ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Encyclopedia Earth

    ลำดับตอนที่ #28 : 6 องศาโลกร้อน (1)

    • อัปเดตล่าสุด 25 ส.ค. 52


    6 องศา

     http://ecx.images-amazon.com/images/I/51TjnF%2BZY1L._SL500_AA240_.jpg

     เมื่อเราเข้าสู่โลกซึ่งอุณภูมิสูงกว่าปัจจุบัน 6 องศา มีเบาะแสเพียงเล็กน้อยที่บ่งบอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นกันแน่ จนถึงขณะนี้ผู้นำทางของผมแทนเวอร์จิล ในการท่องนรกขุมหลังๆของดังเตส่วนใหญ่แล้วก็คือนักวิทยาศาสตร์ผู้สร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ

    ทว่าเดี๋ยวนี้พวกเขาวางมือกันเป็นส่วนใหญ่ แบบจำลองภูมิอากาศเกือบทั้งหมดยังได้แค่การจำลองสภาวะที่อุณภูมิเพิ่มขึ้นเกือบ 6 องศาภายในปี 2100 เท่านั้น (แต่ก็อย่างที่เราเห็น การออกแบบแบบจำลองมีความโน้มเอียงในเชิงอนุรักษ์ ดังนั้นผลที่ได้จากแบบจำลองนี้จึงไม่สามารถลดทอนลงได้อีก และที่จริงแล้วยังเป็นส่วนหนึ่งของฉากจำลองสถานการณ์อนาคตของIPCC ซึ่งเป็นฐานของหนังสือเล่มนี้) ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องพึ่งข้อมูลทางธรณีวิทยาอย่างหยาบๆจากอดีตอันไกลโพ้นของโลกให้เห็นแต่ละฉากของภาวะเรือนกระจกในสภาพสุดขั้ว เพื่อฉายแสงนำทางเราไปข้างหน้าสู่นรกขุมที่ 6ของดังเต

    ในงานเขียนของดังเต มีคำเตือนถึงผู้อ่านของเขา

    หากว่านี่คือรายการโทรทัศน์ ผมก็มีเช่นกัน  มันจะต้องมีข้อความเตือนมาก่อน นั่นคือ สำหรับท่านผู้ชมบางท่านฉากที่จะได้ชมต่อไปนี้บางฉากอาจจะทำให้ท่านอารมณ์เสียได้

    http://newsimg.bbc.co.uk/media/images/44752000/jpg/_44752094_lynas_roysoc_226l.jpg

    โลกยุคครีเทเชียส

    ฉากของภาวะเรือนกระจกสุดขั้วอันยาวนานที่สุด ซึ่งได้แก่ยุคครีเทเชียสนั้น ส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยจะเป็นอันตรายนัก แม้ว่าจะเกิดขึ้นในโลกซึ่งสภาพภูมิศาสตร์และระบบนิเวศน์แตกต่างกันมากกับโลกที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ก็ตาม ในยุคดังกล่าวซึ่งอยู่ระหว่าง 144 ถึง 65 ล้านปีมาแล้ว เฟิร์น ปรง และ สน ปกคลุมพื้นดินส่วนใหญ่ พืชดอกเพิ่งจะเริ่มวิวัฒนาการ กลางมหาทวีป pangeae กำลังฉีกขาด แยกอเมริกาใต้กับอาฟริกาออกจากกันราวกับจิ๊กซอว์ชิ้นมหึมาลอยอยู่บนน้ำ ช่องแคบเล็กๆระหว่างสองทวีป คือมหาสมุทรแอตแลนติกวัยเยาว์ ไม่ได้กว้างไปกว่าทะเลเมดิเตอเรเนียนในปัจจุบัน เมื่อแผ่นปลือกโลก (tectotic plate)เคลื่อนห่างจากกันราวสองสามมิลลิเมตรในแต่ละปีนั้น จะเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟทีสั่นสะเทือนไปทั้งโลก

    ในเขตซีกโลกใต้ซึ่งอินเดียยังอยู่ไกลจากตำแหน่งปัจจุบันลงไปทางใต้น้น ค่อยๆเลื่อนอย่างสงบเงียบออกจากชายฝั่งตะวันออกของมาดากาสคา  พื้นทวีปส่วนใหญ่ก็ดูแตกต่างมากด้วย ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบัน 200 เมตรหรือมากกว่า ทำให้ตอนกลางของทวีปจำนวนมากจมอยู่ใต้มหาสมุทร อเมริกาเหนือแยกออกเป็นเกาะห่างกันสามเกาะด้วยการรุกล้ำของมหาสมุทร ขณะที่หลายส่วนของแอฟริกาเหนือ ยุโรป และอเมริกาใต้ จมอยู่ใต้ทะเลตื้นๆ การรุกล้ำของทะเลดังกล่าวนี้ก่อให้เกิด เทือกหินปูนซึ่งยังหลงเหลือให้เห็นได้จนทุกวันนี้ ตั้งแต่เมดิเตอเรนียนไปจนถึงจีน และยังทำให้เกิดหินชอล์ก ซึ่งที่จริงคำในภาษาละตินเรียกว่า ครีทา อันเป็นที่มาของยุคครีเทเชียส

    หน้าผาขาวโพลน และ ทุ่งหินชอล์ก อันมีชื่อเสียงของอังกฤษทั้งหมดมีอายุย้อนหลังไปได้ถึงยุคครีเทเชียส

    โลกก็ยังเป็นพื้นราบกว่านี้มาก ภูเขาก่อตัวขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนเข้าชนกัน แต่ทวีปต่างๆในครีเทเชียสกำลังฉีกออกจากกัน ไม่ได้เคลื่อนเข้าชนกัน ด้วยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและทวีปมีขนาดเล็กลง พื้นแผ่นดินยุคนี้จึงปรากฏให้เห็นเพียง 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจมอยู่ในทะเลสีคราม ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์เหล่านี้มากมายพอๆกับภูมิอากาศ ระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในยุคครีเทเซียสมากว่าปัจจุบันประมาณ 10 ถึง 15 องศา ซึ่งไม่ใช่เพียงสอดแทรกเข้ามาในช่วงสั้นๆเท่านั้น ทว่ากินเวลานับล้านๆปี

    ร่องรอยของสภาพภูมิอากาศเรือนกระจกอันยาวนานที่สุดกว่าจะจบสิ้นดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดทั่วโลกจากก้อนหินที่อยู่ในยุคนั้น ซากฟอสซิลของต้นไม้ซึ่งดูเหมือนกันมากกับต้นปาล์มสมัยนี้ โผล่ขึ้นมาเป็นครั้งคราวจากตะกอนน้ำแข็งในเขตอลาสก้า นอร์ธ สโลป ไดโนเสาร์บางชนิด เช่น Edmontosaurus ไดโนเสาร์ปากเป็ดกินพืชเป็นอาหาร ยาวเกือบ 20 เมตร หากินหญ้าอยู่ในป่าเขตอากาศกึ่งขั้วโลกอันเขียวชอุ่ม ทิ้งกระดูก รอยเท้า และแม้กระทั่งรอยผิวหนังประทับตามโขดหินยุคครีเทเชียส น้ำค้างแข็งหากไม่หายากก็ไม่รู้จักกันเลยด้วยซ้ำ แม้แต่ตามชายขอบของมหาสมุทรอาร์คติค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรียในรัสเซียอยู่ในอุณหภูมิแบบเมดิเตอเรเนียนตลอดปี แม้จะอยู่ในช่วงความมืดสองเดือนของขั้วโลกก็ตาม บรรพบุรุษของจระเข้ ซึ่งได้ชื่อที่เหมาะเจาะว่า แชมป์โซซอร์ ว่ายอยู่ตามหนองน้ำอุ่นตื้นๆใน แคนาเดียน อาร์คติค ตอนบน คอยจ้องจับฝูงปลาที่ว่ายผ่าน ป่าละเมาะของต้นไม้เขตร้อนที่ให้ผลขนาดใหญ่เติบโตงอกงามอยู่ตามแนวชายฝั่งตะวันตกของกรีนแลนด์

    ทว่าโลกไม่ได้อาบด้วยแสงแดดปลอดโปร่ง เต็มไปด้วยไดเสาร์กินหญ้า และต้นปาล์มโยนตัวไปมาอย่างอ่อนโยนไปเสียทั้งหมด ลักษณะของโขดหินบางส่วนเผยให้เห็นถึงแหล่งทับถมของสิ่งที่เรียกว่า “tempestite” ที่เกิดขึ้นจากเศษหินพัดพามาโดยพายุรุนแรงจัด เฮอริเคนเกรี้ยวกราดเหล่านี้ ซึ่งหนักหน่วงกว่าปัจจุบันมากนักจนต้องขอบคุณมหาสมุทรที่ร้อนขึ้น ถึงขนาดทิ้งรอยของมันไว้ยังก้นมหาสมุทร ก่อให้เกิดหย่อมก้นมหาสมุทรขนาดใหญ่ซึ่งนักธรณีวิทยาศึกษากันมาจนทุกวันนี้ ในยุคกลางของครีเทเชียส เมื่อระดับคาร์บอนได้ออกไซด์และอุณหภูมิสูงสุด และภาวะเรือนกระจกถึงจุดสุดยอดของมัน หย่อมลึกก้นทะเลอันเกิดจากคลื่นพายุในช่วงนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาหย่อมก้นทะเลทั้งหมด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×