ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ♪ เรื่องเล่า ♪ {{{นิทานชาดก.+}}}☂

    ลำดับตอนที่ #257 : ☆ : วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ น่าทึ่งสุดๆ อยากไปจัง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 682
      0
      29 ธ.ค. 54

    http://www.scene4.com/archivesqv6/may-2009/html/janineyasovantthai0509.html

    กดไปเจอเลยอยากเอามาแนะนำ เป็นสถานที่ที่น่าทึ่งมากๆ





    อินไซท์

    may 2009

    Scene4 Magazine "The Secrets of Wat U Mong" by Janine 
Yasovant

    จานีน ยโสวันต์

    เมื่อคุณได้ มองไปที่ภาพถ่ายวัดอุโมงค์โดยลูกา อินเตอนิสซี และอัลแบร์โต
    แคสสิโอ คุณจะได้เห็นเจดีย์รูปทรงระฆังในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ก่อสร้างขึ้น
    ที่ จังหวัดเชียงใหม่ในสมัยโบราณ วัดอุโมงค์ตั้งอยู่ที่เชิงดอยสุเทพ-ปุยซึ่ง
    เป็น พรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศประเทศไทยและประเทศพม่า มี
    ทางเข้าสาม ทางเหมือนศิลปะพุกามของพม่า เจดีย์รูปทรงระฆังเป็นเป็น
    สถาปัตยกรรมล้าน นายุคแรก (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19) ที่ได้รับอิทธิพล
    มาจากสถาปัตยกรรม ลังกาของอินเดีย เจดีย์และอุโมงค์ถูกละทิ้งมาเป็น
    เวลานาน แม้ว่าว่าชาวเชียงใหม่จะทราบว่าวัดอุโมงค์เป็นวัดโบราณและเป็น
    สถานที่ ศักดิ์สิทธิ์เป็นเพราะอาราม เจดีย์และกำแพงผุพังและพิพิธภัณฑ์ที่
    เก็บ วัตถุโบราณ

    วัดอุโมงค์ ได้รับการบูรณะในปีพ.ศ. 2543 โดยกรมศิลปากร พระสงฆ์เริ่มที่
    จะไปอาศัยจำ วัดอยู่ที่นั่น เมื่อมีการขุดดินออกมาแล้วก็เป็นการเปิดเผยถ้ำที่
    ซ่อน อยู่ ในตอนนั้นยังไม่มีผู้ใดทราบเกี่ยวกับการมีอยู่ของถ้ำที่นั่นจนกระทั่ง
    มี การค้นพบในปีนั้น

    U5cr

    ความกว้าง 140 เซนติเมตร (55 นิ้ว) ความยาว 14 เมตร (46 ฟุต) และ
    ความสูง 180 เซนติเมตร (71 นิ้ว) อุโมงค์ประดับตกแต่งไปด้วยภาพเขียนสี
    น้ำตาลปกคลุม ไปด้วยดินและทรายจากตัวอุโมงค์เอง เมื้อชั้นหินปูนถูกเอา
    ออกไป สีน้ำตาลกลายเป็นสีแดงชาดเหมือนที่เคยทาสีไว้เมื่อ 500 ปีก่อน

    Umong1

    คณะจิตรกรรม และคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้สร้าง
    ภาพจำลองโดยใช้ คอมพิวเตอร์กราฟฟิคเพื่อศึกษาภาพบนผนังเพื่อทำการ
    บูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อดิฉันอยู่ในอุโมงค์ฉันเห็นภาพทั้งบนหนังเพียงกวาด
    สายตามอง เป็นภาพแนวกว้างที่ทำให้ดิฉันรู้สึกประหลาดใจแม้ว่าดิฉันจะ
    อาศัยอยู่ใน จังหวัดเชียงใหม่มาเป็นเวลาหลายปี

    เมื่อตอนที่ ดิฉันยังเด็ก ดิฉันได้แสดงความเคารพอยู่ด้านนอกซึ่งดูค่อนข้าง
    รกร้างและ ดิฉันประหลาดใจที่ไม่สามารถเข้าอุโมงค์ได้เพราะอุโมงค์ถูกปิด
    อยู่ เห็นเพียงแค่บันไดเท่านั้น

    IMGP0021cr

    เมื่อดิฉัน ได้ทราบข่าวเกี่ยวกับโครงการของกรมศิลปากรซึ่งเฝ้าดูแลวัดทุก
    แห่งใน จังหวัดเชียงใหม่ ดิฉันพบว่าวัดอุโมงค์มีภาพเขียนบนผนังที่มีค่าและ
    ได้ ติดตามงานของทีมงานบูรณะ เมื่อชั้นหินปูนครอบคลุมภาพเขียนบน
    พื้นผิว กำแพง ภาพเขียนก็ดูคล้ายคลึงกับที่เครื่องถ้วยชามสมัยราชวงค์หมิง
    ของ ประเทศจีน เมื่อปรากฏสีที่แท้จริง สีแดงชาด สีเขียวมรกตนั้นสวยงาม
    ตาม ธรรมชาติจริงๆ สีเขียวนั้นค่อนข้างจะมืดและชัดเจนกว่าสีแดงและสีน้ำ
    เงิน ที่พบในลายดอกโบตั๋นของเครื่องถ้วยชามสมัยราชวงค์หยวนหรือหมิง
    ของประเทศ จีน มองไปที่ภาพถ่ายอินฟราเรดของสมาชิกโครงการ ดิฉันเห็น
    ภาพฝูงนกกระสา และดอกโบตั๋นได้อย่างชัดเจน

    119-01cr

    อันที่จริง แล้วก็มีอุโมงค์4แห่งที่เชื่อมกับเจดีย์ในทางด้านทิศเหนือ ทางเข้า
    ของ ทั้งสามอุโมงค์ตรงด้านหน้ามีภาพบนผนัง อุโมงค์แห่งที่ 4 ตรงกลางที่
    ใหญ่ ที่สุดนั้นไม่มีภาพบนผนัง ทั้งเทคนิคการทำด้วยมือและภาพ
    คอมพิวเตอร์กราฟ ฟิคนั้นช่วยในการสร้างภาพขึ้นมาใหม่ อุโมงค์นั้นสวยงาม
    เป็นพิเศษ องค์ประกอบและลวดลายในอุโมงค์ทั้ง 3 แห่งนั้นเหมือน
    ลวดลายผ้าที่ใช้ เทคนิคสีฝุ่นและเขียนด้วยสีแดงชาดและสีเขียวมรกต และ
    มีสีขาวและสีดำ

    U1cr

    ภาพเขียนใน อุโมงค์แห่งแรกคือฝูงรูปนกกระสาและดอกโบตั๋น ภาพเขียนใน
    อุโมงค์แห่งที่ สองคือดอกบัวและกลุ่มเมฆ ภาพเขียนในอุโมงค์แห่งที่สาม
    คือลายดอกบัวและ ลายประจำยามซึ่งเป็นการขนานนามลายไทยชนิดหนึ่ง

    ดูแล้วก็น่า จะเป็นประสบการณ์ที่คุณแทบจะลืมหายใจเมื่อมีโอกาสไปเยือน..
     




    ©2009 Janine Yasovant
    ©2009 Publication Scene4 Magazine

    Scene4 Magazine: Janine Yasovant
    จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
    เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศ ไทย

    สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
    กรุณา ตรวจดู แฟ้มเก็บ ข้อมูล







    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×