ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #59 : รถไฟใต้ดินสายซาริน 1995

    • อัปเดตล่าสุด 6 ต.ค. 52


    ในแง่ประวัติศาสตร์แล้วมีการระบุว่าญี่ปุ่นนับถือลัทธิชินโตและศาสนาพุทธก็จริง แต่ในความเป็นจริงนั้น ชาวญี่ปุ่นส่วนมากในยุคปัจจุบันไม่ค่อยมีความรู้สึกว่าตัวเองนับถือศาสนาใดอย่างเฉพาะเจาะจงนัก ถ้าจะถาม คนจำนวนมากมักจะตอบว่าตนเป็นผู้ไม่มีศาสนาเสียมากกว่า (ไม่มีศาสนากับ"ไม่เชื่อในพระเจ้า"ไม่เหมือนกันค่ะ)จุดนี้เองที่เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนญี่ปุ่นรับเอาศาสนาและลัทธิต่างๆเข้ามาโดยไม่ค่อยมีข้อจำกัด แน่นอนว่ามีทั้งที่ดีและไม่ดี
    ลัทธิโอมชินริเคียวที่จะพูดถึงในวันนี้อาจจะเป็นตัวอย่างที่ดีเกินพอสำหรับลัทธิที่ไม่ดีก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี นี่เป็นข้อมูลที่รวบรวมมาโดยเขียนขึ้นประกอบกับความเห็นของข้าพเจ้าค่ะ ถ้าอ่านแล้วเกิดความไม่สบายใจหรือไม่พอใจก็ต้องอภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
    คุณ reafre ขอบคุณค่ะ สำหรับรีเควส

    Aum Shinrikyo (オウム真理教)


    อาซาฮาระ โชโค (1955 - )

    โอมชินริเคียวมีต้นกำเนิดมาจากโรงฝึกโยคะโอมโนะไค (สมาคมโอม) ที่ชิบูย่า ซึ่งอาซาฮาระ โชโค (ชื่อจริง - มัทสึโมโต้ จิซึโอะ) เจ้าลัทธิได้จดใบอนุญาติเป็นลัทธิอย่างถูกต้องตามกฏหมายที่ที่ทำการจังหวัดโตเกียวในวันที่ 25 สิงหาคม 1989
    หลังจากจดทะเบียนแล้ว โอมก็ย้ายฐานใหญ่ไปยังเมืองฟูจิมิยะ จังหวัดชิสึโอกะ มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศเช่น รัซเซีย หรือศรีลังกา เฉพาะสาวกในญี่ปุ่นนั้นมีอยู่ถึง 11,000 คนทีเดียว สาวกจะได้รับตำแหน่งและหน้าที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่ในกลุ่มแกนนำของลัทธิเป็นผู้มีการศึกษาสูงซึ่งจบมาจากมหาวิทยาลัยชั้นดีของญี่ปุ่น

    ชื่อของโอมตั้งมาจากตัวอักษรศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาในอินเดีย (บารามอน เป็นต้น) และตัวอักษรแต่ละตัวของโอมคือ A U M ก็มีความหมายถึง"การสร้างสรรค์" "การคงอยู่" และ"การทำลาย"ของจักรวาลซึ่งรวมทั้งหมดแล้วหมายถึง "อนิตยา" (ความไม่เที่ยงแท้) อันเป็นรากฐานของคำสอนของโอม
    ในช่วงนั้น ญี่ปุ่นกำลังเกิดกระแสนิยมเรื่องเหนือธรรมชาติ โอมได้รับแนะนำลงใน"มู"ซึ่งเป็นนิตยสารเรื่องมิสเทรี่ในฐานะ"สมาคมโยคะของญี่ปุ่น" ในเล่มมีการลงรูปการกระโดดทั้งๆนั่งขัดสมาธิซึ่งภายหลังถูกอ้างว่าเป็นต้นแบบของการลอยตัวกลางอากาศ

    คำสอนของโอมมีการใช้ศัพท์ภาษาอินเดีย (โดยเฉพาะของศาสนาฮินดู) ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นต้นว่าเทพศิวะ (ถือเป็นพระเจ้าของโอม อ้างว่าชื่อเดียวกับพระศิวะในศาสนาฮินดูก็จริง แต่พระศิวะเป็นเพียงภาคหนึ่งของเทพศิวะ และอาซาฮาระซึ่งเป็นเจ้าลัทธิ ก็เป็นภาคหนึ่งของเทพศิวะเช่นกัน) มีการนำศาสนาอื่นๆเช่นพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู เต๋า โซโลแอสเตอร์มาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโดยอ้างว่าทุกศาสนาล้วนมีหนทางเดียวกัน ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของคำสอนคือการปลีกตัวจากโลกภายนอกและเอาชนะตัณหาทั้งปวง

    ส่วนหนึ่งในคำสอนของโอม "วจิรยานา" มีการกล่าวถึง"กฏของสวรรค์ที่ไม่เป็นไปตามกฏของโลก"ซึ่งอ้างว่าการกระทำใดที่ขัดต่อกฏของสังคม แต่ไม่เป็นตัณหาและถูกต้องโดยเหตุผลทางใจ ในบางกรณีจะสามารถยอมรับว่าถูกต้องได้
    ตีความได้ว่า การฆ่าคนเป็นที่ยอมรับได้ถ้าคนที่ถูกฆ่าประกอบความชั่ว การชิงทรัพย์เป็นที่ยอมรับได้ถ้าเพื่อช่วยคนยากจนอื่นๆอีกมากมาย การโกหกเพื่อนำคนเข้าลัทธิเป็นเรื่องยอมรับได้เพราะเป็นการชี้ทางสว่าง ฯลฯ
    ในอีกแง่หนึ่ง มีการวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่าคำสอนตรงจุดนี้เป็นการหาข้ออ้างให้กับการกระทำของเจ้าลัทธิและสาวกในเวลาถัดมา

    มัทสึโมโต้ จิซึโอะเกิดเมื่อ 2 มีนาคม 1955 เป็นบุตรชายของช่างทำเสื่อตาตามิ ในวัยเด็กมีอาการพิการทางสายตาจึงถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนสำหรับผู้พิการทางตาประจำจังหวัดคุมาโมโต้ (เรียนวิชารักษาโรคด้วยการฝังเข็มและจี้ธูป)หลังจากเรียนจบตั้งเป้าหมายจะสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว จึงเข้าเรียนยังโยโยกิเซมินาร์ สาขาชิบูย่า (โรงเรียนพิเศษ)แต่ก็สอบตก
    กรกฎาคมปี 1976 ถูกปรับเนื่องจากทำร้ายร่างกายคนรู้จัก ปี 1977 เริ่มฝึกโยคะและวิชาเซียนและในปี 1978 ก็แต่งงานกับผู้หญิงที่รู้จักกันระหว่างเรียนที่โยโยกิเซมิน่าร์ ในปีเดียวกันนี้เอง เขาเปิดโรงพยาบาลสำหรับรักษาโรคด้วยการฝังเข็มที่จังหวัดจิบะและเปลี่ยนไปเป็นค้ายาสมุนไพรกับยาจีนในภายหลัง ในตอนแรก การบริหารงานเป็นไปด้วยดี จนกระทั่งในปี 1980 เขาถูกฟ้องศาลในข้อหายื่นเรื่องขอเงินประกันอย่างไม่ถูกต้องเป็นเงิน 6,700,000 เยน หลังจากนั้นจึงเข้าลัทธิอะกองชู
    ปี 1981 เปิดกิจการร้านขายยา หาในปีถัดมาก็ถูกจับเนื่องจากขายยาที่ไม่มีใบอนุญาติปละถูกปรับเป็นเงิน 200,000 เยน
    ปี 1984 เปิดโรงฝึกสอนโยคะ "สมาคมโอม" และมัทสึโมโต้ก็เริ่มใช้ชื่อว่าอาซาฮาระ โชโคตั้งแต่ตอนนี้นี่เอง ปี 1986 เขาอ้างว่าตัวเองไปที่เทือกเขาหิมาลัยและ"หลุดพ้น"(ตรัสรู้?)ที่นั่น จึงเปลี่ยนชื่อจาก"สมาคมโอม"มาเป็น"สมาคมเซียนโอม" ก่อนที่ในปี 1987 จะเปลี่ยนเป็น"โอมชินริเคียว"ในที่สุด หลังจากปีนี้มีการแสดงโชว์ปาฏิหารย์หลายอย่างเป็นต้นว่าการลอยตัวกลางอากาศ และมีสาวกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    ตุลาคม1989(คดีสังหารทนายซากาโมโต้และครอบครัว)ซากาโมโต้ สึสึมิ ซึ่งเป็นทนายที่ได้รับความไว้วางใจจากครอบครัวของสาวกให้รับผิดชอบคดีของโอมและเป็นผู้ตั้งสมาคมช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายจากโอมชินริเคียว ได้ทำการเจรจากับแกนนำของลัทธิ แต่ความเห็นไม่ลงรอยกันจนถึงขั้นแตกหักและไม่สามารถเจรจากันได้ อาซาฮาระเกรงว่าเรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่อการลงเลือกตั้งในปีหน้าจึงสั่งให้สาวกซึ่งเป็นแกนนำ (โอกาซากิ คาสึอากิ, นิอิมิ โมโมมิทสึ, มูราอิ ฮิเดโอะ, ฮายาคาว่า คิโนฮิเด, นากาคาว่า โทโมมาสะ, สึมิโมโต้ ซาโตรุ) ลงมือฆ่าซากาโมโต้
    4 พฤศจิกายน ทนายซากาโมโต้(33)ภรรยา(29)และลูกชายวัย 1 ขวบถูกฆ่า ศพทั้งสามถูกนำไปฝังแยกย้ายกันคนละจังหวัด ศพของพวกเขาถูกพบในเดือนกันยายนปี 1995
    * ตำรวจไม่ได้ให้ความสนใจกับคดีนี้เท่าที่ควรหลังจากที่ซากาโมโต้หายสาบสูญทั้งครอบครัว มีการวิจารณ์ว่าเพราะสาวกของโอมเข้ามาเกี่ยวข้อง บ้างก็วิจารณ์ว่าเพราะสำนักงานทนายที่ซากาโมโต้ทำงานอยู่เป็นคู่อริกับทางตำรวจ ฝ่ายตำรวจก็เพียงสรุปคดีว่าครอบครัวซากาโมโต้ยักยอกเงินหนี โดยไม่ได้มีการเคลื่อนไหวเป็นชิ้นเป็นอันนัก

    กุมภาพันธ์ปี 1990 อาซาฮาระลงสมัครเลือกสส.โดยเป็นตัวแทนจากพรรคชินริ แต่ก็สอบตก และอาจจะด้วยเหตุนี้ โอมจึงมองสังคมในฐานะศัตรูและเริ่มมีการเคลื่อนไหวที่รุนแรงขึ้น

    พฤศจิกายน 1993 ตั้งโรงงานซาริน (สารพิษ)
    9 พฤษภาคม 1994 ทนายทากิโมโต้ ทาโร่ซึ่งมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวต่อต้านโอม ถูกโจมตีด้วยแก๊สพิษซึ่งถูกซ่อนไว้ในรถ อาการสาหัสแต่รอดมาได้

    27 มิถุนายน 1994 (คดีซารินที่มัทสึโมโต้) มีการโปรยสารพิษซารินที่เมืองมัทสึโมโต้ จังหวัดนากาโนะ ตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 27 ถึงเช้าตรู่วันที่ 28 ผู้เสียชีวิต 7 ราย ผู้บาดเจ็บ 660 ราย นับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการใช้สารพิษในการก่อการร้ายซึ่งมีประชาชนทั่วไปเป็นเป้าหมาย และนี่ก็เป็นการทดลองเพื่อเตรียมการสำหรับเหตุร้ายในชินจูกุ

    ในระหว่างปี 1994 -1995 นี้ โอมได้มีการโจมตีและสังหารบุคคลภายนอกและอดีตสาวกเป็นจำนวนไม่น้อยด้วยแก๊สพิษ

    28 กุมภาพันธ์ 1995 (คดีลักพาตัว กักกันและสังหารข้าราชการเมืองเมะคุโระ) สาวกของโอมได้ลักพาตัวข้าราชการจากที่ทำการเมืองเมะคุโระ ด้วยสาเหตุว่าเจ้าตัวได้ซ่อนตัวน้องสาวซึ่งเป็นอดีตสาวกไว้ ผู้เคราะห์ร้ายถูกนำไปกักกันตัวที่ฐานของลัทธิ แต่เนื่องจากถูกให้ยาสลบเกินขนาดจึงเสียชีวิตในอีก 3 วันให้หลัง

    20 มีนาคม (คดีซารินรถไฟใต้ดิน)เวลา 8 โมงเช้า ในรถไฟใต้ดินจำนวน 5 สาย (มารุโนะอุจิ 2 สาย ฮิบิยะ 2 สาย จิโยดะ 1 สาย) ถูกหว่านด้วยซารินจำนวนมากเกิดเป็นแก๊สพิษทำให้คน 12 คนเสียชีวิต และบาดเจ็บ 5,510 คน เป็นคดีฆาตกรรมอย่างไม่เลือกตัวครั้งใหญ่ที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสร้างความตื่นตระหนกไปจนทั่วโลก
    การเดินทางโดยรถไฟใต้ดินเป็นอัมพาตไปเกือบอาทิตย์และผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากก็ยังต้องทรมานกับผลข้างเคียงของซารินจนทุกวันนี้ หลายคนกลายเป็นอัมพาตและหลายคนหลับไม่ได้สติ


    พื้นตู้รถไฟแฉะไปด้วยซาริน

    3 วันหลังจากเหตุร้ายที่ชินจูกุ ตำรวจบุกเข้าลัทธิโอม และในวันที่ 16 พฤษภาคม ก็สามารถจับกุมอาซาฮาระพร้อมแกนนำได้ อาซาฮาระถูกฟ้อง 17 คดี ซึ่งเจ้าตัวปฏิเสธข้อหา 16 คดี (อีกคดีอยู่ระหว่างพิจารณา) ในศาล เขามักจะแสร้งทำตัวพูดไม่รู้เรื่องหรือแกล้งบ้าเพื่อจะได้พ้นข้อกล่าวหาเนื่องจากไม่มีความสามารถในการรับผิดชอบ

    ปี 2006 อาซาฮาระถูกตัดสินโทษประหารในการพิพากษาขั้นที่ 1 พร้อมกับสาวกหลายคน จะอย่างไรก็ดี ยังมีสาวกอีกหลายคนอยู่ระหว่างการหลบหนีจนปัจจุบันนี้


    ใบประกาศจับสาวกที่ก่อคดี

    ปัจุบันโอมชินริเคียวได้เปลี่ยนชื่อเป็น
    Alephและยังคงเผยแพร่ลัทธิตามปกติจนทุกวันนี้

    จาก http://ohx3.exteen.com/20061129/aum-shinrikyo
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×