ลำดับตอนที่ #34
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #34 : [lang][สรุป] ส่วนต่าง ๆ ของปราสาท
(1) โซ่ (Chain)
(2) Flooring - แท่นที่สร้างเป็นพื้นไม้สำหรับสะพานชัก (drawbridge)
(3) Swipe-beam - คานสำหรับชักสะพาน
(4) ประตูชักรอก (Portcullis) - ส่วนประตูของปราสาทที่มีลักษณะเป็นกรงที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ หรือ ทั้งไม้และโลหะรวมกัน ประตูชักรอกมักจะเป็นประตูที่ในการป้องกันทางเข้าปราสาทในยุคกลาง นับเป็นระบบการป้องกันระบบสุดท้ายก่อนที่จะเข้าถึงตัวปราสาท ประตูแต่ละช่องจะติดตั้งบนร่องดิ่งในกำแพงปราสาท และอาจจะยกขึ้นหรือลงได้อย่างรวดเร็วโดยการใช้โซ่หรือเชือกที่ร้อยกับระบบเครื่องกว้าน ทางเข้าปราสาทหลักมักจะมีประตูชักรอกสองช่อง ประตูด้านในเป็นประตูที่ปิดก่อน ตามด้วยประตูนอก ซึ่งทำให้เป็นกับดักข้าศึกระหว่างประตูสองช่อง เหนือช่องดักก็อาจจะมีช่องสังหารบน เพดานที่ผู้ป้องกันปราสาทสามารถใช้เพื่อการยิง หรือหย่อน หรือเทสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น ทรายร้อนหรือน้ำร้อนลงมายังข้าศึกผู้ติดกับอยู่ได้ ส่วนด้านข้างบนกำแพงก็จะมีช่องธนูที่นายขมังธนูใช้ยิงข้าศึกได้
(5) ใบสอ (Merlon) - เป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงบัง (parapet) ของเชิงเทิน (battlement) ที่บางครั้งสลับกับ “ช่องกำแพง” (Embrasure หรือ Crenel) ใช้ประโยชน์ทั้งทางการป้องกันทางยุทธการและในการตกแต่ง
(6) ช่องกำแพง (Embrasure หรือ Crenel)
(7) สะพานชัก (Drawbridge) - สะพานไม้หนักที่ยกขึ้นลงได้
(8) (17) (18) (27) หอคอย (Tower) - เป็นอาคารสูงที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์สำหรับคอยระวังเหตุและสังเกตการณ์ หอคอยมักสร้างขึ้นในลักษณะทางสูงและสามารถยืนอยู่ด้วยโครงสร้างของตัวเอง
(9) Berm - พื้นที่ระหว่างฐานของกำแพงม่าน (curtain wall) หรือป้อมปราการ กับขอบด้านในของคูปราสาท เพื่อป้องกันไม่ให้เศษหินจากกำแพงหล่นลงไปในคูน้ำ ซึ่งจะทำให้ข้าศึกบุกเข้ามาได้ง่ายขึ้น
(10) ช่องเชิงเทิน (Machicolation) - ช่องบนพื้นเชิงเทินที่เปิดได้ระหว่างคันทวย ใช้ในการหย่อนหินหรือของร้อนลงมายังหรือยิงศัตรูที่อยู่ข้างล่าง เชิงเทินที่มีช่องจะสร้างยื่นออกไปจากตัวกำแพง เชิงเทินชั่วคราว (Hoarding) เป็นสิ่งก่อสร้างที่คล้ายกับเชิงเทินแต่สร้างด้วยไม้เฉพาะช่วงเวลาที่ถูกล้อม ช่องเชิงเทินได้เปรียบกว่าเชิงเทินชั่วคราวเพราะเป็นส่วนหนึ่งของเชิงเทินที่สร้างด้วยหินซึ่งทำให้ปลอดภัยจากการถูกไฟไหม้
(11) Salient - ส่วนที่นูนยื่นออกมาบนกำแพงเป็นหัวลูกศร
(12) Cannon-port หรือ Loophole - ช่องบนกำแพงที่ใช้สอดปืนเพื่อยิงข้าศึก
(13) หน้าต่าง (Light) - หน้าต่างที่มีกรอบไม้แบ่ง
(14) ทางลาด (Slope หรือ glacis) - ทางหินชันที่ฐานของป้อมปราการ เพื่อกีดขวางการบุกรุกและการวางบันได
(15) ประตูหลัง (Postern gate) - ทางเข้าด้านข้าง หรือ ทางเข้าที่ไม่สำคัญ หรือ ประตู (ลับ) สู่ปราสาท คนเดินเท้าเข้าประตูนี้ในยามที่ไม่มีศึกสงคราม
(16) Brattice (bretèche) - ระเบียงขนาดเล็กพร้อมช่องเชิงเทิน มักสร้างเหนือประตูหรือมุมป้อม เพื่อยิงหรือโยนวัตถุใส่ศัตรูที่อยู่ด้านล่าง
(19) หน้าต่าง (Window) - หน้าต่างที่ยื่นออกมาจากหลังคา (Dormer window)
(20) หอเล็ก (Turret หรือ Turis) - หอเล็กเป็นหอที่ยื่นออกมาจากกำแพงของสิ่งก่อสร้างเช่นปราสาทในยุคกลาง เดิมวัตถุประสงค์ของหอเล็กก็เพื่อใช้ในการเพิ่มระบบการป้องกันที่สามารถ ป้องกันตัวสิ่งก่อสร้างจากการถูกโจมตีจากกำแพงที่ติดกันโดยการสาดอาวุธไปยัง จุดที่ต้องการบนกำแพงของป้อมปราการ แต่เมื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์หมดความสำคัญลงไป หอเล็กก็สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการตกแต่งเท่านั้น
หอเล็ก
(21) ช่องโค้ง (Arch) - โครงสร้างลักษณะโค้งที่ใช้รองรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างด้านบนเหนือตัวมันเอง ประโยชน์ของอาร์ชคือใช้เป็นโครงสร้างในการเชื่อมต่อบริเวณช่องของส่วนโครงสร้างอื่น ออกแบบเพื่อรับแรงอัดในแนวดิ่ง โดยการเปลี่ยนแรงอัดในแนวดิ่งเป็นแรงอัดในแนวระนาบของอาร์ชและถ่ายแรงลงสู่ฐานทั้งสองข้างของอาร์ช
(22) Geminate - วัตถุที่เป็นคู่ แต่ไม่ติดกัน
(23) ธง (Banner)
(24) หอกลาง (Keep) - หอที่เป็นศูนย์กลางที่ใช้เป็นคุกปราสาท (dungeon) หรือเป็นป้อม โดยทั่วไปแล้วหอกลางจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ได้รับการป้องกันอย่างแน่นหนาที่สุดในปราสาท ฉะนั้นจึงมักจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือเป็นที่เก็บอาวุธ, อาหาร หรือบ่อน้ำหลักที่ทำให้อยู่รอดได้ในระหว่างที่ถูกล้อม
(25) (31) ช่องธนู (Balistraria หรือ Arrow loop หรือ Arrow slit) - ช่องแคบภายในสิ่งก่อสร้างทางยุทธการเช่นบนกำแพงปราสาทหรือในใบสอของเชิงเทินของปราสาทที่นายขมังธนูใช้ในการยิงไปยังข้าศึกโดยไม่เป็นอันตรายต่อตนเอง ด้านในของกำแพงที่ใช้ในการสร้างช่องธนูมักจะถูกสร้างลึกเข้าไปเป็นมุมในผนังหรือกำแพงเพื่อให้ผู้ขมังธนูใช้ได้ทั้งเล็งและยิงเป้าได้ตามต้องการ รูปทรงของช่องก็ทรงและขนาดต่างๆ กัน แต่ที่เป็นที่รู้จักกันคือรูปกางเขน การทำเป็นช่องแคบยาวสามารถทำให้ปรับระดับการยิงให้สูงต่ำตามต้องการได้ แต่ผู้อยู่ภายนอกสามารถทำอันตรายต่อผู้อยู่ภายในได้ยากเพราะความแคบของช่องธนู
(26) ครีบยัน (Buttress หรือ contrefort) - วัสดุหรือส่วนของโครงสร้างที่ใช้พยุง รับน้ำหนัก ยึด วัตถุ สิ่งของ หรือโครงสร้าง ให้มีความแข็งแรง มีเสถียรภาพในการคงอยู่ ไม่ล้ม หรือพังทลาย
(28) คอกม้า (Stables)
(30) Wooden gallery - สิ่งก่อสร้างไม้สำหรับป้องกันข้าศึกรอบนอก ยื่นออกมาจากกำแพงม่าน (curtain wall), หอคอย (tower), หรือล้อมรอบกำแพงทั้งหมด
(32) กำแพงอิฐ (Parapet) - กำแพงที่ตำ่กว่าด้านนอกของกำแพงหลัก (main wall)
วัดน้อย (chapel) - ศาสนสถานที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา
คูปราสาท (Moat) - ร่องน้ำกว้างและลึกที่อาจจะเป็นคูแห้งหรือที่มีน้ำขังที่ขุดขึ้นรอบปราสาท สิ่งก่อสร้าง หรือ เมือง เพื่อใช้เป็นระบบการป้องกันจากการโจมตีจากบุคคลภายนอก การมีคูทำให้ยากต่อการเข้าโจมตีกำแพง หรือการใช้อาวุธที่ช่วยในการปีนกำแพงเช่นหอล้อมเมืองเคลื่อนที่ (siege tower) หรือ ไม้กระทุ้งกำแพง (Battering ram) ซึ่งเป็นอาวุธที่ต้องนำมาจ่อที่กำแพงจึงจะใช้ได้ นอกจากนั้นคูที่เป็นน้ำยังทำให้ยากต่อการพยายามขุดอุโมงค์ภายใต้กำแพงเพื่อ ทำการระเบิดทลายกำแพงได่อย่างมีประสิทธิภาพ คูน้ำมักจะพบในบริเวณที่เป็นที่ลุ่มและมักจะเชื่อมกับแผ่นดินด้วยสะพานชัก ที่ต่อมามักจะสร้างแทนด้วยสะพานหิน นอกจากการสร้างคูแล้ว ปราสาทอาจจะตั้งอยู่บนเกาะเล็กๆ ที่มีน้ำล้อมรอบที่ก็ใช้เป็นระบบการป้องกันเช่นกัน
กำแพงม่าน (Curtain wall) - กำแพงป้องกันที่ล้อมรอบลานปราสาทภายใน (bailey หรือ ward) กำแพงต้องมีความสูงพอที่ไม่ให้ข้าศึกปีนขึ้นด้วยบันไดโดยง่าย และต้องมีความหนาพอที่จะทนทานแรงระเบิดของเครื่องมือกลไกต่างๆ ที่ใช้ในการทำลายกำแพงได้ โดยทั่วไปแล้วกำแพงก็จะหนาราว 3 เมตร และสูงราว 12 เมตร ต่างกันไปมากแล้วแต่ที่ตั้ง กำลังทรัพย์ และความสำคัญของปราสาท
ลานปราสาท (bailey หรือ ward) - ลานรอบตัวปราสาท เป็นที่ตั้งของบ้านเรือนของผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับปราสาท และเป็นบริเวณที่ได้รับการคุ้มครองจากอันตรายภายนอก ค่ายสำหรับทหาร, โรงม้า, โรงช่าง และ โรงเก็บเสบียงก็มักจะตั้งอยู่ในบริเวณนี้
มุขป้อม (Bastion) - โครงสร้างที่ยื่นออกมาจากกำแพงเมืองหรือกำแพงปราสาทที่แบนราบของป้อมปราการ ที่ช่วยในการป้องกันการโจมตีจากข้าศึก และเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ป้องกันปราสาทหรือเมืองในการโจมตีข้าศึกตรงที่เป็นกำแพงม่าน (Curtain wall) ระหว่างมุขป้อมสองมุข มุขป้อมสร้างขึ้นเพื่อทำให้การป้องกันเมืองหรือปราสาทจากผู้รุกรานเป็นไปได้ง่ายขึ้น
อ้างอิง
[EN] http://www.allcrusades.com/CASTLES/GLOSSARY_OF_CASTLE_TERMS/glossary_of_castle_terms.html (รวมคำศัพท์เกี่ยวกับปราสาท)
[TH] http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97 (ปราสาท)
อ่านเพิ่มเติม
[EN] http://www.castlesandmanorhouses.com/architecture.htm (ส่วนต่างๆ ของปราสาท มีภาพประกอบแต่ละส่วนเยอะดี)
[EN] http://history.howstuffworks.com/historical-figures/castle.htm
[EN] http://thehelpfulartteacher.blogspot.com/2012/02/medieval-castles.html
[TH] ตามรอย 8 ปราสาทในเทพนิยายที่เยอรมนี http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9550000069299
[TH] ความแตกต่างระหว่าง ปราสาท หรือ วัง หรือ คฤหาสน์ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97,_%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87_%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD_%E0%B8%84%E0%B8%A4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%8C
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น