ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #63 : สร้าง "ศิลาจารึกดิจิทัล" เก็บข้อมูลให้ได้ 1,000 ปี

    • อัปเดตล่าสุด 11 ต.ค. 52




    ศิลาจารึก แม้เก็บข้อมูลได้ไม่มาก แต่มีความมั่นคงยาวนานกว่าอุปกรณ์บันทึกข้อมูลดิจิทัล (บีบีซีนิวส์)




         แม้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน จะเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก แต่หากคิดถึงในระยะยาวแล้ว เราจะเก็บข้อมูลเหล่านี้ได้นานแค่ไหน เพราะมีข้อจำกัดทั้งเรื่องเทคโนโลยีและความคงทน

         เมื่อย้อนดู "ฟลอปปี้ดิสก์" อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่เราเพิ่งใช้กันมาเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนี้คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ อ่านแผ่นบันทึกข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้แล้ว หรือเรื่องความคงทนเมื่อเปรียบเทียบกับศิลาจารึก แม้จุข้อมูลได้น้อยกว่าแต่กินขาดเรื่องความคงทน คงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการเก็บข้อมูลดิจิทัลให้ยาวนานได้ถึง 1,000 ปี

         สำหรับความท้าทายที่ว่านี้บีบีซีนิวส์ระบุว่า กลุ่มนักวิจัยจากญี่ปุ่น อาจเป็นผู้เข้าถึงเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลดิจิทัลได้นานนับ 1,000 ปี ด้วยวิธีปิดผนึกอุปกรณ์ข้อมูลอย่างถาวร แต่มีวิธีอ่านง่ายๆ ที่จะทำได้ทั้งในปัจจุบัน และต่อเนื่องไปอีกเป็นศตวรรษ ซึ่งทีมวิจัยที่นำโดย ศ.ทาดาชิโร คุโรดะ (Tadahiro Kuroda) จากมหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) ในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งใจจะบันทึกข้อมูลดิจิทัลลงชิปที่ผลิตจาก "ซิลิกอน" ซึ่งทีมวิจัยระบุว่าเป็นวัสดุเสถียรที่สุดในโลก

         อุปกรณ์เก็บข้อมูลของทีมวิจัยญี่ปุ่น ดูคล้ายแผ่นดิสก์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 นิ้ว ซึ่ง ศ.คุโรดะอ้างว่า การผนึกอย่างหนาแน่น แล้วอ่านข้อมูลและให้พลังงานอุปกรณ์ความจำด้วยสัญญาณไร้สายนั้น ทำให้เก็บข้อมูลต่อไปได้อีกนับพันปี และกู้ข้อมูลกลับได้ราวเก็บข้อมูลไว้บนศิลาจารึก ซึ่งอุปกรณ์นี้มีชื่อเลียนศิลาจารึกของอียิปต์ว่า "ศิลาจารึกโรเซตตาดิจิทัล" (Digital Rosetta Stone) โดยศิลาจารึกโรเชตตาของอียิปต์นั้นมีอายุกว่า 2,200 ปี และถูกขุดพบโดยกองทัพของนโปเลียน (Napoleon)

         การพัฒนาวัสดุบันทึกข้อมูลดำเนินงานภายใต้โครงการห้องสมุดดิจิทัลโลก (The World Digital Library: WDLP) ซึ่งโครงการนี้ยังมุ่งหวังที่จะให้ทุกคนจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงวัสดุที่มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งตามข้อมูลจาก ศ.คุโรดะ บีบีซีนิวส์ระบุว่า โครงการนี้จำเป็นต้องใช้วัสดุที่อยู่ได้นานอย่างน้อย 1,000 ปี เก็บข้อมูลได้มากกว่าระดับเทราไบต์ และเข้าถึงข้อมูลได้ตามเวลาจริง ซึ่งเขาเชื่อว่าระบบผนึกข้อมูลแบบถาวรของทีมนั้นจะตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ แต่ยังอยู่ในขั้นทดลองและคาดว่าจะเริ่มใช้ได้จริงในอีก 10 ปีข้างหน้า

         กระบวนการบันทึกข้อมูล ทำได้โดยสลักข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์บนแผ่นซิลิกอน ซึ่งเป็นวิธีบันทึกข้อมูลที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล และเป็นวิธีที่ ศ.คุโรดะเชื่อว่าจะทำให้การเก็บข้อมูลนานนับศตวรรษนั้นเป็นได้จริง จากนั้นแผ่นเลเซอร์จะถูกนับซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทำให้ได้แผ่นดิสก์ที่สูง 14 นิ้ว จากนั้นปิดผนึกอย่างแน่นหน้าเพื่อป้องกันออกซิเจนและความชื้น ซึ่งทั้งสองปัจจัยยังเป็นปัญหาที่จะทำให้ไม่สามารถแผ่นซีดีและดีวีดีที่เก็บไว้ในอีก 30-100 ปี

         ตามข้อมูลของสมาคมเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลแสง (Optical Storage Technology Association: OSTA) ซึ่งใช้เวลาทดสอบแผ่นซีดีและดีวีดี พบว่าแผ่นซีดีเก็บข้อมูลได้ประมาณ 15 ปี ขณะที่แผ่นดีวีดีมีอายุสั้นกว่า คือเก็บข้อมูลได้เพียง 10 ปี ซึ่ง ศ.คุโรดะกล่าวว่าเป็นอัตราที่ต่ำมาก เมื่อถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเราสามารถเก็บหนังสือได้หลายร้อยปี

         ส่วนอุปกรณ์ที่บันทึกข้อมูลด้วยแม่เหล็กซึ่งพบมากในเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีนั้น จะสูญเสียข้อมูลภายใน 4-40 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสนามแม่เหล็ก แต่สำหรับอุปกรณ์กึ่งตัวนำหรือเซมิคอนดัคเตอร์อย่างซิลิกอนนั้น เก็บข้อมูลได้เป็นพันปี หากรักษาความชื้นรอบๆ ชิปซิลิกอนไว้ที่ 2% หรือต่ำกว่า

         ทั้งนี้ มีหลายฝ่ายที่พยายามหาวิธีเก็บข้อมูลดิจิตอลให้นานขึ้น เพื่อว่าลูกหลานในอนาคตจะไม่มองกลับมาเห็นแต่ความมืดมิดของ "ยุคดิจิทัล" โดยสมาคมเครือข่ายอุตสาหกรรมบันทึกข้อมูล (Storage Networking Industry Association: SNIA) ของสหรัฐฯ ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่พยายามสร้างอุปกรณ์บันทึกข้อมูลดิจิทัลให้อยู่ได้นาน 100 ปี แต่ก็ยังไม่มีใครเป็นแนวหน้าของความพยายามดังกล่าว และนักเทคโนโลยีชั้นนำของสมาคมนี้ก็รู้สึกประทับใจอย่างยิ่งต่อ "ศิลาจารึกโรเซตตาดิจิตอล"

         อย่างไรก็ดี เรายังอยู่บนเส้นทางที่แสนยาวไกล ในการเอาชนะอำนาจความคงทนในการบันทึกข้อมูลของแผ่นศิลา หรือแม้แต่แผ่นกระดาษ แต่การวิจัยเพื่ออายุที่ยาวนานของศิลาจารึกดิจิทัลและยังสามารถอ่านข้อมูลเหล่านั้นได้ เป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าต่อไป


    ขอบคุณข้อมูลดีดี : ผู้จัดการออนไลน์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×