ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ♪ เรื่องเล่า ♪ {{{นิทานชาดก.+}}}☂

    ลำดับตอนที่ #255 : •"♥'• พระคันธารราฐ

    • อัปเดตล่าสุด 11 ธ.ค. 53



    พระพุทธรูป

    หมายถึง รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา อาจใช้การแกะสลักจากวัสดุต่างๆ เช่น ศิลา งา ไม้ หรือวัสดึอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้การปั้นหรือหล่อด้วยโลหะก็ได้ โดยทั่วไป คำว่า พระพุทธรูปมักจะหมายถึง รูปขนาดใหญ่พอที่จะวางบูชาได้ สำหรับรูปขนาดเล็กมักจะเรียกว่า พระเครื่อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบสามารถเรียกว่า พระพุทธรูป ได้เช่นกัน


    กำเนิดพระพุทธรูป

    http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/5/52/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%90.jpg/220px-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%90.jpg

    แต่เดิมนั้นพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด ศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดู ซึ่งมีมาก่อนศาสนาพุทธ ก็ไม่มีรูปเคารพเป็นเทวรูปเช่นกัน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา อยากจะมีสิ่งที่จะทำให้รำลึกถึง หรือเป็นสัญญลักษณ์ขององค์ศาสดา เพื่อที่จะบอกกล่าวเล่าขาน เรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงศึกษาค้นคว้าหาทางดับทุกข์ และทรงชี้แนะสอนสั่งผู้คน ถึงการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอยู่ ที่ก่อให้เกิดความผาสุขในหมู่มวลมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก

    คราวแรกนั้นชาวพุทธก็ได้แต่นำเอาสิ่งของอันได้แก่ ดิน น้ำ และกิ่ง ก้าน ใบโพธิ์ จากบริเวณสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน),ตรัสรู้ (พุทธคยา), ปฐมเทศนา (พาราณสี) และปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เป็นที่ระลึกบูชาคุณพระพุทธเจ้า

    ล่วงมาถึงในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง เมื่อ 2,200 ปีก่อน หรือหลังจากการดับขันธ์ของพระพุทธเจ้ามา 300 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงส่งสมณะทูต จำนวน 500 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาราฐ จึงมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองที่ประสิทธิประสาทวิทยาการต่าง ๆ นับว่า "เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกทางพระพุทธศาสนา" แต่ก็ยังไม่มีรูปเคารพแทนพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปคน

    พระพุทธรูป หรือ รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า เริ่มมีการสร้างขึ้นมาตั้งแต่ระหว่าง พ.ศ. 500 ถึง 550 เมื่อชาวกรีก ที่ชาวชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) เรียกชาวต่างแดนว่า "โยนา" หรือ "โยนก" โดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 หรือ พระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก ยกทัพกรีกเข้ามาครอบครองแคว้นคันธาราฐ (ปัจจุบันเป็นดินแดนของอัฟกานิสถาน) จากนั้นพระองค์ก็แผ่อาณาเขตไปทั่วบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป และสร้างเมืองหลวงเป็นที่ประทับ ณ เมืองสากล (Sakala) หลังจากที่ได้พบพระสงฆ์ท่านหนึ่งนามว่า นาคเสน จึงมีเรื่องราวแห่งการตั้งคำถามของพระเจ้ามิลินท์ต่อพระนาคเสน จนทำพระเจ้ามิลินท์ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
    (คำถามคำตอบปุจฉาวิสัชนา ซึ่งถูกเขียนบันทึกเป็นหนังสือและแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก เรื่องนี้ก็คือ มิลินทปัญหา - The Milinda Panha or The Questions of King Minlinda)
    ได้มีการสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรมทางพุทธศาสนามากมายในแคว้นคันธาราฐ ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปนั้นมีลักษณะต่างๆ ตามพุทธประวัติ (ปางพระพุทธรูป)

    พระพุทธรูปรูปแรกจึงเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ หรือเมนันเดอร์ที่ 1 ชาวกรีกที่มาครอบครองแคว้นคันธาราฐ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 2,000 ปีที่แล้วนั่นเอง พระพุทธรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกจึงเรียกรูปแบบของพระพุทธรูปนี้ว่า แบบคันธาราฐ โดยถ่ายแบบอย่างเทวรูปที่พวกชาวกรีกนับถือกันในยุโรปมาสร้าง พระพุทธรูปแบบคันธาราฐจึงมีใบหน้าเหมือนฝรั่งชาวกรีก จีวรก็เป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของเทวรูปกรีก และต่อมาในภายหลัง ราวพุทธศตวรรษ ที่ 4-12 มีคตินิยมสร้างพระพุทธรูปเป็นขนาดเล็กๆ (พระเครื่อง) บรรจุไว้ในพุทธเจดีย์







    วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา

    ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี)  ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพ ของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้นต่อมาจึงได้สร้าง วัดขึ้น มีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2046  วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบ ศึกเมื่อ พ.ศ. 2106ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส

    วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏ สถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา



    http://images.dhammahand.multiply.com/image/1/photos/upload/300x300/RyT-AQoKCnMAAE4w8rw1/Kantarat4.jpg?et=hPYK7nO8Lo6JAxLvi0L%2Csw
    พระพุทธรูปศิลาสีเขียวหรือ พระคันธารราฐประทับนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดี
    (๑ในโลก)


    วิหารพระคันธารราษฎร์


    บางท่านเรียกว่า วิหารน้อยหรือวิหารเขียน ตั้งอยู่ข้างโบสถ์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระยาไชยวิชิต (เผือก) เป็นผู้อำนวยการสร้าง ยาว 8 วา กว้าง 3 วา หันหน้าออกไปทางแม่น้ำลพบุรี มีบันไดขึ้นสองข้าง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเป็นรูปลายดอกไม้และนก ปิดทองประดับกระจก บานประตูทางเข้าจำหลักลายก้านขดคล้ายลายที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จ. เพชรบุรี จึงนับเป็นงานช่างจำหลักไม้อีกแห่งหนึ่งที่ยังเหลืออยู่ ภายในมีภาพเขียนเรื่องการค้าสำเภาและชาดก ทว่าลบเลือน

    ภายในวิหาร ประดิษฐานพระคันธารราษฎร์ พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดี ปางปฐมเทศนา ประทับห้อยพระบาท พระยาไชยวิชิต (เผือก) จารึกว่าอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุในอยุธยานั้นเอง และว่ามาจากเมืองลังกา ทว่ามีบันทึกในสมัยรัชกาลที่ 5 ว่าเดิมอยู่ที่วัดพระเมรุ จ. นครปฐม

    พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดีเช่นพระคันธารราษฎร์ ปรากฏในโลกเพียงหกองค์เท่านั้น คือนอกจากที่วัดหน้าพระเมรุแล้ว ยังมีที่อินโดนีเซียหนึ่งองค์ วัดพระปฐมเจดีย์สามองค์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาหนึ่งองค์



    พระคันธารราษฎร์  เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ชุดหนึ่ง มี จำนวน ๕ องค์
    สร้างเป็นหินทรายสีขาว ๔ องค์ และอีก ๑ องค์เป็นหินทรายสีเขียว แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม

    โดยเชื่อว่า ๔ องค์แรก ซึ่งมีลักษณะและขนาด เดียวกันประดิษฐานในจระนำของซุ้มเรือนธาตุทั้ง ๔ ด้าน ส่วนองค์ที่ ๕ อาจอยู่ในวิหาร พระพุทธรูปทั้งหมดอยู่ในสภาพชำรุดแตกหัก เป็นชิ้นส่วน ได้มีการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ใน ภายหลัง และเคลื่อนย้ายไปประดิษฐานตาม ที่ต่างๆ คือ

    องค์ที่ ๑ ประดิษฐานอยู่ภายใน พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม เป็นองค์ที่ สมบูรณ์ที่สุด

    องค์ที่ ๒ ประดิษฐานที่บริเวณลานประทักษิณด้านทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์

    รูปภาพ


    องค์ที่ ๓ จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติพระนคร

    องค์ที่ ๔ จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    และองค์ที่ ๕ ประดิษฐาน อยู่ในวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา 

                 พระพุทธรูปศิลาทรายขาว หรือหินทรายสีขาวทั้ง ๔ องค์ เป็นปางทรงแสดงธรรม(วิตรรกมุทรา) ด้วยพระหัตถ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา ประทับนั่งห้อยพระบาท ทั้งท่านั่งและการครองผ้าได้รับอิทธิพลทางด้านรูปแบบมาจากศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะและสมัยปาละ ส่วนลักษณะพระพักตร์สร้างเป็นแบบพื้นเมืองแล้ว









    ++++++++++++++++++
    อ้างอิง
    1.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B
    2.

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×