ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #23 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ว)

    • อัปเดตล่าสุด 30 ม.ค. 54


    หมวด ว

    วักด้าม,
    ไก่ วักด้าม (น.) ไก่ต้มที่ใช้ในพิธีไหว้พระภูมิเจ้าที่ หรือในพิธีงานบุญต่างๆ
            วัก ความหมายคือ เซ่นไหว้,  ด้าม  หมายถึงผีปู่ยาตายาย, ผีบ้านผีเรือน
          
     " ไก่วักด้าม " จึงหมายถึง ไก่ที่ใช้เซ่นไหว้
    ปู่ยาตายาย และผีบ้านผีเรือน
           (การทำไก่วักด้าม จะต้องฆ่าไก่โดยไม่ให้เลือดออก หัวไก่ต้องขดไว้ใต้ปีก แล้ว
           ต้มให้สุก ที่ปากไก่วักด้าม จะมีแหวนสวมปาก เรียกว่า
    " ไก่ปากทอง" )

    วา     (น.) 1. วันก่อนวันนี้ 1 วัน       "แรกวา"- เมื่อวานนี้  (ให้ดูความหมาย  แรก),
                   2. มาตราวัด 4 ศอก เป็น 1 วา   เท่ากับ  2 เมตร
                   3. ชื่อพันธุ์ไม้ป่าชนิดหนึ่ง คล้ายมังคุด  ( พะวา )

    วาน   (น.)  ก้น,  ตูด    ( กร่อนมาจากคำว่า  ทวาร )
              
    " รูวาน "    ทวารหนัก 
           
      
     " กางเกง วานแหก "   -  กางเกงตูดขาด
              
    " วาน กู เด้ "    วลีนี้เป็นคำที่ไม่สุภาพ มีความหมายในเชิงท้าทายว่า เรื่องแค่
            นั้นหรือคำพูดอย่างนั้นไม่มีค่า ไม่มีความหมาย (เทียบได้ก็แค่ตูดของข้าเท่านั้น)
             
     " นุงผ้า ลอกวาน " - นุงโสร่ง ถลกจนเห็นก้น
               "
    รัก เหมือน อีฉีก วานดุม "-  (ออกเสียงเป็น  หรัก เมื้อน อี่ ฉีก ว่าน ดุ๋ม) 
         วลีไทยถิ่นใต้
    วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึง คนที่รักมาก จนหลง ถึงขนาด แหกก้น ดม
         ได้ โดยไม่รังเกียจ
       (มักใช้กับผู้ใหญ่ ที่รักลูกหลานของตนเอง)

               "
    ปัดวานไป- จากไปเลย
        
    " แลหมันตะ อีถ้าวนี้ พอกินแส็ด กะ ปัดวานไป ไม่คิดอิช่วยแก็บถ้วยแก็บชามมั้ง "
          
    ดูแม่คนนี้ซิ พอกินเสร็จ ก็(ปัดก้น)จากไปเลย ไม่คิดจะช่วยเก็บถ้วยเก็บชามบ้าง
              
    " ตามใจปาก ยากถึงวาน "  -  วลีไทยถิ่นใต้ ใช้เปรียบเปรยถึง การตามใจตัว
           เอง จนเกิดความยากลำบากในภายหลัง ( เช่นเดียวกับการทานอาหารที่มีรสเผ็ด
           จัด ก็มักจะลำบากในตอนถ่าย)

    วิ่ง  (สำเนียงถิ่นใต้ ออกเสียงเป็น หวิ่ง )  (ก.)  กระโดด  
           ภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา
    -คลองหอยโข่ง) ดั่งเดิม จะใช้คำว่า   วิ่ง  ในความหมาย
           กระโดด ของภาษาไทยภาคกลาง   และคำว่า แล่น จะใช้ในความหมาย  วิ่ง  ของ
           ภาษาไทยภาคกลาง 
            ปัจจุบัน คำว่า  วิ่ง ที่ใช้ในความหมาย กระโดด  ในภาษาไทยถิ่นใต้ ไม่ได้ใช้แล้ว
            คงเหลือเฉพาะ คำเก่าๆ ดังนี้

             
     " ร้านวิ่ง " = ชื่ออุปกรณ์จับปลา ที่วางขวางทางน้ำไหลคอยดักปลาที่กระโจน
            ทวนน้ำขึ้นไป
               "
    ดีปลีวิ่งหลา " =  ชื่อของพริกชนิดหนึ่งคล้ายพริกหยวกแต่มีรสชาติเผ็ดมาก
            ตามเรื่องเล่าที่บอกต่อกันมา ความว่ามีชายผู้หนึ่งทดลองกินพริกชนิดนี้เพื่อตรวจ
            สอบว่าเผ็ดหรือไม่ขณะที่ทดสอบกำลังนั่งอยู่ที่ศาลาริมน้ำ ด้วยความที่พริกชนิดนี้
            เผ็ดมาก ผู้ทดสอบจำเป็นต้องกระโดดศาลาลงไปแช่ในน้ำเพื่อช่วยบรรเทาอาการ
            เผ็ดร้อน พริกชนิดนี้ จึงได้ชื่อว่า   "
    ดีปลีวิ่งหลา
                    
     หลา
    = ศาลา
           (ปัจจุบันไทยถิ่นใต้จะใช้คำว่า
    วิ่ง และ แล่น ในความหมายเดียวกัน และใช้เฉพาะ
            คำว่า  
    โดด  ในความหมาย กระโดด )

    วิ้น       (น.) ขั้ว,  ส่วนที่ยึดระหว่างผลกับกิ่ง ของต้นไม้

    วี          (น.) พลั้วตักดิน    (ก.)   พัด     " วีลม "   -  พัดลม

         (ก.)  แกว่ง,   ไก
           
    "บาวไข่ นั่ง เว ตีน อยู่ที่นอกชาน"     บ่าวไข่ นั่งแกว่งเท้า อยู่ที่นอกชาน
           
    " เว เปล "
    -  ไกว เปล  
            ดังตัวอย่าง เพลงร้องเรือ หรือเพลงกล่อมเด็ก ของปักษ์ใต้ ที่กล่าวถึง  
    เว เปล

             
    อ้า เห้อ อา เหอ   เรือใหญ่ เหอ   ชักใบจะล่องคลองลำหัด  เห็นหัวเขาแดงอยู่
             แจ้งชัด  พระพายชายพัดมาไรๆ   เรือแล่นเข้าไปใกล้เกาะหนู   เห็นปลายลำพู
             ภูเขาใหญ่   พระพายชายพัดมาไรๆ   ใจน้องเหมือน  เว เห้อ เหอ เปล  ลล
               
           
    ใจน้องเหมือนเวเปล  ความหมายคือ จิตใจของน้องแกว่งไปมา(ด้วยความคิดถึง
            พี่) เหมือนกับ เปลที่ถูกไกว

    เวด-นา  (ก.) เวทนา  น่าสงสาร

    ไว้แช็ก  (ก.)  ไว้หางเปีย
                คำนี้ใช้เรียกเฉพาะ ผมเปียของคนจีน (แบบแมนจู)เท่านั้น

    แต้ ,  ห่อแต้ ( มาจากภาษาจีน ? ) (น.) ในภาษาสงขลา จะใช้คำนี้เรียกส่วนหน้า
            ของจมูกหมู ที่ใช้ดันพื้นดินขุดคุ้ยหาอาหาร   โดยทั่วไปจะใช้เรียกชิ้นส่วนหมู ที่
            ชำแหละแล้ว เช่น     หูหมู,    หัวหมู,   เครื่องในหมู,  ขาหมู, หว่อแต้หมู, ฯลฯ
            ตัวอย่างประโยคในภาษาสงขลา ที่ใช้คำนี้ คือ
               
    " ต้มพะโล้หมู หรอยที่สุด ก็ตรง  หว่อแต้ "

    อง  (ว.)   (มองเห็น)ไม่ชัดเจน

    หวักมือ  (ก.)  กวักมือ

    หวัน   (น.)  1. ตะวัน, ดวงอาทิตย์ , เวลา, กฎเกณฑ์ธรรมชาติ
           
    หวัน   ในความหมาย เวลา  เช่น
                     
    " หวันช่าย "   -  เวลาบ่าย (ใกล้เคียงกับคำว่า "ตะวันชายบ่ายคล้อย"
            
             
    " หวันปาใด "   -  เวลาเท่าไหร่แล้ว
                    
    " หวันเย็น "     -  เวลาที่ตะวันใกล้จะตกดิน - ตอนเย็น
           
    หวัน   ในความหมาย  ตะวัน, ดวงอาทิตย์  เช่น
                    
    " หวันมุ้งมิ้ง " 
    - ดวงอาทิตย์ใกล้ตกดิน ที่มีแสงสลัว มองอะไรเห็นไม่ชัด
                    
    " หวันเป็นหนวดแมว " - ลักษณะดวงอาทิตย์ใกล้ตกดินที่มีแสงพุ่งออก
            มาเป็นลำ "เหมือนหนวดแมว"
                    
    " ลอยหวัน " ใช้อธิบายลักษณะการสร้างบ้าน แนวตะวันออก-ตะวันตก
            (ตามทิศทางที่ดวงอาทิตย์เคลื่อน )
                    
    " ขวางหวัน"   ใช้อธิบายลักษณะการสร้างบ้าน แนวเหนือ-ใต้

            
    หวัน   ในความหมาย  กฎเกณฑ์ธรรมชาติ สิ่งที่ถูกต้อง  สิ่งที่เป็นจริง เช่น
                     
    " คนไม่รู้จักหวัน, คนบ้าหวัน " - คนขวางโลก คนดื้อดันทุรัง คนไม่รู้จัก
            กาลเทศะ
               
      
            
    (น.)  2. สวรรค์
                  
    " ปางหวัน " คำเปรียบเทียบว่า ถ้าสวรรค์เป็นเหมือนต้นไม้ มีกิ่งก้าน มปาง
             ถ้ามีของสิ่งใดขึ้นไปค้างบนปางหวัน ก็ถือว่าขึ้นไปติดอยู่ที่สูง ยากที่จะตกลงมา
             เช่น 
    "ว่าว ลอยไปติดบนปางหวัน"

    หวา      (ว.) กว่า    
               
    "  อย่าดี หวา "   อย่าดีกว่า
              
    "  มาก หวา "    -   มากกว่า
              
    "  ต่ำ หวา "      -   ต่ำกว่า

    หวาก, ตะหวาก (ม.)(น.)น้ำตาลเมา( คำนี้เลือนมาจากคำว่า Tuak ในภาษามลายู )
             
    หวาก ของปักษ์ใต้ โดยทั่วไปจะใช้น้ำตาลโตนด หมักด้วยไม้เคี่ยม  แต่ในเขต
             3 จังหวัดชายแดน จะหมักด้วยเปลือกมะม่วงหิมพานต์ที่ตากแห้งแล้ว

    หวางนี้       (ว.)  ระหว่างนี้, เดี๋ยวนี้  
              
    "หวางนี้ บายดี หรือ
    ? -    ระหว่างนี้(เดี๋ยวนี้)สบายดีหรือเปล่า
              ( ภาษาสงขลา เขตนาทวี เทพา สะบ้าย้อย จะใช้
    "แหละนี้ " ซึ่งมีความหมาย
              เหมือนกัน )

    หวิบ (ออกเสียงเป็น วิบ )   (ก.)   โกรธ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×