ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #26 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด อ)

    • อัปเดตล่าสุด 30 ม.ค. 54


    หมวด อ 

    อวม  (ก.)  ครอบครองไว้ก่อน, ยึดเป็นเจ้าของไว้ก่อน

    ออกคราว  (ก.) (ว.)  เป็นคำที่ใช้เรียกแมวตัวผู้ ที่ออกไปเที่ยวหาแมวสาวและมักจะ
                    หายไปนานเมื่อหมดฤทธิ์ก็จะกลับบ้านมาหาเจ้าของ ด้วยอาการที่อิดโรย
                    แมวตัวผู้ลักษณะนี้เรียกว่า แมวคราว การเที่ยวเตร่ทิ้งบ้านไปจีบแมวสาว
                    เรียกว่า
    ออกคราว  คำว่าออกคราวนี้มักใช้เปรียบเปรย หนุ่มเจ้าชู้ที่ชอบ
                    หายหน้าหายตา ไม่อยู่บ้าน จนเพื่อนฝูงตามหาไม่เจอ

    อ็อดสา   (ก.)อุตส่าห์, พยายาม(ในสำเนียงใต้เสียงสระอุ จะแปลงเป็นเสียงสระเอาะ)

    อ้อร้อ  (ก.)แสดงออกในเรื่องทางเพศมากเกินไป,เจ้าชู้แสดงกิริยาอาการยั่วยวน
                  ผู้ชายจนเกินพอดี   ( คำนี้เป็นคำเฉพาะที่ใช้กับผู้หญิง มีความหมายในเชิง
                  ลบ และเป็นคำที่ใช้ ด่าว่าผู้หญิง  ไม่ใช่คำชม )

    ะโดย, อะโตย   (อ.)  คำแสดงอาการเจ็บปวด
                 
    "อะโดย ,  อะดุย" คำนี้จะใช้เฉพาะอาการเจ็บนิดๆ เจ็บไม่มากหรือเป็นคำ
                  ที่ใช้ครวญครางแสดงถึงความเจ็บปวด
                 "อะโตย,  อัดโตย" เป็นคำอุทานใช้แสดงอาการเจ็บปวดมากหรือเจ็บปวด
                  ทันทีทันใด
           
         ( 
    กล่าวกันว่า คำๆ นี้ใช้กันตั้งแต่ปักษ์ใต้ของไทย ลงไปจนถึงเกาะชวาของ
                  อินโดนีเซีย )

    อัง  (ว.)   (พูด) ติดอ่าง 
                
     " แหลงอัง  พูดติดอ่าง 

    อา โย้ (ว.) เป็นประจำ บ่อยครั้ง  ( มักใช้ในความหมายเชิงลบ  ตัดพ้อต่อว่า )
                
    คนจน เสดสา อา โย้ะ - คนจน(ก็ต้อง)ทุกข์ยากลำบากเป็นประจำ(อยู่แล้ว)
               
     หลวงไข่ ทำไหร เบล่อๆ
    อา โย้  พี่ไข่ทำอะไร บ้าๆอยู่ เป็นประจำ

    อาด     (ก.อยาก,  ต้องการ ( ถือเป็นคำหยาบ มักใช้ในความหมาย ความต้องการ
                ทางเพศ )

    อาน    (ว.) เป็นหมัน  มักใช้เรียกกับสัตว์ 
                
    ฮัวอาน  
    -   วัวตัวเมียที่เป็นหมัน
             ( วัวในภาษากรุงเทพปัจจุบัน คือ งัว ในภาษาเก่าในสำเนียงถิ่นใต้จะใช้เสียง ฮ
               แทนเสียง ง  ดังนั้น 
    ฮัว ในสำเนียงใต้  ก็คือ  วัว )

    อำอุย  (ว.)  ลางเลือน  มองเห็นไม่ชัด   มักใช้กับแสงจันทร์ที่ขมุกขมัว ตัวอย่างเช๋น
                 เบอะเดือนมันอำอุย  แล้ว อิ เห็นหน้าโจรได้ชัด ผรื่อ เล่า  
               
    เพราแสงจันทร์มันขมุกขมัว
     แล้วจะเห็นหน้าโจรชัดเจนได้อย่างไรเล่า

    อิ,  อี,   อี้      (ว.)   จะ , กำลังจะ   
           
       
    มึ้ง อิ ไส่   มึงจะทำไม    ( ไส่  ก็คือ  ทำไม ในภาษาไทยมาตรฐาน )
               
    มึ้ง อิ ไส่ กู นิ    มึงจะทำอะไรกู
               
    (ไทยถิ่นใต้-สงขลา โดยทั่วไป จะใช้คำว่า  อิ  ในความหมาย จะ  เฉพาะใน
                เขต เทพา สะบ้าย้อย และสามจังหวัดชายแดน จะออกเสียงเป็น  จิ
      ในถิ่น
                ใต้บางท้องถิ่น จะออกเสียงเป็น  ติ )

    อิ หลก ฉกเฉ็ก,  อิ หล็อกฉ้อกแฉ็ก,  หล็อกฉ้อกแฉ็ก (ว.) เรื่องธรรมดา เรื่องเบ็ด
              เตล็ดเรื่องทั่วไป คำนี้มักใช้ขยายความ หรือต่อท้ายเรื่องที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น
               
    " หนังสือเรื่อง ไหว้ลายลักษณ์ และ อิ หลก ฉกเฉ็ก "
              
    ความหมายคือ 
    " หนังสือเรื่อง ไหว้ลายลักษณ์ และ เรื่องเบ็ดเตล็ดทั่วไป "

              ความหมายของคำว่า
    อิ หลก ฉกเฉ็กจะใกล้เคียงกับคำว่า สกเส็ก ซึ่งหมายถึง
              เรื่องทั่วไปเช่นกัน  แต่คำว่า
    สกเส็ก จะเน้นไปในทางเรื่องทั่วไปที่ไร้สาระ เรื่อง
              ที่หยุมหยิม

    อีม    (ก.) ยืม   " อีมเบี้ยก่อน สักร้อย เดี๋ยว ต่อเช้า อิเอามาให้ "  ความหมายคือ
                ยืมตังค์ก่อนสักร้อย เดี๋ยว พรุ่งนี้เช้า จะเอามาคืน

    อุก    (ก.)  ปล้น   ( เปรียบเทียบกับวลีในภาษากรุงเทพฯ คือ  อุกชิงวิ่งราว )

    อุง  (ออกเสียงเป็น อุ๋ง) (น.) ชันนะรง, ชันโรง  - แมลงจำพวกผึ้ง ตัวเล็กๆไม่มี
              เหล็กไน มักอาศัยทำรังในโพรงไม้และมีน้ำหวานเช่นเดียวกับผึ้ง "รังอุง" จะมี
              ชันและขี้อุง   ดังนั้นเวลาจะกินน้ำผึ้งอุง   ถ้ามีขี้อุงผสมอยู่ น้ำผึ้งจะมีรสหวาน
              อมเปรี้ยว  (อีสานเรียกผึ้งชนิดนี้ว่า แมงขี้สูด)

    เอม    (ว.)   อิ่ม    
            
     " กินข้าวเอม แล้วม้าย ? "  กินข้าวอิ่ม  หรือยัง ?

    เอ็นจม   (ว.) ส้นขัด, เส้นพลิก (เลือดลมเดินไม่สะดวก ต้องหาหมอนวดจับเส้น )

    เอาเหลย   (ก.) อยากได้อีก   ขอเพิ่มอีก 
              
         
    เอา เหลย ม้าย        เอาอีกมั้ย
              
         
    เอาข้าว เหลย ม้าย   -  เอาข้าวอีกมั้ย

    เอาะ     (น.)  ต้นคูน(พืชตระกูล บอน)  ก้านใบใช้เป็นผักแกงส้ม หรือเป็นผักเหนาะ
               จิ้มน้ำชุบ ในปักษ์ใต้บางถิ่น จะเรียกว่า
    อ้อดิบ
               
    (ว.)  คำอุทาน เช่นเดียวกับคำว่า   เอ๊ะ  ในภาษาไทยภาคกลาง

    เอิด      (ว.)  เกเร เหลิง  คิดว่าตัวเองแน่ ตัวเองเก่ง  (จึงมองข้ามคนอื่น)

    เอียด    (ว.) ขนาดเล็ก ,  ตัวเล็ก
               
      ไส่ไม่พาไอ้ตัวเอียดกัน    -  ทำไมไม่พาไอ้ตัวเล็กมาด้วย

    เอือด    (ว.) ลักษณะคนที่เหงื่อออกมาก หรือใช้อธิบายความรู้สึกที่เหนียวตัว ก็ได้
                 
    เอือดเหมือนเรือเกลือ

    เอือน (ก.)   เอียน อาการที่เหม็นเบื่อ (กินอาหารไม่ลง)

    เอย   (ก.) เรอ,  อาการที่ลมในกระเพาะออกทางปาก

    โอง 1. (น.) พะอง, ไม้ไผ่ลำเดียวที่ใช้พาดขึ้นต้นไม้ต่างบันได  ซึ่งมีแขนงไม้ไผ่ที่ยื่น
          ออกเป็นระยะทั้งสองข้าง สำหรับเท้าเหยียบ
          2. (น.) โอ่งใส่น้ำ

    โอ้ รด  คำเปรียบเทียบเชิงตำหนิ  คนที่ลืมตัวคิดว่าตัวเองเหนือคนอื่นและชอบใช้คำ
               พูดที่อวดดี
    อวดเก่งเกินจริง

    ไอ ยะ ,  ไอ ยา ล่ะ ก๊ะ  (จ.)(ว.) คำอุทานของคนไทยถิ่นใต้ มาจากคำว่า ไอ้หยา ใน
               ภาษาจีน 
                   
    ไอ ยะ  น่ารักจ้าน  
       โอ โห  น่ารักจังเลย
                   
    ไอ ยา ล่ะ ก๊ะ  สาวรำวงคืนนี้สวยจังหู  - โอ โห สาวรำวงคืนนี้สวยจังเลย

    ไอ้คอ,  ไอ้เฒ่า    (น.)  เพื่อนรัก,  เพื่อนเกลอ

    ไอไหร,  ไหร   (ว.)  อะไร  
              
     
    อไหร หล่าว    -  อะไรอีก
            
       ไอไหรโฉ้        -  อะไรก็ไม่รู้      ( ใครโฉ้   - ใครก็ไม่รู้ )
             ไม่รู้ไอไหรโฉ้อยู่ใต้ต้นแซะ นั่งคุ่มๆตาแดงๆ
      - ไม่รู้อะไร อยู่ใต้ต้นแซะ นั่ง
                                             ตะคุ่มๆ ตาแดงๆ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×