของบรรณาการ โดยเฉพาะแก่ราชนิกูลตั้งแต่ยุคโคเรียว จนถึงยุคโชซอน เทศกาลชาน้ำค้างภูเขาฮาดอง จัดขึ้นบริเวณวัดซังเกซาในเดือนพฤษภาคม 


         ชุนโซลเฮียนบนเทือกเขามูดึงซานในควางจู (Chunseolheon on Mt. Mudeungsan in Gwangju)
    ใกล้วัดชึงซิมซา (Jeungsimsa Temple) บนเทือกเขามูดึงซาน คือชุนโซลเฮิน (อนุสาวรีย์ แห่งจังหวัดควางจู หมายเลข 5) ห้องทำงานศิลปะของนักวาดภาพแนวตะวันออกผู้มีชื่อเสียง เฮียว แบค-เรียน ท่านเฮียวได้สร้างผลงานชิ้นเอกไว้มากมาย ที่นี่ในขณะที่ได้สอนลูกศิษย์ไปในเวลาเดียวกัน เป็นเวลา 30 ปีกระทั่งวันสุดท้ายในชีวิต ในระหว่างเวลานั้นท่านได้เพาะปลูกพุ่มชาบนมูลดินรอบ ๆ ห้องทำงานศิลปะของเขา และนั่นคือต้นกำเนิดของชุนซอนลชา (Chunseolcha) ชาหิมะใบไม้ผลิอันพิเศษแห่งภูมิภาคนี้ในปี 1993 ควางจู ได้กำหนดให้ชุนซอลชาเป็นสิ่งพิเศษ แห่งควางจู หมายเลข 1


       
         
      พิพิธภัณฑ์แสดงพิธีดื่มชา  
           พิพิธภัณฑ์มีการจัดห้องแสดงนิทรรศการ ศูนย์ให้การศึกษา และพื้นที่จัดนิทรรศการรูปปั้นกลางแจ้ง ซึ่งเป็นอุทยานอันสวยงามแสดงรูปปั้นกลางแจ้ง 100 รูปและบริเวณสนามหญ้าใหญ่ ส่วนกลางซึ่งจะใช้เป็นศูนย์การศึกษาเรื่องชากลางแจ้ง ที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ด้วย ได้แก่สิ่งอำนวยความสะดวกอันหลากหลายเช่น เฉลียง ลานสำหรับทูโฮ (tuho) (เกมการขว้างลูกศรแบบดั้งเดิม) และทะเลสาบหนึ่งแห่งพิพิธภัณฑ์อยู่ท่ามกลางป่าหนาทึบ ซึ่งจะได้บรรยากาศและภูมิทัศน์อันงดงาม


       
      พิพิธภัณฑ์ชาพูซาน (Busan Tea Museum)    
           พิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุเกี่ยวกับชา ในยุคสามอาณาจักรในโบราณ และในช่วงราชวงศ์โคเรียว และโชซอนรวมทั้งทรัพย์สมบัติประเภทเครื่องปั้นดินเผา และภาชนะเครื่องเคลือบสำหรับใส่ชา แขกผู้มาเยือนจะได้รับการเชิญชวน ให้เข้าร่วมในพิธีดื่มชาแบบโบราณเรียกว่า ดาโด ที่หอดาโดกวาน (Dadogwan)


       
       พิพิธภัณฑ์ชา โอ ซุลลอค    
     

         เกาะเชชูได้รับของขวัญจากธรรมชาติ ให้เป็นที่ปลูกชาชั้นดีรวมทั้งสภาพดินฟ้าอากาศ ฟ้าฝน และผืนดิน พิพิธภัณฑ์ทรงถ้วยชาแห่งนี้ ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของเกาะเชจูจะจัดแสดงประวัติความเป็นมา และการผลิตชาและผลิตภัณฑ์ชาเขียวอันหลากหลาย มีห้องสำหรับจัดสัมมนา และหอชมวิวซึ่งจะได้สัมผัส กับภาพมุมกว้าง ของทุ่งชาที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี ด้านหน้ามีสวนแบบโบราณเล็ก ๆ ที่ตกแต่งอย่างสวยงาม

    เครดิต www.varietykorea.com

    *********************************************************

     เม้นให้ด้วยนะค่ะ  ขอบคุณที่เข้ามานะค่ะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×