ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #42 : มองโลกจากนอกโลก ในวัน “Earth Day”

    • อัปเดตล่าสุด 19 ก.ย. 52


    ทีมข่าววิทยาศาสตร์ จึงขอนำภาพจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐอเมริกา (นาซา) ที่ได้ร่วมฉลองวันคุ้มครองโลก ด้วยการปล่อยภาพของ “โลก” ที่บันทึกได้จากนอกโลก โดยส่วนใหญ่มาจากสถานีอวกาศนานาชาติ ผ่านเว็บไซต์และสถานีโทรทัศน์ของนาซา มาให้พิจารณาดูกันว่า โลกนั้นสวยงามน่าอยู่เพียงใด
           
           สำหรับวันคุ้มครองโลกนั้น ข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุว่า ประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations Environment Program : UNEP) เริ่มแรกเมื่อวันที่ 22 เม.ย.2543
           
           นอกจากวันเอิร์ธเดย์ 22 เมษายนแล้ว ยังมีวันเอิร์ธเดย์ที่ถูกกำหนดขึ้นจากช่วงวิษุวัต หรือ อิกควินอกซ์ (equinox) เช่นกัน เพราะวิษุวัตเป็นช่วงที่ในกลางวันและกลางคืนมีระยะเวลาเท่ากัน และเป็นการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือ และฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกใต้ โดยนับจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่แกนขั้วโลกจะตั้งได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค.ของทุกปี.

    ยอดเขามาลาคู (สูงอันดับ 5 ของโลก) เคียงคู่เอเวอเรสต บนที่ราบสูงทิเบต ทีแรกเห็นใครๆ ก็นึกว่าคงเป็นเพียงภาพบันทึกจากเครื่องบิน แต่อย่าลืมว่าเครื่องบินนั้นก็บินในระดับเดียวกับยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก ภาพนี้จึงเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะสถานีอวกาศ ที่บันทึกไว้เมื่อปี 2547 

    ภาพควันที่พุ่งออกจากบริเวณเกาะแมนฮัตตัน เมืองนิวยอร์กซิตี้ สหรัฐฯ ในวันที่ 11 ก.ย.2544 หรือเหตุการณ์ 911 ที่โลกไม่อาจลืม 

    กำแพงเมืองจีนที่เพิ่งสำรวจว่ายาวกว่าที่เคยบันทึกไว้ และเถียงกันไม่จบสิ้นว่า จะมองเห็นได้จากอวกาศหรือไม่ ทำให้นักบินอวกาศสหรัฐฯ เชื้อสายมังกรบันทึกภาพไว้ เมื่อครั้งไปประจำอยู่บนสถานีอวกาศ เมื่อหลายปีก่อน แต่ด้วยเลนส์ชนิดพิเศษที่มีกำลังซูมสูงส่ง 

    ภูเขาไฟเคลฟแลนด์ ที่กำลังปะทุในอลาสก้า ซึ่งนักบินอวกาศบนสถานีจะต้องคอยสังเกตและส่งข้อมูลถึงศูนย์เฝ้าระวังที่ภาคพื้นดิน

    รับ อัล กาลี (Rub' al Khali) ทะเลทรายที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก กินพื้นที่ 1 ใน 3 ของคาบสมุทรอาหรับ อยู่ระหว่างโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน บันทึกไว้โดย ASTER ดาวเทียมสำรวจโลก Terra ของนาซา ภาพนี้บันทึกไว้เมื่อปี 2543

    ส่วนปลายเกาะเอเลวเทรา ในบาฮามาส ช่างสวยงาม โดยเฉพาะบริเวณน้ำทะเลสีเทอร์ควอยส์ตัดกับสีน้ำเงิน ภาพนี้บันทึกเมื่อปี 2545 จากสถานีอวกาศ

    ภาพนี้สุดคลาสสิกบันทึกจากอพอลโล 11 ทำให้ชาวโลกได้เห็นขั้วใต้เป็นครั้งแรก รวมทั้งแนวชายฝั่งของทวีปแอฟริกา รวมทั้งคาบสมุทอาหรับ

    ภาพนี้บันทึกโดยดาวเทียมนับ 400 ดวง มาประกอบเป็นภาพโลกในยามค่ำคืน ซึ่งนักวิจัยของนาซาต้องการศึกษาปริมาณการใช้ไฟตามเมืองต่างๆ 

    ภาพนี้บันทึกเมื่อปี 2503 นับเป็นภาพแรกของโลก ที่ได้รับการบันทึกโดยดาวเทียมสำรวจอากาศ TIROS-1 ซึ่งมีประโยชน์ในแง่ของการศึกษาภูมิอากาศ

    ภาพนี้ก็ได้รับความประทับใจไม่รู้ลืม เป็นโลกที่มองจากดวงจันทร์ ในคืนวันคริสต์มาสอีฟ (24 ธ.ค.ปี 2512) บันทึกจากกล้องวิดิโอโดยนักบินประจำอพอลโล 11 โลกสีน้ำเงินท่ามกลางจักรวาลอันมืดมิด แสดงถึงความโดดเดี่ยว แน่นอนว่า ถ้าไม่มีโลกแล้ว ... เราคงไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน

    ภาพจำลอง โลกในปัจจุบัน ผ่านเทคโนโลยี AMSR-E จากดาวเทียมอควาของนาซา ที่แสดงให้เห็นพื้นที่แผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมโลกในปี 2551-2552 โดยได้ข้อมูลที่ชัดเจน ทั้งอุณหภูมิพื้นผิว ความหนาของน้ำแข็ง ความชื้น แรงลม ความหนาแน่นของเมฆที่ชั้นบรรยากาศ ไอน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของโลก 

    จากเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×