ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #22 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ล)

    • อัปเดตล่าสุด 30 ม.ค. 54


    เลาแกะ (น.) ด้ามที่ใช้จับ  ของ "แกะ"(อุปกรณ์เก็บข้าวของปักษ์ใต้) ทำด้วยไม้ไผ่
             ต้นเล็กๆ

    เลียง (น.) 1. มัดของรวงข้าวเลียงข้าว
        
     วิธีการเก็บเกี่ยวข้าวของปักษ์ใต้จะใช้ แกะ เก็บรวงข้าวที่ละรวง นำมามัดด้วย
          ซังข้าว    รวงข้าว
    1 มัด จะเรียกว่า
    ข้าว 1 เลียง
         
    2. อุปกรณ์ทำด้วยไม้ เป็นรูปกลม ตรงกลางบุ๋ม ลักษณะคล้ายกะทะไม่มีหู ใช้
          สำหรับร่อนแร่ ในน้ำ เพื่อแยกเอาแร่ออกจากเศษหินเล็กๆ  อุปกรณ์ชนิดนี้เรียก
          ว่า
    เลียง

    เลี้ยม  (ว.)  แหลม
           ข้อสังเกตุ  :  เลี้ยม  ในสำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา)    =  แหลม
                              เหลียม 
    ในสำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา)   =  เหลี่ยม
             ตัวอย่างเช่น
      
     เลี้ยม ฉุบ      ความหมายคือ   แหลมมาก
                           
    เส เหลียม    ความหมายคือ   สี่เหลี่ยม
                                
     
    สาม เหลียม  ความหมายคือ   สามเหลี่ยม

    เลือดตก หมก ใน      เลือดตกใน 

    แล   1.  (ก.)  ดู    (ภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้คำว่า  แล  ในความหมาย  ดู ) 
          
     "ลองแล"  -  ลองดู, ชักชวนให้ลองทำ
          
    2.  
    (ก.)  เฝ้าระวัง   
         
     
    " ไอ้บ่าวนุ้ย  ไปแลฮัว ที่นอกทุ่งทั้งวัน ไม่หลบมากินข้าวเลย "
             ไอ้ตัวเล็ก ไปเฝ้าวัวที่ทุ่งนาอยู่ทั้งวัน ไม่กลับมากินข้าวเลย
          
    " เด็กแลฮัว"
    - เด็กเลี้ยงวัว

    แล เหม  (ก.)  ดูลักษณะหน้าตาของผู้คน เพื่อเปรียบเทียบความเป็นเครือญาติกัน
          
    " แลเหม แล้ว อีสาวนี้ หลานยายอ่ำแน่นอน  " - ดูรูปร่างหน้าตาแล้ว อีหนูคนนี้
           เป็นหลานของยายอ่ำ แน่นอน

    แล้ง   1. (ว.)  แล้ง  -  ฝนขาดช่วงไปนานทำให้ แห้งแล้ง
             2.
    (ก.)  ฝนหยุดตก หลังจากตกหนักมาระยะหนึ่ง
            
    " อย่าเพิ่งไปเลยนะ รอให้ฝน
    แล้ง ก่อน "   รอให้ฝนหยุดตกก่อน

    แลน1. (น.) ตะกวด  (Varanus bengalensisวงศ์  Varanidae ) สัตว์เลื้อยคลาน
            ชนิดหนึ่งลำตัวมีสี
    เหลืองหม่นถึงสีน้ำตาล ลายเป็นจุดเล็กๆทั่วตัว  ส่วนหัวมักมี
            สีอ่อนกว่าตัวมีหางเรียวยาวเป็นพิเศษ
    แลน ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่า
            ป่าทึบ,ขึ้นต้นไม้เก่ง 
    ต่างจาก เหี้ย ("เญื้อ") ที่มักอาศัยอยู่ริมน้
            เนื้อของตะกวด(แลน) นำมาปรุงอาหาร ประเภทแกงเผ็ด แกงคั่ว จัดเป็นอาหาร
            ยอดนิยมของคนไทยถิ่นใต้ ส่วนเนื้อของ
    เหี้ย(เญื้อ)ซึ่งจะมีกลิ่นคาวมาก คนใต้
           
    ดั่งเดิม จะไม่กิน
             2.
     (ว.)
      ลักษณะของอวัยวะเพศชาย ที่หนังหุ้มปลายมีน้อย(ปลายเปิด) ว่า
              
    "ไขแลน" หรือ "ดอแลน"( คำนี้ถือเป็นคำหยาบ ยกเว้นเฉพาะกรณีญาติผู้สูง
             อายุใช้คำๆนี้  พูดหยอกเล่นกับลูกหลานที่ยังเป็นเด็กเล็กๆ  เท่านั้น)

            ในอดีต มีบทกลอนของคนไทยถิ่นใต้ ที่ถือเป็นกุศโลบายในการให้ความรู้แก
           
    ลูกหลาน
    เกี่ยวกับ   แลน  ดังนี้ 
             
    "ไขแป็ดไขหาน ไม่ทานไขแลน,    ส้มโอส้มแป้น  ไขแลนดีหวา"
               ไข่เป็ด ไข่ห่าน เทียบกับไข่แลนไม่ได้    ส้มโอ ส้มแป้น   ไข่แลนก็ยังดีกว่า

    แล่น  (สำเนียงถิ่นใต้ ออกเสียงเป็น แหล่น ) (ก.)  วิ่ง
             ภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้คำว่า แล่น ในความหมาย วิ่ง ของภาษาไทยภาคกลาง  

             ตัวอย่างเช่น
              
    " อย่าแล่น " - อย่าวิ่ง
              
    " แล่นทุ่ง " 
    - ท้องเสีย    ( วิ่งไปทุ่งนา เพื่อถ่ายอุจาระ )
              
    " วันนี้แล่นทุ่งหลายหนแล้ว "  วันนี้ท้องเสีย ถ่ายหลายครั้งแล้ว
                (
    ไปทุ่ง 
     -   ถ่ายทุกข์ปกติ )
          

            
    คำว่า แล่นทุ่ง (ออกเสียงเป็น แหล่น ท็อง)มักใช้พูดกันในกลุ่มผู้สูงอายุอาจ
            มีที่มาจากอดีตที่ไม่มีส้วมใช้แต่จะใช้ทุ่งนาเป็นที่ถ่ายทุกข์ เมื่อประมาณ 40-50
           
    ปีก่อนคำว่า
    แล่นทุ่ง ในความหมายว่าท้องเสียนี้เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปแต่ปัจจุบัน
            คนที่พูดคำนี้มักจะมีอายุ  60-70 ปี  ขึ้นไป และเด็กรุ่นหลังก็มักไม่เข้าใจความ
            หมายคำๆนี้แล้

             ส่วนคำว่า  วิ่ง (สำเนียงถิ่นใต้ ออกเสียงเป็น หวิ่ง )ในภาษาเก่าจะใช้ใน
             ความหมาย กระโดด  แต่ปัจจุบันไม่มีการใช้แล้ว คงใช้แต่ โดด ในความหมาย
             กระโดด เท่านั้น
    ( ดูคำอธิบายความหมายคำว่า  วิ่ง  เพิ่มเติม)

    แล้วหม้าย   ...แล้วหรือยัง, ..แล้วหรือไม่
           คำนี้
    จะอยู่ท้ายประโยคคำถาม เช่น
           
          
    "กินข้าวแล้วหม้าย"  (ออกเสียงเป็น กิ๋นค้าวแล่วหม้าย) ความหมายคือ
           กินข้าวแล้วหรือยัง ?

    โล๊ะ 1. (ก.) ส่องไฟหาสิ่งของ เช่น ส่องหาปลา  หากบ หรือ ส่องไฟเวลากรีดยาง
            
            
    ภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา-คลองหอยโข่ง)จะใช้ว่า โล๊ะปลา  โล๊ะกบ  โล๊ะยาง
           ( ภาษาไทยถิ่นใต้บางแห่ง จะออกเสียงคำนี้เป็น โหล   คำนี้มาจาก
    suloh ใน
            ภาษามลายู)


            
    2.  (น.) บริเวณที่น้ำท่วมถึง หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำ มักเป็นที่ลุ่มใกล้แม่น้ำลำคลอง
            ที่น้ำจะท่วมในหน้าฝน
      (คำนี้มาจาก  telok ในภาษามลายู )

    ลำลาบ (ว.) โอ้เอ้ เยิ่นเย้อ, ทำอะไรช้าอืดอาด  (มักใช้พูดถึงการเดินเรื่องหนังตลุง
            ที่ชักช้า
    เช่น
    " หนังโรงนี้เดินเรื่อง ลำลาบ จัง"

    เลาะ  (น.)   เกราะ  อุปกรณ์ที่ใช้ตีเป็นสัญญาณของหมู่บ้านในสมัยก่อน

            ถ้าทำด้วยกระบอกไม้ไผ่จะเป็น "เลาะ"ที่ใช้ตีไล่นกไล่กาตามขนำไร่  ถ้าเป็น
            "เลาะ" ประจำบ้านของผู้ใหญ่บ้านจะทำด้วยท่อนไม้ ที่เจาะเอาเนื้อไม้ข้างใน
             ออก  เวลาตีจะมีเสียงก้องดังไปไกล "เลาะ"ในถิ่นใต้จะใช้ไม้ตี(ค้อน)
    หรือ 
            
    2 อัน  เสียงที่ดังจะสื่อความหมายต่างกันเช่น " ได้ยินเสียง เลาะ 1 ค้อน"  
             แสดงว่าเป็นสัญญาณเรียกประชุม   เพื่อบอกข่าวที่ทางอำเภอแจ้งผ่านผู้ใหญ่
             บ้านมา
    " ได้ยินเสียง เลาะ 2 ค้อน " มักใช้เป็นสัญญาณบอกข่าวว่ามีเหตุร้าย
            ในหมู่บ้าน เช่น โจรผู้ร้ายปล้น  หรือ มีการฆ่ากัน
             
             
    ( ปัจจุบัน  เนื่องจากการไปมาหาสู่ สะดวกรวดเร็ว ถนนหนทาง มีมากขึ้น รวม
            ทั้งการสื่อสารได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก
     ประเพณีตี
    "เลาะ" เรียกประชุม 
            จึงหมดไปจากปักษ์ใต้โดยปริยาย )

    ไล  (ก.เถลไถล, แชเชือน (การเดินทาง หรือการทำงานที่ชักช้าแวะที่โน้น แวะ
            ที่นี่ ก่อนจะถึงจุดหมายปลายทาง)
           
    " โหลกบาว โรงเรียนเลิกแล้ว อย่าเที่ยวไล อยู่หล่าว แขบหลบมาบ้าน ช่วยพ่อ
            เอาวัวเข้า
    คอกมั้ง "  ลูกบ่าว(ลูกชาย)โรงเรียนเลิกแล้ว อย่าเที่ยวเถลไถลอยู่
            อีกละ รีบกลับมาบ้าน (จะได้)ช่วยพ่อเอาวัวเข้าคอกบ้าง

    โหลฺ    1. (น.) ลักษณะนาม  แสดงจำนวนนับเท่า 12   เป็นจำนวนนับ 1 โหล
                  (ความหมายเดียวกับ ความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน)

              2.
    (ก.) ใช้มือจุ่มลงไปในภาชนะเก็บน้ำ เช่น หม้อ ไห โอ่ง  ฯลฯ
            
    " ไอ้บ่าว อย่าเอามือ โหลฺ ลงในตุ่มน้ำฝน เดี่ยวน้ำสกปรกหมด " ความหมาย
              ของประโยคนี้คิอ   ไอ้หนู อย่าเอามือจุ่ม ลงไปในตุ่มเก็บน้ำฝน เดี่ยวน้ำฝน
             (ที่เก็บไว้กิน) จะสกปรกหมด

    หลา , ศาหลา  (น.)  ศาลา   
            
    " หลาริมทาง " ศาลาริมทาง 

    หลากา,  ฉลากา   (ม.)  (ว.)  ชั่ว  ช้า  เลวทราม   
             คำนี้เป็นคำโบราณที่คนไทยถิ่นใต้ยุคปัจจุบัน เลิกใช้แล้ว  คงมีเหลือเฉพาะใน
             หนังสือบุด / สมุดข่อย เท่านั้น  ปรากฎตามสำนวนโบราณ ต่อไปนี้

                 กริ้วโกรธท้าวธ่ร้องดาไป    ลูกอี้หญิงจังไหร  มึงเข้ามาไยเล่าหนา  มึงนี้
             เป็นหญิง  ฉลากา กูชังน้ำหน้า  หมึงเข้ามาว่าก่ไหร
     
         
           
    หมึงชันดีไปลอง  หมันมิถองเบือย่างไฟ  ฉลากา  พาจังไร  หมึงหลบไป
             ลองสักที

                                                                           (
    สมุดข่อยเรื่องพระสุธน )

    เหลิ่น  (ก.)   ทะลึ่ง,  ขี้เล่น, หยอกล้อโดยไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง  
              มักใช้กับเด็กที่หยอกล้อผู้ใหญ่ แล้วโดนตวาดกลับไปว่า   

              " หมึง อย่า เหลื่น กูไม่ใช่เพื่อน "

    เหลินดังแส็ก  (ก.)   เหลิน หล่น     ดังแส็ก  -  เสียงดังแส็ก
             วลีนี้หมายถึง เสียงสิ่งของที่มีน้ำหนักไม่มากนัก หล่นลงบนพื้นที่มีใบไม้แห้ง
            
    " เหลินดังทึ "    - เสียงสิ่งของที่มีน้ำหนักมากขึ้นมานิด  หล่นลงบนพื้นดิน
           
     " เหลินดังตืง "     -  เสียงสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก  หล่นลงบนพื้น
             
    " เสียง สากๆตืง "
      -  มักใช้กับ ผลทุเรียนหรือมะพร้าวหล่น ก่อนถึงพื้นดิน
             จะมีเสียงผลทุเรียน (หรือมะพร้าว ) กระทบกิ่งไม้ ใบไม้ หรือทางมะพร้าวแห้ง
             ดังสาก ๆ

    เหลย   (ว.)   อีก
            
    " เอา เหลย ม้าย ? "  เอาอีกมั้ย

    เหลือกหลาก  (ว.)  กิริยา ท่าทางที่กระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง

    หลบ(ออกเสียงเป็น ลบ, หล็อบ)  (ก.) 1.  กลับ      " หลบบ้าน "  กลับบ้าน
            2. ตลบ  
    "หลบหลังคา " ภาษาไทยถิ่นใต้ใช้ในความหมาย ตลบตับจากเพื่อ
            ปิดรูรั่วของหลังคา (ซึงปกติจะมุงด้วยตับจาก ที่ทำด้วยใบจาก หรือ ใบสาคู )

    เหล่  (น.) เครื่องมือดักปลาในทางน้ำไหลที่บังคับให้ปลาที่ว่ายตามน้ำไปสู่กับดัก  
         
          
    " เหล่ " ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) ตรงกับ  " หลี่ " ในภาษาอีสาน/ภาษาลาว
           ( "น้ำตกหลี่ผี" ในแม่น้ำโขง )

    หลาบ (ก.) เข็ด,  ไม่กล้าทำอีกแล้ว ( ภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้คำว่า หลาบ แทนคำว่า
              เข็ด )
            
    " พี่หลาบแล้ว  พี่ไม่ไปอีกแล้ว " 

    เหลียด  (ออกเสียงเป็น เลี้ยด )  (ก.) ป้าย,  ทา,  เช็ด
             
     " กินหมากแล้ว อย่า
    เหลียด ปูนไว้ที่หัวนอ " - กินหมากแล้ว อย่าป้ายปูน
             (ที่เหลือ)ไว้ที่ปลายตง

    หลวง  1.  (ว.)  เกี่ยวกับวัง, สิ่งของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินหรือทรัพย์สิน
             ของหลวง  
    2.  
    (ว.) (ผู้ชาย)ที่เคยบวชเรียนมาแล้ว

             คำนี้ใช้นำหน้าชื่อของผู้ที่เคยบวชพระมาแล้ว  เช่น  หลวงแดง,   หลวงคล้อย
             แสดงว่า ทั้งนายแดง นายคล้อย เคยบวชเป็นพระแล้วแต่สึกออกมา
    คำว่า
             หลวง นี้จะใช้เรียกผู้ที่อาวุโสกว่าผู้พูดเช่น  น้าหลวง พี่หลวง แต่ถ้าผู้พูดอาวุโส
             กว่า
    จะใช้คำว่า เณร แทนเช่น พ่อตาพูดกับลูกเขย พ่อพูดกับลูก พี่พูดกับน้อง
             ตัวอย่าง
    เช่น
                
    " วันนี้เณรไม่ทำงานหรือ "    ประโยคนี้แสดงว่าผู้พูดอาวุโสกว่า  ในกรณีที่
             ใช้คำว่า เณร นำหน้าชื่อ ก็แสดงว่าผู้พูดอาวุโสกว่า เช่นกัน คือ  เณรไข่  เณร
             หนู   เป็นต้น

            ในกรณีที่ใช้กับพระภิกษุหากกล่าวถึงชื่อพระแต่นำหน้าด้วยคำว่า  " พ่อหลวง "
            เช่น  พ่อหลวงเขียว 
      คำว่า
    "พ่อหลวง"  ในที่นี้ จะหมายความว่า พระภิกษุ
            องค์นั้นเป็นพระที่บวชเมื่อ อายุมากแล้ว 

             คำว่า " หลวง " นี้ในประเทศมาเลเซียจะใช้ว่า LUANG  นำหน้าชื่อคนมาเลเซีย
            เชื้อสายไทย  ตัวอย่างเช่น   ถ้าคนมาเลเซีย มีชื่อในบัตรประจำตัวประชาชนว่า
            LUANG DAM  a/l  LUANG KHAO   จะรู้ได้ทันทีว่า เจ้าของบัตรชื่อว่า หลวงดำ
            เป็นลูกชายของ (
    a/l ) หลวงขาว     และเจ้าของบัตรเป็นคนมาเลเซียเชื้อสาย
           ไทยเนื่องจากมีคำว่า
    "หลวง"  นำหน้า เช่นเดียวกับคนไทยในเขตจังหวัดสงขลา

    หลวน (ก.)  คลอดก่อนกำหนด
            คำนี้จะใช้เฉพาะกับสัตว์ เช่น วัว  ควาย (ในบางโอกาสอาจจะใช้หยอกเอินกับ
            คนที่สนิทสนมกัน ก็ได้  )

    หล็อง   (ก.) ผิดพลาด,  หลงลืมไป 
             
    " อีสาว นับเบี้ยให้ดี นะ  หล็อง ไปสักใบสองใบ กะไม่คุ้มแล้ว "

    หลัก    (ก.)  ดักล้อม,  ปิดทางไม่ให้ไป หรือไม่ให้เข้า-ออก
           
    " แลน แล่นไปทางนั้นแล้ว  หลักเข้า ๆ "   =  ตะกวดวิ่งไปทางนั้นแล้ว ดักไว้
            ปิดทางไว้
            
     " หลักคอ "  พูดขัดคอ โต้แย้ง
            
     " หลักเจ้าบ่าว " =  การปิดทาง กันเจ้าบ่าวไม่ให้เข้าบ้านเจ้าสาว ในวันแต่งงาน
           เพื่อขอเงินทองหรือเหล้า

    หลักตู  (น.)   สลักประตู,  กลอนประตู

    หลักหู  (น.)  บ้องหู
            
    " เรื่องปัญญาอ่อนพรรค์นี้   กูว่าตบเข้า หลักหู สักที กะหาย"

    หลั่งที,  ลังที  (ว.) ลางที,  บางที, บางครั้ง
            
    " ครูเหิม บ้านม่วงค่อม  แกขี้เรียด อิตาย   แต่ หลั่งที กะใจกว้างเหมือนกัน
             ถ้าแม่หม้าย ขอเบี้ย"
      =   ครูเหิม บ้านม่วงค่อม แกเป็นคนขี้เหนียวจะตาย
             แต่ บางครั้งบางที ก็ใจกว้างเหมือนกัน
     ถ้าแม่หม้าย ขอตังค์"

    หลา   (น.ศาลา 

    หลาว หลาว     (ว.) ซุ่มซ่าม ทำอะไรไม่ระวัง หรือทำพอผ่านๆ ไม่รอบคอบ
            
    " ขับรถ อย่าหลาวๆ เดี๋ยวอิพาคนอื่นตายไปกัน "

    หล่าว   (ว.อีก,  ซ้ำๆ
            
     " เบร่อ แล้วหล่าว "   บ้าอีกแล้ว
            
     " หลวงไข เพี้ยนแล้วหล่าว "   พี่ไข่ เพี้ยนอีกแล้ว

    หลุ้มหมา,   โหลก หลุ้มหมา  (น.) อินทผาลัม ลุด (ออกเสียงเป็น "ลุด")  (น.)  ดินโคลน ( มักใช้เรียกเฉพาะ โคลนที่ติดเท้าซึ่งจะ
             ต้องล้างก่อนขึ้นเรือน )
     
         
    " หลุด ติดตีน "  ดินโคลนที่เปื้อนเท้า (  คำๆนี้มาจากภาษามลายู ว่า  selut )

    หลุ-หละ (ว.) เลอะเทอะ, เปรอะเปื้อน
           (คำนี้ ภาษาสงขลา - คลองหอยโข่ง  มักมีสร้อยต่อท้ายเป็น
      หลุหละ ป๊ะจิ )
          
     "
    ไอ้บ่าวนุ้ย กินข้าว หลุหละ ป๊ะจิ  หมดแล้ว"

    เหลย   (ว.)  อีก  ( เพิ่มจากที่มีอยู่แล้ว) 
              
    " เอา เหลย ม้าย "        เอาอีกมั้ย
              
    " เอาข้าว เหลย ม้าย "   เอาข้าวอีกมั้ย
             
     " จำได้ เหลย ม้าย "     จำได้อีกมั้ย

    หลิดเทิด  (ออกเสียงเป็น "เลิดเถิด") (ก.)  เดินเหินไม่มองทางเตะโน้นเตะนี่
               (
    ทาง นครศรีธรรมราช จะใช้ว่า หลาเหิน )

    หล็ด   (ว.) รั่วออกมา, ซึมออกมา(ในปริมาณน้อย) เช่น
             
     " เยี่ยวแหล็ด "

    แหล็กขูด  (น.กระต่ายขูดมะพร้าว  (แหล็ก  ก็คือ เหล็ก ในภาษาไทยมาตรฐาน)

    แหล็กโคน , ตาปู   (น.ตะปู   (ปัจจุบันคำว่า แหล็กโคน มีคนใช้น้อยมาก)

    แหล็กไฟ  (น.)  ไฟแช็ค  อุปกรณ์ใช้จุดไฟ (ในยุคที่น้ำมันเบนซินเข้ามาแล้ว)

    แหล็กไฟตบ, หล็กตบ  (น.) ตะบันไฟ, อุปกรณ์ใช้จุดไฟของคนปักษ์ใต้สมัยก่อน
            ทำด้วยไม้เจาะรู อีกอันทำเป็นเดือย เอาปุยของเต่าร้าง(เรียกว่า หยอย)มาใส่ไว้
            ที่ปากรู แล้วตบและดึงออกเร็วๆ แรงเสียดสีจะทำให้เกิดกระกายไฟติด
    "หยอย"
          
    ได้ ผู้ใช้แหล็กไฟตบจะต้องรีบเป่าให้ไฟลุกเพื่อใช้จุดบุหรี่ หรือ ตะเกียง

    แหล็กไฟราง ,  ม้ขีด   (น.)  ไม้ขีดไฟ  
           
     รางม้ขีด = กล่องไม้ขีดไฟ  
            
    หน้าเพลิง  = แถบข้างกล่องไม้ขีดไฟ ที่ใช้ขีดให้ติดไฟ

    แหลง (ออกเสียงเป็น "แล้ง")   (ก.)    พูดคุย  (มาจากคำว่า แถลง )
            
    แหลงไม่ซ่ะ "  -   พูดไม่ชัด (คำนี้ใช้กับเด็กเล็กที่กำลังหัดพูด)
           
    แหลงทองแดง "  - พูดบางกอกไม่ชัดยังมีสำเนียงปักษ์ใต้( ตัวอย่างเช่น
           สส.ไตรรงค์ คนดังของสงขลาบ้านเรา ) 
           
    แหลงข้าหลวง, แหลงเจ้าเมือง "- พูดภาษาไทยบางกอก(ภาษาของข้าหลวง
           หรือเจ้าเมือง ที่ส่วนกลางส่งไปปกครองดูแลหัวเมืองปักษ์ใต้ )
            "
    แหลงทิ่มเข้าทิ่มออก " -  พูดกลับกลอก

    โหลก (น.)  ลูก
          
    ในสำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา) เสียง อู  จะแปลงเป็นเสียง โอ และ อักษรกลาง
           เสียงสามัญ  ในสำเนียงใต้จะเป็นเสียง จัตวา   ดังนั้น คำว่า ลูก ในสำเนียงไทย
           ภาคกลาง จึงกลาย โหลก  ในสำเนียงใต้ )

    โหลก ครอก  (ออกเสียงเป็น - โหลก ขรอก) (น.) ลูกครอก  ลูกปลาตัวเล็กๆที่อยู่
             รวมกันเป็นฝูงๆ มักใช้เรียกลูกของปลาช่อน  หรือปลาชะโด (ปลาโด)

    โหลก คลัก, ลูกคลัก (น.) ปลาในหน้าแล้งที่น้ำในบ่อในหนองงวดแห้ง จนฝูงปลา
          ทั้งหมด ต้องกระเสือกกระสนไปรวมกันในแอ่งน้ำที่ลึกที่สุด 
     แต่ในที่สุดปลาทุก
          ตัว ก็จะแห้งตายเป็นเหยื่อของมด
    แมลง  หากไม่มีฝนตก   ปลาที่มารวมกัน ใน
          แอ่งน้ำ (แอ่งโคลน)  นี้
       เรียกว่า
    โหลก คลัก,  ลูกคลัก หรือ ปลาคลัก

    โหลก คาบ  (น.) ลูกคาบ        ในอดีต เมื่อครั้งที่ปักษ์ใต้ยังมีการขุดแร่ หาแร่ขาย
            คนหาแร่จะเรียก ก้อนหินที่มีแร่ปะปนอยู่ ว่า ลูกคาบ (
    โหลก คาบ) ดังนั้นหาก
            ต้องการแร่จะต้องใช้ค้อนทุบ"ลูกคาบ"ให้แตก แล้วนำหินและแร่ที่แตกละเอียด
           ไปร่อนด้วย " เลียง" เพื่อแยกเอา แร่ ออกมา

    โหลก เด  (ออกเสียงเป็น - โหลก เด๋) (น.ลูกปลากระดี่ ในสำเนียงบางกอก
             ( คำนี้ไม่ได้หมายถึงลูกปลา จริงๆ
    แต่หมายถึงปลากระดี่ตัวเล็กตัวน้อย )

    โหลก ตอ  (ออกเสียงเป็น - โหลก ต๋อ) (น.) ลูกสะตอ
            โดยทั่วไป คนไทยปักษ์ใต้ จะไม่ใช้คำว่า สะตอ แต่จะใช้คำว่า ตอ สั้นๆแทน
                    
    " ลูกตอ "      -  ลูกสะตอ
                    
    " ฝักลูกตอ "  -  ฝักสะตอ
                    
    " ต้นตอ "   -  ต้นสะตอ
            แต่ถ้าเป็นคำว่า
    " ตอเบา " ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) หรือ " ตอแต " ของ
            คนฉวาง พิปูน(นครศรีธรรมราช )จะหมายถึง กระถินในภาษาไทยภาคกลาง

    โหลก ไฟ (ออกเสียงเป็น โหลก ไฟ, โหลก ไคว ) (น.ลูกไฟ  :   ถ่านไฟฉาย

             คำว่า ลูกไฟ ในภาษาไทยถิ่นใต้ดั้งเดิม จะหมายถึง ถ่านไฟฉาย  แต่เนื่องจาก
             คนไทยถิ่นใต้จะออกเสียง ควฺ   แทน เสียง ฟ  คำว่า ลูกไฟ ในความหมาย
             ถ่านไฟฉาย คนไทยถิ่นใต้รุ่นก่อนๆจึงเรียกว่า
    โหลก ไคว ต่อมาเด็กใต้รุ่นใหม่
             สามารถออกเสียง  ฟได้   คำนี้จึงเปลี่ยนมาเป็น โหลก ไฟ
         จนถึงปัจจุบัน
             คำว่า โหลกไฟ นี้จึงค่อยๆเลือนหายไป  คงใช้เฉพาะคำว่า  ถ่านไฟฉาย เช่น
             เดียวกับคนไทยภาคกลาง

    โหลก ลม  (น.)  ลูก ลม    หมายถึง กังหันลม 
        
             ชาวปักษ์ใต้สมัยก่อน ทำประกวดกันโดยจะติดตั้ง
    "โหลก ลม" ตามต้นไม้สูง
             ปลายปีกของ
    "โหลก ลม" แต่ละข้างจะติดหลอด(ไม้ไผ่หรือโลหะ)เล็กๆ เมื่อ
             ลมพัด
     "โหลก ลม" หมุน หลอดที่ติดไว้จะเสียดสีอากาศเกิดเสียงดั




     

     

    ลก แล็ก, ล๊อกแล๊ก (ว. (พูด)ไม่ชัดเจน เชื่อถือไมได้, กลับกลอก
            
    " หลวงไข่เป็นคน ลกแล็ก แหลงไหร   หกทั้งเพ "  -  หลวงไข่เป็นคนที่เชื่อไม่
           ได้  พูดอะไรแล้ว เป็นเรื่องโกหกทั้งนั้น 

    ลก ลัก (ออกเสียงเป็น  หลก-หลัก ) (ว.เร่งรีบลนลาน
             
    " ลกลัก ไป
    ไหน เล่า ? "  จะรีบไปไหน ?  
            ทางนครศรีธรรมราช จะใช้ว่า ลก ลก  (ออกเสียงเป็น  หลก หลก)

    ลด    (ออกเสียงเป็น  หลด) (ก.)  ตอน(ทำให้สืบพันธ์ไม่ได้ )
             
    " อ้วนเหมือน ฮัว ลด "  -  อ้วนเหมือนงัว(วัว)ตอน

    ลอมข้าว  (น.)เลียงข้าวที่นำมาเก็บในห้องข้าว(ยุ้งข้าว)กองซ้อนกันเป็นรูปวงกลมสูง
             ขึ้นไปเรื่อยๆโดยจะหัน "หัวเลียง" ไปข้างใน  เลียงข้าวบนสุดจะมีอยู่เพียง 1
             เลียง

    ล่อ     1.  (ก.)  ล่อ หลอกล่อ
             2. 
    (ว.) ที่โผล่ออกมา,  ถลนออกมาจากตำแหน่งเดิม
          
    " ตาล่อเหมือนหมาครก เห็ง " - ตาถลนเหมือนหมาที่โดนครกทับ
          
    " เห็นเบี้ยคนอื่นแล้วตาล่อ"- เห็นเงินของคนอื่นแล้วตาถลน(อยากได้ของคนอื่น)
      
         " ม่วงเล็ดล่อ " - มะม่วงหิมพานต์ ( มะม่วงที่เมล็ดโผล่ออกมาอยู่ข้างนอก)

    ลังทัง  (ว.)  (แม่ไก่)ที่ไข่ไม่เป็นที่  ( มักเกิดจาก คนไปเก็บไข่ จึงต้องย้ายที่วางไข่
             ไปเรื่อยๆ )   บางครั้งอาจใช้คำนี้เปรียบเปรย คนที่ขึ้หงุดหงิด แขวะคนโน้น
              แขวะคนนี้  

    ลังทังไก่ลังตัง  (น.) ต้นตำแย

    ลังที,  หลั่งที (ว.) ลางที, บางครั้ง, บางที
              
    " ครูเหิม บ้านม่วงค่อม  แกขี้เรียด อิตาย   แต่ ลังที กะใจกว้างเหมือนกัน
              ถ้าแม่หม้าย ขอเบี้ย"
      =   ครูเหิม บ้านม่วงค่อม แกเป็นคนขี้เหนียวจะตาย
              แต่ บางครั้งบางที ก็ใจกว้างเหมือนกัน
     ถ้าแม่หม้าย ขอตังค์"

    ลา  1.(ก.) ละเลง, ทา 
          2.
     
    (น.) ชื่อขนมชนิดหนึ่งที่ชาวปักษ์ใต้ ใช้ในพิธีงานบุญเดือนสิบ มีลักษณะคล้าย
          เสื้อผ้า (แป้งทอดบางๆ เป็นผืนใหญ่)  เปรียบเหมือนกับการส่งเสื้ออาภรณ์ไปให้
          แก่บรรพบุรุษ  ปู่ยาตายายที่ล่วงลับไปแล้ว    โดยเฉพาะ "ตายาย"  ที่ตกอยู่ใน
          อบายภูมิ  ขาดเสื้อผ้าปกปิดร่างกาย ได้สวมใส่ กันร้อนหนาว

    ลาต้า (ว.)  บ้าจี้  (คนที่)ตกใจแล้วจะพูดซ้ำๆ หรือใครสั่งให้ทำอะไรก็ทำ
             (  ปี 2549 มีเพลงวัยรุ่นปักษ์ใต้ ใช้ชื่อเพลงว่า
    หัวใจลาต้า  คงมีความหมายว่า
             เป็นหัวใจที่ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ทำอะไรซ้ำๆ เหมือนคนที่ลาต้า นั้นเอง )

    ลากโหม่หญิง (ก. ฉุดผู้หญิง ( ตามธรรมเนียมถิ่นใต้โบราณ เมื่อชายหนุ่มหลงรัก
             สาวแต่หญิงสาวไม่ยินยอมไม่รับรัก ฝ่ายชายก็มักจะใช้วิธีฉุด แล้วค่อยขอขมา
             ทีหลัง )

    ลากพระ, ชักพระ (.)ประเพณีสำคัญของชาวไทยถิ่นใต้จะทำกันในวันออกพรรษา
             คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑   โดยตกลงนัดหมายกัน ลาก"เรือพระออกจากวัด
            ไปยังจุดศูนย์รวม/จุดนัดพบ     ในสมัยก่อนจะพัก เรือพระ ค้างคืนไว้ 1 คืน
            วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑  จึงลาก"เรือพระกลับวัด
       ( ปัจจุบัน บางวัดจะ
            รวบรัด  ลาก"เรือพระออกจากวัด และกลับวัด ในวันเดียว )

    ลาย  (ก. รื้อ  ทำลาย
            
    "
    จะลายบ้าน  จะรื้อบ้าน

    ล่ายฮัว   (ก.) นำวัวไปกินน้ำ และย้ายที่ล่าม   ( ปกติในชนบทปักษ์ใต้ มักจะล่ามวัว
            ให้กินหญ้าไว้เฉพาะบริเวณ เมื่อหญ้าหมดหรือถึงเวลาเที่ยง จะต้องย้ายวัวไปกิน
           
    น้ำ และนำล่ามไว้ในที่ร่มที่แดดไม่จัด  หรือถ้าไม่มีแดด ก็ย้ายวัวไปล่ามที่อื่นที
            พอมีหญ้าให้วัวกิน) 
               
    " ไอ้บ่าว เที่ยงแล้ว ไปล่ายฮัวก่อน แล้วหลบมากินข้าวพร้อมพ่อ "
            ความหมายของประโยคนี้คือ  "ไอ้หนู เที่ยงแล้ว ไปเอาวัวกินน้ำและย้ายที่ล่าม
            ก่อน  เสร็จแล้วกลับมากินข้าว พร้อมพ่อนะ"

    ลายเคง  (ก.) รื้อ, ทำลาย งานที่เพิ่งเริ่มวางรากฐาน จนงานนั้นต้องล้มเลิก
            
     " ทักษิณคิดการใหญ่  แต่ก็ลำบาก เพราะ ถูกกลุ่มพันธมิตรฯ ลายเคง"

             คำนี้ความหมายเดิมคือ เวลาที่ปลากัด ปลากริม ทำเคง  หรือก่อหวอด เพื่อจะ
             วางไข่แต่ถูกปลาตัวอื่นก่อกวน จนหวอดที่ก่อไว้แตก วางไข่ไม่ได้   ในอีก
             ความหมาย  เคง หมายถึง จอมปลวกเล็กๆที่อยู่ตามทุ่ง ป่าเสม็ด ป่าพรุ หรือรัง
             ปลวกเล็กๆที่เกาะอยู่ตามต้นมะพร้าว หรือ ต้นไม้ใหญ่   เรียกว่า หัวเคง  ก็ได้

    ลายมาย , รายมาย    (ว.)    (การพูดจา) ลามปาม

    ล่าว  (ว.)  อีก,  ทำซ้ำในสิ่งที่ได้ทำมาแล้ว ตัวอย่างเช่น
              
    " พี่ อิ ไปแล หนังอิ่มเท่ง ล่าว ม้าย"    -   พี่ จะไปดูหนังอิ่มเท่งอีกมั้ย
              
    " บ่าวไขหลับแล้ว ล่าว " - บ่าวไข หรือพี่ไข่ (ที่เพิ่งตื่นนอน)หลับต่ออีกแล้ว

    ลิด   (ออกเสียงเป็น  หลิด)(ก.)ปอกเปลือกผลไม้ที่เปลือกติดแน่น เช่น ปอกมะพร้าว
            หรือมะม่วง ก็จะใช้  ลิดพร้าว  ลิดโลกม่วง แต่ถ้าปอกผลไม้ที่เปลือกหลุดง่ายก็
            จะใช้คำว่า ปอก เช่น  ปอกกล้วย

    ลิว    (ก.)   ขว้างปา

    ลุกขี้ (น.) ก้นของภาชนะใส่ของ เช่น
            ลุกขี้หม้อ  -  ก้นหม้อ
           
    ลุกขี้ตุ่ม    -  ก้นตุ่ม
            พอลายลุกขี้    -  มีน้อยนิดพอจะละลายปิดก้นหม้อ (หรือก้นกะทะ)
           
     ตั้งลุกขี้     การริเริ่มเพื่อให้ผู้อื่นสานต่องาน ( คำนี้มาจากการสานตะกร้าจะ
            ต้องตั้งลุกขี้ หรือขึ้นโครงก่อนโดยจะเริ่มจากก้นของตะกร้า  เมื่อตั้งลุกขี้แล้ว
            เด็กๆ ก็สามารถสานต่อได้

    ลุ้น    (ว.)  สั้น
          
    " ไก่หางลุ้น "   - ไก่หางสั้น

    ลุ้นตุ้น  (ว.)  สั้น,   กลม,   ป้อม,   กระปุกลุก
          
    " อีสาวนุ้ย ตัวสั้นลุ้นตุ้น " - น้องสาวคนเล็ก รูปร่างสั้นกระปุกลุก

    ลุย,  ราสา, จ้าน, จังหู , เจ็กๆ,  เตร็กๆ,  โข      (ว.)   มากมาย,   เยอะแยะ
        
     
    " หรอยจังหู ",    " หรอยจ้าน "    อร่อยมากๆ

    ลุ่ย   (ก.)   หลุด  
           " อี
    สาว นุ่งผ้าถุงให้ดี  ผ้าถุง ลุ่ย กลางหลาด  ได้อายคนแหละ "
             อีหนู นุ่งผ้าถุงให้ดี  ผ้าถุงหลุดกลางตลาด  ได้อายคนแหละ "

    ลูกรวก (ออกเสียงเป็น - โหลก หรวก)(น.) ลูกอ๊อด(ของกบ เขียด)


     เล่หล่อง 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×