ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #31 : สาธารณรัฐมอลตา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.33K
      0
      2 ก.พ. 50



     
    สาธารณรัฐมอลตา
    Republic of Malta


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประกอบด้วยหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง เกาะที่มีขนาดใหญ่และมีประชาชนอาศัยอยู่ ได้แก่ มอลตา โกโซ(Gozo) โคมิโน (Comino) โคมินอตโต (Cominotto) และฟิลฟลา (Filfla) เกาะมอลตา
    เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ห่างจากเกาะซิซิลีของอิตาลีไปทางใต้ 93 กิโลเมตร และห่างจากชายฝั่งประเทศลิเบีย 290 กิโลเมตร มอลตาไม่มีภูเขาหรือแม่น้ำ

    เมืองหลวง วัลเล็ตตา (Valletta) ตั้งอยู่บนเกาะมอลตา

    เมืองสำคัญ Sliema Birkirkara Qormi Rabat Victoria

    จำนวนประชากร 394,000 คน (2546)

    เชื้อชาติ อิตาเลียน อาหรับ ฝรั่งเศส

    ภาษาราชการ มอลติส (Maltese) และอังกฤษ

    ศาสนา โรมันคาธอลิก ร้อยละ 91

    วันชาติ 21 กันยายน (ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2507)

    สกุลเงิน Maltese Lira (MTL) อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2549
    1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 0.38 มอลตีส ลีร่า

    การเมืองการปกครอง
    ระบบการเมือง สาธารณรัฐ

    รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภาโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

    ประมุข นาย Edward Fenech Adami (รับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2547)

    นายกรัฐมนตรี นาย Lawrence Gonzi (รับตำแหน่งตั้งแต่ 5 เมษายน 2547)

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Michael Frendo (รับตำแหน่งตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2547)

    พรรคการเมือง พรรคการเมืองสำคัญ ได้แก่
    - พรรค Nationalist (PN) หัวหน้าพรรค คือ นาย Lawrence Gonzi นายกรัฐมนตรี
    - พรรค Malta Labor (MLP) หัวหน้าพรรค คือ นาย Alfred Sant
    - พรรค Alternativa Demokratika (green party) หัวหน้าพรรค คือ นาย Harry Vassallo

    ภูมิหลังการเมืองการปกครอง - นโยบายด้านการต่างประเทศ
    มอลตาเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2344 และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2507 โดยได้รับความช่วยเหลือด้านการป้องกันประเทศและการเงินตามข้อตกลงที่มีกับอังกฤษเป็นระยะเวลา 10 ปี มอลตาเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2507 และยังอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ อย่างไรก็ดี ในช่วงสงครามเย็น มอลตามีรัฐบาลที่มาจากพรรคแรงงาน นำโดยนาย Dom Mintroff ซึ่งมีแนวทางสังคมนิยม-ชาตินิยม จึงดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-alignment) อย่างจริงจัง และได้ขอยกเลิกความตกลงที่ทำไว้กับอังกฤษฉบับปี 2507 และปี 2515 โดยขอทำความตกลงฉบับใหม่ซึ่งมีเนื้อหาที่จะรักษาอธิปไตยของประเทศและเพื่อเป็นหลักประกันว่า มอลตาจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่จากการที่มีฐานทัพนาโตประจำอยู่ในมอลตา ความตกลงฉบับใหม่มีระยะเวลา 7 ปี (ปี 2515-2522) สาระสำคัญโดยสรุปคืออังกฤษต้องจ่ายค่าเช่าในการคงฐานทัพในมอลตา 14 ล้านปอนด์ต่อปี ต่อมา ในเดือนมีนาคม 2522 รัฐบาลมอลตาได้ขอยกเลิกการต่อสัญญาให้เช่าพื้นที่สำหรับเป็นฐานทัพ ทำให้กองกำลังอังกฤษต้องถอนกำลังออกจากมอลตาตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ รัฐบาลมอลตายังมีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการค้ากับหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อิตาลี สหภาพโซเวียต จีน กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก ลิเบีย ตูนิเซีย และตกลงรับความช่วยเหลือด้านวิชาการจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะลิเบีย อีกทั้งได้ลงนามในความตกลงรับรองความเป็นกลางและการร่วมมือทางการค้ากับประเทศต่างๆ ผลของการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดอย่างจริงจังทำให้ในปี 2524 สหภาพโซเวียตและอิตาลีได้ตกลงรับรองความเป็นกลางของมอลตา โดยเฉพาะอิตาลี ได้ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการเงินแก่มอลตาเป็นระยะเวลา 5 ปี นอกจากนั้น มอลตายังมีความตกลงร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในปี 2513 ซึ่งได้ต่ออายุความตกลงมาจนถึงปัจจุบันในเวทีระหว่างประเทศ ปัจจุบัน มอลตาเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญหลายองค์การ อาทิ สหประชาชาติ กลุ่ม 77 IAEA OSCE UNCTAD UNESCO เป็นต้น
    มอลตาได้ถอนตัวจากการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 มอลต้าได้เพิ่มบทบาทของตนเองในนโยบาย EU-Mediterranean ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม ระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศอื่นๆ (โมรอโค อัลจีเรีย ตูนิเซีย อียิป อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย และ ตุรกี
    ในเดือน กุมภาพันธ์ 2549 กระทรวงการต่างประเทศมอลต้าเสนอนโยบายด้านการต่างประเทศซึ่งเน้น
    การเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ระหว่างมอลต้ากับประเทศอื่นที่ชาวมอลต้าได้ย้ายถิ่นฐานไป

    เศรษฐกิจการค้า
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 7.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

    อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ 1.0 (2549)

    รายได้เฉลี่ยต่อหัว 7,926 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)

    อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.0 (2549)

    ปริมาณการส่งออก 2.744 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

    ปริมาณการนำเข้า 3.859 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

    สินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง

    สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักร อาหารและสัตว์ ผลิตภัณฑ์เคมี แร่ธาตุ เครื่องดื่มและยาสูบ

    ประเทศคู่ค้าสำคัญ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เยอรมนี อังกฤษ อิตาลี

    ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ หินปูน เกลือ พื้นดินที่เหมาะกับการเพาะปลูก

    อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ การต่อและซ่อมเรือ การก่อสร้าง อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ รองเท้าและอุปกรณ์ ยาสูบ

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐมอลตา
    ความสัมพันธ์ทางการทูต
    ประเทศไทยและมอลตาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2527 โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน รับผิดชอบดูแลประสานงานและติดต่อกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่มอลตาประจำกรุงลอนดอน ต่อมา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 ไทยได้ปรับเปลี่ยนให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรมมีเขตอาณาครอบคลุมมอลตา ต่อมา ในปี 2540 ไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์มีเขตอาณาครอบคลุมมอลตามาจนถึงปัจจุบัน

    กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐมอลตา
    นาย William Hugh Carbonaro

    ความสัมพันธ์ทางการเมือง
    แม้ไทยและมอลตาจะอยู่ห่างไกลกัน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศดำเนินมาโดยราบรื่น ไม่มีปัญหาทางการเมืองใดเป็นการเฉพาะระหว่างกัน

    ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ
    1. การค้ารวม
    การค้ารวมไทย-มอลตา ในช่วงปี 2542-2544 มีมูลค่าเฉลี่ย 23.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการค้ารวมในปี 2545 มีมูลค่ารวม 38.5 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 25.0 โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 15.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    สำหรับปี 2546 (มกราคมึสิงหาคม) การค้ารวมไทย-มอลตา มีมูลค่า 43.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 112.68 โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 28.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ในปี 2549 (ม.ค.-ต.ค.) การค้ารวมไทย-มอลต้า มีมูลค่าเฉลี่ย 48.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 27.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการค้ารวมในปี 2548 มีมูลค่าเฉลี่ย 45.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 24.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    2. การส่งออก การส่งออกของไทยไปมอลตาในช่วงปี 2542-2545 มีมูลค่า เฉลี่ย 11.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกรวมของปี 2545 มีมูลค่า 11.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับปี 2544
    สำหรับปี 2546 (มกราคม ึ สิงหาคม) การส่งออกของไทยไปมอลตามีมูลค่า 7.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 1.33
    สำหรับปี 2548 การส่งออกของไทยไปมอลตามีมูลค่า 10.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2547 ร้อยละ 17.3
    ในปี 2549 (ม.ค.-ต.ค.) การส่งออกของไทยไปมอลตามีมูลค่า 10.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 2548 ร้อยละ 14.8
    สินค้าออกสำคัญของไทย ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป รถยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งทออื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น

    3. การนำเข้า
    การนำเข้าสินค้าจากมอลตาในช่วงปี 2542-2545 มีมูลค่าเฉลี่ย 23.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี 2545 ไทยนำเข้าสินค้าจากมอลตามีมูลค่า 26.8 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 39.58
    สำหรับปี 2546 (มกราคม ึ สิงหาคม) การนำเข้าจากมอลตามีมูลค่า 35.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 176.15
    สำหรับปี 2549 (มกราคม ึ ตุลาคม) การนำเข้าจากมอลตามีมูลค่า 38.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 ซึ่งมีมูลค่า 30.1 ร้อยละ 26.2

    สินค้านำเข้าสำคัญจากมอลตา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม้แปรรูป วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ส่วนประกอบ รวมทั้งโครงรถและตัวถัง เป็นต้น


    4. ดุลการค้า ในปี 2545 ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามอลตา 15.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามอลตา 41.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ในปี 2548 ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามอลตา 24.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ในปี 2549 (ม.ค.-ต.ค.) ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามอลตา 27.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ความตกลงทวิภาคีที่อยู่ระหว่างการเจรจา/จัดทำ
    อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย-มอลตา (Agreement for the Avoidance of Double Taxation)

    การท่องเที่ยว
    นักท่องเที่ยวชาวมอลตาที่เดินทางมาไทยในปี 2543 มีจำนวน 777 คน ในปี
    2544 มีจำนวน 877 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.87) สำหรับปี 2545 มีจำนวน 1,068 คน

    ร้านอาหารไทยในมอลต้า
    ปัจจุบันมีร้านอาหารไทย 2 ร้านในมอลต้า ทั้งสองร้านมีเจ้าของชาวต่างชาติและพ่อครัวและแม่ครัวเป็นชาวไทย

    การแลกเปลี่ยนการเยือน
    ฝ่ายมอลตา มิถุนายน 2536 นาย Guido de Marco รองนายกรัฐมนตรีมอลตาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยนั้นเดินทางเยือนไทย
    ฝ่ายไทย ฝ่ายไทยยังไม่เคยเดินทางไปเยือนมอลตาในทุกระดับ

    หน่วยงานของไทยในมอลตา
    สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเอเธนส์
    สาธารณรัฐเฮลเลนิก
    มีเขตอาณาดุแลสาธารณรัฐมอลตา
    Royal Thai Embassy 23 Taigetou StreetP.O. Box 65215, Athens Hellenic Republic
    Tel. (301) 671-0155, 671-5604672-7674,675-5155
    Fax (301) 674-9508
    E-mail : thaiath@mail.otenet.gr

    เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเอเธนส์ (Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)
    นายชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ

    สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐมอลตา
    Royal Thai Consulate 45 Regent House, Bisazza Street Sliema
    Republic of Malta
    Tel (356) 335-852, 338-175
    Fax (356) 319-324

    กงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consul)
    Mr. William Hugh Carbonaro

    หน่วยงานของมอลตาในไทย
    สถานกงสุลกิตติมศักดิ์มอลตาประจำประเทศไทย (Consulate of the Republic of Malta)
    The Consulate of the Republic of Malta
    485/21 Silom Road Bangkok 10500
    Office hour 09.00-15.30 (Mon-Fri)
    Tel. 0-2235-9423-4
    Fax 0-2236-6538

    กงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consul)
    Mr. Niphan Benjavilas

    มกราคม 2550

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×