ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #29 : ราชรัฐลักเซมเบิร์ก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 879
      1
      2 ก.พ. 50



     
    ราชรัฐลักเซมเบิร์ก
    The Grand Duchy of Luxembourg


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ที่ตั้ง ยุโรปตะวันตก ทิศเหนือและตะวันตกติดต่อกับเบลเยียม ทิศทางตะวันออกติดต่อกับเยอรมนีและทิศใต้ติดต่อกับฝรั่งเศส

    พื้นที่ 2,586 ตารางกิโลเมตร

    ประชากร 451,600 คน (2546)

    ภาษา ลักเซมเบิร์กกิซ ฝรั่งเศส และเยอรมัน

    ศาสนา ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก (ร้อยละ 87) โปรเตสแตนท์ (ร้อยละ 13) ยิว และอิสลาม

    เมืองหลวง Luxembourg

    สกุลเงิน ยูโร

    วันชาติ 23 มิถุนายน (วันเฉลิมพระชนมพรรษาของกษัตริย์ลักเซมเบิร์ก)

    ระบบการเมือง ประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

    ประมุข H.R.H. Grand Duke Henri (ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2543)

    นายกรัฐมนตรี นาย Jean-Claude Juncker (เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2547) ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย

    รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Jean Asselborn (เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2547) ซึ่งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้วย

    สถาบันทางการเมือง
    รัฐสภาสภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies) มีสมาชิก 60 คน มาจากการเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และสภาที่ปรึกษา (Council of State) มีสมาชิก 21 คน โดยสมาชิก 7 คน ได้รับการแต่งตั้งจาก Grand Duke ที่เหลืออีก 14 คน สภาผู้แทนราษฎรเสนอชื่อให้ Grand Dukeแต่งตั้ง สภาที่ปรึกษาไม่มีอำนาจนิติบัญญัติ

    รัฐบาล นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีได้รับการเสนอชื่อจากสภาผู้แทนราษฎรและได้รับแต่งตั้งจาก Grand Duke ส่วนคณะรัฐมนตรี ได้รับการเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรีและได้รับการแต่งตั้งโดย Grand Duke เช่นกัน

    พรรคการเมือง Action Committee for Democracy and Justice (ADR), Christian Social People’s Party (CSV), Democratic Party (DP), Green Party,
    Luxembourg Socialist Workers’ Party (LSAP), Marxist and Reformed Communist Party

    องค์การระหว่างประเทศที่เข้าร่วม ACCT, Australia Group, Benelux, CCC, CE, EAPC, EBRD, ECE, EIB, EMU, EU, FAO, IAEA, IBRD, ICAO, ICC, ICFTU, ICRM, IDA, IEA, IFAD, IFC, IFRCS, ILO, IMF, IMO, Interpol, IOC, IOM, ISO, ITU, NATO, NEA, NSG, OECD, OPCW, OSCE, PCA, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UPU, WCL, WEU, WHO, WIPO, WMO, Wtro, ZC

    การเมืองการปกครอง
    ประวัติโดยย่อ
    ราชรัฐลักเซมเบิร์กเป็นรัฐขนาดเล็ก มีประวัติความเป็นมาย้อนหลังมากกว่า 1,000 ปี เมื่อปี ค.ศ. 963 Siegfried เคานท์แห่ง Ardennes และผู้ก่อตั้งราชวงศ์ลักเซมเบิร์กสร้างปราสาทในบริเวณเมืองหลวงของลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนั้น เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อนล้อมรอบหลายชั้น เป็นที่รู้กันทั่วไปในนาม “The Gibraltar of the North” ในช่วงปลายยุคกลางจนถึงศตวรรษที่ 15 ราชวงศ์ลักเซมเบิร์กมีความรุ่งเรืองมาก กษัตริย์หลายพระองค์ในยุโรปสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์นี้ อาทิ จักรพรรดิปกครองเยอรมนี 4 พระองค์ กษัตริย์ปกครองโบฮีเมีย 4 พระองค์ และกษัตริย์ปกครองฮังการี 1 พระองค์ กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของลักเซมเบิร์ก ในยุคนั้น ได้แก่ Henry VII, John the Blind, Wencelas, Charles IV และ Sigismund หลังจากนั้นลักเซมเบิร์กประสบความพ่ายแพ้ในสงครามหลายครั้ง และตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาติต่าง ๆ เช่น เบอร์กันดี สเปน ฝรั่งเศส ออสเตรีย และรัสเซีย จนกระทั่งสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 ในปี ค.ศ.1815 ลักเซมเบิร์กได้รับอิสรภาพอีกครั้ง โดยการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna)ได้ยกฐานะของลักเซมเบิร์กจาก Duchy เป็น Grand Duchy และมอบให้เป็นพระราชสมบัติส่วนพระองค์ของกษัตริย์เนเธอร์แลนด์ และในปี ค.ศ.1867 สนธิสัญญาลอนดอน (Treaty of London 1867) ได้รับรองบูรณภาพ แบ่งดินแดน และสิทธิในการปกครองตนเองของลักเซมเบิร์ก

    โดยที่ในปี ค.ศ. 1890 ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์และแกรนด์ดยุคของลักเซมเบิร์กในสมัยนั้นโดยไม่มีพระราชโอรสสืบทอด ทำให้ราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ตระกูล Nasseau ได้ขึ้นครองราชย์แทน และลักเซมเบิร์กเริ่มต้นมีราชวงศ์ของตนเองในรัชสมัยของแกรนด์ดัชเชส ชาร์ลอทท์ (Grand Duchess Charlotte) ลักเซมเบิร์กได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การพัฒนาดังกล่าวได้หยุดชะงักลงเมื่อเยอรมนีได้เข้ายึดครองลักเซมเบิร์กในระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทั้งๆ ที่ ลักเซมเบิร์กได้ประกาศความเป็นกลาง ต่อมาในปี ค.ศ.1964 กษัตริย์องค์ปัจจุบันของลักเซมเบิร์กคือ แกรนด์ดยุคจอง (Grand Duke Jean) ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชชนนี คือ แกรนด์ดัชเชส ชาร์ลอทท์ ซึ่งสละราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสหลังจากที่ทรงครองราชย์มานานถึง 45 ปี กษัตริย์องค์ปัจจุบันของลักเซมเบิร์กคือแกรนด์ดยุคอองรี (Grand Duke Henri) ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2000 เป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 ของราชวงศ์ Nassau สืบต่อจากแกรนด์ดยุคจอง พระราชชนก ซึ่งสละราชสมบัติหลังจากที่ครองราชย์นานถึง 36 ปี ให้แก่พระราชโอรส ภายหลังได้รับการปลดปล่อยโดยกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2ลักเซมเบิร์กได้ยกเลิกนโยบายความเป็นกลางและเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรด้านการเมือง เศรษฐกิจและการทหาร เช่น สหภาพยุโรป องค์กรสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ สหภาพยุโรปตะวันตก (Western European Union-WEU) และ OSCE (Organization for Security and Cooperation in Europe)

    การเมือง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 พรรค CSV (Christian Socialist Party) และพรรค LSAP (Luxembourg Socialist Workers’ Party) ซึ่งเป็นพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้งทั่วไปในลักเซมเบิร์ก เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2547 ได้บรรลุการเจรจาจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี โดยมีนาย Jean-Claude Juncker หัวหน้าพรรค CSV ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม และนาย Jean Asselborn หัวหน้าพรรค LSAP ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการเข้าเมือง ทั้งนี้ นาย Jean-Claude Juncker ได้นำคณะรัฐมนตรีรวม 15 ราย เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณตนเพื่อเข้ารับหน้าที่ต่อ Grand Duke of Luxembourg ในวันเดียวกัน

    นโยบายของรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนาให้ทันสมัย (modernization) นวัตกรรม (innovation) การปรับโอน (transformation) และบูรณาการ (integration) ในทุกๆ ด้าน

    นโยบายด้านการเงินการคลังจะเน้นความยืดหยุ่น จะดำเนินการด้วยความระมัดระวัง ส่วนการดำเนินนโยบายด้านงบประมาณจะต้องสอดคล้องกับ Stability Pact และนโยบายการพัฒนาของสหภาพยุโรป รวมทั้งจะปรับเปลี่ยนปีงบประมาณให้ตรงกับช่วงปีงบประมาณของสหภาพยุโรป

    นโยบายด้านเศรษฐกิจจะเน้นการส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ความทันสมัย และรูปแบบที่เปิดรับต่อปัจจัยและเงื่อนไขใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยให้มีการค้นคว้าและวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมด้าน e-dynamic การลงทุนด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการคมนาคม อาทิ ถนนและเส้นทางรถไฟ

    โดยที่ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศขนาดเล็ก จึงให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นต่อความร่วมมือกับประเทศในยุโรปตะวันตก ทั้งในกรอบทวิภาคี EU และ NATO เพื่อเป็นหลักประกันต่อเอกราช

    ด้านความมั่นคง ลักเซมเบิร์กมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถด้านความมั่นคงเพื่อตอบสนองต่อภารกิจของชาติและภารกิจในกรอบของ NATO และ EU โดยจะเพิ่มงบประมาณด้านความมั่นคงร้อยละ 1.2 ของ GDP และเร่งปรับปรุงสถานที่ตั้งทางการทหาร ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจการรักษาสันติภาพในกรอบระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขใหม่ๆ ของ NATO และ EU

    ลักเซมเบิร์กยังมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ และเป็นประเทศหนึ่งที่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของ UN ในการให้เงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และในปี 2544 ลักเซมเบิร์กให้เงินช่วยเหลือแก่ต่างประเทศร้อยละ 0.8 ของ GDP ซึ่งเกินเป้าหมายของ UN และ OECD นอกจากนั้น ลักเซมเบิร์กมีแผนการที่จะเพิ่มเงินช่วยเหลือให้ถึงร้อยละ 1 ในปี 2548 เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศที่มีความยากจนและประสบภัยสงคราม

    บทบาทของลักเซมเบิร์กในฐานะประธาน EU
    เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2548 ลักเซมเบิร์กได้เข้ารับตำแหน่งประธาน EU ต่อจากเนเธอร์แลนด์ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 เดือน (ถึง 31 มิ.ย. 2548) สามารถสรุปบทบาทและลำดับความสำคัญของลักเซมเบิร์กได้ ดังนี้
    1. กระบวนการลิสบอน (Lisbon Process) : ผลักดันกระบวนการลิสบอน ซึ่งได้ประกาศไปเมื่อปี 2543 เพื่อให้ EU เป็นกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจมีพลวัตและมีความสามารถทางการแข่งขันมากที่สุดในโลก โดยมุ่งเน้นแนวทางการพัฒนา 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ลักเซมเบิร์กจะจัดให้มีการประเมินผลสำเร็จครึ่งแรกของกระบวนการ ลิสบอน ในเดือน มี.ค. 2548
    2. ข้อตกลงเสถียรภาพและการเติบโตทางการเงิน (Stability and Growth Pact) : ผลักดันให้ประเทศสมาชิกฯ ยึดมั่นในข้อตกลงเสถียรภาพและการเติบโตทางการเงิน เนื่องจากที่ผ่านมา มีหลายประเทศ เช่น เยอรมนีและฝรั่งเศส ฝ่าฝืน ข้อตกลงฯ ดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นและเสถียรภาพของเงินยูโรสั่นคลอน ในขณะเดียวกันลักเซมเบิร์กอาจพิจารณาปรับปรุงข้อตกลงฯ ให้มีความยืดหยุ่นขึ้น ทั้งนี้ ลักเซมเบิร์กตั้งใจจะตรวจสอบประสิทธิภาพของข้อตกลงฯ ในเดือน มี.ค. 2548
    3. งบประมาณ EU ประจำปี 2550-2556 : ประนีประนอมข้อขัดแย้งเรื่องสัดส่วนการสมทบเงินในงบประมาณ EU ซึ่งปัจจุบันกลุ่มสมาชิกเดิมต้องการลดเงินทุนสมทบงบประมาณ EU ให้อยู่ที่อัตราไม่เกินร้อยละ 1 ของ GDP ขณะที่ คณะกรรมาธิการยุโรปและกลุ่มสมาชิกใหม่ต้องการให้เงินสมทบนี้อยู่ที่อัตราร้อยละ 1.14 ของ GDP
    4. การขยายสมาชิกภาพ : ส่งเสริมการขยายสมาชิกภาพของ EU โดยจะเริ่มกระบวนการเจรจาเพื่อรับโครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกฯ ในวันที่ 17 มี.ค. 2548 จัดให้มีการลงนามในสนธิสัญญาการเข้าเป็นสมาชิก EU กับบัลแกเรียและโรมาเนีย ในเดือน เม.ย. 2548 (กำหนดเข้าร่วม EU 1 ม.ค. 2550) และเตรียมกระบวนการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกฯ ของตุรกี ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548
    5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : ให้ความสำคัญเร่งด่วนต่อเหตุธรณีพิบัติภัยในเอเชีย เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับสหรัฐฯ และปรับปรุงความสัมพันธ์ Trans-Atlantic ที่ตกต่ำจากกรณีอิรัก เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และให้ความสำคัญกับประเทศ ASEAN ในกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ASEM และ ARF นอกจากนี้ ยังเน้นนโยบายเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศรอบบ้าน ได้แก่ กลุ่มประเทศเมดิเตอร์เรเนียนอีกด้วย


    เศรษฐกิจการค้า
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 26.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2546)

    ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว 55,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2546)

    อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 1.2% (ปี 2546)

    อัตราเงินเฟ้อ 2% (ปี 2546)

    อัตราการว่างงาน 3.6% (ปี 2546)

    มูลค่าการส่งออก ประมาณ 9.052 พันล้านยูโร (ปี 2546)

    มูลค่าการนำเข้า 12.060 พันล้านยูโร (ปี 2546)

    สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากยาง กระจก

    สินค้านำเข้าที่สำคัญ แร่ธาตุ ลหะ สินค้าอาหาร สินค้าอุปโภค-บริโภค
    ประเทศคู่ค้าสำคัญ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร อิตาลี สเปน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย

    ภาคการบริการเป็นสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของลักเซมเบิร์ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการเงินการธนาคาร โดยลักเซมเบิร์กมีกฎหมายด้านการเงินที่ดึงดูดนักลงทุน ทำให้ลักเซมเบิร์กกลายเป็นศูนย์กลางด้านกองทุนลงทุนที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น โดยจะเห็นได้จากการที่ในปี 2543 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศลักเซมเบิร์กมาจากภาคบริการถึงร้อยละ 69 (ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 30 และภาคการเกษตร ร้อยละ 1) และมีแรงงานถึงร้อยละ 90 ของแรงงานทั้งหมดทำงานในภาคบริการ (ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 8 และภาคการเกษตร ร้อยละ 2)

    เศรษฐกิจการค้า
    สภาวะเศรษฐกิจ
    ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจมั่นคง อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานต่ำ ภาคอุตสาหกรรมซึ่งในอดีตเหล็กกล้าเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุด แต่ปัจจุบันได้มีอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ยาง และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ การเจริญเติบโตทางภาคการเงิน ซึ่งอัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP คิดเป็นร้อยละ 22 ส่วนใหญ่นำไปชดเชยให้กับอุตสาหกรรมเหล็กกล้า ธนาคารส่วนใหญ่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ ภาคเกษตรกรรมมีลักษณะเป็นไร่ขนาดเล็ก แรงงานต่างชาติหรือแรงงานข้ามชาติมีส่วนสำคัญมากในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 ของแรงงานทั้งหมด ถึงแม้ว่าลักเซมเบิร์กจะได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาเหมือนเช่นประเทศอื่น ๆ แต่ก็ยังสามารถรักษาให้อัตราการเจริญเติบโตยังเข้มแข็งต่อไปได้

    สหภาพเศรษฐกิจเบลโก-ลักเซมเบิร์ก
    เบลเยียมและลักเซมเบิร์กได้จัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจเบลโก-ลักเซมเบิร์ก (Belgium-Luxembourg Economic Union - BLEU) ระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2464 ซึ่งทำให้การเก็บสถิติการค้าและการลงทุนมักจะเป็นไปบนพื้นฐานของตัวเลขของทั้งสองประเทศรวมกัน นอกจากนี้ มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของทั้งสองประเทศไว้ที่อัตราส่วนหนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one parity) สหภาพเศรษฐกิจเบลโก- ลักเซมเบิร์กมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
    1. จัดระบบการค้าเสรีระหว่างกัน
    2. มีการประสานนโยบายในด้านเศรษฐกิจ การเงิน และสังคม รวมทั้ง ปรับกฏหมายภายในประเทศทั้งสองให้สอดคล้องกัน
    3. ธนาคารแห่งประเทศเบลเยี่ยมจะทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางของ ทั้งสองประเทศ
    4. ใช้กฏหมายด้านการปริวรรตเงินตราต่างประเทศแบบเดียวกัน
    5. มีการจำกัดปริมาณเงินฟรังค์ลักเซมเบิร์ก โดยกำหนดปริมาณเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เงินฟรังค์ของทั้งสองประเทศมีค่าเท่ากัน
    6. เบลเยีมจะมีบทบาทนำด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากลักเซมเบิร์กมี GDPประมาณร้อยละ 4.5 ของ GDP เบลเยียม และลักเซมเบิร์กได้เน้นภาคบริการโดยเฉพาะเป็นศูนย์กลางทางการเงินและการธนาคาร โดยมีนโยบายด้านการเงินที่เสรี และอัตราภาษีเงินได้ที่ต่ำ

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชรัฐลักเซมเบิร์ก
    สถานะความสัมพันธ์ไทย-ลักเซมเบิร์ก
    ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับลักเซมเบิร์กเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2502 ไทยและลักเซมเบิร์กไม่มีสถานเอกอัครราชทูตประจำอยู่ในประเทศของอีกฝ่าย รัฐบาลไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ มีเขตอาณาครอบคลุมถึงลักเซมเบิร์กด้วย ในขณะ เดียวกัน ลักเซมเบิร์กได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตลักเซมเบิร์กประจำประเทศไทย (มีถิ่นพำนัก ณ กรุงกัลาลัมเปอร์) ดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยและลักเซมเบิร์ก นอกจากนี้ ทั้งไทยและลักเซมเบิร์กต่างก็ได้แต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ของแต่ละฝ่าย
    ในปัจจุบัน เอกอัครราชทูตไทยประจำลักเซมเบิร์ก คือ นายดอน ปรมัตถ์วินัย ส่วนตำแหน่งเอกอัครราชทูตลักเซมเบิร์กประจำประเทศไทยถิ่นพำนัก ณ กัวลาลัมเปอร์ ปัจจุบันยังว่างอยู่ โดยมี นาย Charles Schmit ดำรงตำแหน่งอุปทูต

    การค้าระหว่างไทย-ลักเซมเบิร์ก ในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ โดยที่ลักเซมเบิร์กเป็นตลาดเล็ก ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับลักเซมเบิร์กจึงมีไม่มากนัก

    ตารางมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับลักเซมเบิร์ก (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ดังเอกสารแนบ

    สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกและนำเข้า

    สินค้าส่งออก ได้แก่ แก้วกระจก อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์เซรามิก เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง แม่พิมพ์หุ่นแบบหล่อโลหะ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป

    สินค้านำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ ผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ ยางรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และกระดาษ กระดาษแข็ง และผลิตภัณฑ์

    ไทยมีความตกลงทางเศรษฐกิจกับลักเซมเบิร์กในด้านต่าง ๆ ดังนี้
    1) ความตกลงจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมระหว่างไทยกับสหภาพเศรษฐกิจเบลเยียม-ลักเซมเบิร์ก เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2522 ซึ่งครอบคลุมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน และได้ประชุมไปแล้ว 7 ครั้ง (Agreement on the Establishment of Joint Commission between the Government of the Kingdom of Thailand and the Belgo-Luxembourg Economic Union)
    2) ความตกลงว่าด้วยการบริการการเดินอากาศ ลงนามเมื่อ 16 เมษายน 2530 (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Grand Duchy of Luxembourg for Air Services Between and Beyond Their Respective Territories )
    3) อนุสัญญาเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย-ลักเซมเบิร์ก ลงนามเมื่อเดือนพฤษภาคม 2539 และได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารอนุสัญญาฯ ซึ่งได้มีผลให้อนุสัญญา ฯ มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2541 (Convention between the Kingdom of Thailand and the Grand Duchy of Luxembourg for the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income and on Capital)
    4) ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับสหภาพเศรษฐกิจเบลโก-ลักเซมเบิร์ก ฉบับเดิมได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529(Convention between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Federal Belgo-Luxembourg for the Promotion and Protection of Investments) แต่ยังมิได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกัน ต่อมาได้มีการเจรจากันใหม่ และมีการลงนามกำกับย่อในร่างความตกลงฯ ที่ได้มีการเจรจากันใหม่ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 และต่อมามีการลงนามในความตกลงฯ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2545

    ลักเซมเบิร์กได้พิจารณาให้เงินสนับสนุนโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ฯ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ 50 พรรษา เป็นจำนวนเงิน 10 ล้านแฟรงค์ลักเซมเบิร์ก (ประมาณ 10.5 ล้านบาท) และได้มีการลงนามความตกลงการให้เงินสนับสนุนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2541 เงินบริจาคจำนวนดังกล่าวจะนำไปใช้ในการปลูกป่า ณ อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ในชายแดนไทยบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ติดต่อกับพม่าและลาว โครงการปลูกป่า ฯ มีระยะเวลา 3 ปี โดยโครงการดังกล่าวดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญของกรมป่าไม้ ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงการต่างประเทศ การให้เงินสนับสนุนโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพอันยืนนานระหว่างประชาชนและประเทศไทยกับลักเซมเบิร์ก ตลอดจนเป็นการสะท้อนถึงนโยบายการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของทั้งสองประเทศ กรมป่าไม้ได้คัดเลือกให้โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติในพื้นที่จำนวน 3,333 ไร่ ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลลักเซมเบิร์ก ณ ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดแปลงปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ระดับประเทศ ประจำปี 2542

    การเยือนระดับสูงที่สำคัญ
    1 มกุฏราชกุมารอองรีแห่งลักเซมเบิร์ก (H.R.H. The Hereditary Crown Prince of Luxembourg) เสด็จฯ นำคณะนักธุรกิจลักเซมเบิร์กเยือนไทย ระหว่างวันที่ 1-4 มีนาคม 2536
    2 มกุฎราชกุมารอองรีแห่งลักเซมเบิร์กเสด็จฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ 5-7 พฤศจิกายน 2539
    3 ฯพณฯ นายประจวบ ไชยสาสน์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศเยือนลักเซมเบิร์กอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการเยือนในระดับสูงเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 10-11 เมษายน 2540
    4 มกุฎราชกุมารอองรีแห่งลักเซมเบิร์ก เสด็จนำคณะนำธุรกิจลักเซมเบิร์กเยือนไทยระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคม 2541
    5 นาย Jean-Claude Juncker นายกรัฐมนตรีลักเซมเบิร์ก เยือนไทยอย่างเป็นทางการในระดับ official visit ระหว่างวันที่ 14-15 มกราคม 2542 ซึ่งเป็นการเยือนไทยในระดับนายกรัฐมนตรีของลักเซมเบิร์กเป็นครั้งแรก
    6 นาย Charles Goerens รัฐมนตรีด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและกิจกรรมด้านมนุษยธรรมเดินทางมาเยือนไทยในช่วงการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ครั้งที่ 10 (UNCTAD X) ระหว่างวันที่ 14-18 กุมภาพันธ์ 2543
    7 แกรนด์ ดัชเชส มาเรีย เทเรซา พระชายาในแกรนด์ ดยุค อองรี เสด็จฯ เยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 23 – 25 พฤศจิกายน 2546

    กุมภาพันธ์ 2548

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×