ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #3 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ก)

    • อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 54


    หมวด ก

    กง  (สำนียงใต้ออกเสียงเป็น ก๋ง)  (น.)   จงโคร่ง, คางคกไฟ : คางคกพันธุ์ใหญ่  สี
          น้ำตาลหม่น
    นถึงสีดำ ลำตัวยาวประมาณ 10 -12 นิ้ว กว้าง 5 -8 นิ้ว สูงประมาณ
         
    4 -5.5 นิ้ว มีขายาว 6-8 นิ้ว ขาหน้าจะสั้นกว่าขาหลัง นิ้วเท้าจะมี 4 นิ้ว ระหว่างนิ้ว
          เท้าจะมีพังผืดเป็นแผ่นคล้ายตีนเป็ด นิ้วกลางจะยาวมากว่านิ้วอื่น ๆ
    กงมักอาศัย
         
    อยู่ตามริมป่าริมเขาที่มีสายน้ำไหลผ่าน ตุ่มที่หนังของกงมีพิษ ในสมัก่อนใช้
         
    หนักง ตากแห้ง เป็นส่วนผสมในยาพิษ

          

           
    ชาวไทยถิ่นใต้ มีความเชื่อว่า  กง เป็นสัตว์แห่งโชคลาภ  หากกงขึ้นบ้านใครแล้ว
           เจ้าของบ้านจะมีโชคลาภอยู่เสมอแต่เมื่อมีการเจ็บป่วยขึ้นภายในบ้านหรือมีเรื่อง
           ไม่ดีภายในบ้านกงจะไม่อยู่ในบ้านนั้นอีก  ดังนั้น ถ้ากงเข้าไปในบ้านใครเจ้าของ
           บ้านจะจับกงอาบน้ำทาแป้งให้  พร้อมทั้งจัดอ่างน้ำไว้ ใกล้ๆที่กงอยู่ เพื่อให้กงได้
           เล่นน้ำ

    กรวม   (ว.)  คร่อม     เช่น  นั่งกรวม  (นั่งคร่อม)
           
     
    " สาวๆ นุ่งกระโปรง เวลาซ้อนท้ายรถเครื่องอย่านั่งกรวม มันน่าเกลียด แต่ถ้า
             ให้ดีนุ่งกาง
    เกง  แล้วนั่งกรวมไปเลย ปลอดภัยดี "

    กร็อกแกร็ก  (น.) ไฮโล, การพนันชนิดหนึ่ง

    กราด   (ว.)  ล็ก แคระแกร็น (มักใช้กับต้นไม้)

    กริบตา (ก.) กระพริบตา 
              ( เปรียบเทียบกับภาษามลายูจะใช้คำว่า
    kalip ในความหมายเดียวกัน )

    กรี     (น.)  อุปกรณ์ที่ใช้ในการดายหญ้า เป็นมีดงอ ด้ามสั้น สันและคมมีดหักมุมได้
              ฉากกับด้าม เวลาดายหญ้า  จะต้องนั่งย่องๆ แล้วใช้ 
    กรี  ดึงต้นหญ้า กอหญ้า
              เข้าหาตัว

    กล้วยหลา (น.) มะละกอ  
           ( เป็นคำในภาษาไทยเจ๊ะเห  ที่ใช้ในภาษาสงขลา
    -คลองหอยโข่งดั่งเดิม ปัจจุบัน
           คนคลองหอยโข่งที่เรียกมะละกอว่า
    กล้วยหลา มักมีอายุ 60-70 ปี ขึ้นไป)

    กล้า   (น.) พันธุ์ไม้ที่เพาะไว้เพื่อนำไปปลูกที่อื่น 
            
    (ก.) ไม่กล้ว   ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้คำนี้ใน ความหมาย   สู้งาน, ขยัน
         
    " ลูกสาวบ้านนี้ กล้าจัง ทำงานทั้งวัน ไม่หยุดเลย" = ลูกสาวบ้านนี้เป็นคนขยัน

    กวายหลาย (ว.)ลักษณะอาการของคนที่พยายามไขว่คว้าหาสิ่งยึดเหนี่ยว เพื่อช่วย
             เหลือตัวเองให้พ้นภัย
             
    " แรกวา เห็นเณรไข เมาเหล้าเดินพลัดลงในคู   นอนกวายหลาย หย๋ใน
            
    ป่าบอน ไม่มีใครช่วยเณรไข เลย "

    ก๋อง,  หลังก๋อง  (น.)  หลังค่อม,  หลังโก่ง

    ก็องโท้   (ว.)  เที่ยงตรง  ซื่อสัตย์ ไม่ฉ้อโกง   คำนี้มักใช้ในวงการพนัน เช่น
            
    "จะหาเจ้ามือปอ ที่เล่น ก็องโท้ ได้ที่ไหนละ"
                  ปอ 
    โป (การพนันชนิดหนึ่ง)

    กองลุย,  กองเอ  (ว.มากมายก่ายกอง, มีมากเหลือเกิน
             (ในภาษาสงขลามักจะใช้
    คำว่า กองลุย  มากกว่าแต่ถ้าใชัคำว่า กองเอ ก็เป็น
             ที่เข้าใจ)

    ก็องสี้  (น.) (มาจากภาษาจีน ) ที่พักของคนงานในสวนยาง เป็นอาคารชั้นเดียว
              ติดดิน และมีคนงานพักรวมกันหลายคน หรืออาจจะหลายครอบครัวก็ได้

    กะ   (ส.)  ก็
            
    " ฉาน กะ ไป "   =   ฉันก็ไป

    กะเบอะเบอะ,  กะเมอะ,  เมอะ    (ส.)  อันที่จริง,  ในความจริง,  ก็,  ก็เพราะว่า
              คำนี้ใช้มากในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา
    -คลองหอยโข่ง) 
    เบอะ / กะเบอะ  จะ
              วางไว้หน้า
    หรือหลังคำที่ต้องการเน้น ก็ได้
      ตัวอย่างเช่น 
             
    " กะเบอะ มึงเสือกเอง "    " เสือกเอง เบอะ "
            
       ก็มึงเสือกหาเรื่องเอง ,  ก็เพราะมึงเสือกเอง
             
    " เบอะ พี่หลวงซื้อแล้ว แรกวา   แล้วซื้อไส่ หล่าว
            
     
      ก็พี่ซื้อแล้วเมื่อวาน  แล้วซื้อทำไมอีก

    กัน     1. (ว.) ด้วย      " ไปกัน "  ไปด้วย
             2. 
    (ก.)  กัน  กีดกัน  กันผม (ความหมายเดียวกันกับภาษากรุงเทพ)
            
    3.
    (ก.)   บั้ง (ปลา) 
                
    " กันปลา "  บั้งปลา
             4. 
    (น.)  กัน  ลักษณะของป่าไม้ เรียกว่า ป่ากัน เป็นป่าละเมาะเกิดจากการทำ
            ไร่แบบเลื่อนลอย แล้วปล่อยทิ้งไว้ จนมีต้นไม้ขึ้นเป็นหย่อมๆ

    กางหลาง   (ว.) เกเร  ทำอะไรที่ค่อนข้างขวางหูขวางตา
                ( ความหมายใกล้เคียงกับคำว่า กวนตีน )

    กาหลอ  (น.)ชื่อของการแสดงดนตรีที่ใช้ประโคมในงานศพตามประเพณีปักษ์ใต้ 
             เชื่อ
    กัน
    ว่าคำว่า กาหลอ มาจากพระกาฬ หมายถึง พระอิศวรเทพแห่งความตาย
             ซึ่งชาวไทยปักษ์ใต้เรียกว่า พระกาหลา คู่กับ พระกาหลี(เจ้าแม่กาลี พระชายา
             ของพระอิศวร)  และคำว่า กาหลา ตามสำเนียงมลายูท้องถิ่น จะออกเสียงเป็น
              กาหลอ ครื่องดนตรีที่เล่น ก็เป็นเครื่องดนตรีตามแบบมลายูโบราณ จึงเชื่อกัน
             ว่า ไทยปักษ์ใต้  น่าจะรับการแสดงกาหลอมาจากชวา/มลายู ในสมัยศรีวิชัย
              (ก่อนยุคศาสนาอิสลาม)  ข้อมูลเพิ่มเติม

    กาหลา  (น.) ชื่อของพันธุ์ไม้ตระกูลข่า  พืชท้องถิ่นชนิดหนึ่งของปักษ์ใต้ชื่อของพืช
            พันธุ์นี้ พ้องเสียงกับคำ พระกาหลา - พระกาฬ  ( พระอิศวรเทพแห่งความตา
          
     ในอดีตจึงไม่นิยมนำมาปลูกในบ้าน  และไม่นิยมนำดอกกาหลาไปบูชาพระ

              ( ปัจจุบันคนปักษ์ใต้น้อยคนที่จะรู้ความหมายของคำ กาหลาในอดีต ประกอบ
            กับ
    กาหลา ได้ชื่อใหม่เป็นดาหลาจึงนิยมนำมาปลูกกันทั่วไป โดยเริ่มจากปลูก
            เป็น
    ผักเหนาะ ช้ทานคู่กับขนมจีนหรือข้าวยำ     ต่อมา ก็ปลูกเป็นไม้ตัดดอก
            ขาย
    ถือเป็นไม้ตัดดอกที่ทนทาน อยู่ได้หลายวัน  มีราคาดี )

    ก้าไหว  (น.) ชื่อการเล่นกีฬาชนิดหนึ่งของเด็กๆในชนบทเขตคลองหอยโข่ง-สงขลา
             ที่ใช้ลูกบอลยาง( ขนาดลูกเทนนิส)  ทำด้วยลูกโป่ง พันด้วยยางพารา  วิธีเล่น
             จะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายใช้ลูกบอลขว้างไปมา  การขว้างจะมีท่าทาง และ
             วีธีขว้างแบบต่างๆ ลูกบอลที่ใช้ขว้าง เรียกว่า ลูกกาไหว   (กีฬาของเด็กชนิดนี้
             ชาวสวนยางจะไม่ค่อยชอบเนื่องจากเด็กๆมักจะเข้าไปขโมยลอกหน้ายางใน
             สวนยางพารา มาพันลูกบอล )

    กาศ (ก.) อัญเชิญวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เพื่อเป็นศิริมงคล  หรือเพื่อช่วย
             ปกปักรักษา ในยามที่ประสบความทุกข์ยากและอันตราย  
    (กร่อนมาจากคำว่า
             ประกาศ)  เช่น    
    "กาศครู"  หมายถึง การอัญเชิญวิญญาณของครูบาอาจารย์
             มาประจำ ณ โรงพิธี (โรงหนังตลุง โนรา ฯลฯ )    เพื่อเป็นศิริมงคลก่อนจะทำ
             การเล่น,      
    "กาศตายาย" หมายถึง การอัญเชิญวิญญาณองบรรพบุรุษปู่ย่า
             ตายายเพื่อ ช่วยปกปักรักษาลูกหลาน
         หรือ อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่
             เรานับถือ เพื่อช่วยปกปักรักษา เช่น 
    "กาศหลวงพ่อทวด", "กาศพ่อท่านคล้าย"

    กำชำ  (.)  มะหวด (พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง)

    กำพรัด, คำพรัด (.)การว่ากลอนหรือขับกลอนของ โนรา ศิลปะประจำถิ่นใต้ หาก
             นำบทกลอนที่แต่งไว้ก่อนแล้วหรือกลอนที่มีมาตั้งแต่โบราณมาขับ จะเรียกว่า
             
    "ว่าคำพรัด"  หรือ "ว่ากำพรัด" แต่หาก โนรา สามารถขับกลอนที่เกี่ยวกับ
             บุคคลสถานที่หรือเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นกลอนสดจะเรียกว่า
    "ว่ามุดโต"

    กำพรึก, ลูกกำพรึก (.) กัลปพฤกษ์ ต้นไม้สาระพัดนึก ขึ้นอยู่ตามสี่มุมเมืองในยุค
             พระศรีอารย์ เชื่อกันว่า หากประสงค์สิ่งใด ก็สามารถเก็บ หรือสอยเอาได้ตาม
             ปรารถนา
          
      "หว่านลูกกำพรึก"  การโปรยทานในพิธีเผาศพ มักใช้สตางค์ หรือเงินเหรียญ
             ยัดใส่ในลูกมะนาว หรือห่อด้วยกระดาษสี กระดาษแก้ว โดยจะโปรย
    ขณะไฟ
             กำลังลุกไหม้ เพื่อให้ลูกหลาน ได้เก็บเป็นที่ระลึก หรือนำไปใช้จ่าย

    กิน  (ว.) คม  (ใช้กับของมีคม )
        
     
    "เมดนี้ ลับพันผรื่อกะไม่ กิน สักที" = มีดเล่มนี้ลับเท่าไร(อย่างไร)ก็ไม่คมสักที

    กุนหยี,   กุดหยี  (น.)  บานไม่รู้โรย(ดอกไม้)

    กุบ  (น.) กล่องหรือภาชนะเล็ก ๆ ที่มีฝาปิด ใช้ใส่ของ  เช่น  "กุบใส่ใบจากยาเส้น"

    กุบกับ (ว.)   รีบด่วน    " ทำอะไรกุบกับ "   ทำอะไรที่รีบด่วน

    กุลาหักคอ, แมงกุลาหักคอ (น.) แมงชนิดหนึ่งสีดำ มีปีกแข็ง เมื่อจับได้จะดีดตัวดัง
            เปาะๆ  (ถ้าจับตัวไว้ หัวจะดีดไปมา)   ในกรณีที่ แมงชนิดนี้ คลานเข้าหูเด็กๆ จะ
            อันตรายมาก  เนื่องจาก
    แมงกุลาหักคอ จะเข้าไปดีดอยู่ในรูหู

    กุหลิบ  กุหลิบ (ว.) ลักษณะการกระพริบตา มองผู้อื่นโดยสายตาที่ใสซื่อ
              ( มักเกิดขึ้นหลังจากที่ถูกตำหนิ )

    เก้ง   (ว.)   ทำอะไรไม่เสร็จ
          
    " ชามเก้ง " 
    ชามที่ทิ้งไว้ไม่ล้าง    
          
    " เด็กขี้เก้ง "   เด็กที่ถ่ายอุจจาระแล้ว ไม่ล้างก้น
          
          ( คำว่า "เก้ง" ในภาษาไทยถิ่นใต้ นี้ ใกล้เคียงกับคำว่า "แก้ง" ในภาษาไทยถิ่น
           อื่นๆ เช่น    "ไม้แก้ง" 
    ในภาษาไทยเพชรบุรี ที่หมายถึงไม้ที่ใช้เช็ดก้นแล้วทิ้ง
           "
    แก้งขี้พระร่วง "  ชื่อพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เนื้อไม้มีกลิ่นเหม็นคล้ายอุจจาระ  ใน
           ภาษาไทยโคราช )

    เกลียดแล  (ก.) รำคาญตา, ไม่อยากมอง
        
    กูเกลียดแล ไอ้เฒ่านี้จัง  อายุกะมาก หัวกะหงอก ยังทำตัวเหมือนเด็ก "
          
    กูรำคาญ ไอ้เฒ่านี้จัง  อายุก็มากแล้ว หัวก็หงอก ยังทำตัวเหมือนเด็ก

    เกลือน-อก  (ก.)  คลื่นใส้สะอิดสะเอียนรู้สึกรับไม่ได้ ต่อคำพูดหรือการกระทำ
             (ในบางท้องถิ่น คำนี้จะออกเสียงเป็น กวนอก )

    เกียงคางคกเกียงป๋อง (น.) ตะเกียงกระป๋อง ขนาดเล็กใช้น้ำมันก้าดเป็นเชื้อเพลิง

    เกียงฉอด  (น.)  ตะเกียงอะเซติลีน  อุปกรณ์ให้แสงสว่างของชาวสวนยาง ซึ่งจะผูก
             ตะเกียงให้ติดกับหมวก หรือ กาบหมากทำเป็นหมวก  สวมไว้ที่ศีรษะขณะกรีด
             ยาง
    (
    โล๊ะยาง) แสงไฟของ " เกียงฉอด"จะส่องให้เห็น "หน้ายาง"ได้ชัดเจน
             กรีดยางได้สะดวก

    เกียน   (น.เกวียน

    เกียด (ก.)  เขี่ยออก,   เขี่ยทิ้ง

    เกี๊ยะ  (น.ปลวก โดยเฉพาะปลวกทหารที่มีหัวโตทำหน้าที่ป้องกันศัตรู
             (
    ภาษาสงขลา - คลองหอยโข่ง )
            
     " ถ้าจะขุด เหมา ทำเหยื่อตกปลา กะอย่ากลัวเกี๊ยะขบ "  =  ถ้าจะขุดแมงเม่า
             ทำเหยื่อตกปลา  ก็อย่ากลัวปลวกกัด
           
     ( เปรียบเทียบกับภาษามลายู จะใช้คำว่า kiak-kiak ในความหมายเดียวกัน ) ,  แก็ด (ก.) กัดแทะ, กิริยาที่ใช้ฟันกัดแทะให้กร่อนทีละน้อย  เช่น แมลงสาบ
             กัดผ้าจะใช้ว่า 
    แมงสาบแก็ดผ้า ( แกร็ดผ้า ) ฟ้า 1.(น.กล็ดฟ้า,ก้อนเมฆระดับสูงมีลักษณะเป็นเกล็ดบางๆหรือเป็นละออง
            คลื่นเล็กๆอยู่ติดกัน เรียงรายกันอย่างมีระเบียบ เต็มท้องฟ้า    มักจะเห็นในช่วง
            หมดฤดูฝนของปักษ์ใต้   ( จัดอยู่ในกลุ่มเมฆ cirrocumulus  หรือ
    กลุ่มเมฆ
            altostratus )
            2. (ว.)   ลักษณะของผมที่เว้าแหว่งไม่เรียบ ไม่สวย เป็นคลื่นเหมือนเกล็ดฟ้า
            ปกติมักเป็นทรงผมของเด็กเล็กที่นั่งไม่นิ่งเวลาตัดผม  ทรงผมที่ได้จึงเรียกว่า
          
     "ทรงแกล็ดฟ้า"

    แกร็ด

    แกล็ด

     
    แกะ  (น.) ชื่อของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้าวในชุมชนปักษ์ใต้ (ถิ่นใต้บางท้องที่ จะเรียกว่า
            แกระ แกะ มีลักษณะเป็นใบมีดเล็กๆ ติดกับแผ่นไม้บางๆใช้เก็บข้าว(ตัดรวง
            ข้าว) ที่ละรวงและนำไปมัดเป็น
    เลียงข้าว   เลียงข้าวที่ได้จะนำไปกองซ้อนกัน
            ใน
    ห้องข้าว(ยุ้งข้าว)เก็บไว้ได้เป็นปี   ก่อนเก็บไว้ในห้อง เลียงข้าวจะต้องแห้ง
            สนิทไม่มีความชื้น

                กล่าวกันว่า
    แกะ  คือ  อารยธรรมร่วมในพื้นที่อาณาจักรศรีวิชัยในอดีต ที่ยัง
             หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน  ( จะเห็นได้จากการที่ ชาวนาปักษ์ใต้ของไทย ชาวนา
             มาเลเซีย สุมาตรา รวมทั้ง ชวา จะใช้ แกะ เก็บข้าว มีการมัดรวงข้าวเป็น
    เลียง
           
     ตลอดทั้งกรรมวิธีการเก็บ
    ใน  ห้องข้าว และการนวดข้าวที่เหมือนกัน จะผิดกัน
             ก็เพียงภาษาที่ใช้สื่อสารกันเท่านั้น)

    โก้    (ก.)    กู่  ตะโกน
            
    " อย่าโก้ให้ดัง มันหนวกหู "  
     อย่าตะโกนให้ดัง  มันหนวกหู

    โกง   1. (ก.)  ฉ้อโกง  ( เหมือนกับความหมายในภาษากรุงเทพ ) 
           
    2.  (ว.) ลักษณะอาการกริยาที่หยิ่งยโส ถือตัว ไม่คบผู้อื่น  เช่น 
             
    " ไอ้บ่าวนี้โกงจัง พอไปเรียนบางกอก  หลบ
    มาบ้าน ไม่แหลงกับใครเลยนะ "

    ก่ต่อพระอินทร์ (.) แมลงช้าง 
            ( แมลงชนิดหนึ่ง ที่ทำหลุมทรายไว้คอยดักจับ แมลงตัวเล็กๆที่ตกลงไป)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×