ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #48 : United Nations (สหประชาชาติ)

    • อัปเดตล่าสุด 20 ก.ย. 52


    สหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (อังกฤษ: United Nations หรือ UN ; ฝรั่งเศส: Organisation des Nations Unies ; สเปน: Organización de las Naciones Unidas ; อาหรับ: الأمم المتحدة  ; จีน: 联合国 (聯合國 ; รัสเซีย: Организация Объединённых Наций) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นองค์การระหว่างประเทศที่กำเนิดขึ้นเป็นองค์การที่สองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ต่อจากสันนิบาตชาติ ปัจจุบันสหประชาชาติมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 192 ประเทศ (เกือบทุกประเทศในโลก) จุดประสงค์คือการนำทุกชาติทั่วโลกมาทำงานร่วมกันเพื่อสันติภาพและการพัฒนาโดยอยู่บนหลักพื้นฐานของความยุติธรรม ศักดิ์ศรีของมนุษย์ และความกินดีอยู่ดีของทุกคน นอกจากนี้ยังให้โอกาสประเทศต่าง ๆ สร้างดุลแห่งการพึ่งพาอาศัยกันและรักษาผลประโยชน์ชาติในกรณีที่เกิดปัญหาระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มนุษยธรรม ให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน และเป็นศูนย์กลางในการร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ

    จากจุดเริ่มต้นที่สหประชาชาติกำเนิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองโดยฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงคราม ทำให้โครงสร้างขององค์การสะท้อนถึงสภาวะในขณะที่ก่อตั้ง สหประชาชาติมีสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงอยู่ 5 ประเทศ อันประกอบด้วย สาธารณรัฐประชาชนจีน (แทนที่สาธารณรัฐจีน) ฝรั่งเศส รัสเซีย (แทนที่สหภาพโซเวียต) สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา สมาชิกถาวรทั้ง 5 ชาติมีอำนาจยับยั้งในมติใด ๆ ก็ตามขององค์การ

    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอมีผลกระทบต่อการตอบสนองและการตัดสินใจของสหประชาชาติ ความตึงเครียดในสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์การในช่วง 45 ปีแรกหลังการก่อตั้ง เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองผ่านพ้นไป การปลดปล่อยอาณานิคมในทวีปแอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง ทำให้เกิดความท้าทายใหม่ ๆ ทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

    แม้สงครามเย็นจะยุติลงไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2534 สภาพภูมิรัฐศาสตร์ที่เปราะบางมากยิ่งขึ้น ทำให้บทบาทของสหประชาชาติถูกจับตามอง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ความท้าทายที่สหประชาชาติกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สงครามกลางเมือง การหลั่งไหลของผู้ลี้ภัยออกนอกประเทศ การแพร่เชื้อเอดส์ ภาวะไร้เสถียรภาพของการเงินระหว่างประเทศ การก่อการร้ายระดับสากล และช่องว่างที่กว้างมากยิ่งขึ้นระหว่างประเทศยากจนกับประเทศร่ำรวย

    ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 6 องค์กรหลัก ได้แก่ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ สำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกเช่น องค์การอนามัยโลก ยูเนสโก และยูนิเซฟ เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มักเป็นที่รู้จักและปรากฏตัวต่อสาธารณชนคือเลขาธิการสหประชาชาติ ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งนี้ คือ นายปัน กี มุน ชาวเกาหลีใต้ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ต่อจากโคฟี อันนัน
    ภูมิหลัง

    ก่อนที่สหประชาชาติจะถือกำเนิดขึ้น มีความพยายามรวมกลุ่มกันของชาติต่าง ๆ ทันทีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลงโดยใช้ชื่อว่าสันนิบาตชาติซึ่งเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาแวร์ซาย เป็นเพราะประชาชนจำนวนมากในฝรั่งเศส แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าองค์กรโลกที่ประกอบด้วยชาติต่าง ๆ จะสามารถรักษาสันติภาพและป้องกันความน่าสะพรึงกลัวของสงครามอย่างที่เกิดในยุโรปช่วงปี พ.ศ. 2457-2461

    เบื้องต้นสันนิบาตชาติมีสมาชิก 42 ประเทศโดยมีประเทศที่ไม่ได้อยู่ในยุโรปถึง 26 ประเทศ จุดหมายหลักของสันนิบาตชาติมี 2 ประการ คือ พยายามธำรงรักษาสันติภาพ แก้ปัญหากรณีพิพาทต่าง ๆ โดยอาศัยการเจรจาไกล่เกลี่ยและอาจใช้วิธีคว่ำบาตรหรือกำลังทหารถ้าจำเป็น กล่าวอีกนัยหนึ่งว่าป้องกันสมาชิกจากการรุกราน ประการที่สองคือส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่การอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่สองแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของสันนิบาตชาติซึ่งไม่มีกำลังทหารเป็นของตนเอง ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิก ขณะที่ประเทศสมาชิกเองก็ไม่เต็มใจที่จะใช้มาตรการต่าง ๆ นอกจากนี้ประเทศมหาอำนาจหลายชาติก็ไม่ได้ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง สันนิบาตชาติจึงถูกล้มเลิกในปี พ.ศ. 2489
    ประวัติ

    ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) เริ่มมีแนวคิดก่อตั้งสหประชาชาติในระหว่างการประชุมของฝ่ายพันธมิตร โดยมีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และวินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ลงนามในกฎบัตรแอตแลนติก ทั้งสองเป็นผู้เริ่มใช้คำว่า "สหประชาชาติ (United Nations) "[1] และใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) หลังจาก 26 ประเทศลงนามในปฏิญญาสหประชาชาติ จากนั้นฝ่ายพันธมิตรจึงเรียกกองกำลังที่ร่วมมือกันต่อต้านเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นว่า "United Nations Fighting Forces"

    วันที่ 27 สิงหาคม - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ตัวแทนจากฝรั่งเศส สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการก่อตั้งสหประชาติที่ดัมบาตันโอกส์ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. การประชุมครั้งนั้นและต่อ ๆ มา ทำให้เกิดรากฐานความร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่สันติภาพ ความมั่นคง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม โดยแผนเหล่านี้ได้ผ่านการถกเถียงอภิปรายจากรัฐบาลและประชาชนจากทั่วโลก

    เมื่อใกล้สิ้นสุดสงคราม การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศ (United Nations Conference on International Organization -- UNCIO) เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ที่นครซานฟรานซิสโก ตัวแทนจาก 50 ประเทศได้ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ยกเว้นโปแลนด์ที่ไม่สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดั้งเดิม รวมเป็น 51 ประเทศ แม้สันนิบาตชาติจะถูกล้มเลิกไป แต่อุดมการณ์ส่วนใหญ่และโครงสร้างบางประการได้ถูกกำหนดไว้ในกฎบัตรโดยได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับโลกใหม่ที่ซับซ้อนมากขึ้น หลังจากกฎบัตรผ่านการลงนามจากสมาชิก สหประชาชาติจึงได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อกฏบัตรมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945)

    เดิมสหประชาชาติใช้ชื่อเต็มในภาษาอังกฤษว่า United Nations Organization หรือ UNO แต่มักถูกเรียกว่า United Nations หรือ UN นับจากทศวรรษ 1950
    สมาชิก

    แผนที่โลกแสดงสมาชิกสหประชาชาติ

    ปัจจุบันสหประชาชาติมีสมาชิก 192 ประเทศ ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก เช่น สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) หลังจากโอนที่นั่งให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อ พ.ศ. 2514 สมาชิกล่าสุดคือประเทศมอนเตเนโกร เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549
    นักงานใหญ่

    สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
    สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก

    อาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ก่อสร้างขึ้นบนที่ดินใกล้แม่น้ำอีสต์ในนครนิวยอร์ก เมื่อพ.ศ. 2492-2493 บริจาคโดยจอห์น ดี. รอกกีเฟลเลอร์ จูเนียร์ ด้วยมูลค่า 8.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และออกแบบโดยออสการ์ นีไมเออร์ สถาปนิกชาวบราซิล สำนักงานใหญ่สหประชาชาติเปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2494 นอกจากนี้ยังมีสำนักงานตัวแทนที่สำคัญตั้งอยู่ในนครเจนีวา นครเฮก กรุงเวียนนา กรุงโคเปนเฮเกน ฯลฯ

    สหประชาชาติมีธง ที่ทำการไปรษณีย์ และดวงตราไปรษณียากรของตนเอง ภาษาทางการที่ใช้มีอยู่ 6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย จีน และภาษาอาหรับ (เพิ่มมาในปี พ.ศ. 2516) ส่วนคณะมนตรีนั้นใช้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติจะประชุมกันที่สมัชชาใหญ่ซึ่งอาจเปรียบได้กับรัฐสภาของโลก ไม่ว่าประเทศจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก ร่ำรวยหรือยากจน ต่างมีสิทธิออกเสียงได้เพียงเสียงเดียว แม้ว่าคำตัดสินของสมัชชาใหญ่มิได้ถือเป็นข้อผูกมัดแต่ก็เป็นมติที่มีน้ำหนักเท่ากับเป็นความเห็นของรัฐบาลโลก
    ภารกิจ] รักษาสันติภาพและความมั่นคง

    ภารกิจหลักของสหประชาชาติคือการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ หน้าที่ของสหประชาชาติคือให้คณะมนตรีความมั่นคงเข้าไปแทรกแซงโดยเปิดการเจรจาระหว่างคู่กรณีเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงระงับความขัดแย้งอย่างสันติ ระหว่างการเจรจาคณะมนตรีความมั่นคงจะพิจารณาว่าความขัดแย้งดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลกหรือไม่ และอาจเสนอแนะแนวทางต่าง ๆ เพื่อหาทางออก

    หากการเจรจาไม่เป็นผลและเกิดการรุกรานด้วยกองกำลังติดอาวุธ คณะมนตรีความมั่นคงมีอำนาจบีบบังคับด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งทางการทูต เศรษฐกิจ และการแทรกแซงทางทหาร เพื่อให้การปะทะกันยุติลง หลังมีข้อตกลงหยุดยิง อาจมีการส่งผู้รักษาสันติภาพเข้าไปยังพื้นที่ประเทศที่ขัดแย้งกันในกรณีที่ประเทศดังกล่าวยินยอม บางกรณีคณะมนตรีความมั่นคงอาจให้กำลังรบของประเทศสมาชิกเข้าแทรกแซงแต่ไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชาของสหประชาชาติ

     สิทธิมนุษยชน

    เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง สหประชาชาติจึงได้จัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 โดยมีจุดมุ่งหมายปกป้องพลเมืองให้รอดพ้นจากการถูกรังแก ปฏิญญาสากลระบุว่า "สิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก" ประเทศที่ลงนามในปฏิญญานี้มีพันธะที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยให้สิทธิแก่สหประชาชาติในการควบคุมตรวจสอบว่า รัฐบาลของแต่ละประเทศได้เคารพในสิทธิมนุษยชนของพลเมืองหรือไม่

    ปฏิญญาสากลกล่าวว่า ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพ ไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ ภาษา เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ความร่ำรวยหรือทรัพย์สิน มีอิสรภาพจากการตกเป็นทาส จากการถูกทรมาน ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน มีอิสรภาพและสิทธิที่จะได้การพิจารณาคดีในศาลอย่างยุติธรรม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การนับถือศาสนา และการแสดงออก สิทธิที่ได้รับการศึกษา มีมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอ รวมทั้งการมีสุขภาพอนามัยดี มีที่อยู่อาศัยและอาหารเพียงพอ มีสิทธิในการทำงาน จัดตั้ง และเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×