ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    • ฟอนต์ THSarabunNew
    • ฟอนต์ Sarabun
    • ฟอนต์ Mali
    • ฟอนต์ Trirong
    • ฟอนต์ Maitree
    • ฟอนต์ Taviraj
    • ฟอนต์ Kodchasan
    • ฟอนต์ ChakraPetch
'นิติศาสตร์ 54

ลำดับตอนที่ #23 : ว่าด้วยเรื่อง :: กฏหมายแพ่งและพาณิชย์2

  • อัปเดตล่าสุด 17 ต.ค. 53



ประธานแห่งสิทธิตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เคยกล่าวไปแล้วว่าเครื่องมือของกฎหมายที่ใช้ในการจัดความสัมพันธ์ของคนในสังคมคือ สิทธิ หน้าที่ความรับผิด เช่น นายเอกมีสิทธิในเนื้อตัวร่างกายทุกคนย่อมมีหน้าที่จะไม่ทำร้ายนายเอก หากว่า มีผู้ใดทำร้ายนายเอก ตามธรรมดาแล้วย่อมต้องถูกลงโทษ

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็มี สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดเป็นเครื่องมือของกฎหมายที่ใช้ในการจัดความสัมพันธ์ของคนในสังคมเช่นกันแต่ก่อนที่จะลงรายละเอียด ต้องทราบหลักการพื้นฐานก่อนว่า องคืประกอบแห่งสิทธินั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบของสิทธิ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ประธานแห่งสิทธิ (Subject of Right)
2. วัตถุแห่งสิทธิ (Object of Right)


ขออธิบายเกี่ยวกับประธานแห่งสิทธิ (Subject of Right)ก่อน

ประธานแห่งสิทธิ หมายถึงผู้ทรงสิทธิในทางกฎหมายอาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่สามารถใช้สิทธิได้ตามกฎหมายนั่นเองซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่า “บุคคล” แยกเป็น 2 ประเภทคือ
1.บุคคลธรรมดา
2.นิติบุคคล

-------------------------------------------------------------------------------------
1.บุคคลธรรมดา
-------------------------------------------------------------------------------------

การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของสภาพบุคคล

+สภาพบุคคลย่อมเริ่มเมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก
+สภาพบุคคลสิ้นสุดลงเมื่อตาย

ข้อสังเกต

1.การตายแบ่งออกเป็นการตายโดยธรรมชาติและการตายโดยผลของกฎหมาย

2.การตายโดยผลของกฎหมายในทางกฎหมายเรียกว่า "สาบสูญ” คือการที่มีทายาทของบุคคลนั้นหรือพนักงานอัยการไปร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลว่าบุคคลเป็นคนสาบสูญโดยเงื่อนไขที่ศาลจะพิจารณาคือ

2.1.บุคคลนั้นหายไปจากถิ่นที่อยู่เป็นเวลา 5 ปี โดยไม่มีใครทราบข่าวของบุคคลนั้น หรือ
2.2.ได้ไปอยู่ในสมรภูมิแห่งสงครามหรือไปตกในเรืออับปาง เมื่อนับเวลาหลังจากที่หมดสงครามแล้วนับจากเรืออับปางได้สิ้นสุดไป แล้วเป็นเวลา 2 ปีและไม่มีใครรู้ว่าบุคคลนั้นอยู่ที่ไหนเป็นตายร้ายดีอย่างไร หรือ
2.3.กรณีพิเศษ (กรณีภัยพิบัติสึนามิ )

บุคคลที่ศาลสั่งว่าเป็นคนสาบสูญถือว่าตายเมื่อไร

ถ้าศาลสั่งว่าบุคคลนั้นเป็น "คนสาบสูญ"ด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว ก็ต้องถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตายเช่นกันและให้ถือว่าบุคคลนั้นตายลงเมื่อครบกำหนด 5 ปีหรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี

เช่นนายเอ หายไปเมื่อวันที่ 1 พ.ย.40 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.48นางบีภริยาของนายเอได้ร้องขอต้อศาลเพื่อให้ศาลสั่งว่านายเอเป็น "คนสาบสูญ"ศาลมีคำสั่งให้นายเอเป็นบุคคลสาบสูญเมื่อวันที่ 10 ม.ค.50 ดังนั้นถือว่านายเอตายเมื่อวันที่ 1 พ.ย.45

การจำกัดการใช้สิทธิของบุคคล

เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วบุคคลนั้นย่อมมีสิทธิต่างๆตามที่กฎหมายรองรับเช่น สิทธิในทรัพย์สินหรือมีสิทธิในการทำการติดต่อกับบุคคลใด ๆ โดยนิติกรรมสัญญาอย่างไรก็ตามกฎหมายได้จำกัดการใช้สิทธิของบุคคลบางกลุ่มในการทำนิติกรรมสัญญาไว้ซึ่งมีสาระดังนี้

3.1. ผู้เยาว์

ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อจะทำนิติกรรมใดๆจะต้องผ่านความยินยอมเห็นชอบจากผู้แทนโดยธรรมเสียก่อนหรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำนิติกรรมนั้นแทน หากฝ่าฝืน ผลที่เกิดขึ้นคือนิติกรรมนั้นเป็น โมฆียะ

เช่น เด็กชายเอก อายุ 13 ปีไปซื้อเครื่องซักผ้าในราคา 30000 บาท เพราะเด็กชายเอกขี้เกียจซักผ้าเองนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวเป็นโมฆียะ

อย่างไรก็ตามมีนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์บางอย่างที่มีความสำคัญบิดามารดาจะกระทำแทนผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตเช่น การขายที่ดินให้กู้ยืมเงิน ประนีประนอมยอมความเป็นต้น

เกณฑ์ของผู้ที่จะบรรลุนิติภาวะมีดังนี้
1. อายุ 20ปีบริบูรณ์
2. ทำการสมรสในเมื่ออายุ 17ปีบริบูรณ์โดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (บิดามารดา)

ข้อยกเว้นในการทำที่ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมคือ
1. เป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์นั้นมีประโยชน์ฝ่ายเดียวเท่านั้น เช่นการที่ผู้เยาว์รับการให้โดยเสน่หา
2. นิติกรรมที่ต้องทำเองเฉพาะตัวเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องตัดสินใจเองโดยแท้จริงเช่นการรับรองบุตรเป็นต้น
3. นิติกรรมที่จำเป็นต่อการเลี้ยงชีพ โดยจะต้องเป็นการเลี้ยงชีพอย่างแท้จริง และสมแก่ฐานะของผู้เยาว์
4.ในกรณีที่ทำพินัยกรรม จะต้องมีอายุครบ 15ปี บริบูรณ์และหากพินัยกรรมนั้น ทำลงขณะที่อายุไม่ครบ15 ปีบริบูรณ์แต่ทำพินัยกรรมย่อมส่งผลให้พินัยกรรมนั้นมีผลให้พินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะ

3.2. บุคคลวิกลจริต
คือ บุคคลที่มีจิตใจผิดปกติ หากขณะที่ทำนิติกรรมใด ๆคนวิกลจริตนั้นมีสภาพจิตใจสมบูรณ์ นิติกรรมนั้นย่อมสมบูรณ์แต่หากว่าได้กระทำนิติกรรมในขณะจริตวิกลและคู่สัญญาทราบว่าบุคคลนั้นเป็นคนวิกลจริตนิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆียะ อย่างไรก็ตาม หากคู่สัญญาที่ร่วมทำนิติกรรมไม่ทราบว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลที่ร่วมทำเป็นบุคคลวิกลจริตตามกฎหมายจะถือว่านิติกรรมนั้น สมบูรณ์

3.3.คนไร้ความสามารถ
คนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเรียกว่า คนไร้ความสามารถซึ่งหากทำนิติกรรมจะมีผลเป็น โมฆียะ ดังนั้นผู้อนุบาลต้องทำแทนเท่านั้น

3.4. คนเสมือนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ บุคคลมีกายพิการ หรือติดสุรายาเมา หรือ เสเพลเป็นอาจิณและศาลมีคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถก็เป็นคนปกติทั่วไปนั่นแหละแต่ไม่สามารถจัดการงานของตนได้หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว และเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนในครอบครัวของคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลภายนอก กฎหมายจึงกำหนดให้มีการร้องขอต่อศาลให้บุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้
หากทำคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำนิติกรรมๆ นั้นย่อมสมบูรณ์ เว้นแต่การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญต้องขอความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนมิเช่นนั้นจะถือว่าผลเป็นโมฆียะ


-------------------------------------------------------------------------------------
2.นิติบุคคล
-------------------------------------------------------------------------------------

คือบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่เปรียบเสมือนบุคคลหนึ่งโดยจะมีการกระทำนิติกรรมผ่านผู้แทนโดยมีสิทธิเทียบเท่ากับบุคคลธรรมดาทั่วไปจะต้องจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ก่อนหรือเมื่อมีพระราชบัญญัติให้สามารถจัดตั้งนิติบุคคลนั้นมีผลใช้บังคับได้

นิติบุคคลไม่มีชีวิตจิตวิญญาณไม่อาจแสดงเจตนาได้ อย่างไรก็ตามนิติบุคคลสามารถแสดงเจตนาโดยผ่านทาง “ผู้แทนนิติบุคคล นั้น” (ระวังสับสนกับคำว่าตัวแทน)

สามารถแบ่งนิติบุคคลออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เช่น สมาคม มูลนิธิห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดเป็นต้น

2. นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
เช่น กระทรวง ทบวง กรม กองทัพ วัดวาอาราม มหาวิทยาลัย (แต่คณะในมหาวิทยาลัยมิใช่นิติบุคคล)

ข้อสังเกตส่วนราชการสามารถแบ่งออกได้สามส่วน คือ
1.การบริหารราชการส่วนกลาง เช่นกระทรวง, ทบวง, กรม
2.การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัด อำเภอ ตำบลหมู่บ้าน
3.การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมีหลายรูปแบบ เช่น เทศบาล (สำหรับเทศบาลก็มีทั้งเทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล)องค์การบริหารส่วนจังหวัดและส่วนตำบล กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา





***มีต่อๆ
ติดตามเรื่องนี้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน

ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...
×
แทรกรูปจากแกลเลอรี่ - Dek-D.com
L o a d i n g . . .
x
เรียงตาม:
ใหม่ล่าสุด
ใหม่ล่าสุด
เก่าที่สุด
ที่กำหนดไว้
*การลบรูปจาก Gallery จะส่งผลให้ภาพที่เคยถูกนำไปใช้ถูกลบไปด้วย

< Back
แทรกรูปโดย URL
กรุณาใส่ URL ที่ขึ้นต้นด้วย
http:// หรือ https://
กำลังโหลด...
ไม่สามารถโหลดรูปภาพนี้ได้
*เมื่อแทรกรูปเป็นการยืนยันว่ารูปที่ใช้เป็นของตัวเอง หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และลงเครดิตเจ้าของรูปแล้วเท่านั้น
< Back
สร้างโฟลเดอร์ใหม่
< Back
ครอปรูปภาพ
Picture
px
px
ครอปรูปภาพ
Picture