ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #40 : สหพันธรัฐรัสเซีย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.55K
      0
      2 ก.พ. 50



     
    สหพันธรัฐรัสเซีย
    Russian Federation


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ที่ตั้ง อยู่ทางตอนเหนือของทวีปเอเชีย และมีพื้นที่ 2 ใน 3 อยู่ในทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขาอูราล เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างทั้งสองทวีป

    พื้นที่ 17,075,400 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก ( ใหญ่กว่าประเทศไทย ราว 33 เท่า ) โดยมีระยะทางจากด้านตะวันออกจรดตะวันตก 9,000 กิโลเมตร และจากด้านเหนือจรดใต้มีระยะทาง 4,000 กิโลเมตร

    เมืองหลวง กรุงมอสโก ( ประชากร 10,102,000 คน )

    เมืองสำคัญอื่นๆ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก วลาดิวอสต็อก โนโวสิเบียรสก์ นิชนีย์ โนฟโกรอด เยคาทารินเบิร์ก

    ประชากร 142.9 ล้านคน เป็นชาวรัสเซีย ร้อยละ 79.8 ที่เหลือเป็นเชื้อชาติอื่นๆ อาทิ ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส เยอรมัน ยิว อาร์เมเนีย และคาซัค

    วันชาติ 12 มิถุนายน

    ภาษาราชการ ภาษารัสเซีย

    ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือคริสตศาสนานิกายออร์โธดอกซ์รัสเซีย ( ร้อยละ 70) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม ( ร้อยละ 5.5) คริสตศาสนานิกายคาธอลิก ( ร้อยละ 1.8) และพุทธศาสนานิกายมหายาน ( ร้อยละ 0.6)

    เขตการปกครอง มีหน่วยปกครองทั้งสิ้น 88 แห่ง โดยแบ่งออกเป็นสาธารณรัฐ (Republic) 21 แห่ง มณฑล 48 แห่ง ดินแดนปกครองตนเอง (Krays) 7 แห่ง เขตปกครองตนเองตามเชื้อชาติ (ethnically designated okrugs) 9 แห่ง เขตปกครองตนเอง (autonomous oblast) 1 แห่ง และ Federal City 2 แห่ง (กรุงมอสโก และนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก)

    หน่วยเงินตรา รูเบิล (rouble - RUR)

    อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ (USD) = RUR 26.58 (ณ วันที่ 13 มกราคม 2550)

    เขตเวลา แบ่งเป็นเขตเวลาทั้งสิ้น 11 เขต ( เวลาที่กรุงมอสโกช้ากว่าไทย 3 ชั่วโมง ในฤดูร้อน และช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมงในฤดูหนาว )

    การเมืองการปกครอง
    การเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัสเซีย

    ในปี ค . ศ . 1917 ซึ่งอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ( ค . ศ . 1914 -1918) ได้มีการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัสเซียโดยกลุ่มบอลเชวิกภายใต้การนำของนายวลาดิเมียร์ เลนิน ทำให้ระบบกษัตริย์ได้ถูกล้มล้างไป กลุ่มบอลเชวิกได้เข้ามาบริหารประเทศ และเปลี่ยนชื่อประเทศจากจักรวรรดิรัสเซีย (Russian Empire) เป็น Russian Soviet Federative Socialist Republic พร้อมทั้งใช้กำลังทางทหารเข้ายึดครองรัฐต่าง ๆ ในจักรวรรดิรัสเซียเดิม และไดัจัดตั้งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ( Union of Soviet Socialist Republic : USSR ) หรือสหภาพโซเวียต ( Soviet Union ) ขึ้นในปี ค . ศ . 1922 โดยมีสาธารณรัฐรัสเซีย เป็นแกนนำ

    สหภาพโซเวียตตกอยู่ภายใต้การบริหารของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเน้นการบริหารและการวางแผน จากส่วนกลาง เป็นเวลายาวนานถึง 69 ปี เป็นผลให้ชาวโซเวียตนับล้านคนเสียชีวิตจากการกวาดล้างผู้ ที่ไม่เห็นด้วยทางการเมือง และจากภาวะทุพภิกขภัย นอกจากนี้ ยังมีประชาชนชาวโซเวียตราว 20 ล้านคน เสียชีวิตในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ( ค . ศ . 1939 -1945) และต่อมาในปี ค . ศ .1949 โซเวียตได้เริ่มพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง

    ในระหว่างสงครามเย็น สหภาพโซเวียต ให้ความสำคัญกับนโยบายแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นผู้นำด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและการพัฒนาอาวุธ ส่งผลให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ช่วงทศวรรษที่ 80 ทำให้ประชาชนและกลุ่มแรงงานออกมาเรียกร้องและต่อต้านรัฐบาลมากขึ้นและรุนแรงขึ้น แม้ว่านายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์และประธานาธิบดีคนสุดท้าย ของสหภาพโซเวียตจะพยายามกำหนดแผนการปฏิรูปต่าง ๆ ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จนกระทั่งนายกอร์บาชอฟ ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค . ศ . 1991 และสหภาพโซเวียตล่ม สลายลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ธันวาคม ค . ศ . 1991 โดยแยกออกเป็นประเทศทั้งสิ้น 15 ประเทศ ในส่วนของสหภาพโซเวียตนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธรัฐรัสเซีย ต่อมาสหพันธรัฐรัสเซียและ ประเทศที่แตกตัวจากสหภาพโซเวียตอีก 11 ประเทศ ( ยกเว้นประเทศบอลติก 3 ประเทศ ได้แก่ ลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย ) ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States : CIS)
    1

    ระบบการปกครองในปัจจุบัน

    รูปแบบการปกครอง สหพันธรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
    รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันเริ่มใช้เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค . ศ . 1993

    การแบ่งส่วนการปกครอง

    ประมุข ประธานาธิบดี มีอำนาจในการบริหารประเทศอย่างสมบูรณ์ ( มาจากการเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี และอยู่ตำแหน่งได้ 2 วาระ ทั้งนี้ การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมีขึ้น เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547)
    ฝ่ายบริหาร หัวหน้าฝ่ายบริหารคือ นายกรัฐมนตรี และปัจจุบัน คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยรัฐมนตรีทั้งสิ้น 17 คน ( รวมนายกรัฐมนตรี ) และทั้งหมดแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี
    2
    ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาสูงหรือสภาสหพันธรัฐ (Federation Council) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 178 คน จากเขตการปกครอง 88 เขต ( รวมทั้งเขตกรุงมอสโก และนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ) เขตละ 2 คน และสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาดูมา ซึ่งมีผู้แทนจำนวน 450 คน ( ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐสภารัสเซียมีบทบาทและอำนาจค่อนข้าง น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับอำนาจของประธานาธิบดี และสมาชิกรัฐสภาจะอยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี)
    ฝ่ายตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา ศาลสูงแห่งอนุญาโตตุลาการ และ สำนักงานอัยการสูงสุด
    ระบบพรรคการเมือง เป็นระบบหลายพรรค ปัจจุบันพรรคการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์ พรรค United Russia พรรค LDPR พรรค Union of Right Forces พรรค Yabloko พรรค People's Party พรรค Rodina
    ผู้นำสำคัญทางการเมือง

    ประธานาธิบดี
    นายวลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin) (ได้รับเลือกตั้งเป็นวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547)
    นายกรัฐมนตรี
    นายมิคาอิล ฟราดคอฟ (Mikhail Fradkov) (ได้รับแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547)
    รองนายกรัฐมนตรี
    นายดมิทรี เมดเวเดฟ (Dmitriy Medvedev) (ได้รับการแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548)
    รองนายกรัฐมนตรี (ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ได้รับแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547)
    นายเซอร์เก อิวานอฟ (Sergei Ivanov)
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    นายอเล็กเซ คูดริน (Alexei Kudrin) (ได้รับแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547)
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
    นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ (Sergei Lavrov) (ได้รับแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547)
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้า
    นายแกร์มัน เกรฟ (German Gref) (ได้รับแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547)

    สถานการณ์ทางการเมืองรัสเซีย

    การเมืองในรัสเซียค่อนข้างผันแปรและขาดเอกภาพในช่วงทศวรรษ 1990 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ค . ศ . 1991 ( พ . ศ . 2534) เนื่องจากการแก่งแย่งอำนาจระหว่างกลุ่มอำนาจต่างๆ ซึ่งเกิดจากความไม่ชัดเจนของระบอบการปกครอง ความปันป่วนทางการเมืองทวีความรุนแรงขึ้น จนกระทั่ง มีการก่อรัฐประหารในปี ค . ศ . 1993 ( พ . ศ . 2536) แต่นายบอริส เยลต์ซินประธานาธิบดีรัสเซียในขณะนั้น สามารถปราบปรามการก่อรัฐประหารได้สำเร็จ อันไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญรัสเซีย เพื่อให้ประธานาธิบดีสามารถกุมอำนาจได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน การเมืองรัสเซียมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยอำนาจในการบริหารประเทศส่วนใหญ่เป็นของประธานาธิบดี

    เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2546 สหพันธรัฐรัสเซียได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาดูมา ซึ่งมีทั้ง สิ้น 450 ที่นั่ง โดยมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่ อ และแบบเขตเลือกตั้ง โดยพรรค United Russia ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของพรรค Unity และ Fatherland-All Russia และเป็นพรรคที่ให้การสนับสนุนประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ได้ที่นั่งมากที่สุด คือ 221 ที่นั่ง คิดเป็นร้อยละ 49.1 ผลการเลือกตั้งสภาดูมาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่ลดน้อยลงของพรรคคอมมิวนิสต์ และ พรรคที่มีสายสัมพันธ์กับอดีตประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน ซึ่งประธานาธิบดีปูติน พยายามรักษาความสัมพันธ์ไว้ ในช่วงแรกที่รับตำแหน่งประธานาธิบดี เนื่องจากยังต้องพึ่งพาฐานอำนาจและการสนับสนุนการทำงานอยู่ แต่ในระยะหลังประธานาธิบดีปูตินมีท่าทีและการตัดสินใจในแนวทางของตนมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ประธานาธิบดีปูติน สามารถสร้างฐานอำนาจของตนเองได้แล้ว นอกจากนี้ พรรค United Russia น่าจะสร้างพันธมิตรกับพรรคการเมืองอื่นๆ และผู้สมัครอิสระ เพื่อเพิ่มเสียงสนับสนุนในสภาดูมา ซึ่งจะช่วยให้ประธานาธิบดีปูตินดำเนินนโยบายและผ่านร่างกฎหมายต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวมทั้งการลงคะแนนเสียงถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งคงไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้ หากพรรค United Russia สามารถรวบรวมคะแนนเสียงได้เกิน 2 ใน 3 ของที่นั่งในสภาดูมา ก็จะมีเสียงสนับสนุนเพียงพอที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งจะเป็นการปูทางให้ประธานาธิบดีปูตินลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 3 ได้

    เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 ในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในวันที่ 14 มีนาคม 2547 นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ได้ปลดคณะรัฐมนตรีรัสเซียทั้งคณะ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์การเมืองรัสเซีย ได้ให้ความเห็นว่า ในการประกาศปลดคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้นั้น ประธานาธิบดีปูตินมีจุด ประสงค์ที่จะปลดนาย Kasyanov แต่เพียงผู้เดียว แต่รัฐธรรมนูญรัสเซียไม่ให้ อำนาจแก่ประธานาธิบดีที่จะกระทำได้ โดยนาย Kasyanov มีความไม่ลงรอยกับประธานาธิบดีปูตินมา นานแล้ว โดยเฉพาะในด้านนโยบายเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นาย Kasyanov ยังมาจากกลุ่มของอดีต ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน ซึ่งประธานาธิบดีปูตินพยายามที่จะสลายอิทธิพลให้หมดไป รวมทั้งมีความ เชื่อมโยงกับกลุ่มนักธุรกิจใหญ่ที่ได้รับประโยชน์จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในช่วงที่ประธานาธิบดีเยลต์ซิน อยู่ในอำนาจ ทั้งนี้ ประธานาธิบดีปูตินได้กล่าวว่า การปลดคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมิได้สะท้อนถึงประสิทธิภาพ การทำงานของรัฐบาล ซึ่งโดยรวมถือว่าเป็นที่น่าพอใจ แต่เป็นการแสดงให้เห็น ถึงท่าทีของประธานาธิบดีปูตินต่อแนวทางของการเมืองรัสเซีย ภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวัน ที่ 14 มีนาคม 2547

    เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547 ประธานาธิบดีปูติน ได้แต่งตั้งนาย Mikhail Fradkov ผู้ แทน พิเศษของประธานาธิบดีรัสเซียเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งสร้างความประหลาดใจ แก่ หลายฝ่าย เนื่องจากไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อน และเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 ได้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ชุดใหม่ขึ้น ประกอบด้วยรัฐมนตรีทั้งสิ้น 17 คน จากเดิมที่มี 30 คน โดยมีวัตถุ ประสงค์ เพื่อให้การทำงานดำเนินได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น และเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ทั้งนี้ ตำแหน่งรัฐมนตรีที่สำคัญส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง นอกจากตำแหน่งรัฐ มนตรี ว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศ ซึ่งนาย Sergei Lavrov เอกอัครราชทูตหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรของสหพันธรัฐรัสเซียประจำ สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทน นาย Igor Ivanov ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยประธานาธิบดีปูติน ได้ประกาศด้วยว่า หากตนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี คณะรัฐมนตรีชุดนี้จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานต่อไป

    การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซีย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 นั้น มีผู้สมัครทั้งสิ้น 6 คน รวมทั้งประธานาธิบดีปูติน ซึ่งผลปรากฏว่า ประธานาธิบดีปูตินได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นถึงร้อยละ 71.2 ซึ่งชัยชนะของประธานาธิบดีปูตินในการเลือกตั้งครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความนิยมในตัวประธานาธิบดีฯ ที่เพิ่มมากขึ้นในหมู่ประชาชนรัสเซีย เมื่อเทียบกับคะแนนสนับสนุน ร้อยละ 52.5 ที่ได้รับในการเลือกตั้งครั้งก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของรัสเซีย ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา นอกจากนี้ มีการวิเคราะห์ว่า ชาวรัสเซียมักจะชื่นชอบผู้นำที่เข้มแข็ง เนื่องจากเชื่อว่า จะสามารถปกครองประเทศที่มีขนาดใหญ่เช่นรัสเซียได้ ซึ่ง ประธานาธิบดีปูติน ได้แสดงออกถึงคุณลักษณะดังกล่าวมาโดยตลอด ตั้งแต่เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะ การใช้ นโยบายและมาตรการที่เด็ดขาดและจริงจังในการแก้ไขปัญหาเชชเนีย

    เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ประธานาธิบดีปูตินได้ปรับคณะรัฐมนตรีบางตำแหน่ง โดยแต่งตั้งนาย Dmitry Medvedev หัวหน้าสำนักงานประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซีย ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และยังได้แต่งตั้งนาย Sergey Ivanov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่ง การปรับคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ประธานาธิบดีปูตินต้องการแสวงหาผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีปูตินแทนตนเอง โดยคาดคะเนว่า ประธานาธิบดีปูตินจะสนับสนุนนาย Dmitry Medvedev สำหรับการสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซียที่จะมีขึ้นในปีค.ศ. 2008 ซึ่งรัฐธรรมนูญรัสเซียไม่อนุญาตให้ประธานาธิบดีลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ทั้งนี้ นาย Dmitry Medvedev ยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการของบริษัท Gazprom ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียอีกด้วย



    1กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช ประกอบด้วย 1. รัสเซีย 2. ยูเครน 3. อาร์เมเนีย 4. เบลารุส 5. จอร์เจีย 6. มอลโดวา 7. คาซัคสถาน 8. อุซเบกิสถาน 9. เติร์กเมนิสถาน 10. คีร์กิซสถาน 11. ทาจิกิสถาน 12. อาเซอร์ไบจาน
    2รายชื่อคณะรัฐมนตรีปรากฏตามภาคผนวก 1

    เศรษฐกิจการค้า
    ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) 763.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)

    อัตราการเจริญเติบโต ร้อยละ 6.4 (2548)

    รายได้ประชาชาติต่อหัว 5,349 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)

    อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 12.6 (2548)

    ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ ขนสัตว์ สินแร่

    ผลิตภัณฑ์ทางเกษตรกรรม ธัญพืช หัวน้ำตาล เมล็ดทานตะวัน เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

    อุตสาหกรรม การทำเหมืองแร่อย่างครบวงจร ทั้งถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และเหล็ก เคมีภัณฑ์ เครื่องบิน อุตสาหกรรมด้านอวกาศ อุปกรณ์การสื่อสารและขนส่ง เรือ รถไฟ เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องจักรทางการเกษตร

    มูลค่าการส่งออก 243,569 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)

    มูลค่าการนำเข้า 125,303 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)

    สินค้าออกที่สำคัญ น้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เหล็ก เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์

    ตลาดส่งออกที่สำคัญ สหภาพยุโรป จีน สหรัฐ ประเทศในกลุ่มเครือรัฐเอกราช (CIS)

    สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องมือเครื่องจักร สินค้าอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ เหล็ก

    ตลาดนำเข้าที่สำคัญ สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศ CIS จีน สหรัฐฯ

    สถานการณ์ทางเศรษฐกิจรัสเซีย รัสเซียได้ดำเนินการปฏิรูประบบเศรษฐกิจจากระบบวางแผนส่วนกลางไปสู่ระบบเสรีนิยมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ( พ . ศ . 2535) โดยมีแนวทางที่สำคัญๆ ได้แก่ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การเปิดเสรีการค้า และการปฏิรูประบบการเงินการคลัง โดยมีจุดประสงค์ เพื่อนำรัสเซียให้พ้นจากสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความล้มเหลวของการบริหารเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางในสมัยสหภาพโซเวียต การปฏิรูปด้านการคลังภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการ พึ่งพาการกู้ยืม เงินระยะสั้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณ รวมทั้งวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย ได้ส่งผลให้รัสเซีย ต้องประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในปี ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) และต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF อย่างไรก็ตาม รัสเซียสามารถดำเนินการให้รอดพ้นวิกฤต การณ์เศรษฐกิจได้ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างเสถียรภาพของเงินรูเบิล การควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ จนสามารถชดใช้เงินต้นที่กู้ยืมจาก IMF ได้ ในช่วงปี ค.ศ. 2000-2001 (พ.ศ. 2543-2544) รวมทั้งมีเงินทุนสำรองและกระแสบัญชีเดินสะพัดเกินดุล นอก จากนี้ การปฏิรูปและเปิดเสรีทางการค้าทำให้รัสเซียได้รับการรับรองสถานะเศรษฐกิจแบบตลาดจากสหรัฐฯ และได้รับคำมั่นจากสหภาพยุโรปที่จะให้สถานะเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการช่วยสนับสนุนการสมัครเป็นสมาชิก WTO ของรัสเซียด้วย ปัจจัยหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัสเซียคือ อุปสงค์การบริโภคในประเทศสูงขึ้น และ รายได้ประชาชนเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ซึ่งทำให้รัสเซียสามารถนำรายได้ จากส่วนนี้ไปใช้หนี้ต่างประเทศและส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมด้านอื่นๆ รวมทั้งเงินรูเบิลที่มีเสถียรภาพ และ ความต่อเนื่องในการดำเนินมาตราการปฏิรูปทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เช่น การดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การปฏิรูประบบภาษีเพื่อลดความซ้ำซ้อน การปฏิรูปที่ดินและการเงิน และการปรับเปลี่ยน ระเบียบขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคมให้คล่องตัวยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลรัสเซียยังคงดำเนินนโยบายอื่นๆ เพื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะการลดบทบาทของรัฐบาลในภาคธุรกิจ การสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน และการลดอัตราภาษีศุลกากร นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญต่อการลงทุนของต่างประเทศเป็นอย่างมาก เพื่อให้เป็นเป็นปัจจัยกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมโดยรวม รวมทั้งการขยายธุรกิจ การเพิ่มการจ้างงาน การเพิ่มผลผลิต และการพัฒนาระบบธุรกิจของบริษัทภายในประเทศให้มีความทันสมัย ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่รัสเซียต้องเร่งแก้ไข คือ การเจริญเติบโตยังจำกัดอยู่ในภาคอุตสาหกรรมพลังงานและเชื้อเพลิง การขาดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความล่าช้าในการปฏิรูปสาธารณูปโภค อสังหาริมทรัพย์ ระบบการธนาคารและภาคการเงิน การขาดการลงทุนของธุรกิจขนาดกลางและย่อมและธุรกิจรายใหม่ๆ ระบบการผลิตส่วนใหญ่ไม่สามารถเพิ่มผลผลิต ทำให้ประสบภาวะขาดทุน และช่องว่างของรายได้ระหว่างประชาชนในเมือง และชนบท

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหพันธรัฐรัสเซีย
    นโยบายต่างประเทศรัสเซีย

    นาย Sergei Lavrov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งใหม่เกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศรัสเซียภายใต้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่จัดตั้งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 ที่ได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แล้ว ซึ่งแนวคิดเบื้องหลัง นโยบายต่างประเทศรัสเซียไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมนัก โดยยังคงให้ความสำคัญกับการขยายความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคง เพื่อความสงบสุขของรัฐ และความผาสุขของประชาชน ซึ่งนอกจากรัสเซียจะให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงบริเวณชายแดนประเทศรัสเซีย และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในประเทศแล้ว รัสเซียยังมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศด้วย จึงทำให้รัสเซียต้องส่วนและพันธมิตรทั้งในยุโรป เอเชีย แอฟริกา และลาติน อเม ริกา และร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของรัสเซียที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัสเซีย สรุปได้ดังนี้

    5.1 รัสเซียมีนโยบายต่างประเทศที่ปรับเข้าหาประเทศตะวันตกมากขึ้น โดยได้ยุติการคัดค้าน การขยายสมาชิก NATO ไปยังประเทศยุโรปตะวันออก แม้จะยังมีข้อห่วงกังวลว่า การที่ลัตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต เข้าเป็นสมาชิก NATO อาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัสเซีย นอกจากนี้ รัสเซียยังมีท่าทีที่อ่อนลงต่อการจัดตั้งกองกำลังสหรัฐฯ ในประเทศอดีตสห ภาพ โซเวียตในเอเชียกลางและจอร์เจีย และการถอนตัวของสหรัฐฯ จาก Anti Ballistic Missile Treaty

    5.2 รัสเซียยังคงให้ความสำคัญกับภูมิภาคยุโรป โดยมี ความร่วมมือ กับยุโรป มากขึ้น ภายใต้ กรอบ Russia-EU และ Russia-NATO Summit นอกจากนี้ รัสเซียให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเพิ่มสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากรัสเซียจะได้ผลกระทบโดยตรง ทั้งด้านการเมืองและ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหภาพยุโรป เป็นพื้นฐานประการหนึ่งของการกำหนดนโยบายต่าง ประเทศรัสเซีย เนื่องจากเหตุผลทางภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการลงทุน และธุรกิจพลังงาน

    5.3 ความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ยังคงเป็นเรื่องที่สำคัญต่อรัสเซียในลำดับแรกๆ โดยรัสเซีย จะเป็น พันธมิตรที่ใกล้ชิดขึ้นกับสหรัฐฯ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ทั้งสองระเทศหันหน้าเข้าหากันมากขึ้น ได้แก่ ความร่วมมือในการ ต่อต้านการก่อการร้าย ภายหลัง จากเหตุการก่อการร้ายในสหรัฐฯ เมื่อเดือน กันยายน ค . ศ . 2001 ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเป็นการมองผลประโยชน์แห่งชาติของทั้งสองฝ่ายแบบใหม่ โดยรัสเซียเห็นว่า ความเป็นหุ้นส่วน กับ สหรัฐฯ ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนสองประเทศเท่านั้น แต่เพื่อผลดี โดยรวม ต่อระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วย

    5.4 ถึงแม้ว่าการเชื่อมโยงและผลประโยชน์ร่วมระหว่างรัสเซียกับประเทศเครือรัฐเอกราชจะลดลง ตั้งแต่ปี ค . ศ . 1991 รัฐบาลรัสเซียก็ยังคงให้ความสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเหล่านี้ ทั้งใน ระดับทวิภาคี และในกรอบ Commonwealth of Independence States (CIS) เพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ รัสเซียยังให้ความสำคัญต่อการรวมกลุ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจกับประเทศ CIS อาทิ Eurasian Economic Community, Collective Security Treaty Organization, CIS Collective Security Agreement, Common Economic Space Framework Agreement รวมทั้ง Shanghai Cooperation Organization ซึ่งรัสเซียร่วมก่อตั้งกับจีน และประเทศในเอเชียกลาง

    5.5 รัสเซียยังคงให้ความสำคัญกับการต่อต้านการก่อการร้าย โดยเน้นถึงความสำคัญของ ความ ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาระหว่างรัสเซียกับประเทศต่างๆ ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง สห ประชาชาติ นอกจากนี้ รัสเซียยังเล็งเห็นถึงปัญหาด้านอื่นๆ เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเป็น สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิด การก่อการร้าย

    5.6 ในส่วนของเอเชียนั้น รัสเซียใช้ข้ออ้างในเรื่อง ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งยู่ทั้งในทวีปเอเชีย และยุโรป ในการเข้ามามีบทบาท โดยเฉพาะด้านความมั่นคงในเอเชีย เพื่อคานอำนาจสหรัฐฯ ในภูมิภาค โดยให้ความสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์กับจีน อินเดีย และผลักดันเพื่อให้รัสเซียเป็นสมาชิก ACD ทั้งนี้ รัสเซียได้เข้าเป็นสมาชิก ACD เมื่อเดือนเมษายน 2548 และสมัครเป็นสมาชิก ASEM จากฝ่ายเอเชีย และยังคง นโยบายต่างประเทศแบบรอบทิศทาง (multi-directional foreign policy) โดยให้ความสำคัญการผูกมิตร กับประเทศในทวีปเอเชียด้วย ดังจะเห็นได้จากการเยือนจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เวียดนาม มาเลเซีย และไทย ของประธานาธิบดีปูตินในรอบ 2 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสมดุล ของขั้วอำนาจต่างๆ ในโลก แล้ว ยังเป็นการแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้วย โดยเฉพาะในสาขาพลังงาน ซึ่งหลายประเทศมีความต้องการสูง โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน และ เกาหลี

    5.7 รัสเซียยังคงให้ความสำคัญกับบทบาท ในเวทีระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ อาทิ การเข้าร่วม กลุ่มประเทศผู้นำทางอุตสาหกรรม (G 8) ซึ่งได้พัฒนามาจาก G 7 โดยรัสเซียได้เข้าร่วมใน Summit of the Eight ที่เมืองเดนเวอร์ สหรัฐ ฯ เมื่อเดือนมิถุนายน 2540 ทั้งนี้ ในปี 2549 รัสเซียดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม G8 และจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม G8 Summit ในเดือนมิถุนายน ณ นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก นอกจากนี้ รัสเซียได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ APEC ในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เดือนพฤศจิกายน 2541 และกระบวนการการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของรัสเซียก็มีความคืบหน้าอย่างมาก รวมทั้งรัสเซียแสดงความประสงค์ที่จะสมัครเป็นสมาชิก ASEM ด้วย ทั้งนี้ เพื่อแสดงว่ารัสเซียยังคงมีบทบาทสำคัญในเวทีระหว่างประเทศ

    5.8 รัสเซียให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และความรุนแรงในอิรัก โดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างรัสเซียกับประเทศต่างๆ ในคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาค ในการแก้ไขปัญหาดัง กล่าว และแม้ว่า รัสเซียจะไม่เห็นด้วยกับการโจมตีอิรักซึ่งนำโดยสหรัฐฯ และอังกฤษ แต่รัสเซียก็ให้ความสนับสนุนในการฟื้นฟูอิรัก โดยให้องค์การสหประชาชาติมีบทบาทนำ

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย

    สถาปนาความสัมพันธ์ ไทยและรัสเซียถือเอาการเสด็จฯ ประพาสรัสเซียของพระบาทสมเด็จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (3-11 กรกฎาคม 2440) เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ทางการทูต

    กลไกความสัมพันธ์ทวิภาคี คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ก่อตั้งเมื่อ เดือนกันยายน 2536 มีการประชุมครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2545 ณ กรุงมอสโก ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งที่ 4 ในปี 2549

    การค้ากับไทย รัสเซียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 1 ของไทยในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ในปี 2548 มีมูลค่าการค้ารวม 1,935 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 328 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1,606 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    สินค้านำเข้าจากไทย น้ำตาลทราย , เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ , ผลไม้กระป๋องและแปรรูป , เม็ดพลาสติก , ข้าว , ยางพารา , รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ , อัญมณีและเครื่องประดับ , อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

    สินค้าส่งออกมาไทย เหล็กและเหล็กกล้า , ปุ๋ย , สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ , เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ , แร่ดิบ , เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ , กระดาษ กระดาษแข็ง และผลิตภัณฑ์ , ยาง ยางสังเคราะห์ รวมทั้งเศษยาง , หนังดิบและหนังฟอก จำนวนนักท่องเที่ยว 70,482 คน (9 เดือนแรก) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15-20 ทุกปี โดยในปี 2546 มี 90,722 คน ( ปี 2546)

    เอกอัครราชทูตไทยประจำรัสเซีย นายสรยุตม์ พรหมพจน์ ( ตั้งแต่ปี 2546) นอกจากนี้ ไทยยังได้จัดตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ขึ้นที่ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเมืองวลาดิวอสต็อก

    เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำไทย นาย Yevgeney Afanasiev (ตั้งแต่ปี 2548) นอกจากนี้ รัสเซียยังได้แต่งตั้งนางพงา วรรธนกุล ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองพัทยา


    กรมยุโรป
    มกราคม 2550

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×