ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ♪ เรื่องเล่า ♪ {{{นิทานชาดก.+}}}☂

    ลำดับตอนที่ #247 : ☆ : น้องกระรอกแล้วก็ต่อด้วยน้องปิกมี่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.88K
      0
      29 ธ.ค. 54

    Myosciurus  pumilio





    pee_ket     โพสต์เมื่อ วันที่ 8 พ.ย. 50 - 22:25:05


     

    ผม เริ่มเขียนบทความนี้เมื่อสักอาทิตย์ที่แล้ว ลองอดทนอ่านกันหน่อยนะครับ ตอน แรกว่าจะพยายามส่งไปให้คุณต้าร์พิจารณา แต่เค้าคงไม่เอาลงหนังสือหรอก แฮะ ๆ ผมไม่ใช่เซียนนี่นา




    ผมเริ่มรู้จักกับเจ้ากระรอกจิ๋วราวต้นปี 2550 จากการโชว์รูปของพี่ genuine1978  

    แต่มาเห็นตัวจริงเอาก็เมื่อเดือนมีนาคม 2550 เพราะมีร้านหนึ่งในจตุจักรนำ เข้ามาขาย ซึ่งตอนนั้นราคาสูงมากเลยไม่ได้มีโอกาสเป็นเจ้าของ จนกระทั่งวัน หนึ่งเห็นประกาศขายดอร์เมาส์มือสองในราคาที่น่าพอใจจึงตัดสินใจซื้อมาลอง เลี้ยงดู แต่ด้วยไม่มีประสบการณ์ทำให้เสียดอร์เมาส์เพศเมียไปหนึ่งตัวด้วย อาการ Heat shock หาซื้อคู่ใหม่อยู่นานจึงได้รู้จักกับพี่ชายท่านหนึ่งซึ่ง เลี้ยงดอร์เมาส์ไว้ดูเล่น แถมยังออกลูกหลายตัวจึงของแบ่งมาเลี้ยง 

    จนตอนหลังก็ได้พี่ชายท่านนี้มอบลูกดอร์เมาส์มาฝึกป้อนอีก จนทุกวันนี้หลง ดอร์เมาส์จนโงหัวไม่ขึ้น และยังหาสายใหม่ ๆ มาสลับอยู่เรื่อย ๆ  

    บทความนี้จึงถือเป็นการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการเลี้ยงดอร์เมาส์ ซึ่งมักจะไม่มีใครลงรายละเอียดมากนัก ยิ่งในต่างประเทศถือว่าเป็นความลับ ขั้นสุดกันซะงั้น อย่างเช่นตอนที่ผมลองฝึกป้อนดอร์เมาส์ตัวแรกได้ ส่งe-mail ไปถามคนเลี้ยงทั่วโลกตามbreeder list แต่มีเพียงคุณ Rhonda จาก Florida คนเดียวที่ตอบกลับมาด้วยความเต็มใจ  

    แอฟริกัน ปิ๊กมี่ ดอร์เมาส์ (African pygmy dormouse) มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Graphiurus murinus หรือ ฝรั่งบางคนจะเรียกมันว่ากระรอก จิ๋ว (micro squirrels) 

    ซึ่งถ้าอยากรู้ข้อมูลของเจ้าตัวจิ๋วนี่ควรใช้คำ ว่า pygmy dormouse และ micro squirrels จะทำให้หาง่ายขึ้น ตามตำรา ดอร์เมาส์มีหลากหลายชนิดและพบการกระจายในแหล่งใหญ่ ๆ คือ ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป และแอฟริกา แต่ชนิดที่นิยมเลี้ยง คือ African pygmy dormouse จากแถบแอฟริกากลาง ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุดในบรรดา ญาติวงพงศา และ Edible Dormouse จากทางยุโรปซึ่งมีชื่อมาจากว่าคนโรมันใน สมัยโบราณชอบกิน (คงเหมือนหนูนาย่างตามข้างทางละมั้งครับ) 



    รูป ร่างหน้าตาและการหากิน

    ดอร์เมาส์มีรูปร่างและลักษณะนิสัยคล้ายไปทางกระรอกมากว่าหนู แถมเพื่อนบางคน ที่เห็นเจ้าอ้วนจิ๋วหางฟูยังเคยพูดว่านี่มันเป็นเหลนชินชิลล่าหรือเปล่าเนี่ ยะ 

    ขนาดตัวของมันยาวประมาณ 3-4 นิ้ว และมีหางฟูยาวเท่า ๆ กับตัว น้ำหนักของมัน น่าจะประมาณ 25-50 กรัม ซึ่งจริง ๆ ก็ควรจะรู้น้ำหนักไว้นิดนึงเผื่อต้อง พึ่งพาหมอยามจำเป็น สีขนของดอร์เมาส์จะเป็นสีเทาแบบชินชิ ลล่า (standard grey) และเท่าที่สังเกตจากเจ้าตัวเล็กของผมมันจะเปลี่ยนสีขน เป็นสีแดงทราย (sand red) เมื่อแก่ขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีขนหงอกไหม อิ อิ คงไม่หรอกนะ

    เท่าที่อ่านพบตามเว็บต่าง ๆ มักจะบอกว่ามันหากินกลางคืนซึ่งเป็นเวลาที่มัน ดูจะคึกคักที่สุด แต่มีเอกสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้คาดว่าในธรรมชาติเจ้า พวกนี้อาจจะหากินแทบทั้งวัน โดยเฉพาะตัวที่ยังโตไม่เต็มที่ เพราะป่าที่มัน อยู่ในแถบแอฟริกานั้นเป็นป่าดิบชื้น ที่แทบไม่มีแสงส่องลงมาเลย ซึ่งเท่าที่ สังเกตก็พบว่ามันไม่ค่อยชอบแสง และหากผมนอนกลางวันและปิดไฟ เจ้าตัวจิ๋วของ ผมก็ออกมาหาอาหารใส่ท้องตามปกติ

    ชอบ อยู่รวมกัน แต่ไม่มีเซ็กหมู่นะ

    เค้าว่ากันว่ามันมีอายุในกรงเลี้ยงได้ประมาณ 5-6 ปี โดยพร้อมผสมพันธุ์เมื่อ อายุเกิน 6 เดือนขึ้นไป ในธรรมชาติอาจจะพบดอร์เมาส์อยู่รวมกันมากถึง 20ตัว ในครอบครัวเดียว แต่ก็ยังไม่มีรายงานว่าระบบการเลือกคู่ผสมพันธุ์ในธรรมชาติ เป็นอย่างไร แต่จากการสังเกตพบว่าเมื่อตัวผู้โตขึ้นจะเริ่มทะเลาะกัน รุนแรง และแย่งกันผสมพันธุ์ตัวเมีย ดังนั้นก็มีความเป็นไปได้ว่าหนูใน ธรรมชาติอาจจะอยู่ในลักษณะฮาเร็ม ที่มีตัวผู้ปกครองตัวเดียวและเมื่อลูกตัว ผู้โตก็ต้องโดนขับไล่ออกไป หรืออาจจะเหมือนพวกเจอบิวที่ในธรรมชาติจะมีพ่อ แม่ต้นสายหลักเพียงคู่เดียวแต่จะช่วยกันเลี้ยงลูกจนโต และตั้งหน้าตั้งตา ผลิตต่อไปเรื่อย ๆ

    ดอร์เมาส์เป็นสัตว์สังคม จึงควรเลี้ยงรวมเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม ส่วนของผม เลี้ยงตัวผู้1ต่อตัวเมีย 2 และคิดว่าไม่ควรเลี้ยงตัวผู้ไว้รวมกันหากมี พื้นที่ไม่กว้างพอ แต่ข้อดีของดอร์เมาส์คือปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนใหม่ได้ เร็วมาก แค่คืนเดียวก็ร่วมหอกันได้แบบไม่ one night stand

    เมื่อถึงวัยผสมพันธุ์ตัวผู้จะร้องคริ๊กๆๆๆ สั้น ๆ แต่รัวคล้ายจิ้งหรีด ซึ่ง ก็น่าจะเป็นการร้องจีบ บทบาทลีลารักดูเหมือนจะรุนแรงหน่อย เพราะตัวเมียมัก จะไม่ค่อยยอมนักในตอนแรก ๆ แต่หลังจากนั้นแม่หนูก็จะอ้วนขึ้น และเต้านม เริ่มเห็นชัดเจน ตามตำราว่ามันจะตั้งท้องราว 30-45 วัน  ดอร์เมาส์ออกลูก ได้ 2-10 ตัว ซึ่งผมเคยได้สูงสุด 8 ตัวในครอกล่าสุด และแม้หลายตำราจะบอกว่า มันมีลูกได้ปีละครั้ง แต่ด้วยอากาศที่เอื้อต่อการผลิตลูกในบ้านเราผมคิดว่า น่าจะมีได้ถึงปีละ 2-3 ครั้ง ซึ่งตามหลักฐานจากบ้านของพี่ที่เป็นเจ้าของต้น สายดอร์เมาส์ของผม ก็มีดอร์เมาส์ตัวแดง ๆ ให้เห็นในตู้ที่เลี้ยงบ่อยครั้งใน รอบปี


    ถ้า ไม่อยากให้ดุต้องป้อนแต่เล็ก

    เราสามารถเลี้ยงให้ดอร์เมาส์คุ้นมือได้ (hand tame, ไม่ใช่ เชื่อง หรือ tame เพราะมันไม่เชื่อง ไม่อ้อนคนเลี้ยงหรือสามารถสอนให้เต้น ระบำได้ แต่ไม่กลัวการโดนจับ และไม่ตื่นคน) 

    แต่ต้องเริ่มจากช่วงแรก ๆ คือไม่เกินสามอาทิตย์หลังจากออกจากท้องแม่ ตาม ประสบการณ์แล้วการนำออกมาช่วง 12-15 วัน ลูกหนูจะคุ้นมือเร็วกว่าแต่อัตรา การรอดต่ำและกินนมยากกว่า ดังนั้นควรนำออกมาช่วง 18-20 วันจะปลอดภัย มากกว่า อาหารที่ป้อนคือซีลีแล็คสูตรเริ่มต้น โดยที่อึหนูตอนแยกออกจากแม่จะ มีสีดำและค่อนข้างแข็งแต่เมื่อเราเอามาป้อนเองอึจะเหลวและเป็นเมือกมากขึ้น ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่หากมีอาการท้องเสียอึจะมีกลิ่นเหม็นและหนูจะ ดูอ่อนเปลี้ยกว่าปกติ 


    อ่อ...เมื่อเอาออกมาแล้วไม่ควรนำกลับไปให้แม่แล้วนะครับ เพราะดอร์เมาส์บาง ตัวโดยเฉพาะพวกที่จับมาจากป่าอาจจะกินลูกเหมือนหนูแฮมเตอร์ แต่เพื่อนต่าง ชาติบอกว่าถ้าแม่หนูค่อนข้างคุ้นเคยกับคนการกินลูกจะลดลงและเราไม่ต้องป้อน เองก็ได้ แต่ให้จับลูกหนูมาเล่นบ่อย ๆ ถ้าแม่มันไม่หวงอ่ะนะครับ
       
    ลูกดอร์เมาส์จะหย่านมในอาทิตย์ที่ 5 คือหลังออกจากท้องแม่ราว 30 วัน และไม่ ต้องตกใจหากเรายื่นมือลงไปจับแล้วเจ้าตัวเล็กจะงับนิ้วเพราะมันกำลังสำรวจ มือเราเหมือนกับที่สำรวจอาหาร เมื่อโตขึ้นและคุ้นเคยกับเรา อาการงับแง๊บๆจะ ลดลง แต่ก็ขึ้นอยู่กับนิสัยส่วนตัวของมันเอง  มันชอบวิ่งไปมาขนตัวเจ้าของ มากกว่าจะนั่งนิ่ง ๆ ในมือ และซอกหลืบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปก เสื้อ กระเป๋า และไม่เว้นแม้แต่ซอกอุ่นตรงกลางอกของสาว ๆ ก็เป็นจุดโปรดของ เจ้าจิ๋วที่จะวิ่งเข้าไปซุกซ่อนตัวเช่นกัน

    มี คนกล่าวว่าดอร์เมาส์มีชั้นเชิงสูงยิ่งกว่านินจาในการหาทางหนีออกจากกรงด้วย การรีดตัวผ่านรูหรือช่องเล็ก ๆ ที่เราไม่คิดว่ามันจะทำได้ ดังนั้นกรงเลี้ยง ที่ดีที่สุดสำหรับดอร์เมาส์คือตู้ปลาที่ปิดด้วยตะแกรงขนาดเล็ก กว่า 5 มิลลิเมตร ซึ่งเราก็หาซื้อตะแกรงลวดมาทำเองได้ในราคาเมตรละไม่ถึง ร้อยบาท แต่ระหว่างเวลาที่มันคึกคักมาก ๆ ผากรงจะเป็นที่ที่ถูกใช้มากที่สุด ในการปีนป่าย แน่นอนว่าคุณต้องระวังมันให้ดีเลยแหละ 


    ฝรั่งเค้าว่าตู้ปลาขนาด 20 นิ้วเป็นขนาดเริ่มต้นสำหรับดอร์เมาส์ 2 ตัว แต่ ขนาดบ้านที่ใหญ่ขึ้นย่อมเป็นผลดีกับสัตว์ทุกชนิด ผมเองใช้ตู้ขนาด 20 และ พึ่งไปเจอตระกร้าใส่น้องหมาที่มีตาข่ายค่อนข้างละเอียด ซึ่งก็ใช้ได้ดี และ ทำให้อากาศระบายได้สะดวก วัสดุพื้นตู้ที่ใช้ได้ เช่น ฝอยกระดาษ ฝอยกระดาษ ลัง ขี้เลื่อย ซังข้าวโพดหรือทรายสำเร็จรูปสำหรับแฮมเตอร์ ซึ่งข้อดีข้อเสีย มีแตกต่างกัน ความหนาที่เหมาะสน่าจะประมาณ 2 นิ้ว และควรใส่หญ้าแห้งหรือเศษ ไหมพรมไว้ให้มันคาบไปรองรังนอนด้วย

    ในธรรมชาติดอร์เมาส์ใช้เวลาส่วนมากปีนป่ายหาอาหารในพุ่มไม้ ดังนั้นกิ่งไม้ แห้งที่ทำความสะอาดอย่างดี เชือก และของเล่นไม้สำหรับปีนเล่นจึงน่าจะมีใน กรงเลี้ยง ล้อวิ่งก็น่าจะทำให้มันได้เล่นเต็มที่ได้แต่ต้องเลือกชนิดที่ไม่ มีซี่ล้อเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหางขาดได้หากวิ่งเร็ว ๆ ส่วนตัวผมใช้กง ล้อแบบเล็กสุดของแฮมเตอร์ที่มีลูกปืนทำให้เสียงเงียบและทนทานมากขึ้น



    รังนอนที่ทำด้วยกล่องไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่สัตว์แทะได้ก็จำเป็นสำหรับหลบ นอนในเวลากลางวัน มีผู้แนะนำว่าควรใส่รังนอนให้เกินจำนวนหนูไป หนึ่งรัง เสมอ เช่นหากมีดอร์เมาส์ 2 ตัวให้ใส่รังนอน 3 รังเป็นต้น รังนอนที่หาได้ ง่าย ๆ เช่นบ้านแฮมเตอร์สำเส็จรูปทั้งไม้และดินเผา กระถางต้นไม้ หรือโอ่ง ดินเผาขนาดเล็กที่ทุบแบ่งครึ่งก็ใช้ได้ดีและทำความสะอาดได้ง่าย 

    ถ้วยอาหารของดอร์เมาส์ควรทำด้วยเซรามิก ใบแรกใช้ใส่อาหารชนิดแห้ง และอีกใบ สำหรับใส่อาหารเปียก การให้น้ำควรใช้ขวดน้ำแบบปลายลูกกลิ้งซึ่งผมเลือกใช้ แบบที่ค่อนข้างแพงเพราะมันจะเจอปัญหาว่าบางยี่ห้อน้ำไม่ไหลเมื่อหนูหิวน้ำ และเข้าไปเลียซึ่งอันตรายมาก แต่หากใครมีเวลาดูแลเปลี่ยนน้ำเปลี่ยน อาหาร การเอาน้ำใส่ถ้วยเล็ก ๆ ให้หนูเลียกินเองก็ไม่ได้ขัดกับรัฐธรรมนูญแต่ อย่างใด

    การ ดูแลและอาหารการกิน

    อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงดอร์มาส์ คือ ไม่ต่ำกว่า 70 องศา ฟาเรนไฮต์ หรือราว 24 องศาเซลเซียส เนื่องจากในธรรมชาติหากมีอุณหภูมิต่ำลง ดอร์เมาส์จะเริ่มนอนจำศีล ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับสัตว์ที่อยู่ในกรงเลี้ยง ซึ่งไม่มีการสะสมอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้ยงเจ้า จิ๋วไว้ในห้องแอร์ และถึงแม้เสียงจะไม่ดังแต่กลิ่นของเสียก็ค่อนข้างแรงเช่น เดียวกับหนูทั่ว ๆ ไป (เหม็นกว่าเจอบิว แต่ไม่เท่าแฮมเตอร์และแกสบี้)



    ตามตำราเค้าว่าในธรรมชาติดอร์เมาส์กินอาหารหลากหลายมาก ทั้งพวกเมล็ดพืช ลูก ไม้ ถั่ว ไข่นก และแมลง ดังนั้นอาหารที่เหมาะสมสำหรับดอร์เมาส์ในกรง เลี้ยง คืออาหารสำเร็จรูปสำหรับแฮมเตอร์ ผสมด้วยเมล็ดพืชต่าง ๆ เป็น หลัก และเสริมด้วยแหล่งโปรตีนพิเศษ แต่ที่เลี้ยงอยู่ ผมผสมอาหารเองด้วย วัตถุดิบหลายอย่าง เช่น อาหารเม็ดแฮมเตอร์ อาหารเม็ดแกสบี้ อาหารแมวไขมัน ต่ำ กระดองปลาหมึกตำหยาบ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ลูกเกด ข้าวฟ่าง ข้าว สาร อาหารหมูอ่อน และอาหารไข่แห้ง แล้วเสริมด้วยนมอัดเม็ด โยเกิร์ต น้ำผสม ไม้ ผสมไม้สด ซีลีแล็ค ขนมหมากลิ่นไก่ โยเกิร์ต ซีลีแล๊ค นมอัดเม็ด ผลไม้ สุก ผักสด ขนมปัง และไม่ต้องกลัวว่าจะไม่กินเพราะมันซัดทุกอย่างไม่เว้นแม้ แต่ปากเป็ดท้อง และแกนแอปเปิ้ล ยกเว้นอันที่ไม่ชอบจริง ๆ ก็ดม ๆ แล้วเมินไป ซะ

    โม้ เปล่า.... เคยเลี้ยงมาไม่เห็นมันจะเชื่องสักตัว

    หลายคนเคยเลี้ยงดอร์เมาส์แล้วไม่ชอบเพราะมันไม่เชื่องสนิทเหมือนสัตว์ อื่น ๆ ผมว่าในกรณีนี้มักจะเป็นรุนแรงในดอร์เมาส์ป่า หรือตัวที่ไม่ได้ป้อน และไม่คุ้นเคยกับการสัมผัสจากคนตอนยังเล็ก ซึ่งดอร์เมาส์ที่เป็นลูกป้อนจะลด ความตื่นคนลง แต่ด้วยสัญชาติญาณที่เป็นเหยื่อของสัตว์ใหญ่ในธรรมชาติทำให้ ดอร์เมาส์ค่อนข้างตื่นง่าย ไม่ชอบแสง และไม่ชอบการเคลื่อนไหวที่วูบวาบ ซึ่ง หากใครใจเย็นพอที่จะดูแลดอร์เมาส์ในช่วงเล็ก ๆ และให้เวลาเล่นกับเจ้าจิ๋ว ทุก ๆ วันหรือสองสามวันครั้ง ก็จะทำให้อาการกลัวคนลดลงมาก ซึ่งในบรรดา ดอร์เมาส์ของผมก็มีเจ้า “อ้วนอ้วน” ที่คุ้นมือผมมาก เพราะเป็นตัวที่ผมทดลอง ป้อนตัวแรก ทุกครั้งที่ยื่นมือลงไปในตู้มันก็จะรีบวิ่งขึ้นมา และอยู่ นิ่ง ๆ ให้ผมลูบหัวหรือถ่ายรูปอยู่บนมือได้นานสองนานก่อนจะวิ่งตามแขนขึ้นมา นอนในปกคอเสื้อ แต่เนื่องจากอ้วนอ้วนมีอาการบวมผิดปกติ คือ ขนาดใหญ่กว่าหนู ตัวอื่นเป็นสองเท่า ผมจึงแยกให้อยู่เดี่ยว เพื่อป้องกันการผสมกับตัว อื่น ๆ สาวแก่นางนี้จึงทำหน้าที่เลี้ยงต้อยคอยอยู่กับเด็ก ๆ เวลาที่ต้องแยก กับแม่ออกมาเผชิญโลกแห่งความจริง

    อ้อลืมบอกไปว่าเพศของลูกดอร์เมาส์จะดูออกเมื่ออายุเกินหนึ่งเดือนไปแล้ว และ ถุงหุ้มอัณฑะจะห้อยให้เห็นชัดเจนเมื่ออายุราวสองถึงสามเดือนขึ้นไปครับ


    แหล่ง ข้อมูลเพิ่มเติม
    http://www.geocities.com/pygmydormouse/main.htm
    http://www.contactpets.co.uk/cs/dormouse.html
    http://exoticpets.about.com/cs/dormice/a/africandormice.htm
    http://members.tripod.com/~bri_rose/dormouse.html

    และกระทู้เก่า ๆ ของพี่ genuine1978 หรือค้นหาในเว็บนี้ด้วยคำ ว่า dormouse ครับ






    ดอร์เมาส์ อัศจรรย์กระรอกจิ๋ว




    "ดอร์เมาส์" อัศจรรย์กระรอกจิ๋ว (เทคโนโลยีชาวบ้าน)

    โดย พิชิต ไทยยืนวงษ์
    คอลัมน์ ปลาสวยงาม

              คงเป็นไปได้ยากหากจะจับกระรอกธรรมชาติมาเลี้ยงให้เชื่องโดยง่าย นอกเสียจากจะเก็บมาเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็กคอยป้อนอาหาร ป้อนนม จนมันคุ้นชิน แล้วดูแลเอาใจใส่จนมันเติบโตกลายเป็นกระรอกเต็มวัยขนาดพอสองอุ้งมือ

              แต่ถ้าเป็นกระรอกบางชนิด แม้คุณจะเลี้ยงให้โตแค่ไหน มันก็จะมีขนาดเพียงอุ้มมือเดียวเท่านั้น!! ราวกับว่ามันเป็นลูกกระรอกไม่ยอมโต เหมือนกับเจ้า "ดอร์เมาส์" (dormouse) สัตว์เลี้ยงตัวจิ๋วของ คุณปีย์ชนิตว์ เกษสุวรรณ หรือ คุณปีย์

              หนุ่มเชียงใหม่ ที่ชื่นชอบกระรอกชนิดนี้เป็นพิเศษ ขณะที่เมืองไทยยังไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก แต่เขาก็ศึกษาและเสาะหามาเลี้ยงได้อย่างดี โดยเริ่มจากการหาซื้อทางเว็บไซต์ 1 คู่ จนสามารถขยายพันธุ์และเลี้ยงดูดอร์เมาส์ จำนวน 10 ตัว ในปัจจุบัน

              "ผมเริ่มรู้จักกับเจ้ากระรอกจิ๋วเมื่อราวปลายปี 49 จากที่โพสต์ไว้ในเว็บไซต์สัตว์เลี้ยงของไทยที่อาศัยอยู่ในเยอรมัน หลังจากนั้นราวเดือนมีนาคม 50 มีร้านสัตว์เลี้ยงในจตุจักรก็ได้นำดอร์เมาส์ เข้ามาขาย แต่ราคาค่อนข้างแพง ผมจึงไม่ได้ซื้อไว้ในตอนแรก ต่อมาไม่นานก็มีคนเลี้ยงประกาศขายเองทางอินเตอร์เน็ต เลยตัดสินใจซื้อมาเลี้ยง 1 คู่ จนปัจจุบันมีประสบการณ์มากขึ้น และสนุกกับการเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้" คุณปีย์ เล่า

              นักวิทยาศาสตร์จัดดอร์เมาส์แยกออก จากกลุ่มหนูและกระรอก ซึ่งมีมากกว่า 20 สายพันธุ์ สามารถพบได้ทั้งในญี่ปุ่น ยุโรป และแอฟริกา โดยแต่ละชนิดมีถิ่นที่อยู่ สีสัน และขนาดที่แตกต่างกันไป แต่เกือบทุกชนิดมีลักษณะรูปร่าง และนิสัยคล้ายกระรอก ซึ่งดอร์เมาส์ที่คุณปีย์เลี้ยงไว้นั้นเป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากที่สุด คือ "ปิ๊กมี่ดอร์เมาส์" (African pygmy dormouse) มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตอนกลางจนถึงตอนใต้ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุด จนมีฉายาว่ากระรอกจิ๋ว (micro squirrels) เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวเพียง 3-4 นิ้ว มีน้ำหนักแค่ประมาณ 25-30 กรัม มีหางฟูยาวเท่ากับลำตัว สีขนด้านบนเป็นสีเทาอ่อน แต่พออายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ด้านท้องสีขาวครีม

              คุณปีย์ บอกว่า ในประเทศไทยนับว่ามีการนำเข้าดอร์เมาส์จาก แอฟริกา และฟาร์มจากญี่ปุ่นเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น จึงเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีจำนวนน้อยมากในบ้านเรา ส่วนชื่อดอร์เมาส์ มาจาก คำว่า "Dor" ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า "ผู้หลับใหล" มันถูกเรียกตามพฤติกรรมที่ต้องนอนจำศีลตลอดฤดูหนาวที่อาหารขาดแคลน เมื่ออากาศเย็นลงดอร์เมาส์จะหาโพรงไม้ รังนกเก่า หรือแทะผลโอ๊กให้เป็นโพรงเพื่อเข้าไปจำศีล แต่พฤติกรรมนี้จะไม่เกิดในเมืองไทย เพราะเป็นเมืองร้อน ดังนั้นการเลี้ยงดอร์เมาส์จึงต้องมีจัดสถานที่และควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม

              "พวกมันเป็นสัตว์กลางคืน แต่ในธรรมชาติพวกมันอาจจะหากินแทบทั้งวัน แต่ถ้าเลี้ยงในห้องที่มีแสงน้อย ในช่วงกลางวันพวกมันจึงอาจจะออกมาวิ่งเล่นให้เห็นเช่นเดียวกัน การเลี้ยงดอร์เมาส์ควรจัดให้อยู่ในอุณภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 24 องศาเซลเซียส สามารถเลี้ยงในตู้ปลาขนาด 20 นิ้ว ที่ปิดด้วยตะแกรงโลหะขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร เพราะเจ้ากระรอกจิ๋วมีขนาดเล็กมากและหลบหนีได้เก่ง 1 ตู้ เหมาะสมที่สุดสำหรับดอร์เมาส์ 1 คู่ นอกจากนั้น ตะกร้าพลาสติคอย่างหนาที่มีตาข่ายค่อนข้างเล็กก็ใช้ได้ดี โดยใส่วัสดุรองพื้นให้สูงประมาณ 2 นิ้ว จะใช้กระดาษฝอย ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด หรือทรายสำเร็จรูปสำหรับแฮมเตอร์ก็ได้ แต่ควรใส่หญ้าแห้ง เศษผ้า หรือเศษไหมพรมไว้ให้มันคาบไปรองรังนอนด้วย"

              เมื่อเป็นสัตว์แสนซน สิ่งที่ควรจัดให้ดอร์เมาส์เพิ่มเติมก็คือ ของเล่นสำหรับปีนป่าย เช่น กิ่งไม้แห้ง เชือก โพรงไม้ และวงล้อสำหรับแฮมเตอร์ เพราะในธรรมชาติพวกมันจะใช้เวลาส่วนมากปีนป่ายหาอาหารตามพุ่มไม้ ผู้เลี้ยงจึงสามารถนั่งมองเจ้ากระรอกจิ๋วแสดงกายกรรมอย่างร่าเริงได้ตลอด ทั้งคืน และควรหาบ้านไม้สำเร็จรูปหรือกระถางดินเผาเล็กๆ ที่กะเทาะให้มีช่องเข้าออกสำหรับให้มันเข้าหลบซ่อนในเวลากลางวัน เพื่อช่วยลดความเครียด หรือเป็นรังนอนและรังคลอด

              ส่วนอาหารของดอร์เมาส์ตามธรรมชาติมีหลากหลายเช่นเดียวกับสัตว์ฟันแทะทั่วไป เมื่อนำมาเลี้ยงเองคุณปีย์บอกว่า สามารถผสมอาหารเองได้ โดยใช้อาหารเม็ดสำหรับหนูแฮมสเตอร์ อาหารแมวไขมันต่ำ อาหารนกเขา กระดองปลาหมึกตำหยาบ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง อาหารหมูอ่อน และเสริมด้วยผลไม้สด ผลไม้แห้ง นมอัดเม็ด โยเกิร์ต ไก่สุก ไข่ต้ม ผักสด จิ้งหรีด หนอนนก และขนมปัง สลับสับเปลี่ยนกันไป โดยจัดถ้วยอาหารแห้งกับอาหารเปียก ใช้ขวดน้ำแบบปลายลูกกลิ้งที่ทำจากสแตนเลส หรือใส่น้ำในถ้วยเล็กๆ แต่ควรเปลี่ยนทุกวัน

              ดอร์เมาส์ เป็นสัตว์สังคมจึงควรเลี้ยงรวมกันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม แต่เมื่อตัวผู้โตขึ้นจะเริ่มทะเลาะกันเพื่อแย่งกันผสมพันธุ์กับตัวเมียที่ อยู่ในฝูง (ดอร์เมาส์ พร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุ 6 เดือน ขึ้นไป) คุณปีย์บอกว่าอัตราส่วนในการเพาะพันธุ์ที่ได้ผลดีคือ ตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัวเมีย 2 ตัว ซึ่งสามารถสังเกตอาการตัวผู้ได้จากเสียงร้อง "คริกๆ" คล้ายจิ้งหรีด หากผสมแล้วแม่หนูจะตั้งท้องราว 25-30 วัน และออกลูกครอกละ 2-10 ตัว ในต่างประเทศพบว่าดอร์เมาส์มีลูกได้ปีละครั้ง แต่ด้วยอากาศในบ้านเราทำให้อาจจะมีลูกได้ถึงปีละ 3-4 ครั้ง และเจ้ากระรอกจิ๋วอาจมีอายุในที่เลี้ยงได้มากถึง 6 ปี

              "เราจะทำให้ดอร์เมาส์คุ้นเคยกับผู้เลี้ยงได้ โดยแยกลูกหนูออกมาป้อนนมตั้งแต่เล็ก จนสามารถนั่งเล่นบนมือ ป้อนอาหาร และไต่ตามตัวได้ แต่ต้องเริ่มจากช่วงแรกๆ คือไม่เกิน 3 สัปดาห์ หลังจากออกจากท้องแม่ แต่จากประสบการณ์ของผม การนำลูกหนูออกมาป้อนในช่วง 12-15 วัน ลูกหนูจะคุ้นมือเร็วกว่า แต่อัตราการรอดต่ำและกินนมยากกว่า ดังนั้น ควรนำออกมาป้อนช่วง 18-20 วัน จึงจะปลอดภัย อาหารที่ป้อนคือซีรีแล็คสูตรเริ่มต้น หรือจะใช้นมผงสำหรับลูกแมวแทน แล้วผสมกับอาหารเสริมชนิดน้ำสำหรับเด็กก็ทำให้ลูกหนูมีสุขภาพดีได้เช่นกัน"

              เมื่อลูกดอร์เมาส์มีอายุราว 30 วัน แล้วผู้เลี้ยงลองยื่นมือลงไปแต่ถูกงับ!! คุณปีย์บอกว่าไม่ต้องตกใจ เพราะมันจะงับเพียงเบาๆ เพื่อสำรวจอาหาร พอมันโตขึ้นและคุ้นเคยกับเรา อาการงับจะลดลง แต่ก็ขึ้นอยู่กับนิสัยของเจ้ากระรอกจิ๋วแต่ละตัวด้วยเช่นกัน แต่หากมันคุ้นเคยกับคนเลี้ยงแล้ว หากจะนำออกมาเล่น ควรยื่นมือลงไปให้มันรู้ตัวก่อน แล้วจึงรวบส่วนลำตัวขึ้นมาด้วยอุ้งมือ ส่วนตัวที่ไม่คุ้นเคยกับคน ควรกำมือแล้วใช้ร่องระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้รวบหนังบริเวณหลังแล้วยกขึ้น ไม่ควรใช้วิธีจับที่หาง เพราะอาจจะทำให้ดอร์เมาส์แว้งกัด หรือหางขาดได้ และไม่ควรแหย่มือ แบบผลุบโผล่ลงไปในกรง เพราะทำให้หนูตกใจ และอาจจะกัดเพื่อป้องกันตัวได้ และต้องล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง

              "ผู้เลี้ยงหลายคนมักจะทอดทิ้งดอร์เมาส์ของตนเองเมื่อโตขึ้น เนื่องจากพวกมันไม่มีนิสัยออดอ้อนเหมือนสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ แต่กลับชอบซ่อนตัว ไม่ชอบแสง เคลื่อนไหวรวดเร็ว และระแวงตัวสูง เพราะเป็นเหยื่อของสัตว์ใหญ่ตามธรรมชาติ ทำให้มันค่อนข้างตื่นง่าย ชอบซุกซ่อนและกลัวสิ่งที่เคลื่อนไหววูบวาบ แต่ผู้เลี้ยงก็มีความสุขที่ได้ลูบคลำเจ้ากระรอกจิ๋วตัวอ้วน ได้จัดมุมของเล่นในตู้ และนั่งดูมันแสดงกายกรรมอย่างคล่องแคล่ว วิ่งเล่นในวงล้อ หรือนั่งแทะอาหาร ช่วยลดความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานไปได้มาก ถ้าผู้เลี้ยงเข้าใจพฤติกรรมตามธรรมชาติของพวกมันให้ดี และให้เวลากับมันเพียงพอ ก็จะช่วยลดปัญหาการทิ้งขว้างสัตว์ เพราะเริ่มเบื่อหน่ายได้"

              อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ดอร์เมาส์เกือบทุกชนิดไม่ใช่สัตว์คุ้มครอง (ยกเว้นสายพันธุ์เฉพาะถิ่นในเกาะญี่ปุ่น) หรือไม่มีรายงานการระบาดของโรคฝีดาษลิงในประเทศไทย ซึ่งเคยมีประวัติในอเมริกา เพราะลักลอบการนำเข้าสัตว์ป่าอย่างผิด กฎหมาย แต่ในบางประเทศก็มีการห้ามนำเข้าดอร์เมาส์ เพราะหากไม่มีการควบคุมตามธรรมชาติอาจจะกลายเป็นศัตรูพืชได้



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  Wikipedia.org








    อ้างอิง
    1
    http://www.siamreptile.com/webboard/webboard_show.php?id=23156
    2 http://pet.kapook.com/view1552.html
    3
    4
    5




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×