ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #22 : ไอร์แลนด์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.34K
      0
      26 ม.ค. 50



     
    ไอร์แลนด์
    Ireland


     
    ข้อมูลทั่วไป

    ที่ตั้ง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป โดยมีทะเลไอริชทางตะวันออกคั่นระหว่างเกาะอังกฤษและเกาะไอร์แลนด์

    พื้นที่ 70,280 ตารางกิโลเมตร

    ประชากร 4 ล้านคน

    เชื้อชาติของประชากร ไอริช มีชาวอังกฤษอยู่บ้าง

    ศาสนา คริสต์นิกายโรมันแคทอลิค (93%) Anglican (3%) ศาสนาอื่น 3% ไม่นับถือศาสนา (1%)

    ภาษา ไอริช (Gaelic) (ภาษาราชการที่ 1) ภาษาอังกฤษ (ภาษาราชการที่ 2)

    เมืองหลวง กรุงดับลิน

    ระบบการเมือง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

    ประธานาธิบดี และประมุขแห่งรัฐ นาง Mary McAleese

    นายกรัฐมนตรี นาย Bertie Ahern

    รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Dermot Ahern

    GDP Growth Rate ร้อยละ 2.1

    GDP per capita 29,800 ดอลลาร์สหรัฐ

    อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.7

    ประเทศคู่ค้าสำคัญ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม

    สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ เคมีภัณฑ์ ยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์

    สินค้านำเข้าที่สำคัญ อุปกรณ์ประมวลข้อมูล เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สิ่งทอและเสื้อผ้า

    อุตสาหกรรมสำคัญ computer software เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม ยา และการท่องเที่ยว

    ทรัพยากรธรรมชาติ สังกะสี ตะกั่ว ก๊าซธรรมชาติ แบไรท์ ทองแดง ยิปซัม หินปูน

    การเมืองการปกครอง
    พรรคฟินา ฟอยล์ (Fianna Fail) ภายใต้การนำของนายเบอร์ตี้ อะเฮิร์น นายกรัฐมนตรี และพรรคร่วมรัฐบาล Progressive Democrats เป็นรัฐบาลสองสมัย (2540 - 2545 และ 2545 - ปัจจุบัน) นับเป็นครั้งแรกในรอบสามทศวรรษที่พรรครัฐบาลได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปและเป็นรัฐบาลสองสมัยติดต่อกัน
    ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พรรคฟินา ฟอยล์ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เนื่องจากคะแนนนิยมจากผลงานด้านเศรษฐกิจที่ทำให้ไอร์แลนด์ได้รับการขนานนามว่าเป็นเสือเศรษฐกิจ Celtic Tiger อีกทั้งความพยายามในแผนสันติภาพไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งเป็นปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อมานาน
    นายเบอร์ตี อะเฮิร์นให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อบูรณาการของสหภาพยุโรป เนื่องจากไอร์แลนด์ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในฐานะสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่กระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไอร์แลนด์ นายเบอร์ตี้ อะเฮิร์นได้รับคำชื่นชมว่าเป็นนักการทูตและนักเจรจาที่มีฝีมือ ซึ่งประสบผลสำเร็จในการเป็นประธานสหภาพยุโรประหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน 2547 อาทิ การรับรองร่างธรรมนูญยุโรป และการสรรหากรรมาธิการยุโรปคนใหม่คือ นาย Jose Barroso

    เศรษฐกิจการค้า
    เศรษฐกิจไอร์แลนด์มีอัตราการเจริญเติบโตระหว่างปี 2538 - 2543 โดยมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 9 ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในกลุ่ม OECD ทั้งนี้ เศรษฐกิจไอร์แลนด์มีลักษณะพึ่งพาจากภายนอกสูง โดยผลผลิตภายในประเทศร้อยละ 80 เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ในช่วง 25 ปี ที่ผ่านมา สหรัฐฯ เป็นผู้ลงทุนรายสำคัญในไอร์แลนด์ โดยทำให้อุตสาหกรรมในไอร์แลนด์ มีการขยายตัว มีการถ่ายโอนเทคโนโลยีทันสมัย เพิ่มพูนขีดความสามารถในการแข่งขัน และการขยายตัวของการจ้างงานในไอร์แลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีขั้นสูง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เวชภัณฑ์ และยารักษาโรค นอกจากนั้น สหรัฐฯ เป็นผู้ลงทุนรายสำคัญในภาคธุรกิจบริการในไอร์แลนด์ อาทิ การค้าปลีก การธนาคาร การเงิน
    รัฐบาลกำลังเผชิญความท้าทายที่จะรักษาไว้ซึ่งความรู้สึกที่ดีของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเศรษฐกิจ ปัจจุบันอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอลงอันเป็นผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รัฐบาลจึงได้ประกาศตัดการใช้จ่ายภาครัฐลง ซึ่งสร้างความไม่พอใจในสังคมไอร์แลนด์ เพราะเป็นการไม่รักษาสัญญาที่ให้ไว้ในขณะที่รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไป

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับไอร์แลนด์
    ไทยและไอร์แลนด์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางกงสุลเมื่อปี 2509 ต่อมา สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2518 ไทยแต่งตั้งเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน เป็นเอกอัครราชทูตประจำไอร์แลนด์ และไอร์แลนด์ได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูต ประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย
    กงสุลกิตติมศักดิ์ไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย คือ นาย Peter Gary Biesty ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงดับลิน คือ นาย Patrick Joseph Dineen

    การแลกเปลี่ยนการเยือนของเจ้าหน้าที่ระดับสูง
    - อดีตประธานาธิบดี P. Hilliery เยือนไทยเป็นการส่วนตัวเมื่อ 5-8 พฤษภาคม
    2531
    - นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนไอร์แลนด์ เพื่อรณรงค์ขอความสนับสนุนในการสมัครเป็นผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก ในเดือนธันวาคม 2541 ซึ่งได้มีโอกาสหารือกับนาง Mary Harney รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีด้านวิสาหกิจการค้าและการจ้างงาน และกับนาง Liz O Donnell รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศไอร์แลนด์
    - ในระหว่างการประชุม UNCTAD X เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ ไอร์แลนด์ได้ส่งนาง Mary Harney รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวิสาหกิจ การค้า และการจ้างงานเข้าร่วมประชุม ซึ่งได้มีการหารือข้อราชการกับ ฯพณฯ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีด้วย
    - นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางไปเยือนไอร์แลนด์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 13 -16 พฤษภาคม 2543 ซึ่งนับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนแรกที่ได้เดินทางเยือนไอร์แลนด์ อย่างเป็นทางการ โดยได้หารือข้อราชการกับนาย Brian Cowen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไอร์แลนด์ นาง Liz O\'Donnell รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไอร์แลนด์ พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมคารวะนาย Seamus Pattison ประธานสภาผู้แทนราษฎรไอร์แลนด์
    - นาง Mary McAleese ประธานาธิบดีไอร์แลนด์เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ระหว่างวันที่ 26 – 28 กันยายน 2545 โดยเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับ พตท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะขยายความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุน การศึกษา และ ICT/IT
    - นาย Dermot Ahern รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไอร์แลนด์ พร้อมคณะ เดินทางเยือนไทย เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2548 เพื่อสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นจากธรณีพิบัติภัยในภาคใต้ของไทย และประกาศที่จะจัดตั้งสำนักงานกงสุล (Consular Office) ที่จังหวัดภูเก็ต โดยได้เข้าพบและหารือข้อราชการกับนายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งฝ่ายไอร์แลนด์ได้ขอบคุณรัฐบาลไทยสำหรับความช่วยเหลือในการค้นหาผู้สูญหายชาวไอริช และจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ไทย
    ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย-ไอร์แลนด์
    การค้า
    ในปี 2546 มูลค่ากสถิติการค้าไทย -ไอร์แลนด์ (หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
    ปี มูลค่าการค้า ไทยส่งออก ไทยนำเข้า ดุลการค้า
    2544 407.6 242.7 164.9 77.8
    2545 357.4 233.1 124.3 108.9
    2546 476.3 336.9 139.3 197.6
    2547 570.0 384.8 185.1 199.7
    ไอร์แลนด์เป็นคู่ค้าอันดับ 38 ของไทย และเป็นคู่ค้าอันดับ 9 ของไทยจากสหภาพยุโรป
    การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับไอร์แลนด์ ในช่วงปี 2544-2546 การค้ารวมมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 413.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สิินค้าไทยที่ส่งออกไปไอร์แลนด์ที่สำคัญ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ไก่แปรรูป วงจรพิมพ์ ยางพารา รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น

    สินค้าที่ไทยนำเข้าจากไอร์แลนด์ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ
    ส่วนประกอบ ดินสอ ปากกา หมึกพิมพ์และอุปกรณ์เกี่ยวกับการพิมพ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ผักผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ เป็นต้น
    ทั้งนี้ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับไอร์แลนด์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.23 ของการค้าไทยกับโลก และไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า

    ไทยและไอร์แลนด์ได้จัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าระหว่างหอการค้า
    ไอร์แลนด์กับหอการค้าแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2545 และได้จัดตั้งสำนักงานหอการค้าเอเชียไอร์แลนด์ (Asia - Ireland Chamber of Commerce: AICC) ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน

    การลงทุนจากไอร์แลนด์ในไทยยังมีปริมาณน้อยมาก โดยระหว่างปี 2513-2546 มีโครงการลงทุนจากไอร์แลนด์ที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนเพียง 8 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 3,088 ล้านบาท โดยร้อยละ 62 ของโครงการลงทุนจากไอร์แลนด์ในไทยเป็นโครงการขนาดกลาง ซึ่งมีเงินลงทุน 100-499 ล้านบาท และส่วนใหญ่เป็นโครงการร่วมทุนกับผู้ประกอบการไทย
    โครงการลงทุนจากไอร์แลนด์ที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมฯ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในสาขาบริการและสาธารณูปโภค โดยเป็นโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้า กิจการขนส่งทางน้ำและกิจการสร้างภาพยนตร์ เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร
    บริษัทสำคัญจากไอร์แลนด์ที่ได้เข้ามาลงทุนในไทยแล้ว ที่สำคัญคือ กลุ่ม Kerry ซึ่งเป็นผู้ผลิต อาหารรายใหญ่ของยุโรป Kerry มีธุรกิจใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ ธุรกิจการเกษตร อาหาร เครื่องปรุงและรสสังเคราะห์ Kerry ได้ก่อตั้งโรงงานในไทยที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี 2545 เพื่อผลิตเครื่องปรุงให้แก่โรงงานของบริษัทฟริโต เลย์ และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังจัดตั้งศูนย์วิจัยด้านเครื่องปรุงรสในไทยด้วย นอกจากนี้ กลุ่ม Kerry ยังนำเข้าไก่จากไทยประมาณ 3,200 ตัน
    ต่อปี และนำเข้ามันสำปะหลังและกลูโคสจากไทยปีละ 5,000 และ 3,000 ตันต่อปี ตามลำดับ

    ชาวไอร์แลนด์นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ประมาณปีละ 30,000 -50,000 คน


    กุมภาพันธ์ 2548

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×