ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #41 : สาธารณรัฐซานมาริโน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1K
      1
      2 ก.พ. 50



     
    สาธารณรัฐซานมาริโน
    Republic of San Marino


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ชื่อทางการ The Republic Of San Marino
    เมืองหลวง ซานมาริโน
    วันชาติ 3 กันยายน เป็นวันที่ระลึกการก่อตั้งสาธารณรัฐซานมารีโน
    ประชากร 28,117 คน (ค.ศ. 2005)
    ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติซามมาริเนเซ่ (Sammarinese) และมีเชื้อชาติอิตาเลี่ยนอยู่บ้าง
    ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
    ภาษา อิตาเลียน
    สกุลเงิน มีเงินเหรียญของตนเอง แต่นิยมใช้เงินยูโร
    อายุเฉลี่ยของประชากร ชาย 78 ปี หญิง 85 ปี
    สินค้าส่งออก ไวน์ เซรามิค เฟอร์นิเจอร์ สินค้าหัตถกรรม
    Internet Domain .sm
    International Dialling Code +378

    สาธารณรัฐซานมาริโนตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของประเทศอิตาลี โดยไม่มีทางออกทะเล พรมแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ติดกับแคว้น Emilia-Romanga และด้านตะวันออกเฉียงใต้อยู่ติดกับแคว้น Marche-Montefeltro ไม่มีพรมแดนติดทะเล

    ซานมาริโนมีพื้นที่ประมาณ 61 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา (Mount Titano) สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปไม่ร้อนหรือหนาวเย็นเกินไป อากาศดีและท้องฟ้าใสตลอดปี

    ภูมิอากาศของซานมาริโนเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน ฤดูหนาวไม่หนาวเย็นเกินไป (cool winter) และฤดูร้อนไม่ร้อนจัด (warm summer) โดยมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง ลบ 6 ถึง 20 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนในระดับกลาง ประมาณ 762 มม. (13 นิ้ว) ต่อปี

    การเมืองการปกครอง
    สาธารณรัฐซานมาริโน เป็นสาธารณรัฐที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ตั้งขึ้นในประมาณช่วงปี ค.ศ. 301 โดยช่างสกัดหินชาวคริสเตียนชื่อ Marinus the Dalmation ผู้หลบหนีอิทธิพลของจักรพรรดิโรมันชื่อ Diocletian ซึ่งต่อต้านคริสตศาสนา โดยหลบหนีมาจากเกาะ Arbe มาตั้งชุมชนชาวคริสต์ขนาดเล็กขึ้นที่ยอดเขา Titano บนเทือกเขา Apennines ต่อมา Marinus the Dalmation ได้เป็นนักบุญ (saint) ดังนั้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงผู้ก่อตั้งชุมชน บริเวณดังกล่าวจึงได้รับการขนานนามว่า Community of San Marino และเปลี่ยนเป็น Land of San Marino และ Republic of San Marino ตามลำดับ ดินแดนของ San Marino ประกอบด้วยพื้นที่เฉพาะบริเวณยอดเขา Titano มาจนถึงปี ค.ศ. 1463 จากนั้น San Marino ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสันตปาปา เพื่อต่อต้าน Sigismondo Pandolfo Malatesta, Lord of Rimini เมื่อได้รับชัยชนะ Pope Pius II Piccolomini จึงได้ยกเมือง Fiorentino, Montegiardino และ Serravalle ให้กับ San Marino ต่อมาในปีเดียวกัน เมือง Faetano ได้ขอเข้ามาอยู่ร่วมกับ San Marino ด้วยอีกแห่งหนึ่งดินแดนของ San Marino จึงขยายเพิ่มขึ้นและคงจำนวนพื้นที่ดังกล่าวมาจนปัจจุบัน
    ดินแดน San Marino ถูกกองกำลังต่างชาติเข้ายึดครอง 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1503 Cesare Borgia หรือที่รู้จักกันในนาม Valentino เข้ายึดครองดินแดน แต่ San Marino เป็นอิสระได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี เมื่อ Valentino เสียชีวิตลง ต่อมา Cardinal Alberoni นำกองกำลังเข้ายึดครอง San Marino แต่ถูกชาวเมืองต่อต้านด้วยมาตรการไม่ให้การเชื่อฟัง (civil disobedience) และได้รับความช่วยเหลือจากสันตปาปาจนได้รับเอกราชกลับคืนมาในที่สุด โครงสร้างการปกครองแต่เดิมนั้น มีสภาที่เรียกว่า The Arengo ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นหัวหน้าครอบครัวจากแต่ละครอบครัว ต่อมาสภา Arengo ได้ส่งมอบอำนาจให้กับรัฐสภาในรูปแบบปัจจุบันที่เรียกว่า The Great and General Council ส่วนระบบผู้ครองนครร่วม (Co-chiefs of State หรือ Captains Regent) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1243
    เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของซาน มาริโน
    ค.ศ. 1600 เริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 8 ตุลาคม ซึ่งใช้มาจนปัจจุบัน
    ค.ศ. 1861 Abraham Lincoln ยอมรับเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของซานมาริโน
    ค.ศ. 1926 มีกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งใช้มาจนปัจจุบัน
    ค.ศ. 1947-1957 ยุครัฐบาลผสมนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์
    ค.ศ. 1957-1973 ยุครัฐบาลผสมนำโดยพรรค Christian Democrats (PDCS)
    ค.ศ. 1960 สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งและมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งได้ในปี ค.ศ. 1973
    ค.ศ. 1991 ซานมาริโน สมัครเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และได้เป็นภาคีในปี 1992
    ค.ศ. 1991 รัฐบาลซานมาริโน ลงนามในสัญญาทางการเงินและการคลังกับรัฐบาลอิตาลี ซึ่งส่งผลให้ซานมาริโน มีเสรีภาพในการดำเนินกิจการด้านการเงินการคลังมากขึ้นและในปีเดียวกันซานมาริโนทำสัญญากับ EU ในด้านการค้าและศุลกากร
    ค.ศ. 1992 ซานมาริโนเข้าเป็นภาคี IMF
    ค.ศ. 1993 นาย Boutros Boutros-Ghali เลขาธิการสหประชาชาติเยือนซานมาริโน
    สาธารณรัฐซานมาริโนมีรัฐสภาแบบสภาเดียวซึ่งเรียกว่า Great and General Council ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 60 คนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง สมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี รัฐสภา Great and General Council ทำหน้าที่ออกกฎหมายและพิจารณางบประมาณ และยังมีหน้าที่เลือกสมาชิกของตนครั้งละ 2 คน (ซึ่งมักมาจากพรรคการเมืองคนละพรรคเพื่อให้คอยตรวจสอบกันและกันได้ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ครองนครร่วมกัน (Co-chiefs of State หรือ Captains Regent) โดยมีวาระดำรงตำแหน่งครั้งละ 6 เดือน หลังจากครบวาระแล้ว ประชาชนจะมีเวลา 3 วันในการร้องเรียน หากไม่พอใจในการบริหารของ Captains Regent
    ตำแหน่ง Captains Regent ถือเป็นประมุขประเทศ (Head of State) ของซานมาริโน สำหรับตำแหน่ง Head of Government มาจากการเลือกตั้งโดยรัฐสภา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่ง คือ นาย Fiorenzo Stolfi โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ 17 ธันวาคม 2545
    นอกจากนั้น ฝ่ายบริหารของซานมาริโน ยังมี Congress of State (เทียบเท่าคณะรัฐมนตรี) อันประกอบผู้ดำรงตำแหน่ง Secretary 3 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยรัฐสภา และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีเช่นกัน กล่าวคือ 1) Secretary of State for Foreign and Political Affairs รับผิดชอบด้านการเมืองและการต่างประเทศ 2) Secretary of State for Internal Affairs and Civil Defense รับผิดชอบด้านกิจการภายในและการป้องกันฝ่ายพลเรือน 3) Secretary of State for Finance, Budget and Programming, Information and Relations with the State Philatelic and Numismatic Office รับผิดชอบด้านการเงิน การคลัง สารนิเทศ การไปรษณียากรและการธนารักษ์
    Congress of State ยังมีรัฐมนตรี 7 คน ช่วยดูแลรับผิดชอบงานด้านต่างๆ ได้แก่ 1) ด้านการศึกษา วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยและยุติธรรม
    2) ด้านเขตแดนสิ่งแวดล้อมและการเกษตร
    3) ด้านสาธารณสุขและการประกันสังคม
    4) ด้านการค้าและความสัมพันธ์กับสภาเขต
    5) ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร การท่องเที่ยวและการกีฬา
    6) ด้านแรงงาน
    7) ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

    ระบบศาลของซานมาริโนได้รับอิทธิพลจากอิตาลี โดยมีผู้พิพากษาส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ยังมี Council of Twelve (Consiglio dei XII) ซึ่งเลือกตั้งโดย The Great and General Council ให้ทำหน้าที่ทางด้านตุลาการ และเป็นศาลอุทธรณ์
    พื้นที่การปกครอง
    แบ่งออกเป็น 9 เขต ( castello หรือ township) คือ Acquaviva, Borgo Maggiore, Chiesanuova, Domagnano, Faetano, Fiorentino, Monte Giardino, Serravalle, San Marino Citta แต่ละเขตจะมีสภา (Council) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในเขตนั้นๆ ทุกๆ 5 ปี ทำหน้าที่บริหาร โดยมี Township captain เป็นประธานสภา
    รายชื่อคณะรัฐบาลของสาธารณรัฐซานมาริโน
    เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสาธารณรัฐซานมาริโน
    ประมุขของรัฐเรียกว่า Captains Regent มีสองท่านคือ
    นาย Antonio Carattoni และนาย Roberto Giorgetti (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 -1 เมษายน 2550)
    รมว.กต.ชื่อนาย Fiorenzo Stolfi (รับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค. 49) โดยนาย Stolfi เคยเป็นรมว.กต.ระหว่างเดือน ธ.ค. 2545 และ ธ.ค. 2546 และเป็นรมว.พาณิชย์ระหว่างมิ.ย. 45 - ธ.ค. 45


    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    ซานมาริโนทำสนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับอิตาลีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1862 ซึ่งมีการปรับปรุงและขยายความร่วมมืออีกหลายครั้ง ปัจจุบันซานมาริโนได้รับความช่วยเหลือด้านงบประมาณจากอิตาลีทุกปี โดยซานมาริโนยอมสละสิทธิ์บางประการ อาทิ การปลูกยาสูบและการตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ในปี ค.ศ. 1998 มีการเจรจาระหว่างอิตาลีกับซานมาริโนเกี่ยวกับการใช้เงินยูโร และต่อมาสหภาพยุโรปได้มอบหมายให้อิตาลีดำเนินการเจรจาทำความตกลงกับซานมาริโน เพื่อให้ซานมาริโนสามารถผลิตเหรียญกษาปณ์สกุลเงินยูโรขึ้นใช้แทนเงินสกุลลีเรได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 เป็นต้นไป (แต่ไม่อนุญาตให้พิมพ์ธนบัตรเงินยูโร)
    ในช่วงทศวรรษ 1990 ซานมาริโนได้เพิ่มบทบาทในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น ปัจจุบันซานมาริโนมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่างๆ กว่า 70 ประเทศ และมีสิทธิมีเสียงในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น โดยได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 และเป็นสมาชิกทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติหลายองค์การ รวมทั้งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) องค์การการท่องเที่ยวโลก (WToO) คณะกรรมาธิการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) International Court of Justice (ICJ), International Monetary Fund (IMF), World Health Organization (WHO), International Institution for the Unification of Private Law (UNIDROIT), นอกจากนั้น ยังเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศอื่นๆ อาทิ องค์การความร่วมมือเพื่อความมั่นคงแห่งยุโรป (OSCE) สภายุโรป (Council of Europe-CE) รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมของบางองค์กร เช่น NAM (guest), IOM (observer)













    เศรษฐกิจการค้า
    สาธารณรัฐซานมาริโนไม่มีทรัพยากรแร่ธาตุ พื้นที่ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 74 ของพื้นที่ทั้งหมด) เป็นพื้นที่สำหรับการเพาะปลูก ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่ประกอบด้วย ข้าวเจ้า ข้าวบาเลย์ ข้าวโพด องุ่น น้ำมันมะกอก และพืชผักสวนครัว พื้นที่ร้อยละ 22 ใช้ในการปศุสัตว์ ซึ่งประกอบด้วยวัว หมู แกะ และม้า พื้นที่ร้อยละ 4 ที่เหลือเป็นป่า ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
    ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ซึ่งรวมถึงการขายดวงตราไปรษณียากร เหรียญที่ระลึกและสินค้าปลอดภาษี) ซึ่งทำรายได้มากกว่าร้อยละ 50 ของ GDP โดยซานมาริโนมีนักท่องเที่ยวประมาณปีละ 3.5 ล้านคน
    อุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ ได้แก่ การธนาคาร และ สิ่งทอ ผลผลิตสำคัญจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ปูนซิเมนต์ เฟอร์นิเจอร์ ไวน์ หนังสัตว์ ยางสังเคราะห์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ศิลปะวัตถุที่ทำจากหิน ไม้ สินค้าสถิติการค้าของซานมาริโนมักรวมกับของอิตาลี
    สินค้าออกที่สำคัญ คือ หินก่อสร้าง ไม้ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ข้าวสาลี อาหาร ไวน์ เซรามิก หนังสัตว์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
    สินค้าเข้าที่สำคัญ คือ อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากอิตาลี
    อีเล็กทรอนิกส์ เซรามิก และโลหะต่างๆ

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐซานมาริโน
    ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-สาธารณรัฐซานมาริโน

    ไทยและสาธารณรัฐซานมาริโนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2527 (ค.ศ.1984) โดยมีการแต่งตั้งผู้แทนทางทูตในระดับกงสุลใหญ่ และอยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ในทางปฏิบัติ ผู้ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ของไทยประจำสาธารณรัฐซานมาริโนคือผู้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม คณะรัฐมนตรีได้ลงมติอนุมัติให้มีการลงนามความตกลงในการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐซานมาริโนเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐซานมาริโนโดยทั่วไปยังมีไม่มากนักและอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากสาธารณรัฐซานมาริโนเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กและมีประชากรน้อยมาก อีกทั้งประเทศไทยไม่มีผลประโยชน์มากนักในสาธารณรัฐซานมาริโน ไม่ว่าจะเป็นทางยุทธศาสตร์ การเมืองหรือเศรษฐกิจ และที่ผ่านมายังไม่เคยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงระหว่างกัน

    1. ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ

    ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสาธารณรัฐซานมาริโนยังอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม โดยซานมาริโนเป็นคู่ค้าอันดับที่ 104 ของไทย

    1.1 การค้าระหว่างไทยกับซานมาริโน
    สินค้าออกสำคัญ ได้แก่ นาฬิกาและส่วนประกอบ เครื่องจักรกล และส่วนประกอบของ เครื่องจักรกล เป็นต้น
    การนำเข้า ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2541-2544) การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 23.0 พันดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยลดลงร้อยละ 40.4 ในปี 2544 มีมูลค่า 26.1 พันดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 40.4
    สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2545 (ม.ค.-ก.ย.) การนำเข้ามีมูลค่า 0.0 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 90.5
    สินค้าเข้าสำคัญ ได้แก่ กาแฟ ชา เครื่องเทศ ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป เป็นต้น
    1.2 สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกและนำเข้า
    สินค้าออก ได้แก่ นาฬิกาและส่วนประกอบ
    สินค้าเข้า ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า

    2. ความตกลงต่างๆ ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐซานมาริโน
    ไทยและสาธารณรัฐซานมาริโนยังไม่มีความตกลงทวิภาคีระหว่างกัน แต่ได้เคยมีข้อเสนอเกี่ยวกับความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างกัน โดยเมื่อปี 2542 (ค.ศ. 1999) สำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาเห็นสมควรเพิ่มชื่อสาธารณรัฐซานมาริโนในบัญชีประเทศที่คนชาติได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 30 วัน และมีความเห็นว่า คนไทยควรได้รับยกเว้นการตรวจลงตราและอนุญาตให้พำนักในสาธารณรัฐซานมาริโนได้ 30 วัน เช่นเดียวกัน
    เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวกระทรวงการต่างประเทศมีความเห็นว่า โดยที่ซานมาริโนตั้งอยู่ในดินแดนของอิตาลีในลักษณะเดียวกับนครรัฐวาติกัน บุคคลต่างชาติที่จะเดินทางเข้าซานมาริโนจะต้องเดินทางผ่านดินแดนของอิตาลีก่อน ต่อจากนั้นจึงเดินทางเข้าซานมาริโนโดยทางรถยนต์ (ซานมาริโนไม่มีสนามบินและท่าเรือ) ในกรณีของคนชาติไทยที่ประสงค์จะเดินทางเข้าซานมาริโนจะต้องขอรับการตรวจลงตราของอิตาลีก่อน ซึ่งสามารถพำนักอยู่ได้เป็นเวลา 30-90 วัน แล้วใช้การตรวจลงตรานั้นเดินทางเข้าซานมาริโนได้เลยโดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตราอีก ดังนั้น การทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรากับซานมาริโน จึงไม่น่าจะเอื้อประโยชน์ใดๆ แก่คนชาติไทยเนื่องจากไม่สามารถเดินทางเข้าซานมาริโนได้โดยตรง อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ต่อคนชาติซานมาริโนซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและกำลังเงินสูง และเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีทั้งสองฝ่าย ฝ่ายไทยอาจพิจารณาอนุญาตให้คนชาติซานมาริโน สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยและพำนักอยู่ได้ 30 วัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×