ลำดับตอนที่ #23
ตั้งค่าการอ่าน
ค่าเริ่มต้น
- เลื่อนอัตโนมัติ
- ฟอนต์ THSarabunNew
- ฟอนต์ Sarabun
- ฟอนต์ Mali
- ฟอนต์ Trirong
- ฟอนต์ Maitree
- ฟอนต์ Taviraj
- ฟอนต์ Kodchasan
- ฟอนต์ ChakraPetch
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #23 : ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังทำไมจึงซีด
ผู้ป่วยชายอายุ 65 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรังจากโรคเบาหวาน มาตรวจเลือดพบว่ามี hemoglobin (Hb) = 8 g% ผู้ป่วยรายนี้ควรได้รับฮอร์โมนชนิดใดในการรักษาภาวะซีดดังกล่าว
1. growth hormone 2. thyroxine 3. insulin 4. erythropoietin
เฉลย คำตอบคือข้อ 4. คับ สำหรับสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure) คือเบาหวานนั่นเอง การจะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง จะต้องมีการตรวจพบว่าสาร creatinine (Cr) ในเลือดผู้ป่วยสูงกว่าปกตินานเกิน 3 เดือน น่าสนใจที่พบว่าโรคไตวายเรื้อรังจากเบาหวานนั้น ไตของผู้ป่วยจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งในขณะที่ไตวายเรื้อรังจากสาเหตุอื่นๆนั้นไตมักจะเล็กลง
น้องคงต้องมีความรู้ว่าการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงของเราเกิดที่ bone marrow โดยต้องอาศัยการกระตุ้นโดยฮอร์โมนชื่อ erythropoietin (85 % สร้างจากไต อีก 15 % สร้างจากตับ) ซึ่งเป็นสารพวก glycoprotein โดยฮอร์โมนนี้จะหลั่งมากขึ้นเมื่อเลือดที่ไปไตมีออกซิเจนลดลง
ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังจึงขาดฮอร์โมน erythropoietin และเกิดภาวะซีดหรือโลหิตจาง (anemia) ตามมา โดยเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะซีดในผู้ชายคือ hemoglobin (Hb) < 13 g% และในเพศหญิงถือที่ hemoglobin (Hb) < 12 g%
และไม่น่าแปลกใจที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งไตหรือมะเร็งตับบางราย มีภาวะเลือดข้น (polycythemia) ได้จากการที่มีการสร้างฮอร์โมน erythropoietin มากกว่าปกติ
1. growth hormone 2. thyroxine 3. insulin 4. erythropoietin
เฉลย คำตอบคือข้อ 4. คับ สำหรับสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure) คือเบาหวานนั่นเอง การจะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง จะต้องมีการตรวจพบว่าสาร creatinine (Cr) ในเลือดผู้ป่วยสูงกว่าปกตินานเกิน 3 เดือน น่าสนใจที่พบว่าโรคไตวายเรื้อรังจากเบาหวานนั้น ไตของผู้ป่วยจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งในขณะที่ไตวายเรื้อรังจากสาเหตุอื่นๆนั้นไตมักจะเล็กลง
น้องคงต้องมีความรู้ว่าการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงของเราเกิดที่ bone marrow โดยต้องอาศัยการกระตุ้นโดยฮอร์โมนชื่อ erythropoietin (85 % สร้างจากไต อีก 15 % สร้างจากตับ) ซึ่งเป็นสารพวก glycoprotein โดยฮอร์โมนนี้จะหลั่งมากขึ้นเมื่อเลือดที่ไปไตมีออกซิเจนลดลง
ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังจึงขาดฮอร์โมน erythropoietin และเกิดภาวะซีดหรือโลหิตจาง (anemia) ตามมา โดยเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะซีดในผู้ชายคือ hemoglobin (Hb) < 13 g% และในเพศหญิงถือที่ hemoglobin (Hb) < 12 g%
และไม่น่าแปลกใจที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งไตหรือมะเร็งตับบางราย มีภาวะเลือดข้น (polycythemia) ได้จากการที่มีการสร้างฮอร์โมน erythropoietin มากกว่าปกติ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
กำลังโหลด...
ความคิดเห็น