ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ♪ เรื่องเล่า ♪ {{{นิทานชาดก.+}}}☂

    ลำดับตอนที่ #246 : ☆ : มาทำความรู้จักกับน้องกระรอกกัน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 7.85K
      1
      29 ธ.ค. 54

     









              กระรอก              



                        กระรอก จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยนตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ 

                        กระรอกอาจแบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ ได้แก่ กระรอกต้นไม้ (tree squirrels) กระรอกดิน (ground squirrels) และ กระรอกบิน (flying squirrels)

                        วงศ์กระรอกมี วงศ์ย่อย 2 วงศ์ คือ Pteromyinae ได้แก่ กระรอกบิน และวงศ์ Sciurinae ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกบิน, ชิพมั้งค์

                        นอกจากนี้แล้วยังมีสัตว์อีก 3 ชนิด ที่มีรูปร่างและลักษณะใกล้เคียงกับกระรอก จนอาจทำให้หลายคนเข้าใจว่าเป็นกระรอกชนิดหนึ่งด้วย แต่ความจริงแล้ว ทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นสัตว์คนละอันดับกับกระรอกเลย ได้แก่

    1 บ่าง (Cynocephalu variegatus)
    ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับบ่าง
    2 กระแต (Tupaiidae)
    เป็นสัตว์ในอันดับกระแต(order Scandentia)โดยเฉพาะ
    กระแตดูเผิน ๆ คล้ายกระรอก แต่ไม่ใช่กระรอก ไม่ได้อยู่ในอันดับวานรแล้วด้วย ในปัจจุบันกระแตจัดอยู่ในอันดับกระแต กระแตมีปากยื่นยาวกว่ากระรอก มีฟันเล็กหลายซี่
    3 ซูกาไกล์เดอร์ (Petaurus breviceps) หน้าตาและรูปร่างคล้ายกระรอกบินมาก แต่เป็นสัตว์ในอันดับ สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องพวกเดียวกับโคอาล่า จิงโจในออสเตรเลีย


     
    http://writer.dek-d.com/story/viewlongc.php?id=403426&chapter=246



                        กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้บ่อยและคุ้นเคยกันดี มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคม และมีใบหูใหญ่ บางชนิดมีปอยขนที่หู ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำตัว สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ กระรอกดิน มักจะมีรูปร่างสั้น และล่ำสันกว่ากระรอกต้นไม้ มีขาหน้าแข็งแรงใช้สำหรับการขุดดิน หางของกระรอกดินนั้นจะสั้นกว่าหางของกระรอกต้นไม้ และไม่ฟูเป็นพวงนัก และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่น ๆ กระรอกจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว และ นิ้วเท้าหน้าข้างละ 4 นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลายเป็นปุ่มนูน ๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำหรับจับอาหารมาแทะ

                      กระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ 3 กลุ่ม คือ ขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และพญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis) ซึ่งได้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และ ขนาดเล็ก เช่น กระเล็น (กระถิก) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย
    อาหาร ของกระรอกคือ ผลไม้ และ เมล็ดพืช เป็นหลัก แต่กระรอกก็ยังชอบกินแมลงด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะกระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอก นั้นบางครั้งก็ยังกินไข่นกเป็นอาหารอีกด้วย





      ...พฤติกรรมของกระรอก...   


    กระรอกแป็นสัตว์ที่ออกหากินในตอนกลางวัน
    (ยกเว้นตระกูลกระรอกบิน)
    ส่วนใหญ่แล้ว จะออกหาอาหารในช่วงเช้ามืดหรือตอนเย็น
    เราสามารถพบกระรอกอยู่เป็นกลุ่มได้ในต้นไม้ที่ออกผลมาก
    มีความเชื่อกันว่ากระรอกตัวที่โตเต็มที่นั้นจะแบ่งเมล็ดพืชให้กับกระรอกที่ ยังเล็กอยู่
    เชื่อกันว่ากระรอกนั้นจะซ่อนอาหาร อย่างเช่นผลไม้สุก ไว้ในรอยแตก หรือรอยแยกของกิ่งไม้






    อาณาเขตของที่อยู่อาศัยของกระรอกที่ โตเต็มวัยนั้นอาจซ้อนเหลื่อมกัน แต่บริเวณที่เกิดการซ้อนเหลื่อมนี้อาจขยายอาณาเขตมากขึ้นเมื่อตัวเมียมีน้อยลง และอาจทำให้กระรอกมาเผชิญหน้ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้ กระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตจะไล่กระรอกตัวอื่นไปจนกระทั่งกระรอกตัวนั้น ออกจากอาณาเขตของตนไป

    หรือกระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตอาจไม่แสดงอาการใดๆ เลยแล้วใช้ชีวิตตามปกติต่อไป กระรอกตัวที่ปกครองเป็นใหญ่ในบริเวณนั้นจะยังคงอยู่โดยเฉพาะบริเวณที่ใช้เป็นที่หาอาหารประจำและมีกระรอกอยู่ทั้ง 2 เพศ ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดชีวิตของมัน



     
    ..เขตที่พบกระรอก..
                     กระรอกเป็นสัตว์ที่พบว่ามีอาศัยอยู่ทั่วโลกยกเว้นในทวีปออสเตรเลีย, ตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้, และบริเวณทะเลทราย  กระรอกสามารถอาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความแตกต่างกัน  ตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนไปจนถึงเขตอาร์คติกทุนดรา   และจากชั้นเรือนยอดของต้นไม้ไปจนถึงโพรงใต้ดิน





    ...ถิ่นที่อยู่อาศัย...
                           โดยส่วนใหญ่แล้วกระรอกจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.8 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝน 1455 มม. จะสามารถพบกระรอกได้มากในป่าเขตอบอุ่นโดยเฉพาะป่าที่มีไม้ผลมาก สำหรับในประเทศไทยนั้นสามารถพบเห็นกระรอกได้ทุกภูมิภาค แต่จะพบได้มากที่ภาคใต้และพบว่ามีจำนวนน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระรอกบางพันธุ์นั้นจะสามารถพบได้เฉพาะในภาคใต้เท่านั้น เช่น พญากระรอกเหลือง กระรอกสามสี กระรอกหางม้าใหญ่ กระรอกหน้ากระแต ซึ่งกระรอกเหล่านี้ล้วนเป็นกระรอกพันธุ์หายาก และใกล้จะสูญพันธุ์






    ...อาหารของกระรอก...
                      กระรอกในประเทศไทยนั้นก็มีลักษณะการหาอาหารคล้ายกับกระรอกต้นไม้อื่นๆ คือ ดำรงชีวิตด้วยการกินใบไม้ ผลไม้ เมล็ดพืช แมลง ผลไม้เปลือกแข็ง และโคนต้นสน กระรอกเหล่านี้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้ แต่บางเวลาหากินบนพื้นดิน 
                      และแน่นอนว่าอาหารส่วนใหญ่ของกระรอกล้วนเกี่ยวกับต้นไม้ ทำให้กระรอกมักจะเก็บสะสมอาหารอยู่บนกิ่งไม้ 
                      กระรอกมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและอาหารตามฤดู ในฤดูหนาว กระรอกจะกินดอกที่ยังอ่อนๆ ของต้น ซึ่งจะออกดอกตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายนในปีถัดไป จากนั้นกระรอกจะเปลี่ยนมากินใบไม้ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคม และเมื่อถึงเดือนมิถุนายนกระรอกก็จะเริ่มกินผลไม้ เมื่อฤดูใบไม้ร่วงมาถึง กระรอกจะกินแมลงที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะมดที่กำลังกักตุนอาหารก่อนที่ฤดูหนาวจะมาเยือน




    ...พฤติกรรมการกินอาหารของกระรอก...
    - อาหารหลัก : กระรอกเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมากจะกินผลไม้และธัญพืช

    - อาหารที่เป็นสัตว์ : แมลง บางครั้งกระรอกจะกินแมลงเมื่อต้องการแร่ธาตุบางชนิด

    - อาหารที่เป็นพืช : ได้แก่ ใบไม้ เมล็ดพืช ธัญพืช ผลไม้เปลือกแข็ง และผลไม้

    - พฤติกรรมการหาอาหาร : มีการสะสมหรือซ่อนอาหารไว้กินในฤดูหนาว





    ...การสืบพันธุ์...
                  กระรอกมีการสืบพันธุ์แบบ promiscuous หรือ polygynandrous คือตัวผู้หรือตัวเมียหลายๆ ตัวผสมกับเพศตรงข้าม 1 ตัว ในวันที่ตัวผู้เป็นสัด ตัวผู้หลายตัวจะมารวมกันล้อมรอบตัวเมียและเริ่มส่งเสียงร้อง การส่งเสียงร้องนี้เป็นการเริ่มต้นแข่งขันกันในหมู่ตัวผู้ ซึ่งจะมีตัวผู้ตัวหนึ่งที่ชนะและได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวนั้น ตัวผู้ตัวที่ชนะจะได้ครอบครองตัวเมียในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไข่ของตัวเมียนั้นได้รับการผสมจากตนเอง แต่ถ้าจำนวนตัวผู้ที่เข้าแย่งชิงนั้นมีจำนวนมาก ตัวผู้ตัวนั้นก็อาจไปจากตัวเมีย และตัวเมียก็อาจจะเริ่มผสมกับตัวผู้ตัวหนึ่งที่ชนะตัวผู้ตัวอื่นๆ ที่เข้ามาในขณะนั้น

                  
                  หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ในตอนแรกตัวเมียจะออกสำรวจหาบริเวณและสร้างรังในบริเวณที่เหมาะสมและค่อน ข้างปลอดภัย พฤติกรรมนี้จะพบมากที่สุดในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงที่ตรงกับฤดูผสม พันธุ์ของกระรอก ภายในรังของกระรอกนั้นพบว่า แม่กระรอกสามารถให้กำเนิดลูกได้ครั้งละหลายตัว






    ...อายุขัยของกระรอก...
                     ยังไม่เคยมีการรายงานเป็นตัวเลขที่แน่นอนแต่สำหรับกระรอกที่ถูกคนเลี้ยงดู นั้น โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุประมาณ 17 ปี และบางพันธุ์อาจมีอายุยืนถึง 21 ปี (เลี้ยงขังในกรง)  






    ...ศัตรูตามธรรมชาติ... 

                     
    ในธรรมชาติ นั้น กระรอกมีศัตรูคือสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก เช่น อีเห็น ชะมด พังพอน แมวป่า รวมทั้งเหยี่ยว นอกจากนี้ กระรอกอาจถูกคนจับมาขายหรือฆ่าทิ้งเนื่องจากทำลายผลผลิตของเกษตรกร โดยเฉพาะกระรอกที่ไปอาศัยในสวนปาล์ม








        ลักษณะทางกายภาพ   

                      กระรอกมีลักษณะโครงสร้างของขากรรไกรที่คล้ายกับบรรพบุรุษ กระโหลกกว้างจนถึง Zygomatic plate  เพื่อเป็นจุดยึดเกาะของ lateral branch ของกล้ามเนื้อ masseter มีจุดเริ่มจากสันนูนด้านข้างของกระดูกrostrum   (กระดูกจะงอยปาก) ที่เรียกว่า masseteric tubercle ใน intraorbitalforamenไม่ได้ขยายใหญ่พื่อส่งผ่านกล้ามเนื้อ  เหมือนพวก myomorphous(หนู mice และหนู rat) และ hystricomorphous (หนู cavy และหนูตะเภา)

                      กระรอก นั้นมีลักษณะร่างกายหลักๆ 3 แบบ คือ กระรอกต้นไม้ กระรอกดิน และกระรอกบิน กระรอกต้นไม้ จะมีหางยาวเป็นพวงกรงเล็บที่แหลมคมและมีหูขนาดใหญ่บางพันธุ์ที่ปลายหูมีขน เป็นพู่
                      กระรอกบินมีผิวหนัง ที่ปกคลุมด้วยขนยื่นออกจากลำตัวยาวจากข้อมือจนถึงข้อเท้าเพื่อให้สามารถ ร่อนไปมาระหว่างต้นไม้ได้ 
                      กระรอกดินนั้นโดยทั่วไปมีลักษณะแข็งแรงกว่ากระรอกต้นไม้และมีขนที่สั้นกว่า มีขาหน้าที่แข็งแรงไว้
    สำหรับขุด มีหางที่มีลักษณะเป็น fur และไม่เป็นพวงเหมือนกระรอกต้นไม้ 
                      
                      กระรอกมีลักษณะเหมือน  สัตว์ฟันแทะอื่นๆ คือมีนิ้วเท้า 5 นิ้วในเท้าหลัง และ 4 นิ้วในเท้าหน้า ซึ่งมีการพัฒนาเป็นอุ้งเท้าเป็นอย่างดี   กระรอกมีขนาดตั้งแต่เท่าหนู อย่างเช่นกระรอกปิกมี่แอฟริกา ( Myosciurus  pumilio )  ไปจนถึงไปจึงถึงพวกขนาดใหญ่อย่างมาร์มอทและวูดชัค (genus Marmota )  กระรอกนั้นกะโหลกศีรษะกับจะงอนปากสั้นและมีรูปร่างโค้ง ส่วน postorbital process มีการพัฒนาดี   และมีระยะห่างระหว่าง orbital กว้าง กระดูกแก้มยาวถึง frontals เพดานปากค่อนข้างสั้นและกว้าง ฟันกรามอยู่ระดับเดียวกัน Bullae มีขนาดใหญ่แต่ไม่ขยาย สูตรฟันของ sciurids คือ 1/1, 0/0, 1-2/1, 3/3= 20 -22,  premolar อาจมีขนาดเล็กและมีรูปร่างเหมือนหมุด  ยังคงหลงเหลือฟัน cheekteeth  มีรากฟันที่พัฒนาเป็นอย่างดีเป็นแนวขวาง





                   สำหรับกระรอกที่พบใน ประเทศไทยนั้น  ตัวเต็มวัยส่วนใหญ่มีขนาดลำตัวที่วัดรวมส่วนหัวและลำตัวประมาณ  200 มม.มีกรงเล็บที่แข็งแรงทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า  กรงเล็บนี้กระรอกใช้เกาะกิ่งไม้และลำต้นขณะวิ่ง ทำให้สามารถวิ่งไปตามต้นไม้ได้ มีตาขนาดใหญ่และโปน ทำให้มองเห็นชัดเจนและสามารถแยกแยะวัตถุ  ุโดยเฉพาะแนวตั้งได้ดีความสามารถนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับสัตว์ที่ใช้ ชีวิตส่วนใหญ่บนต้นไม้ ด้วยตำแหน่งของตาทำให้พวกมันสามารถมองเห็นด้านหน้า ด้านหลัง ด้านบนและด้านล่างได้โดยไม่ต้องหมุนศีรษะ  ช่วยให้สามารถสำรวจและระวังอันตรายได้  ดวงตาของกระรอกมี conecell ในเรตินาอยู่มากทำให้ สามารถมองเห็นสีในเวลากลางวันได้

      






      ...สายพันธุ์กระรอก...   

                กระรอก (Squirrel) จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มฟันแทะ (Rodent)มีลักษณะเด่นก็คือมีฟันหน้าที่ใหญ่ และแข็งแรง อยู่สองคู่ อยู่ด้านบนหนึ่งคู่ และด้านล่างอีกหนึ่งคู่ ไม่มีฟันเขี้ยว ฟันของสัตว์พวกนี้มีการงอกยาวขึ้นเรื่อยในทุกวัน ดังนั้นมันจึงจำเป็นต้องกัดแทะของแข็งทุกวันเพื่อให้เกิดการสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะงอกยาวเกินไป ในธรรมชาติอาศัยอยู่ตามต้นไม้ บางครั้งอาจพบหากินอยู่ตามพื้นบ้าง กินพวกผลไม้ ใบไม้ ยอดไม้ รวมทั้งแมลงต่างๆ กระรอกที่สามารถพบได้ในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น สองกลุ่มใหญ่ๆดังนี้คือ กระรอก และกระรอกบิน ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างแค่บางชนิด  กระรอกที่พบ ได้แก่

                 1. พญากระรอกดำ (Black giant squirrel)
                 2. กระรอกท้องแดง (Pallas squirrel)
                 3. กระรอกหลายสี (Variable squirrel)
                 4. กระรอกปลายหางดำ (Grey-bellied squirrel)
                 5. กระรอกดินแก้มแดง (Three-striped ground squirrel) 


               กระรอกบินมีลักษะที่แตกต่างออกไปคือ จะมีแผ่นหนังยื่นออกมาจากลำตัวยาวถึงแขน และขา ซึ่งแผ่นหนังที่ยื่นออกมานั้น จะทำให้กระรอกบินสามารถร่อนอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานกว่ากระรอกธรรมดา





    กระรอกบินที่พบ ได้แก่ ..
                  1. พญากระรอกบินหูแดง (Red giant flying squirrel)
                  2. กระรอกบินเท้าขน (Hairy-footed flying squirrel) 
                  3. กระรอกบินแก้มสีแดง (Red-cheeked flying squirrel)

    อย่างไรก็ตามการจำแนกชนิดของกระรอกบินนั้นทำได้ยาก เนื่องจากวงศ์ย่อยนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก แม้แต่ในกลุ่มนักวิชาการเองก็ยังถกเถียงกันในเรื่องนี้


    การแยกชนิดของกระรอก ..

    กระรอก สามารถแยกชนิดได้จากขนาด รูปร่างและสี ชนิด ความยาวหัว-ตัว(เซนติเมตร) ความยาวหาง(เซนติเมตร) น้ำหนัก(กรัม) สีขน
     
    กระรอกดำ 35 44 1300 หัว สีดำ แก้ม คอ คาง สีส้ม หลัง สีน้ำตาลเข้ม หาง สีดำ
    กระรอกท้องแดง 21 18 280 ตัว หาง สีน้ำตาล หลัง แถบสีดำ
    กระรอกหลายสี 21 23 - มีหลายสี ตังแต่สีขาวจนถึงดำ ซึ่งอาจมีหลายสีในตัวเดียวก็ได้
    กระรอกปลายหางดำ 22 24 300 ตัว น้ำตาลปนเขียว หาง มีลายดำเป็นป้องๆ
    กระรอกแก้มแดง 18 15.8 - แก้ม ท้อง สีน้ำตาลแดง ตัว สีเทาเข้ม หาง สีดำ ใต้หาง สีน้ำตาลแดง
    กระรอก บินหูแดง 43 50 - ตัว สีน้ำตาลแดง หู สีดำ ปลายหาง สีดำ
    กระรอกบินเท้า ขน 22 15 - หลัง สีน้ำตาลแดง หาง แบน โคนหาง สีเทาอ่อน ปลายหาง สีน้ำตาลแดง
    กระรอกบินแก้มสีแดง 13 12 - แก้ม สีน้ำตาลส้ม หลัง สีน้ำตาลแดง หางแบนคล้ายขนนก หางช่วงต้น สีดำ ปลายหาง สีขาว


     


        ภาพสายพันธุ์กระรอก   

    http://www.phuketdesignertours.com/Black%20Giant%20Squirrel%2001%20-%20Thale%20Ban%20NP_resize.jpg



    พญากระรอกดำ (Black Giant Squirrel)
                      เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย มีหางยาวเป็นพวงอาศัยหากินตามต้นไม้ใหญ่ ทำรังอยู่ตามยอดไม้ พบได้ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคอีสาน









       



    http://img704.imageshack.us/img704/8228/dscf0429p.jpg

    พญากระรอกเหลือง (Cream-colored Giant Squirrel)
                      เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่รองจากพญากระรอกดำ อาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ พบได้ตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงไป





       






     

    http://www.thaimarkettoday.com/pet/other_animal/items/1263133992/img-b-1.jpg






    http://farm1.static.flickr.com/201/447973796_15a5693013.jpg




    กระรอกหลากสี ( Variable Squirrel,Callosciurus finlaysoni bocourtl)
                       เป็นกระรอกขนาดกลางมีสีสันหลากหลายมาก และสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยมากกว่า 10 ชนิด เป็นกระรอกที่มีหางพลิ้วเป็นพวงสวยงามมาก แต่ละชนิดย่อยก็สามารถพบได้ตาม
    ภาค ต่างๆ ของประเทศไทย







       










      
    กระรอกสามสี (Prevost's Squirrel)
                       เป็นกระรอกขนาดใหญ่อาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้น จนถึงป่าพรุทางภาคใต้จัดว่าเป็นกระรอก ที่มีความสวยงามที่สุดชนิดหนึ่ง พบเห็นได้ ยากพบได้ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีลงไป
                       สถานภาพ : เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง








    http://www.thaionlinemarket.com/picproduct/11-127/thumbnailshow319808.jpg


       กระรอกท้องแดง (Belly-Banded Squirrel)
    เป็นกระรอกขนาดกลาง อาศัยหากิน ตามป่าไผ่และป่าทั่วไป ยกเว้นภาคตะวันออก และอีสาน







     

    http://www.thaidbmarket.com/uploads/20100213-205137-.jpg


       กระรอกปลายหางดำ (Gray-bellied Squirrel)
                      เป็นกระรอกขนาดกลาง มีจำนวนชนิดย่อยถึง 6 ชนิด ส่วนชนิดนี้พบได้ทางภาคเหนือ ภาคกลาง ลงมาถึง จ.เพชรบุรี และทางภาคใต้







    http://www.zoochat.com/gallery/data/1172/medium/3-lined_squirrel.JPG


       กระรอกดินหลังลาย (Three-striped Ground Squirrel)
                      เป็นกระรอกขนาดเล็ก มีสีน้ำตาลเข้ม หากินตามพื้นดิน มีแถบสีดำ สามเส้นบนหลังเห็นได้ชัด พบทางภาคใต้ ตั้งแต่ จ.ยะลา ลงไป








    http://www.go4get.com/gimage2006/2006-07-178536Squirrel9459.jpg


       กระรอกข้างลายท้องแดง (Plantain Squirrel)
                      เป็นกระรอกขนาดกลาง อาศัยตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ พบได้ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีลงไป













    กระรอกหางม้าเล็ก (Slender Squirrel)
                       เป็นกระรอกขนาดกลาง มีหางยาวเรียว ไม่มีสีดำที่ปลายหาง ท้องสีเหลืองอ่อน อาศัยอยู่ในป่าพรุทางภาคใต้เท่านั้น








    http://farm4.static.flickr.com/3619/3479613212_cb7471df23.jpg?v=0

       กระรอกหางม้าใหญ่ (Horse-tailed Squirrel)
                      เป็นกระรอกขนาดกลาง มีหางขนาดใหญ่เป็นพวงฟู พบเห็นได้ยาก อาศัยอยู่ในป่าพรุทางภาคใต้เท่านั้น




    http://www.ecologyasia.com/images-k-z/shrew-faced_ground-squirrel_0276.jpg

    http://www.ecologyasia.com/images-k-z/shrew-faced_ground-squirrel_0275.jpg

    http://www.ecologyasia.com/images-k-z/shrew-faced_ground-squirrel_head_0276.jpg  http://www.ecologyasia.com/images-a-j/common-tree-shrew_head_0001.jpg
    Shrew-faced Ground Squirrel (Left) and
    Common Tree Shrew (Right) for comparison.



       กระรอกหน้ากระแต (Shrew-faced Ground Squirrel)
                      เป็นกระรอกขนาดกลาง มีสีน้ำตาลเข้ม จมูกยาวอย่างเห็นได้ชัด จึงดูหน้าแหลมกว่ากระรอกทั่วไป พบเห็นได้ยากมาก ใกล้สูญพันธุ์ อาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้เท่านั้น




     


       กระรอกดินแก้มแดง (Red-cheeked Squirrel)
       
                    เป็นกระรอกขนาดกลาง มีขนสีเทา มีแก้มและขนที่ใต้หางสีแดงปน น้ำตาล ชอบหากินตามพื้นดิน พบได้ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคอีสาน







       กระจ้อน หรือ กระรอกดินข้างลาย
    (Indochinese Ground Squirrel, Berdmore's Ground Squirrel, Menetes berdmorei)  

             เป็นกระรอกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง พบเห็นได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย และทุกสภาพภูมิประเทศ แม้แต่ในสวนใจกลางเมือง ไม่ชอบอยู่อาศัยในป่าดิบทึบ ชอบหากินอยู่ตามพื้นดิน มีลำตัวสีน้ำตาลมีแถบสีดำสลับสีอ่อนอยู่ด้านข้างลำตัว มีความยาวเต็มที่รวมหาง ประมาณ 20 เซนติเมตร







    http://www.bloggang.com/data/ainne/picture/1243389178.jpg
     
      กระเล็น (กระถิก) ขนปลายหูยาว (
    Tamiops rodolphei)

                     ถิ่นที่อยู่อาศัย พบเฉพาะในป่าดงดิบชื้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ ป่าดงดิบเขาระดับต่ำ และป่าเบญจพรรณ พบมากบริเวณภูเขาสูงทางภาคตะวันออกขึ้นไปถึง จ.ชัยภูมิ เป็นชนิดที่พบบ่อย อาหาร อุปนิสัย หากินในเวลากลางวัน อาศัยอยู่บนต้นไม้ พบตามเรือนยอดชั้นกลางและชั้นบน ลายแถบบนหลังมีไว้สำหรับพรางตัวในป่า
     เป็นกระรอกขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง เช่น ป่าดิบแล้ง และเต็งรัง หากินตามต้นไม้สูง พบทางภาคอีสานและทางตะวันออก











        ..ช่วงอายุของกระรอก..   

    0-2 สัปดาห์ช่วงนี้ลูกกระรอกจะตัวแดงๆ จนถึงเริ่มไม่แดง แล้วก็จะยังไม่มีลายให้เห็นนัก
    2-3 สัปดาห์   จะเริ่มเห็นสีของผิวหนังซึ่งจะเป็นบริเวณที่ ขนจะขึ้นเป็นลาย
    3-4 สัปดาห์ เริ่มมีขึ้นเป็นสีๆขึ้นบริเวณที่เป็นลาย ของผิวหนังในตอนแรก
    5-6 สัปดาห์ ขนจะเริ่มปุกปุย ทั้งลำตัวและ ที่หาง และตาเริ่มจะเปิด เมื่ออายุได้ 6-7สัปดาห์ (สำหรับกระรอกพันธุ์ตัวใหญ่ก็จะโตช้ากว่ากระรอกพันธุ์ตัวเล็กๆ)**ในที่นี้ เป็นเกลย์สแควรอล หรือกระรอกสีเทา ของต่างประเทศ
       
    10 สัปดาห์ขึ้นไปกระรอกสามารถกินอยากอื่นได้บ้างแล้วนอกจากนม แต่ก็ยังต้องกินนมเสริม
    5 เดือน      กระรอกโตเต็มวัย





     



        กระรอกที่พบในประเทศไทย   

    กลุ่มกระรอกต้นไม้ ทั้งหมด 13 ชนิด

    กลุ่มกระรอกดิน มี 4 ชนิด

    กลุ่มกระรอกบิน มี 12 ชนิด






       พญากระรอกดำ สัตว์ป่าที่หมิ่นเหม่สูญพันธุ์ 
    (โดย เพ็ญพิชญา เตียว )


              พญากระรอกดำ หรือ กระด่าง จัดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ แต่โชคดีสามารถนำมาเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยหากดูแลให้ดีจะมีอายุถึง 10 ปี ...






                 สภาพโดยทั่วไปของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ตำบลภูหลวง อ.วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายของพรรณพืช สัตว์ป่านานาชนิด อาทิ นก ไก่ฟ้าพญาลอ เก้ง ไก่ป่า สัตว์ป่าหายากอีกมากมาย ในจำนวนนี้จะมี พญากระรอกดำ รวมอยู่ด้วย

                 นายทักษิณ อาชวาคม หัวหน้าสถานีวิจัยฯบอกกับ "หลายชีวิต" ว่า พญากระรอกดำ (Black Giant Squirrel) หรือที่บางคนเรียกว่า "กระด่าง" ทางภาคใต้เรียก "พะแมว" เป็นสัตว์กลุ่มเลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในกลุ่มฟันแทะ มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มกระรอกด้วยกัน มีถิ่นอาศัยอยู่ในเนปาล อัสสัม พม่า จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ อินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา ชวา และบาหลี ประเทศไทยจะพบมากทางภาคใต้ ในป่าดงดิบ ตามต้นไม้สูง ยอดไม้ที่รกทึบ โดยเฉพาะแหล่งที่มีลำห้วย

                 ...มีความปราดเปรียวว่องไว ใช้เวลาส่วนใหญ่อาศัย อยู่ตามต้นไม้ บางครั้งอาจพบหากินอยู่ตามพื้นบ้าง นอนในรังเสมอไม่ว่าจะมีหรือไม่มีลูกอ่อนก็ตาม โดยใช้กิ่งกับใบไม้มาขัดสานเป็นที่อยู่คล้ายรังนกขนาดใหญ่ไว้หลายแห่ง แต่จะอาศัยอยู่รังไหนก็แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของป่าบริเวณนั้น หากเห็นคนหรือสัตว์อื่นก็จะส่งเสียงร้อง สามารถกระโดดบนยอดไม้ได้ไกลถึง 22 ฟุต  ออกหากินตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ ในเวลากลางวันและหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน ซึ่ง อาหารของมันจะเป็นใบไม้ ยอดไม้ ผลไม้ แมลงต่างๆ รวมทั้ง ไข่นก ซึ่งเป็นของที่มันโปรดสุด เสน่ห์ของกระรอกฯ นอกจากหางที่มีลักษณะเป็นพวงยาวใหญ่ สีดำแล้ว หลายคนบอกว่าอยู่ที่ฟันหน้า ซึ่งมีขนาดใหญ่ แข็งแรง

    โดยอยู่ ด้านบนหนึ่งคู่ ด้านล่างอีกหนึ่งคู่ ไม่มีเขี้ยว ฟันจะงอกยาวขึ้นเสมอ ทำให้พวกมันต้องกัดแทะของแข็งทุกวันเพื่อให้เกิดการสึกกร่อน กันไม่ให้ฟันงอกยาวเกินไป ขนและหางด้านบนมีสีดำสนิท ส่วนบริเวณแก้มและท้องสีจะเหลือง บางตัวอาจมีสะโพก เท้าหน้ามี 4 นิ้ว เท้าหลังมี 5 นิ้ว เล็บยาวและโค้งช่วยในการยึดเกาะต้นไม้

                 ...ตัวโตเต็มที่วัดความยาวลำตัวและหัวได้ 33-37.5 ซม. หาง 42.5-46 ซม. น้ำหนัก 1-1.6 กก. เพศเมียมีเต้านม 3 คู่ จับคู่เมื่ออายุได้ 2 ปี ใช้เวลาตั้งท้อง 28 วัน ตกลูกครอกละ 1-2 ตัว ในวัยละอ่อนจะกินนมแม่ เริ่มจะออกซุกซนอยากเผชิญสู่โลกกว้างเพียงลำพัง เมื่อฟันคู่หน้าเริ่มงอก

    ปัจจุบัน สถานะของพญากระรอกดำในธรรมชาติ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในสถานะใกล้ สูญพันธุ์ (Endangered) แต่ก็นับว่ายังโชคดีที่เวลานี้สามารถนำมาเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และ...หากดูแลอย่างดีพวกมันจะมีอายุยืนยาวถึง 10 ปี. 


     















    อ้างอิง
    1 http://www.infoforthai.com/forum/topic/3860
    2 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%81
    3 http://en.wikipedia.org/wiki/Anathana
    4 http://en.wikipedia.org/wiki/Tupaiidae
    5 http://student.nu.ac.th/aomtato/web/Index.html
    6 http://www.ma-tang.com/bbs/
    7 http://www.thairath.co.th/content/edu/29950
    8 http://www.verdantplanet.org/animalfiles/treeshrew_%28Scandentia%29.php
    9 http://forums.212cafe.com/jungle/board-1/topic-42-1.html
    10 http://chm-thai.onep.go.th/chm/Dry/bdd_animal09.html
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×